นิติปรัชญา
หน้าที่คุณเห็นนี้ต้องการ "การปรับปรุงเนื้อหา การแก้ไขรูปแบบ การเรียบเรียงภาษาที่ใช้ใหม่ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมด" ส่วนใดส่วนหนึ่งหรือในหลายส่วนด้วยกัน เพื่อให้ได้ถูกต้องตามมาตรฐานและนโยบายของวิกิตำรา คุณสามารถช่วยตรวจสอบ และแก้ไขบทความนี้ได้ด้วยการกดปุ่ม แก้ไข ด้านบน เมื่อทุกอย่างเป็นที่เรียบร้อยดีแล้ว คุณสามารถนำป้ายนี้ออกได้ทันที |
นิติปรัชญา
1. กฎหมายธรรมชาติคืออะไร มีพัฒนาการอย่างไร กฎหมายธรรมชาติ เป็นทฤษฎีที่เชื่อว่า กฎหมายที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เป็นกฎหมายที่อยู่เหนือรัฐและใช้ได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ ความหมายของกฎหมายธรรมชาติ โดยแยกออกเป็น 2 นัย คือ นัยแรก เป็นหลักเกณฑ์ของกฎหมายอุดมคติที่มีค่าบังคับสูงกว่ากฎหมายที่มนุษย์บัญญัติขึ้นเอง ดังนั้น กฎหมายใดที่มนุษย์บัญญัติขึ้นซึ่งขัดหรือแย้งต่อหลักกฎหมายธรรมชาติก็จะไม่มีค่าบังค ับเป็นกฎหมายเลย นัยที่สอง ถือว่าหลักกฎหมายธรรมชาติเป็นเพียงอุดมคติของกฎหมายที่รัฐบัญญัติขึ้น ดังนั้นการบัญญัติหรือตรากฎหมายจึงควรให้สอดคล้องกับหลักการของกฎหมายธรรมชาติ กฎหมายที่ขัดหรือแย้งกับหลักกฎหมายธรรมชาติ อาจถือว่าเป็นกฎหมายที่ไม่มีค่าบังคับในทางกฎหมายโดยสมบูรณ์ แต่ไม่ถึงกับเป็นโมฆะ หรือไม่มีค่าบังคับในทางกฎหมายเสียเลย
1. ยุคกรีกโบราณและโรมัน
1.1 จุดก่อตัวของแนวคิดปรัชญากฎหมายธรรมชาติ เกิดโดย เฮราคลิตุส ธรรมชาติคือความสัมพันธ์ของสรรพสิ่ง แก่นสารของชีวิตคือธรรมชาติ
- โซโฟครีส เขียนหนังสือชื่อ แอนโทโกนี เป็นละครโศกนาฏกรรม(เรื่องการทำศพพี่ชาย)ที่บรรจุหลักการสำคัญในการแยกกฎหมายอันแท้จ ริงออกจากโครงสร้าง, อำนาจรัฐ และยืนยันความเป็นโมฆะของกฎหมายแผ่นดินที่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายธรรมชาติหรือความยุติ ธรรม เนื่องจากโซโฟครีส เชื่อหลักความเป็นธรรมตามธรรมชาติ
- เพลโต สรุปว่า กฎหมายธรรมชาติเป็นความคิดหรือแบบอันไม่มีวันเปลี่ยนแปลงสำหรับใช้เป็นบรรทัดฐานต่อกฎหมายบ้านเมือง และมีเพียงราชาปราชญ์ผู้สามารถเข้าถึง “แบบ”
1.2 พวก Homo mensura เป็นพวกที่ไม่เชื่อว่ากฎหมายมีอยู่ในธรรมชาติ แต่มนุษย์เป็นผู้สร้างกฎหมายขึ้นมา
1.3 สำนักสโตอิค มีแนวความคิดพื้นฐานว่า ในจักรวาลประกอบด้วย “เหตุผล” ซึ่งเป็นเสมือนกฎเกณฑ์ธรรมชาติที่มีลักษณะแน่นอน มนุษย์ซึ่งถูกกำหนดควบคุมโดย “เหตุผล”
1.4 จักรวรรดิโรมัน ได้นำหลักกฎหมายธรรมชาติไปปรับใช้ในการพัฒนาระบบกฎหมายของโรมันให้มีความเหมาะสมเป็น ธรรม
2. ยุคมืด และช่วงแรกของยุคกลาง ยุคมืด และช่วงแรกของยุคกลาง ศาสนจักรโรมันคาทอลิกก็เข้าครอบงำและพัฒนาเปลี่ยนแปลงปรัชญากฎหมายธรรมชาติให้สอดคล้ องกับหลักคำสอนของคริสต์ศาสนา (เน้นว่า กฎหมายที่ขัดต่อคำสอนของศาสนาไม่เป็นกฎหมาย)โดยนำแนวคิดเรื่องบาปโดยกำเนิด (Original Sin) เข้ามาแทนที่ “เหตุผล” ช่วงที่สองของยุคกลาง เซนต์ โทมัส อไควนัส ยืนยันว่ากฎหมายธรรมชาติสูงกว่ากฎหมายที่รัฐบัญญัติขึ้น (เจตจำนงของพระเจ้าคือที่มาของกฎหมาย) และได้แบ่งกฎหมายออกเป็น 4 ประเภท คือ
1) กฎหมายนิรันดร์
2 ) กฎหมายธรรมชาติ
3.) กฎหมายศักดิ์สิทธิ์
4.) กฎหมายของมนุษย์
3. ยุคฟื้นฟู และยุคปฏิรูป (เป็นยุคที่เกิดกฎหมายระหว่างประเทศ) เป็นยุคที่ปรัชญากฎหมายธรรมชาติแยกออกจากการครอบงำของศาสนาคริสต์ มาสู่การวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ ฮูโก โกรเชียส ได้นำหลักการของกฎหมายธรรมชาติบางเรื่องไปเป็นรากฐานในการบัญญัติกฎหมายระหว่างประเทศ จนได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาของกฎหมายระหว่างประเทศ
4. ยุคชาติรัฐนิยม เป็นยุคที่กฎหมายธรรมชาติมีความเสื่อมลง เพราะ
1) กระแสสูงของลัทธิชาติรัฐนิยม (Nationalism)
2) ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และวิธีคิดเชิงประจักษ์วาทแบบแบบวิทยาศาสตร์ และภายใต้ความคิดทางแบบวิทยาศาสตร์นี้ก็ยังเป็นพื้นฐานให้เกิดลัทธิอรรถประโยชน์และทฤษฎีปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย
5. ยุคปัจจุบัน (ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2) มีการฟื้นตัวของกฎหมายธรรมชาติ อันเนื่องจากองค์การสหประชาชาติ (UN) รณรงค์ให้เคารพในสิทธิมนุษยชน (Human Rights) ในยุคนี้ปรัชญากฎหมายธรรมชาติมีบทบาทอยู่ 2 ลักษณะ
5.1) ในแง่สนับสนุนอุดมคตินิยมทางกฎหมายเชิงจริยธรรม
5.2) เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับสิทธิซึ่งสนับสนุนเรื่องสิทธิมนุษยชน
ในยุคนี้ทำให้เกิดกฎหมายธรรมชาติร่วมสมัย
ฟูลเลอร์ เชื่อมั่นในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับศีลธรรม เน้นความสำคัญของเรื่อง “วัตถุประสงค์” ซึ่งประกาศว่า กฎหมายจำต้องบรรจุด้วยหลักเกณฑ์ทางศีลธรรม หรือที่เขาเรียกว่า “The Inner Morality of Law” โดยต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขสำคัญ 8 ประการ
1) กฎหมายต้องมีลักษณะทั่วไป
2) ต้องถูกตีพิมพ์เผยแพร่ให้ปรากฏแก่สาธารณะ
3) ต้องไม่มีผลย้อนหลัง
4) ต้องมีลักษณะชัดแจ้ง และสามารถเป็นที่เข้าใจได้
5) ต้องไม่มีความขัดแย้งกัน
6) ต้องไม่เป็นการกำหนดบังคับในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
7) ต้องมีความมั่นคง แน่นอน
8) ต้องมีความกลมกลืน
จอห์น ฟินนีส อธิบายทฤษฎีกฎหมายธรรมชาติ ด้วยการหาคำตอบเกี่ยวกับลักษณะของชีวิตที่มีคุณค่า โดยเริ่มจากสมมติฐานหลัก 2 ประการ คือ 1) รูปแบบพื้นฐานแห่งความมั่งคั่งรุ่งเรืองของมนุษย์ 2) สิ่งจำเป็นเชิงวิชาการพื้นฐานของความชอบด้วยเหตุผลเชิงปฏิบัติ
จุดอ่อน
- ความเป็นนามธรรมอย่างสูง
- ไม่สามารถพิสูจน์ตรวจสอบความถูกต้องได้ด้วยวิธีการทาง
- ไม่ถูกต้องตามหลักตรรกะ
2. ปฏิฐานนิยมทางกฎหมายคืออะไร ฟุลเลอร์และดวอร์กิ้นได้วิจารณ์ฮาร์ทอย่างไร
ทฤษฎีปฎิฐานนิยมทางกฎหมาย หรือ“กฎหมายบ้านเมือง” (กฎหมายต้องเป็นกฎหมาย) มีแนวคิดหลักว่ากฎหมายคือเจตจำนงหรือคำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์, ความสมบูรณ์ของกฎหมายอยู่ที่สภาพบังคับที่เด็ดขาด, กฎหมายนั้นไม่จำต้องผูกติดสัมพันธ์กับความยุติธรรมหรือหลักจริยธรรมใด ๆ จึงทำให้ทฤษฎีปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย เป็นแนวคิดที่สวนทางกลับทฤษฎีกฎหมายธรรมชาติ
ทรรศนะพื้นฐานสำคัญ
1) ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่เป็นอยู่จริง (Is) หาใช่เป็นสิ่งเดียวหรือสัมพันธ์กับหลักคุณค่าบรรทัดฐานหรือสิ่งที่ควรจะเป็น (Ought) ไม่
2) กฎหมายเป็นผลผลิตหรือเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นโดยอำนาจปกครองในสังคม แนวคิดพื้นฐานของทฤษฎีปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย แบ่งออกเป็น 3 ประการ คือ
1. กฎหมายไม่เกี่ยวข้องกับศีลธรรม
2. กฎหมายมาจากรัฎฐาธิปัตย์
3. กฎหมายเป็นสิ่งที่มีสภาพบังคับหรือมีบทลงโทษ
พัฒนาการทางทฤษฎีนี้เป็นผลทำให้การแยกทฤษฎีออกเป็นสองแบบฉบับ (Version) คือ
1. แบบฉบับดั้งเดิม ในคริสต์ศตวรรษที่ 19
- เบนแธม (is กับ ought แยกออกจากกัน) เป็นนักปรัชญาและนักปฏิรูปกฎหมายคนสำคัญของชาวอังกฤษ และเป็นผู้สนับสนุนลัทธิหรือหลักอรรถประโยชน์ ซึ่งเชื่อว่า คุณค่าของการกระทำใด ๆ ล้วนต้องพิจารณาจากผลลัพธ์ในแง่อรรถประโยชน์หรือความสุขที่เกิดขึ้น
- ออสติน (Austin) ทฤษฎีคำสั่งแห่งกฎหมาย ซึ่งเรียกกันในภายหลังว่า “นิติศาสตร์เชิงวิเคราะห์” ซึ่งจะเน้นที่ลักษณะภายนอกของสภาพบังคับกฎหมาย หรือเน้นที่ตัวบุคคลผู้มีอำนาจออกกฎหมาย 2. แบบฉบับซึ่งได้รับการพัฒนาแก้ไขปรับปรุง ในคริสต์ศตวรรษที่ 20
- ฮาร์ท (จะเน้นประสิทธิภาพของกฎหมาย) ถือว่า ระบบกฎหมายนั้นเป็นระบบแห่งกฎเกณฑ์ทางสังคมรูปแบบหนึ่ง “โดยพื้นฐานแท้จริงแล้ว การยึดมั่นของปฎิฐานนิยมทางกฎหมายในบทสรุปของแนวคิดเรื่องการแยกกฎหมายออกจากศีลธรรม นั้น ในตัวของมันวางอยู่บนเหตุผลทางศีลธรรม” และได้แบ่งกฎเกณฑ์ของ “ระบบกฎหมาย” ออกเป็น 2 ประเภท คือ กฎปฐมภูมิและกฎทุติยภูมิ ในทรรศนะของฮาร์ท ถือว่าเป็นกฎหลักสองประการที่เน้นประสิทธิภาพของกฎหมาย ทำให้กฎเกณฑ์ทางกฎหมายมีความสมบูรณ์
1) กฎปฐมภูมิ (สารบัญญัติ) หมายถึง กฎเกณฑ์ทั่วไปซึ่งวางบรรทัดฐานการประพฤติให้คนทั่วไปในสังคม และก่อให้เกิดหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามในลักษณะเป็นกฎหมายเบื้องต้นทั่วไป 2) กฎทุติยภูมิ (วิธีสบัญญัติ) หมายถึง กฎเกณฑ์พิเศษที่สร้างขึ้นมาเสริมความสมบูรณ์ของกฎปฐมภูมิ เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้มากยิ่งขึ้น โดยองค์ประกอบของกฎทุติยภูมิออกเป็น 3 กฎย่อย คือ 1) กฎที่กำหนดเกณฑ์การรับรองความเป็นกฎหมายที่สมบูรณ์
2) กฎที่กำหนดเกณฑ์การบัญญัติและแก้ไขเปลี่ยนแปลง
3) กฎที่กำหนดเกณฑ์การวินิจฉัยชี้ขาดตัดสิน ข้อวิจารณ์ของ ฟูลเลอร์ (Fuller) ที่มีต่อระบบกฎเกณฑ์ของฮาร์ท ฟูลเลอร์ เป็นนักทฤษฎีฝ่ายกฎหมายธรรมชาติ - ยอมรับข้อเสนอของฮาร์ทที่ว่า “กฎหมายคือระบบของกฎเกณฑ์” - แต่ก็ยังยืนยันความสำคัญของเรื่องวัตถุประสงค์ภายในตัวกฎหมาย ฟูลเลอร์ ไม่เห็นด้วยอย่างมากกับการที่ฮาร์ทสรุปว่า กฎหมายเป็นเรื่องของกฎเกณฑ์ล้วน ๆ และไม่จำต้องเกี่ยวข้องกับหลักศีลธรรมหรือหลักคุณค่านามธรรมเสมอไป กล่าวคือ ฟูลเลอร์เห็นว่า “กฎหมายนั้นต้องสนองตอบความจำเป็นหรือวัตถุประสงค์ทางศีลธรรม กฎหมายและศีลธรรมจึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจแยกออกจากกันได้ กฎหมายจะต้องมีสิ่งที่อาจเรียกว่า “ศีลธรรมภายในกฎหมาย” บรรจุอยู่เสมอ” และ ไม่เห็นด้วยกับฮาร์ทที่แยกกฎปฐมภูมิซึ่งเป็นกฎที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดพันธะหน้าที่ และกฎทุติยภูมิซึ่งเป็นกฎเกี่ยวกับการให้อำนาจด้านกฎหมาย ออกจากกันโดยเด็ดขาด เพราะในบางสถานการณ์กฎอันเดียวกันอาจให้ทั้งอำนาจและกำหนดหน้าที่ ไม่จำกัดบทบาทเพียงอย่างหนึ่งอย่างใด หากแต่ต้องแปรผันไปตามสภาพแวดล้อม ข้อวิจารณ์ของ ดวอร์กิ้น (Dworkin) ที่มีต่อระบบกฎเกณฑ์ของฮาร์ท ดวอร์กิ้น วิจารณ์แนวคิดเรื่อง”ระบบแห่งกฎเกณฑ์” โดยเห็นว่า การถือว่ากฎหมายเป็นเพียงเรื่องระบบแห่งกฎเกณฑ์ตามความคิดของฮาร์ทนั้น เป็นข้อสรุปที่ไม่สมบูรณ์และคับแคบเกินไป เพราะจริง ๆ แล้ว “กฎเกณฑ์” ไม่ใช่เนื้อหาสาระเดียวในกฎหมาย การมองกฎหมายว่าเป็นเรื่องของกฎเกณฑ์เท่านั้นไม่เป็นสิ่งที่เพียงพอ กฎเกณฑ์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกฎหมายเท่านั้น แท้จริงแล้วยังมีเนื้อหาสาระสำคัญอื่น ๆ ซึ่งประกอบอยู่ภายในกฎหมาย ที่สำคัญคือเนื้อหาสาระที่เป็นเรื่องของ “หลักการ” ทางศีลธรรม หรือความเป็นธรรม ดวอร์กิ้นถือว่า “หลักการ” เป็นมาตรฐานภายในกฎหมายซึ่งต้องเคารพรักษา ซึ่ง “หลักการ” ต่างกับ “กฎเกณฑ์” ตรงที่กฎเกณฑ์มีลักษณะใช้ได้ทั่วไปมากกว่า ขณะที่หลักการต้องเลือกปรับใช้ในบางคดี
ในจุดนี้ ดวอร์กิ้น ได้ยกตัวอย่างที่เขาต้องการชี้ให้เห็นความแตกต่าง ระหว่าง “หลักการ” และ “กฎเกณฑ์" เช่น คดี Henningsen V. Bloomfield Motors ซึ่ง มีประเด็นสำคัญว่า บริษัทผู้ผลิตยางรถยนต์สามารถจำกัดความรับผิดของตนในความเสียหายที่เกิดขึ้น เนื่องจา กความบกพร่องในการผลิตได้เพียงใด
ในเมื่อได้ทำสัญญาโดยตกลงว่าความรับผิดของบริษัทผู้ผลิตจำกัดเพียงการซ่อมแซมส่วนที่ บกพร่องให้ดีเท่านั้น ต่อมาเมื่อได้เกิดความเสียหายขึ้น ผู้ซื้อโต้แย้งว่า บริษัทไม่ควรได้รับการคุ้มครองโดยข้อจำกัดของสัญญาดังกล่าว โดยควรต้องรับผิดชอบต่อค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เนื่องจากการชนกันของรถซึ่งเป็นผลจากความบกพร่องของรถยนต์ คดีนี้ ผู้ซื้อไม่สามารถอ้างกฎหมายหรือหลักนิติธรรมที่หนักแน่นใด ๆ ซึ่งห้ามบริษัทผู้ผลิตไม่ให้ทำข้อตกลงในลักษณะดังกล่าว ศาลเห็นพ้องกับคำร้องขอของผู้ซื้อ โดยให้เหตุผลว่า แม้หลักเรื่องเสรีภาพในการทำสัญญาจะเป็นหลักการสำคัญในกฎหมาย แต่ก็หาใช่ว่า จะเป็นสิ่งที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ บริษัทผู้ผลิตต้องมีภาระเป็นพิเศษในเรื่องการสร้าง การโฆษณาและการขายรถยนต์ของตน ศาลไม่ยอมปล่อยให้อยู่ใต้บังคับของข้อตกลงต่อรองซึ่งคู่กรณีฝ่ายหนึ่งได้ฉก ฉวยผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างไม่เป็นธรรมจากอีกฝ่ายหนึ่ง (ในเรื่องคดีนี้ อาจยกตัวอย่างคดีอื่นๆ ได้)
ดวอร์กิ้นเห็นว่า มาตรฐานที่ศาลใช้เป็นเหตุผลของคำพิพากษามิใช่สิ่งที่เราเข้าใจว่าเป็นกฎเกณฑ์ทางกฎหมาย แต่คือหลักการทางกฎหมาย ในการมองธรรมชาติของกฎหมายว่ามิใช่เป็นเรื่องของกฎเกณฑ์หรือระบบแห่งกฎหมายเท่านั้น แต่ยังมีสาระของเรื่องหลักการประกอบอยู่ด้วย ความเชื่อตรงนี้ทำ ให้ดวอร์กิ้นวิพากษ์วิจารณ์ฮาร์ทอย่างมากในเรื่องการใช้ดุลพินิจของผู้พิพากษานอกเหน ือกฎหมาย ในการตัดสินคดีที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ในลักษณะคล้ายเป็นการตรากฎหมายขึ้นใหม่ ซึ่งฮาร์ทถือว่าทำได้ แต่ดวอร์กิ้นไม่ยอมรับดุลพินิจเช่นนี้ โดยเชื่อว่าผู้พิพากษาสามารถค้นหาคำตอบได้จากหลักการภายในกฎหมายมิใช่ใช้ดุลพินิจบัญญัติกฎหมายขึ้นมาเอง
3. กฎหมายประวัติศาสตร์คืออะไร มีหลักการสำคัญ 3 ประการอย่างไรบ้าง กฎหมายประวัติศาสตร์ หรือ สำนักกฎหมายประวัติศาสตร์ เป็นสำนักที่นำเอาการวิเคราะห์หรือองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ไปใช้ใน กฎหมาย เพื่อสร้างทฤษฎีกฎหมายในเชิงนิติปรัชญา สำนักกฎหมายประวัติศาสตร์ถือกำเนิดขึ้นโดยนักนิติศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่อ ฟอน ซาวิญยี่ ที่ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของศาสตราจารย์ทีเบาท์ แห่งมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ค ที่ให้ทำการยกร่างประมวลกฎหมายเยอรมนี ซาวิญยี่เห็นว่า 1. มีรากเหง้าที่หยั่งลึกอยู่ในประวัติศาสตร์ของประชาชาติ 2. มีกำเนิดและเติบโตเรื่อยมาจากประสบการณ์และหลักความประพฤติทั่วไปของประชาชน 3. ปรากฏในรูป “จิตสำนึกร่วมกันของประชาชน”
หลักการสำคัญของกฎหมายประวัติศาสตร์ จากความคิดพื้นฐานของซาวิญยี่ มีดังนี้ 1. กฎหมายเป็นสิ่งที่ถูกค้นพบ มิใช่สิ่งที่ถูกสร้างขึ้น 2. นักกฎหมายเป็นเสมือนปากเสียงของจิตสำนึกของประชาชน นักกฎหมายจึงมีความสำคัญมากกว่านักนิติปรัชญาในแง่ของการเป็นบุคคลผู้สร้างกฎหมาย 3. กฎหมายมิใช้สิ่งที่มีความสมบูรณ์อย่างสากล มิใช่สิ่งที่จะนำมาปรับใช้ได้ทุก ๆ แห่งเหมือนกัน ประเด็นสำคัญที่เสนอคือ ถ้าจะสร้างกฎหมายหรือตรากฎหมายขึ้นมาต้องสร้างกฎหมายที่ถูกต้องสอดคล้องกับจิตวิญญาณ ของคนในชาติ หรือเจตจำนงของประชาชน
4. นิติศาสตร์เชิงสังคมวิทยาคืออะไร รอสโคพาวน์อธิบายทฤษฎีวิศวกรรมสังคมว่าอย่างไร
นิติศาสตร์เชิงสังคม เป็นแนวความคิดหรือทฤษฎีทางนิติศาสตร์ที่เน้นบทบาทของกฎหมายต่อสังคม อันเป็นการพิจารณาถึงบทบาทหน้าที่ของกฎหมายหรือการทำงานของกฎหมายมากกว่าการสนใจกฎหม ายในแง่ที่เป็นเนื้อหาสาระซึ่งเป็นนามธรรมลอย ๆ
ทฤษฎีนิติศาสตร์เชิงสังคมวิทยา เป็นทฤษฎีทางกฎหมายที่ก่อตัวขึ้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นช่วงที่สังคมตะวันตกอยู่ในภาวะของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จากสังคมประเพณีที่ไม่ซับซ้อนสู่สังคมอุตสาหกรรม (Industrial Society)
มีกลุ่มแนวคิดทฤษฎี 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มที่มีแนวความคิดค่อนมาทางปีกขวา หรืออนุรักษ์เสรีนิยม เยียริ่ง
- ต้นกำเนิดของกฎหมายวางอยู่ที่เงื่อนไขทางสังคมวิทยา
- รากฐานอันแท้จริงของ เรื่อง “สิทธิ"” อยู่ที่ “ผลประโยชน์
- ต้นเหตุสำคัญของกฎหมายอยู่ที่การเป็นเครื่องมือเพื่อสนองตอบความต้องการของสังคม
- วัตถุประสงค์ของกฎหมายอยู่ที่การปกป้องหรือขยายการปกป้องผลประโยชน์ของสังคม
2. กลุ่มที่มีแนวความคิดค่อนมาทางทางปีกซ้าย หรือโอนเอียงใกล้กับความคิดแบบสังคมนิยม ดิวกี้ เป็นผู้นำเสนอทฤษฎีความสมานฉันท์ของสังคม (Social Solidarism) ซึ่งเน้นเรื่องประโยชน์ของสังคม เน้นเรื่องการกระจายอำนาจของรัฐ ปฏิเสธการแยกกฎหมายเอกชนกับกฎหมายมหาชน ปฏิเสธการดำรงอยู่เรื่องสิทธิส่วนตัว แกนกลางของกฎหมายอยู่ที่เรื่องหน้าที่ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะประกันว่าแต่ละคนได้ดำเนินบทบาทของตนในการส่งเสริมความสมานฉ ันท์ในสังคม
รอสโค พาวนด์ เป็นผู้พัฒนาทฤษฎีนิติศาสตร์เชิงสังคมวิทยาให้มีรายละเอียดในเชิงปฏิบัติ เน้นการศึกษาหรือการแก้ไขปัญหาเชิงปฎิบัติ กฎหมายเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับคานประโยชน์ต่าง ๆ ในสังคมเพื่อให้เกิดความสมดุล ซึ่งวิธีการคานประโยชน์ต่าง ๆ นั้น ก็ด้วยการสร้างกลไกในการคานอำนาจผลประโยชน์ เสมือนการก่อสร้างหรือวิศวกรรมสังคม จึงเรียกว่า ทฤษฎีวิศวกรรมสังคม (Social Engineering Theory)
แบ่งอธิบายทฤษฎีของเขาเป็น 3 หัวข้อ ได้แก่
1. ความหมายของผลประโยชน์ ผลประโยชน์ คือ “ข้อเรียกร้อง ความต้องการ หรือความปรารถนาที่มนุษย์ต่างยืนยันเพื่อให้ได้มาอย่างแท้จริง และเป็นภารกิจที่กฎหมายต้องกระทำการอันใดอันหนึ่ง เพื่อสิ่งเหล่านั้นหากต้องการธำรงไว้ซึ่งสังคมอันเป็นระเบียบเรียบร้อย” ผลประโยชน์ดังกล่าวนี้ เป็นสิ่งที่กฎหมายมีหน้าที่ต้องตอบสนอง
2. ประเภทของผลประโยชน์ รอสโค พาวนด์ แบ่งผลประโยชน์ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. ผลประโยชน์ของปัจเจกชน คือ ข้อเรียกร้อง ความต้องการ ความปรารถนา และความคาดหมายในการดำรงชีวิตของปัจเจกชน ซึ่งเกี่ยวข้องกับ
- ผลประโยชน์ด้านบุคลิกภาพส่วนตัว
- ความสัมพันธ์ทางครอบครัว
- ผลประโยชน์อันเป็นแก่นสาระสำคัญ ซึ่งรวมถึงการมีทรัพย์สินส่วนบุคคล และเสรีภาพในการประกอบกิจการในด้านต่าง ๆ
2. ผลประโยชน์ของมหาชน
3. ผลประโยชน์ของสังคม
3. วิธีการคานหรือถ่วงดุลผลประโยชน์ การนำเอาผลประโยชน์แต่ละประเภทมาคานกันให้เกิดการขัดแย้งน้อยที่สุดในสังคมแบบการกระ ทำวิศวกรรม
ภาระสำคัญ 6 ประการของนักนิติศาสตร์เชิงสังคมวิทยา ดังนี้
1.ต้องศึกษาถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงของสถาบันทางกฎหมายและทฤษฎีกฎหมาย
2.ต้องศึกษาเชิงสังคมวิทยาในเรื่องการตระเตรียมการนิติบัญญัติโดยเฉพาะในเรื่องของผลการนิติบัญญัติเชิงเปรียบเทียบ
3.ต้องศึกษาถึงเครื่องมือหรือกลไกที่จะทำให้กฎเกณฑ์ทางกฎหมายมีประสิทธิภาพ ใช้ได้ผลจริง โดยถือว่า “ความมีชีวิตของกฎหมายปรากฏอยู่ที่การบังคับใช้กฎหมาย”
4.ต้องศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายเชิงสังคมวิทยา ด้วยการตรวจพิจารณาดูว่า ทฤษฎีกฎหมายต่าง ๆ ได้ส่งผลลัพธ์ประการใดบ้างในอดีต
5.ต้องสนับสนุนให้มีการตัดสินคดีบุคคลอย่างมีเหตุผลและยุติธรรม ซึ่งมักอ้างเรื่องความแน่นอนขึ้นแทนที่มากเกินไป
6.ต้องพยายามทำให้การบรรลุจุดมุ่งหมายของกฎหมายมีผลมากขึ้น
5. ความคิดมาร์กซิสต์วิจารณ์บทบาทของกฎหมายว่าอย่างไร ทฤษฎีกฎหมายของมาร์กซิสต์ (The Marxist Theory of Law) เป็นทฤษฎีที่วางอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดแบบนิยัตินิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Determinism) ซึ่งเป็นแนวความคิดที่ถือว่า เศรษฐกิจเป็นตัวกระทำฝ่ายเดียว หรือเป็นเหตุปัจจัยเดียวที่กำหนดความเป็นไปต่างๆ ในสังคม ทฤษฎีนี้เกิดขึ้นอย่างไม่เป็นระบบ
มาร์กซ นักกฎหมายชาวยิว มองกฎหมายว่าเป็นเพียงกลไกเพื่อรับใช้ประโยชน์ของคนบางกลุ่มบางชนชั้นที่มีอำนาจในสั งคม มิใช่เป็นกลไกที่มีความเป็นอิสระในการใช้ประนีประนอมผลประโยชน์ขัดแย้งทั้งหลาย มาร์กซ มีท่าทีต่อต้านทฤษฎีปฏิฐานนิยม
นักทฤษฎีมาร์กซิสต์ได้สรุปความและวิจารณ์ธรรมชาติหรือบทบาทของกฎหมายเป็นข้อสรุปดังน ี้ 1. กฎหมายเป็นผลผลิตหรือผลสะท้อนของโครงสร้างทางเศรษฐกิจหรือเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ 2. กฎหมายเป็นเสมือนเครื่องมือหรืออาวุธของชนชั้นปกครองที่สร้างขึ้นเพื่อปกป้องอำนาจของตน กฎหมายเป็นเครื่องมือกดขี่ประชาชนของชนชั้นปกครอง 3. สังคมคอมมิวนิสต์ที่สมบูรณ์ไม่ต้องมีกฎหมาย กฎหมายในฐานะที่เป็นเครื่องมือของการควบคุมสังคมจะเหือดหาย (Writering Away) และสูญสิ้นไปในที่สุด
6. หลักนิติธรรมและดื้อแพ่งคืออะไร มีหลักการสำคัญอย่างไร หลักนิติธรรม หมายถึง “การเคารพเชื่อฟังต่อกฎหมาย หรือ การที่รัฐบาลต้องปกครองด้วยกฎหมายและอยู่ภายใต้กฎหมาย” (นั่นคือ กฎหมายจะสูงสุด) นอกจากนี้ยังมีความหมายของหลักนิติธรรมตามที่มีบุคคลต่าง ๆ ได้ให้นิยามความหมายไว้ที่สำคัญ ดังนี้ อริสโตเติ้ล “ปัญญาที่ตัดขาดแล้วจากอารมณ์ความรู้สึก” ไดซีย์ มีนัย 3 ประการ คือ
1. การที่ฝ่ายบริหารไม่มีอำนาจลงโทษบุคคลใดได้ตามอำเภอใจ
2. ไม่มีบุคคลใดอยู่เหนือกฎหมาย
3. หลักทั่วไปของกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนเป็นผลมาจากคำวินิจฉัยตัดสินของศาลหรือกฎหมายธรรมดา (เฉพาะประเทศอังกฤษ) มิใช่เกิดจากการรับรองค้ำประกันเป็นพิเศษโดยรัฐธรรมนูญ ดังกรณีของรัฐธรรมนูญประเทศอื่น ไดซีย์ได้กล่าวอย่างน่าสนใจว่า “ หลักนิติธรรมนั้นตรงกันข้ามกับรัฐบาลทุกระบบที่บุคคลผู้มีอำนาจสามารถใช้ อำนาจจับกุม คุมขังบุคคลใดได้อย่างกว้างขวางโดยพลการหรือตามดุลพินิจของตนเอง ”คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล เน้นย้ำถึงเรื่องการมีสิทธิเสรีภาพและการยอมรับในศักดิ์ศรีของมนุษย์ เชื่อว่าเป็นคุณสมบัติอันจำเป็นสำหรับความเป็นมนุษย์ที่แท้จริง โดยมีกลุ่มสิทธิ 2 ประเภทที่เน้นย้ำความสำคัญ คือ สิทธิทางแพ่งและทางการเมืองประการหนึ่ง และสิทธิทางเศรษฐกิจและสังคมอีกประการหนึ่ง สำหรับประเทศไทย สิทธิมนุษยชนโดยหลักนิติธรรม มีปรากฏใน รธน.แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เช่น
มาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง
มาตรา 26 การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
มาตรา 28 บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้สามารถยกบท บัญญัติแห่ง รัฐธรรมนูญนี้เพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้ (เวลาตอบให้ยกตัวอย่าง อองซาน ซูจี ในการถูกละเมิดสิทธิ เสรีภาพ)
การดื้อแพ่งกฎหมาย คือ การกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายโดยสันติวิธี เป็นการกระทำเชิงศีลธรรม ในลักษณะของการประท้วงคัดค้านต่อกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมหรือต่อการกระทำของรัฐบาลที่เห ็นว่าไม่ถูกต้อง โดยการขัดขืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ให้ความร่วมมือ โดยต้องมีเหตุผลรองรับที่เชื่อถือได้ จึงจะสามารถยกเว้นหลักทั่วไปที่ต้องเชื่อฟังกฎหมาย วิวาทะเรื่องการดื้อแพ่งกฎหมายของประชาชน - ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย ยืนยันว่า ความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายที่ทุกคนต้องเชื่อฟังโดยไม่มีข้อยกเว้นใด
- ฝ่ายที่เห็นด้วย ยืนยันว่า กฎหมายที่ไม่เป็นธรรมไม่ใช่กฎหมาย รอลส์ ให้ความเห็นชอบในเรื่องการดื้อแพ่งกฎหมายของประชาชน แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขแห่งความชอบธรรม 4 ประการ ดังนี้ 1. ต้องเป็นการกระทำที่มีจุดประสงค์ของการสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นแก่สังคม
2. กฎหมายที่ต่อต้านหรือดื้อแพ่งนั้น ต้องเป็นกฎหมายที่ขาดความชอบธรรมเป็นอย่างมาก
3. การไม่เคารพหรือต่อต้านกฎหมายต้องเป็นการปฏิบัติการซึ่งเป็นทางเลือกสุดท้าย
4. การต่อต้านกฎหมายต้องกระทำโดยสันติวิธี, โดยเปิดเผย