เบลนเดอร์ ทรีดี: จากมือใหม่สู่มือโปร/basic operator
คำสั่งพื้นฐานที่ใช้สำหรับจัดการกับวัตถุสำหรับโปรแกรมสร้างโมเดล 3มิติ ทุกตัวควรจะมีก็คงจะหนีไม่พ้น Duplicate(คัดลอก) , Grab/Move(ย้าย) , Rotate(หมุน) และ Scaleเปลี่ยนขนาด และในบทนี้ผมจะพาคุณไปทดลองใช้คำสั่งพื้นฐานเหล่านี้ใน Blender กันครับ การจะใช้คำสั่งเหล่านี้กับออพเจคแต่ละชิ้น คุณจะสามารถกระทำกับมันได้ ทั้งในระดับของ Object mode และ Edit mode ขึ้นอยู่กับว่าคุณต้องการจะทำอะไรกับวัตถุนั้นๆ
Duplicate
แก้ไขเป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับคัดลอกสิ่งที่คุณเลือก หรือที่เราจะรู้จักคำสั่งนี้กันดีอยู่แล้วในชื่อ Copy เลือกสิ่งที่คุณต้องการก่อน จากนั้นกด Shift+D วัตถุที่คุณเลือกจะถูกคัดลอกออกมา ให้คุณเลื่อนเมาส์เพื่อนำวัตถุที่ถูกเลือกออกมา ไปวางในบริเวณที่คุณต้องการ นอกจากการ Duplicate ในแบบธรรมดาแล้ว ยังมีการ Duplicate อีกรูปแบบหนึ่งคือ Duplicate Link การทำ Duplicate Link นั้นก็คล้ายกับการคัดลอกวัตถุแบบธรรมดา แต่ว่าวัตถุที่ถูกคัดลอกด้วยคำสั่ง Duplicate Link นั้น จะถูกเชื่อมโยงรายละเอียดของวัตถุให้เหมือนกัน กล่าวคือ เมื่อคุณแก้ไขรายละเอียดของวัตถุชิ้นหนึ่ง วัตถุอีกชิ้นที่ถูกเชื่อมโยงกันด้วยคำสั่ง Duplicate Link นั้นก็จะถูกแก้ไขรายละเอียดตามกันไปด้วย
Duplicate Link
แก้ไขการใช้คำสั่ง Duplicate Link นั้นจะมีวิธีใช้งานเหมือนกันคำสั่ง Duplicate ธรรมดา เพียงแต่เปลี่ยนจาก Shift+D เป็น Alt+D เท่านั้น ในการสั่ง Duplicate นั้นจะเป็นการย้ายแบบธรรมดาคือ ย้ายไปตามทิศทางของเมาส์ที่คุณลากไป แต่คุณสามารถที่จะกำหนด แกนที่คุณจะย้ายได้ด้วย แกนที่ว่าก็คือแนวแกนของวัตถุคือ X , Y และ Z โดยการจะย้ายวัตถุตามแนวแกนต่างๆนี้ เพียงแค่คุณกด X , Y หรือ Z ตามหลังจากที่คุณได้กด Shift+D หรือ Alt+D เพื่อสั่ง Duplicate
Grab/Move
แก้ไขเป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับเคลื่อนย้ายวัตถุ เลือกวัตถุที่คุณต้องการก่อน จากนั้นกด G จะเข้าสู่คำสั่ง Grab/Move นอกจากคุณจะสั่งด้วยปุ่ม G แล้วคุณยังสามารถสั่ง Grab/Move ด้วยเมาส์ได้อีกด้วย ด้วยการเลือกวัตถุไว้ก่อน จากนั้นคลิ๊กเมาส์ค้างไว้บนพื้นที่ว่างของ 3d View แล้วลากเป็นเส้นตรง (ลากตรง แนวตั้วแนวนอน หรือทะแยงก็ได้) จะเข้าสู่คำสั่ง Grab/Move เช่นเดียวกับการกด G ในการสั่ง Grab/Move แบบธรรมดานั้น จะเป็นการย้ายแบบธรรมดาคือ ย้ายไปตามทิศทางของเมาส์ที่คุณลากไป แต่คุณสามารถที่จะกำหนด แกนที่คุณจะย้ายได้ด้วย แกนที่ว่าก็คือแนวแกนของวัตถุคือ X , Y และ Z โดยการจะย้ายวัตถุตามแนวแกนต่างๆนี้ เพียงแค่คุณกด X , Y หรือ Z ตามหลังจากที่คุณได้กด G เพื่อสั่ง Grab/Move
Rotate
แก้ไขเป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับหมุนวัตถุ เลือกวัตถุที่คุณต้องการ จากนั้นกด R จะเข้าสู่คำสั่ง Rotate วัตถุจะหมุนตามการเคลื่อนที่ของเมาส์ของคุณ คุณสามารถสั่ง Rotate ได้ด้วยการลากเมาส์เช่นเดียวกับคำสั่ง Grab/Move เพียงแต่ทิศทางในการลากเมาส์ของคำสั่ง Rotate นั้นคุณจะต้อง ลากเมาส์วนเป็นวงกลม หรือลากเป็นเส้นตั้งฉาก ก็จะเข้าสู่คำสั่ง Rotate เช่นเดียวกับการกด R
Scale
แก้ไขเป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับเปลี่ยนขนาดของวัตถุ ซึ่งใช้ได้ทั้งย่อและขยาย เลือกวัตถุที่คุณต้องการ จากนั้นกด S จะเข้าสู่คำสั่ง Scale ถ้าคุณต้องการย่อวัตถุลง ให้คุณขยับเมาส์เข้าใกล้จุดศูนย์กลาง ของวัตถุที่คุณเลือก และถ้าคุณต้องการขยายให้คุณขยับเมาส์ออกห่างจากวัตถุที่เลือก คุณสามารถสั่ง Scale ด้วยเมาส์ได้เหมือนคำสั่ง Grab/Move และ Rotate แต่ทิศทางของการลากเมาส์เพื่อสั่ง Scale นั้นคือการลากเป็นเส้นตรงไปกลับ คือลากเส้นไปตรงๆ แล้วลากกลับมาที่เดิม การสั่ง Scale แบบปกตินั้น วัตถุจะถูกย่อหรือขยายออกทุกๆด้านเท่าๆกัน แต่คุณสามารถเลือกที่จะย่อ/ขยายออกในแกนใดแกนหนึ่ง เช่น แกน X หรือ แกน Z ได้ด้วยการกด X , Y หรือ Z ที่คีย์บอร์ด หลังจากที่คุณกด S เพื่อสั่ง Scale
เทคนิคเล็กๆ
แก้ไขความสัมพันธ์ของมุมมอง
แก้ไขคำสั่งต่างๆเหล่านี้นั้น จะถูกกระทำสัมพันธ์กับมุมที่คุณมองมันอยู่ เช่นถ้าคุณ หมุนวัตถุ จากตอนที่มองด้านหน้า หรือหมุนจากตอนที่มองจากด้านบน จะให้ผลลัพธ์ในการหมุนที่แตกต่างกัน ฉะนั้นก่อนที่คุณจะสั่งคำสั่งใดๆ ให้คุณนึกเสียก่อนว่าต้องการให้ผลลัพธ์ออกมาอย่างไร แล้วจึงเลือกมุมมองที่คุณจะกระทำกับวัตถุนั้นๆ เพราะงานที่คุณกำลังทำอยู่นั้น อยู่บนพื้นที่แบบ 3มิติ คุณต้องคำนึงไว้เสมอว่างานที่คุณทำนั้นสัมพันธ์อยู่กับแนวแกนด้วย
การเคลื่อนที่ของเมาส์
แก้ไขการกระทำกับวัตถุด้วยคำสั่งพื้นฐานเหล่านี้ จะสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ของเมาส์ ซึ่งจะเป็นระยะทางที่อาจไม่ลงตัวกับเส้นกริดของโปรแกรม แต่คุณสามารถทำการล๊อกให้การวางวัตถุแต่ละครั้งลงตรงกับแนวของเส้นกริดได้ โดยการกด Ctrl ค้างไว้ขณะที่ขยับเมาส์เพื่อ ย้าย , หมุน หรือกระทำการใดๆกับวัตถุ เพื่อให้วัตถุลงล๊อกกับเส้นกริดได้พอดี หรือคุณอาจกด Ctrl+Shift เพื่อให้ลงล๊อกของเส้นกริดย่อย แต่ถ้าคุณไม่ต้องการล๊อกวัตถุไว้กับเส้นกริด แต่ต้องให้การเคลื่อนที่ของเมาส์นุ่มนวลกว่าเดิม ให้คุณกด Shift ค้างไว้ วัตถุจะย้ายที่ในหน่วยที่ละเอียดกว่าเดิม แต่ถ้ามือคุณไม่นิ่งพอสำหรับการค่อยๆขยับเมาส์ ผมขอแนะนำให้คุณใช้คีย์บอร์ด ในการเคลื่อนย้ายแทน โดยการกดที่ ลูกศร ตามทิศทางที่ต้องการให้เคอเซอร์เลื่อนไป
แก้ไขรายละเอียดวัตถุ
แก้ไขคำสั่งพื้นฐานเหล่านี้ สามารถใช้ได้ทั้งเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของวัตถุ หรือเปลี่ยนแปลงรูปร่างของวัตถุ ขึ้นอยู่กับวิธีที่คุณใช้มัน เช่น คุณอาจย้ายหัวลิงจากซ้ายไปขวาได้ด้วยคำสั่ง Grab/Move หรือคุณอาจทำให้ลิงกลายเป็นลิงหน้ายาวได้ด้วย การสั่ง Grab/Move ส่วนคางของมันลงมา คุณสามารถนำคำสั่งพื้นฐานเหล่านี้ปรับแก้รายละเอียดของวัตถุต่างๆ จนเกิดเป็นโมเดลที่มีรู้ร่างซับซ้อนได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับทักษะในการใช้งานโปรแกรมของคุณ สิ่งสำคัญคือคุณต้องใช้มัน
สารบัญ
แก้ไขอธิบาย
แก้ไข- อินเทอร์เฟสของ Blender
- ปรับแต่ง Button window
- ปรับเปลี่ยนมุมมองใน 3d view
- ทำความรู้จัก 3dView
- ออพเจคแบบต่างๆ
- การเลือกออพเจค
- การจัดการออพเจคขั้นพื้นฐาน
- View Properties และ Background
- 3D Transform Widget
- องค์ประกอบ ของออพเจค3มิติ