ตำรากฎหมาย เป็นตำราที่ใช้ในการศึกษากฎหมาย ถึงแม้ว่าโครงการวิกิตำราจะมิได้ขึ้นอยู่กับท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่ง แต่ตำรากฎหมายในชั้นหนังสือนี้ตั้งอยู่บนระบบการศึกษากฎหมายในสถาบันอุดมศึกษาไทยเป็นหลัก

การศึกษาชั้นที่หนึ่ง

แก้ไข

การศึกษาชั้นที่หนึ่ง หรือเรียกกันตามหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาไทยทั่วไปว่า "ชั้นปริญญาตรี" (bachelor's degree) ตามปรกติใช้เวลาศึกษาสี่ปี วิชาที่เล่าเรียนแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ วิชาหลัก และวิชาเลือก

วิชาหลัก

แก้ไข

ในการศึกษาชั้นที่หนึ่ง ผู้ศึกษาต้องเรียนและผ่านวิชาหลัก หรือที่เรียกกันว่า "วิชาบังคับ" (compulsory subject) ทุกวิชา จึงจะสำเร็จหลักสูตร วิชาหลักนั้นต้องร่ำเรียนกันดังต่อไปนี้ตามลำดับ

# ตำรา เนื้อหา ปีที่ศึกษา
พื้นฐาน
1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายและระบบกฎหมาย
Introduction to Law and Legal System
บางสำนักเรียก "กฎหมายแพ่ง: หลักทั่วไป"
Introduction to Civil Law
ความหมาย บ่อเกิด วิวัฒนาการ ประเภท วิธีใช้ และทัศนคติเกี่ยวกับกฎหมาย
1
2 นิติปรัชญา
Philosophy of Law
แนวคิดทางกฎหมาย ตลอดจนวิวัฒนาการและปัญหาพื้นฐานของแนวคิดเหล่านั้น
4
3 หลักวิชาชีพนักกฎหมาย
Legal Profession
วิวัฒนาการของวิชาชีพนักกฎหมาย หน้าที่ ภารกิจ คุณธรรม วินัย และอุดมคติของนักกฎหมาย องค์กรทางวิชาชีพนักกฎหมาย และปัญหาทางจริยธรรมของนักกฎหมายในปัจจุบัน
4 ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย
Thai Legal History
รากฐานและวิวัฒนาการของระบบกฎหมายไทย
กฎหมายแพ่ง
1 กฎหมายบุคคล
Law of Persons
การเกิด ความเป็นไป และการตายของบุคคลในทางกฎหมาย ทั้งบุคคลธรรมดา (natural person) และนิติบุคคล (legal person)
1
2 กฎหมายหนี้: หลักทั่วไป
Introduction to Obligations
หลักทั่วไปว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในทางแพ่ง
2
3 กฎหมายนิติกรรมและสัญญา
Legal Transactions and Contracts
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในทางแพ่งซึ่งเป็นไปโดยความสมัครใจของบุคคลเหล่านั้น
1
4 เอกเทศสัญญา
Specific Contracts
บรรดาสัญญาซึ่งกฎหมายกำหนดชื่อและกฎเกณฑ์ไว้เป็นพิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
2
5 กฎหมายละเมิด จัดการงานนอกสั่ง และลาภมิควรได้
Torts, Agency without Specific Authorisation and Unjust Enrichment
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในทางแพ่งซึ่งเป็นไปโดยที่บุคคลมิได้สมัครใจ แบ่งเป็น
  • • ละเมิด
  • • จัดการงานนอกสั่ง
  • • ลาภมิควรได้
6 กฎหมายทรัพย์สิน
Property Law
กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
7 กฎหมายครอบครัว
Family Law
แนวคิดเกี่ยวกับครอบครัว กฎหมายครอบครัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
3
8 กฎหมายมรดก
Law of Succession
กฎหมายว่าด้วยมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กฎหมายอาญา
1 กฎหมายอาญา: ภาคทั่วไป
Introduction to Criminal Law
หลักทั่วไปในกฎหมายอาญา
2
2 กฎหมายอาญา: ภาคความผิด
Criminal Law: Offences
หลักกฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดตามที่ประมวลกฎหมายอาญาไทยและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายมหาชน
1 กฎหมายมหาชนเบื้องต้น
Introduction to Public Law
แนวคิด ทฤษฎี และวิวัฒนาการของกฎหมายมหาชน บ่อเกิดกฎหมายมหาชน องค์กรทางมหาชน นิติบุคคลมหาชน
2
2 กฎหมายรัฐธรรมนูญ
Constitutional Law
แนวคิด ทฤษฎี และวิวัฒนาการเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ตลอดจนสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
3 กฎหมายปกครอง 1
Administrative Law 1
แนวคิด ทฤษฎี และวิวัฒนาของการปกครองแผ่นดินและกฎหมายว่าด้วยการปกครองแผ่นดิน บ่อเกิดกฎหมายว่าด้วยการปกครองแผ่นดิน การจัดองค์กรของฝ่ายปกครอง และวิธีปกครองแผ่นดิน
4 กฎหมายปกครอง 2
Administrative Law 2
การควบคุมฝ่ายปกครอง
5 กฎหมายการคลังและการภาษีอากร
Law of Public Finance and Taxation
กฎหมายเกี่ยวกับการเงิน การคลัง การงบประมาณ ระบบภาษีอากร และสถาบันการเงิน เพื่อประโยชน์ในการปกครองแผ่นดิน
4
กฎหมายวิธีพิจารณาความ
1 ระบบศาลและหลักทั่วไปว่าด้วยวิธีพิจารณาคดี
Judicial System and General Principles of Procedural Law
รูปแบบของศาล การจัดองค์กรของศาล อำนาจศาล อำนาจตุลาการ และหลักทั่วไปว่าด้วยวิธีดำเนินกิจการในทางพิจารณาคดีของศาล
2
2 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
Law of Civil Procedure
วิธีดำเนินคดีแพ่งโดยทั่วไป รวมถึงการบังคับคดีแพ่ง
3
3 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
Law of Criminal Procedure
วิธีดำเนินคดีอาญาโดยทั่วไป
4 กฎหมายพยานหลักฐาน
Law of Evidence
กฎหมายว่าด้วยพยานหลักฐาน ทั้งที่เป็นหลักทั่วไป และที่เป็นบทบัญญัติ
กฎหมายระหว่างประเทศ
1 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
Public International Law
  • • แนวคิด ทฤษฎี และวิวัฒนาการของกฎหมายระหว่างประเทศ บ่อเกิดกฎหมายระหว่างประเทศ บุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศ
  • • รัฐ การเกิดรัฐ องค์ประกอบต่าง ๆ ของรัฐ และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ
  • • กฎหมายที่ใช้ในอาณาบริเวณต่าง ๆ เช่น น่านฟ้า น่านน้ำ
  • • สิทธิมนุษยชน สงคราม และการใช้กำลัง
  • • การระงับข้อพิพาทตามกฎหมายมหาชนในระดับระหว่างประเทศ
  • • สิ่งแวดล้อม
4
2 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
Private International Law
  • • ความสัมพันธ์ทางกฎหมายเอกชนในระดับระหว่างประเทศ
  • • การขัดกันแห่งกฎหมาย
  • • สัญชาติ และคนต่างด้าว
  • • การระงับข้อพิพาทตามกฎหมายเอกชนในระดับระหว่างประเทศ

วิชาเลือก

แก้ไข

ในระหว่างศึกษาวิชาหลักนั้น ผู้ศึกษาสามารถเลือกเรียนบางวิชาจากรายการที่จัดไว้ให้แล้วแต่ความสนใจของตน วิชาประเภทนี้เรียก วิชาเลือก หรือเรียกกันตามหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาไทยว่า "วิชาเลือกเสรี" (elective subject)

กระนั้น แม้จะมีชื่อว่า "เลือกเสรี" แต่โดยทั่วไป ผู้ศึกษาจำต้องเลือกเรียนและผ่านจนได้หน่วยกิตเป็นจำนวนที่กำหนดไว้ จึงจะสำเร็จหลักสูตร วิชาเลือกมีดังต่อไปนี้

# ตำรา เนื้อหา หมายเหตุ
กฎหมายแพ่ง
1 ทรัพย์สินทางปัญญา
Intellectual Property
หลักกฎหมายลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายทางการค้า และชื่อทางการค้า
กฎหมายมหาชน
1 สิทธิขั้นพื้นฐาน
Fundamental Rights
ความหมาย ความสำคัญ ความเป็นมา และการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ตลอดจนสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญไทย
2 กฎหมายว่าด้วยสวัสดิการสังคม
Law on Social Welfare
ความเป็นมา แนวคิด หลักการ หลักเกณฑ์ และนโยบายของรัฐเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคม เช่น ลูกจ้าง ครอบครัว สตรี เยาวชน คนชรา คนพิการ ฯลฯ รวมถึงข้อบกพร่อง ปัญหา และวิธีแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการดังกล่าว
3 กฎหมายเกี่ยวกับการผังเมืองและการควบคุมอาคาร
Law Relating to City Planning and Construction Control
ความเป็นมา หลักกฎหมาย วิธีบังคับตามกฎหมาย มาตรการเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองอันยังให้เกิดความจำเป็นต้องมีการวางผังเมืองและควบคุมอาคาร
4 กฎหมายว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่น
Law on Local Government
แนวความคิดเกี่ยวกับการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยในปัจจุบัน รวมถึงอำนาจหน้าหน้าที่และการคลังขององค์กรเหล่านี้ กับทั้งการควบคุมจากส่วนกลาง
5 ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองเปรียบเทียบ
Comparative Law on Administrative Courts
ความหมาย ประวัติศาสตร์ ความคิด ความสำคัญ ภารกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ วิธีพิจารณา ผลการพิจารณา และการบังคับตามผลการพิจารณาของศาลปกครองทั้งของไทยและต่างประเทศ
6 ศาลรัฐธรรมนูญและวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ
Constitutional Court and Procedure
ประวัติศาสตร์และความคิดเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ ตลอดจนภารกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ วิธีพิจารณา ผลการพิจารณา และการบังคับตามผลการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญไทย
7 กฎหมายรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ
Comparative Constitutional Law
หลักกฎหมายรัฐธรรมนูญไทย เปรียบเทียบกับของต่างประเทศในประเด็นสำคัญ
8 กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการใช้อำนาจรัฐ
Law on Control of Exercise of State Power
การควบคุมการใช้อำนาจรัฐ โดยสถาบันซึ่งมิใช่ศาล (เช่น ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ฯลฯ) และโดยประชาชน
9 กฎหมายว่าด้วยเจ้าหน้าที่ของรัฐ
Law on Public Authorities
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทต่าง ๆ เช่น ราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน ฯลฯ เป็นต้นว่า การได้มาซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐ สิทธิและหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ กับทั้งวินัย การลงโทษ และการเรียกค่าเสียหายจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ
10 กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจเบื้องต้น
Introduction to Public Economic Laws
ความเป็นมา หลักเกณฑ์ และมาตรการของการที่รัฐเข้าควบคุมและดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รวมถึงข้อบกพร่อง ปัญหา และวิธีแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการดังกล่าว
11 กฎหมายพรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
Political Party and Electoral Law
ความเป็นมา วิวัฒนาการ โครงสร้าง และสภาพในปัจจุบันของพรรคการเมือง ระบบการเลือกตั้ง องค์กรที่จัดการเลือกตั้ง และกฎหมายการเลือกตั้ง ทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ รวมตลอดถึงข้อบกพร่อง ปัญหา และวิธีแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
12 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายมหาชนเยอรมัน
Introduction to German Public Law
ความเป็นมาและวิวัฒนาการของกฎหมายมหาชนเยอรมัน สถาบันทางการเมืองเยอรมัน หลักและทฤษฎีทางกฎหมายมหาชนเยอรมัน เช่น หลักเกี่ยวกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค นิติรัฐ ประชาธิปไตย สหพันธรัฐ ความเป็นธรรมทางสังคม ฯลฯ ตลอดจนวิธีที่ประเทศเยอรมนีบังคับหลักการเหล่านี้ให้เกิดผล
ระบบกฎหมาย
1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบกฎหมายอังกฤษและอเมริกัน
Introduction to Anglo-American Law
ความเป็นมา ลักษณะ นิติวิธี และประเพณีการใช้นิติวิธีของระบบกฎหมายอังกฤษและอเมริกัน (ระบบคอมมอนลอว์)
2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบกฎหมายฝรั่งเศส
Introduction to French Legal System
ความเป็นมา ลักษณะ สถาบันที่สำคัญ หลักกฎหมายที่สำคัญ ตลอดจนพัฒนาการใหม่ ๆ เกี่ยวกับระบบกฎหมายนี้
3 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบกฎหมายเยอรมัน
Introduction to German Legal System
4 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบกฎหมายญี่ปุ่น
Introduction to Japanese Legal System
5 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบกฎหมายไทย
Introduction to Thai Legal System
6 กฎหมายโรมันเบื้องต้น
Introduction to Roman Law
ประวัติศาสตร์และลักษณะของระบบกฎหมายโรมันซึ่งเป็นรากเหง้าของระบบซีวิลลอว์
7 ระบบซีวิลลอว์
Civil Law System
ความเป็นมาและวิวัฒนาการของระบบซีวิลลอว์ รวมถึงความคิดพื้นฐาน ทัศนคติ บ่อเกิดของกฎหมาย นิติวิธี และหลักกฎหมายที่สำคัญในระบบซีวิลลอว์
8 กฎหมายอิสลาม
Islamic Law
ประวัติศาสตร์ ลักษณะ บ่อเกิด ระบบศาล และหลักของกฎหมายอิสลาม
กฎหมายระหว่างประเทศ
1 สิทธิมนุษยชน
Human Rights
ความหมาย ความเป็นมา วิวัฒนาการ ทฤษฎี แนวคิด และปรัญชาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ตลอดจนสภาพบังคับของสิทธิมนุษยชน กับวิธีส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
2 กฎหมายองค์การระหว่างประเทศ
Law of International Organisations
ความหมาย การก่อตั้ง สภาพบุคคล และสมาชิกภาพขององค์การระหว่างประเทศ ผลทางกฎหมายของข้อมติแห่งองค์การระหว่างประเทศ เอกสิทธิ์และความคุ้มกันสำหรับองค์การระหว่างประเทศ ตลอดจนปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับองค์การระหว่างประเทศ
3 กฎหมายทะเล
Law of the Sea
ความเป็นมาและบ่อเกิดของกฎหมายทะเล สถานะทางกฎหมายของพื้นน้ำในความควบคุมของรัฐ (เช่น น่านน้ำภายในทะเลอาณาเขต เขตเศรษฐกิจจำเพาะ ไหล่ทวีป หมู่เกาะ ช่องแคบ อ่าว ฯลฯ) และพื้นน้ำที่ไม่อยู่ในความควบคุมของรัฐใด ๆ (เช่น ทะเลหลวง เขตก้นทะเลลึก ฯลฯ) รวมถึงการกำหนดเขตทะเล ข้อพิพาททางกฎหมายทะเล และการระงับข้อพิพาทเหล่านั้น
4 กฎหมายอาญาระหว่างประเทศ
International Criminal Law
บางสำนักเรียก "กฎหมายอาชญากรรมระหว่างประเทศ"
หลักและทฤษฎีของกฎหมายอาญาระหว่างประเทศ ความผิดอาญาระหว่างประเทศที่ตราเป็นกฎหมายแล้ว กับทั้งการดำเนินคดีอาญาระหว่างประเทศ
5 ความร่วมมือระหว่างประเทศในทางอาญา
International Cooperation in Criminal Matters
กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน หลักเกณฑ์ว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนตามกฎหมายไทย ตลอดจนความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินคดีอาญาและการกำหนดความผิดอาญาสากล
6 กฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ
International Environmental Law
กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิ่งแวดล้อม เช่น มลพิษข้ามแดน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ความหลากหลายทางชีวภาพ การคุ้มครองพันธุ์พืชและสัตว์ กับทั้งบทบาทขององค์การระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม

การศึกษาชั้นที่สอง

แก้ไข

การศึกษาชั้นที่สอง หรือเรียกกันตามหลักสูตรสถาบันอุดมศึกษาทั่วไปว่าว่า "ชั้นปริญญาโท" (master's degree) ตามปรกติใช้เวลาศึกษาสองปี ผู้ศึกษาชั้นที่สองย่อมมีพื้นฐานมาจากชั้นที่หนึ่งแล้ว การศึกษาในชั้นที่สองนี้จึงมีความเข้มข้นและเฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้น วิชาในชั้นที่สองมีดังต่อไปนี้

# ตำรา เนื้อหา
กฎหมายระหว่างประเทศ
1 กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ
International Trade Law
  • • นิยาม ความเป็นมา และลักษณะของการค้าระหว่างประเทศ
  • • ความเป็นมา วิวัฒนาการ และบ่อเกิดกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ
  • • ซื้อขายระหว่างประเทศ ขนส่งทางทะเล ประกันภัยทางทะเล และเลตเตอร์ออฟเครดิต