วิกิตำรา:นโยบายและแนวปฏิบัติ
วิกิตำรา เป็นโครงการที่สร้างด้วยความร่วมมือของทุกคน และเป็นโครงการพี่น้องกับ สารานุกรมวิกิพีเดีย ผู้ก่อตั้งและผู้สนับสนุนทุกคนมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ:
จุดมุ่งหมายของเรากับวิกิตำราคือ เพื่อสร้างตำราที่เสรีและเชื่อถือได้
— อันที่จริง คือสร้างตำราที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ทั้งด้านความครอบคลุมและรายละเอียด
นโยบายและแนวปฏิบัติของวิกิตำรา ถูกพัฒนาโดยชุมชนเพื่ออธิบายวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง อธิบายหลักการให้ชัดเจน แก้ไขความขัดแย้ง และอื่นๆ เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายการสร้างคู่มือตำราที่เสรีและเชื่อถือได้ นโยบายทั้งหมดอธิบายมาตรฐานที่ผู้ใช้ควรเดินตาม (โดยอาศัยสามัญสำนึก) ในขณะที่แนวปฏิบัติบอกถึงวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำเช่นนั้นได้ หลักการสำคัญทั้งหมดถูกสรุปไว้ในห้าเสาหลัก
วิกิตำราพยายามสร้างสิ่งแวดล้อมอันเป็นมิตรให้กับผู้ที่มีมุมมองเป็นกลาง มีความเป็นอารยชนและเชื่อว่าผู้อื่นมีเจตนาดี ปฏิบัติตามมติอันเป็นเอกฉันท์ในการอภิปราย และทำงานมุ่งสู่เป้าหมายในการสร้างคู่มือตำราที่เขียนอย่างรอบคอบรัดกุมและมีเนื้อหาครอบคลุมกว้างขวาง โดยทั่วไปแล้ว หากเกิดข้อขัดแย้งระหว่างนโยบายและแนวปฏิบัติ นโยบายควรมาก่อนแนวปฏิบัติเสมอ แต่บางครั้งขอให้คุณลืมกฎทั้งหมดนี้เสีย ถ้าหากกฎดังกล่าวขัดขวางความพยายามของคุณเพื่อจุดประสงค์ในการพัฒนาวิกิตำรา
นโยบายหลัก
แก้ไข- วิกิตำราเป็นหนังสือ เป้าหมายไม่ได้มีมากไปกว่านั้น ลองดูที่ อะไรที่ไม่ใช่วิกิตำรา
- หลีกเลี่ยงความไม่เป็นกลาง บทความทั้งหมดควรต้องเขียนด้วยมุมมองที่เป็นกลาง โดยนำเสนอมุมมองที่แตกต่างกันอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน
- อย่าละเมิดลิขสิทธิ์ วิกิตำราเป็นหนังสือเสรี ที่อยู่ภายใต้สัญญา GFDL ตามสัญญาฉบับล่าสุด[1] การส่งงานที่ละเมิดลิขสิทธิ์เข้ามา จะเป็นการทำลายเป้าหมายที่จะสร้างสารานุกรมที่ทุกคนมีอิสระในการเผยแพร่ และอาจสร้างปัญหาทางกฎหมายได้ ดูเพิ่มเติมที่ ลิขสิทธิ์วิกิตำรา และ เขียนงานอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ในวิกิพีเดีย
- ให้เกียรติผู้อื่น ผู้ที่ช่วยเขียนวิกิตำรามาจากหลายที่ และหลายวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังมีมุมมองที่แตกต่างกัน การให้เกียรติกับผู้อื่นเป็นกุญแจหลักที่จะทำให้การร่วมมือในการสร้างวิกิตำรา เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดูเพิ่มเติมที่ ประพฤติเยี่ยงอารยชน
นโยบายเสริม
แก้ไข- ชื่อบทความควรเป็นภาษาไทย เพื่อให้อ้างอิงเข้าถึงได้ง่าย และไม่เกิดการขัดแย้งระหว่างชื่อที่มีการใช้หลายภาษา
- ปีศักราช ให้ใช้ปีพุทธศักราชเป็นหลัก โดยเขียนในรูปแบบ — พ.ศ. 2547 — โดยเว้นวรรคระหว่าง พ.ศ. และ ตัวเลข
- ข้อยกเว้น: ถ้าเป็นหัวข้อเกี่ยวกับโลกตะวันตก ที่การอ้างอิงปีคริสต์ศักราชจะทำให้เข้าใจหัวข้อได้ง่ายกว่า ให้ใช้ปีพุทธศักราชแล้วกำกับตามท้ายด้วยปีคริสต์ศักราชในวงเล็บ — พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004)
- ระบบตัวเลข ให้ใช้เลขอารบิก (0 1 2 3..9) เป็นหลัก
- ข้อยกเว้น เพื่อรักษารูปแบบเอกสารเอาไว้ ให้ใช้เลขไทย (๐ ๑ ๒ ๓..๙) ในกรณี:
- การอ้างถึงเอกสารราชการที่ใช้เลขไทยเป็นเลขที่หรือรหัสเอกสาร
- การยกอ้าง (quote) ข้อความจากเอกสารดั้งเดิมที่ใช้เลขไทย
- ข้อยกเว้น เพื่อรักษารูปแบบเอกสารเอาไว้ ให้ใช้เลขไทย (๐ ๑ ๒ ๓..๙) ในกรณี:
- พึงระลึกว่า บทความที่บันทึกไว้ คือบทความที่สามารถอ่านได้ เข้าใจ รู้เรื่อง มีใจความสมบูรณ์ในระดับหนึ่ง หากประสงค์จะเขียนบทความที่มีความยาวมาก อาจทยอยนำมาลงเป็นตอนๆ โดยที่แต่ละตอน ควรจะมีความสมบูรณ์ในตัวเอง สำหรับบทความแปล หากประสงค์ทยอยแปล ไม่ควรทิ้งภาษาต่างประเทศเอาไว้
- หาก "มีความประสงค์" จะแปลบทความจากภาษาอื่น แต่ยังไม่มีเวลาแปล ไม่ควรจะคัดลอกบทความภาษาต่างประเทศมาทิ้งไว้ ควรรอจนกว่าจะได้แปลจนจบอย่างน้อยสักช่วงหนึ่งหรือตอนหนึ่งก่อน แต่หากต้องการโหลดภาพมาลงไว้ ก็สามารถทำได้
นโยบายอื่น เน้นแนวทางในการเขียนไปในทิศทางเดียวกัน ดังตัวอย่างด้านล่าง และดูเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือในการเขียน ถ้ามีคำถามหรือข้อสงสัยถามได้ที่เลขาชาววิกิตำรา หรือพูดคุยเกี่ยวกับนโยบายได้ที่ สภากาแฟ
|