ภาษาบาลีสำหรับผู้เริ่มต้น/บทที่ 7
คำศัพท์
แก้ไขบทที่ 7 ศัพท์ใหม่แบ่งเป็นคำนาม 15 คำและคำกริยา 12 คำ
คำศัพท์ | ความหมาย | ||
---|---|---|---|
อักษรไทย | อักษรละติน | ||
คำนาม (เพศชาย ลงท้ายด้วยเสียง อะ) | |||
กาก | kāka | นกกา | |
กาย | kāya | ร่างกาย; ตัว | |
โคณ | goṇa | วัวตัวผู้ | |
ทูต | dūta | คนนำข่าว, ทูต | |
เทว, สุร | deva, sura | เทพ, เทวดา | |
นาวิก | nāvika | นักเดินเรือ | |
นิวาส | nivāsa | บ้าน | |
โลก | loka | โลก | |
สกุณ | sakuṇa | นก | |
สปฺปุริส | sappurisa | คนดี | |
สมุทฺท | samudda | ทะเล; มหาสมุทร | |
อสปฺปุริส | asappurisa | คนชั่ว | |
อากาส | ākāsa | ท้องฟ้า | |
อาโลก | āloka | แสง | |
คำกริยา (ผันตามกาลปัจจุบัน บุรุษที่สาม เอกพจน์) | |||
จรติ | carati | เดิน | |
ชีวติ | jīvati | อยู่, มีชีวิต | |
ตรติ | tarati | ข้าม (น้ำ) | |
ติฏฺฐติ | tiṭṭhati | ยืน | |
นิสีทติ | nisīdati | นั่ง | |
ปสีทติ | pasīdati | ยินดี | |
วสติ | vasati | อยู่, มีชีวิต | |
วิหรติ | viharati | อยู่อาศัย | |
สนฺนิปตติ | sannipatati | ประชุม | |
อุปฺปตติ | uppatati | บิน; กระโดดขึ้น | |
อาหิณฺฑติ | āhiṇḍati | ท่องไป, เร่ร่อน | |
อุตฺตรติ | uttarati | ขึ้น (จากน้ำ) |
การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นสถานที่
แก้ไขคำนามที่ทำหน้าที่เป็นสถานที่ของประโยค เรียกว่า สถานการก (locative case) ในภาษาบาลีเรียกว่า สัตตมี หรือการผันคำนามลำดับที่เจ็ด
การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ (-a) ทำหน้าที่เป็นกรรมตรง มีหลักการผันดังนี้
- รูปเอกพจน์ในการกนี้ให้เติม เ– หรือ –มฺหิ หรือ –สฺมิํ (-e, -mhi, -smiṃ) ท้ายต้นเค้าคำนาม
- รูปพหูพจน์ในการกนี้ให้เติม เ–สุ (-esu) ท้ายต้นเค้าคำนาม
เมื่อแปลจะมีความหมายว่า "ใน, ใกล้, ที่, ณ, บน" (หรือ "ครั้นเมื่อ" ซึ่งใช้เฉพาะลักขณะ หรือ "ในเพราะ")
ต้นเค้าคำนาม | สถานที่ เอกพจน์ | คำแปล | |
---|---|---|---|
นร (nara) |
→ | นเร, นรมฺหิ, นรสฺมิํ (nare, naramhi, narasmiṃ) |
ที่คน, ใกล้คน, ที่ชาย, ฯลฯ |
มาตุล (mātula) |
→ | มาตุเล, มาตุลมฺหิ, มาตุลสฺมิํ (mātule, mātulamhi, mātulasmiṃ) |
ที่ลุง, ณ ลุง, ใกล้ลุง, ฯลฯ |
กสฺสก (kassaka) |
→ | กสฺสเก, กสฺสกมฺหิ, กสฺสกสฺมิํ (kassake, kassakamhi, kassakasmiṃ) |
ที่ชาวนา, ใกล้ชาวนา, ฯลฯ |
ต้นเค้าคำนาม | สถานที่ พหูพจน์ | คำแปล | |
นร (nara) |
→ | นเรสุ (naresu) |
ที่พวกคน, ใกล้เหล่าคน, ที่พวกชาย, ฯลฯ |
มาตุล (mātula) |
→ | มาตุเลสุ (mātulesu) |
ที่พวกลุง, ใกล้พวกลุง, ฯลฯ |
กสฺสก (kassaka) |
→ | กสฺสเกสุ (kassakesu) |
ที่พวกชาวนา, ใกล้พวกชาวนา, ฯลฯ |
ตัวอย่างประโยค
แก้ไข- เอกพจน์
- สปฺโป นรสฺมิํ ปตติ. – งูตกลงบนคน, งูตกลงที่ชาย
- ปุตฺโต มาตุลมฺหิ ปสีทติ. – บุตรยินดีกับลุง
- วาณิโช กสฺสกสฺมิํ ปสีทติ. – พ่อค้ายินดีกับชาวนา
- พหูพจน์
- สปฺปา นเรสุ ปตนฺติ. – เหล่างูตกลงบนคนทั้งหลาย, พวกงูตกลงที่พวกผู้ชาย
- ปุตฺตา มาตุเลสุ ปสีทนฺติ. – บุตรทั้งหลายยินดีกับพวกลุง
- วาณิชา กสฺสเกสุ ปสีทนฺติ. – พวกพ่อค้ายินดีกับชาวนาทั้งหลาย
สังเกตว่าคำกริยา "ปสีทติ" (ยินดีกับ) คำนามแสดงผู้รับยินดีจะผันตามสถานการก
แบบฝึกหัด
แก้ไขจงแปลเป็นภาษาไทย
แก้ไขจงแปลเป็นภาษาบาลี
แก้ไข- สิงโตยืนบนก้อนหินบนภูเขา
- เหล่าโจรเข้าบ้านของครู
- พวกเด็กวิ่งจากถนนไปยังทะเลกับพวกเพื่อน
- เหล่าวัวของลุงท่องไปบนถนน
- หมู่นกเกาะ (ยืน) บนต้นไม้
- วัวเตะแพะด้วยเท้าของมัน
- หมู่หมาไนอาศัยอยู่บนภูเขา
- กษัตริย์ทรงกราบพระบาทพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยข้าราชบริพารทั้งหลาย
- ลุงนอนหลับบนเตียงกับบุตรของเขา
- ชาวประมงกินข้าวในบ้านของชาวนา
- ม้าทั้งหลายของกษัตริย์อาศัยอยู่ในเกาะ
- สัปปุริสนำประทีปไปให้ฤๅษี
- แพทย์นำเสื้อตัวหนึ่งไปยังบ้านของครู
- ลิงเล่นกับหมาอยู่บนก้อนหิน
- เสื้อผ้าตกลงบนตัวชาวนา
สารบัญ
แก้ไข- บทนำ - การอ่านออกเสียง
- บทที่ 1 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ทำ รูปเอกพจน์และพหูพจน์, การผันกริยากาลปัจจุบันสำหรับประธานบุรุษที่ 3 เอกพจน์และพหูพจน์
- บทที่ 2 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมตรง รูปเอกพจน์และพหูพจน์
- บทที่ 3 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องทำ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
- บทที่ 4 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นต้นกำเนิด รูปเอกพจน์และพหูพจน์
- บทที่ 5 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมรอง รูปเอกพจน์และพหูพจน์
- บทที่ 6 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าของ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
- บทที่ 7 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นสถานที่ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
- บทที่ 8 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นคำร้องเรียก รูปเอกพจน์และพหูพจน์, การผันคำนามเพศกลางที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ
- บทที่ 9 - การสร้างคำนามจากกริยา
- บทที่ 10 - การผันคำกริยาเพื่อไม่ให้ระบุกาล
- บทที่ 11 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน, การผันคำนามเพศชายและเพศกลาง
- บทที่ 12 - การผันคำกริยาในกาลปัจจุบัน และบอกความเป็นผู้กระทำ
- บทที่ 13 - การผันคำกริยาในกาลปัจจุบัน และบอกความเป็นผู้กระทำ (ภาคต่อ)
- บทที่ 14 - การผันคำกริยาเพื่อบอกกาลอนาคต
- บทที่ 15 - การผันคำกริยาเพื่อบอกความเป็นไปได้และคำแนะนำ
- บทที่ 16 - การผันคำกริยาเพื่อบอกคำสั่ง
- บทที่ 17 - การผันคำกริยาเพื่อบอกกาลอดีต
- บทที่ 18 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อา
- บทที่ 19 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น
- บทที่ 20 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ และ อี
- บทที่ 21 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน (ภาคต่อ), การผันคำนามเพศหญิง
- บทที่ 22 - การผันคำกริยาเพื่อบอกความเป็นผู้ถูกกระทำในกาลอนาคต
- บทที่ 23 - การผันคำกริยาเพื่อบอกการไหว้วานหรือการบังคับ
- บทที่ 24 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อุ
- บทที่ 25 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ
- บทที่ 26 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อี
- บทที่ 27 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อุ และ อู
- บทที่ 28 - การผันคำนามของผู้กระทำกริยา และคำนามที่บ่งบอกความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
- บทที่ 29 - การผันคำนามเพศกลางที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ และ อุ
- บทที่ 30 - การผันคำคุณศัพท์ที่ลงท้ายด้วย -วนฺตุ และ -มนฺตุ
- บทที่ 31 - การผันคำสรรพนามบอกบุรุษ
- บทที่ 32 - การผันคำสรรพนามบอกบุรุษ สรรพนามบอกความสัมพันธ์ สรรพนามบอกระยะ และสรรพนามบอกคำถาม
- ภาคผนวก - รายการคำกริยาในภาษาบาลี, รายการคำที่นอกเหนือจากคำกริยาในภาษาบาลี