ภาษาบาลีสำหรับผู้เริ่มต้น/บทที่ 3

คำศัพท์

แก้ไข

บทที่ 3 ศัพท์ใหม่มีเฉพาะคำนาม 17 คำ

คำศัพท์ ความหมาย
อักษรไทย อักษรละติน
คำนาม
(เพศชาย ลงท้ายด้วยเสียง อะ)
อสฺส assa ม้า
กกจ kakaca เลื่อย
ขคฺค khagga ดาบ, ขรรค์
โจร cora โจร
ทีป dīpa เกาะ; ตะเกียง, ดวงไฟ
ปณฺฑิต paṇḍita ผู้รู้, ผู้มีปัญญา, บัณฑิต
ปาท pāda เท้า, บาท
ปาสาณ pāsāṇa หิน, ก้อนหิน
มคฺค magga ทาง, ถนน
มิค miga กวาง
หตฺถ hattha มือ, หัตถ์
รถ ratha รถ, ยานพาหนะ, รถม้า
สกฏ sakaṭa เกวียน
สคฺค sagga สวรรค์
สมณ samaṇa ภิกษุ, สมณะ
สร sara ศร (อาวุธชนิดหนึ่ง)
สาวก sāvaka ศิษย์, สาวก

การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องทำ

แก้ไข

คำนามที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องทำหรือเครื่องมือในการกระทำของประโยค เรียกว่า กรณการก (instrumental case) ในภาษาบาลีเรียกว่า ตติยา หรือการผันคำนามลำดับที่สาม ในประโยคภาษาไทย ฉันเขียนจดหมายด้วยปากกา คำว่าปากกาทำหน้าที่เป็นเครื่องทำ โดยใช้คำบุพบท "ด้วย" เป็นตัวบ่งชี้เครื่องทำ

การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ (-a) ทำหน้าที่เป็นเครื่องทำ มีหลักการผันดังนี้

  1. รูปเอกพจน์ในการกนี้ให้เติมนิคหิต เ–น (-ena) ท้ายต้นเค้าคำนาม
  2. รูปพหูพจน์ในการกนี้ให้เติม เ–หิ หรือ เ–ภิ (-ehi, -ebhi) ท้ายต้นเค้าคำนาม รูป "เ–ภิ" เป็นรูปผันโบราณที่ยังพบได้บ้าง

เมื่อแปลจะมีความหมายว่า "ด้วย...", "โดย...", "ตาม..." หรือ "กับ..." เนื่องจากกรณการกแสดงถึงเครื่องมือในการกระทำ ทำให้คำนามส่วนใหญ่ที่ผันในรูปนี้เป็นเครื่องมือ อุปกรณ์ พาหนะ ทาง ตามวัตถุประสงค์ของการผันในหลักนี้

ต้นเค้าคำนาม + รูปผัน เครื่องทำ เอกพจน์
รถ + เ-น
(ratha + -ena)
รเถน
(rathena)
ด้วยรถ, โดยรถ
ขคฺค + เ-น
(khagga + -ena)
ขคฺเคน
(khaggena)
ด้วยดาบ, โดยดาบ
กสฺสก + เ-น
(kassaka + -ena)
กสฺสเกน
(kassakena)
กับชาวนา, ตามชาวนา
ต้นเค้าคำนาม + รูปผัน เครื่องทำ พหูพจน์
รถ + เ-หิ/เ-ภิ
(ratha + -ehi/-ebhi)
รเถหิ, รเถภิ
(rathehi, rathebhi)
ด้วยรถทั้งหลาย, โดยรถทั้งหลาย
ขคฺค + เ-หิ/เ-ภิ
(mātula + -ehi/-ebhi)
ขคฺเคหิ, ขคฺเคภิ
(khaggehi, khaggebhi)
ด้วยดาบทั้งหลาย, โดยดาบทั้งหลาย
กสฺสก + เ-หิ/เ-ภิ
(kassaka + -ehi/-ebhi)
กสฺสเกหิ, กสฺสเกภิ
(kassakehi, kassakebhi)
กับพวกชาวนา, ตามพวกชาวนา

นอกจากนี้ คำนามที่ใช้ร่วมกับคำบุพบท สทฺธิงฺ (saddhiṃ) และ สห (saha) ที่แปลว่า พร้อมด้วย, พร้อมกับ จะผันตามหลักนี้ ซึ่งคำบุพบททั้งสองนี้จะใช้กับคำนามที่เป็นสิ่งมีชีวิต ปกติแล้วจะไม่ใช้กับคำนามที่เป็นสิ่งของ

การสร้างประโยค

แก้ไข

โครงสร้างของประโยคที่มีเครื่องมือในการกระทำ จะเรียงลำดับเป็น ผู้ทำ + เครื่องทำ + ผู้ถูกทำ (กรรมตรง) + กริยา. (S Inst. O V) จะเห็นว่าผู้ถูกทำและกริยาอยู่ติดกันท้ายประโยคเสมอ

ผู้ทำ
(nom)
เครื่องทำ
(inst)
ผู้ถูกทำ
(acc)
กริยา
กสฺสโก กกเจน รุกฺขํ ฉินฺทติ. อันว่าชาวนา ตัดอยู่ ซึ่งต้นไม้ ด้วยเลื่อย
วาณิชา สกเฏหิ คามํ คจฺฉนฺติ. อันว่าเหล่าพ่อค้า กำลังไป สู่หมู่บ้าน ด้วยเกวียนทั้งหลาย
อสฺสา มคฺเคน ธาวนฺติ. อันว่าม้าทั้งหลาย วิ่งไป ตามทาง

โครงสร้างของประโยคที่มีคำบุพบท สทฺธิงฺ และ สห คำบุพบทดังกล่าวจะอยู่ต่อจากคำนามเครื่องทำ เรียงลำดับเป็น ผู้ทำ + เครื่องทำ + สทฺธิงฺ, สห + ผู้ถูกทำ + กริยา.

ผู้ทำ
(nom)
เครื่องทำ
(inst)
บุพบท ผู้ถูกทำ
(acc)
กริยา
นรา ปุตฺเตหิ สทฺธิงฺ วิหารํ คจฺฉนฺติ. อันว่าพวกผู้ชาย กำลังไป ซึ่งวิหาร พร้อมด้วยเหล่าลูกชาย
ปุตฺโต มาตุเลน สห จนฺทํ ปสฺสติ. อันว่าลูกชาย มองอยู่ ซึ่งดวงจันทร์ พร้อมกับลุง

สังเกตว่าเมื่อแปลประโยคจะเริ่มแปลจากผู้ทำ (ประธาน) แล้วข้ามไปแปลกริยาที่อยู่หลังสุดของประโยคแล้วจึงแปลจากข้างหลังมาข้างหน้า

ตัวอย่างประโยคในลักษณะต่าง ๆ

  1. กสฺสกา หตฺเถหิ อาวาเฏ ขณนฺติ. – พวกชาวนาขุดหลุมทั้งหลายด้วยมือ (ทั้งหลาย)
  2. ปุตฺโต ปตฺเตน ภตฺตํ อาหรติ. – บุตรนำข้าวใส่ถ้วยมา
  3. สิคาลา มคฺเคน ปพฺพตํ ธาวนฺติ. – พวกหมาจิ้งจอกทองวิ่งตามทางไปยังภูเขา
  4. นโร หตฺเถน กกจํ หรติ. – ผู้ชายถือเลื่อยในมือ
  5. มาตุโล รเถน อาคจฺฉติ. – ลุงกำลังมาด้วยรถม้า
  6. อสฺโส สุนเขน สทฺธิงฺ ปพฺพตํ ธาวติ. – ม้าวิ่งไปยังภูเขาพร้อมกับสุนัข
  7. มาตุโล กุมาเรหิ สห รเถน วิหารํ คจฺฉติ. – ลุงไปยังวิหารด้วยรถม้าพร้อมกับเด็กชายทั้งหลาย

แบบฝึกหัด

แก้ไข

จงผันคำนาม

แก้ไข

จงผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ต่อไปนี้ ให้อยู่ในรูปเครื่องทำ ทั้งเอกพจน์และพหูพจน์ พร้อมแปลเป็นภาษาไทย

  1. กกจ
  2. สร
  3. สกฏ
  4. ปตฺต
  5. ปาสาณ
  6. ปาท
  7. หตฺถ
  8. มคฺค
  9. นร
  10. ภูปาล
  11. พุทฺธ, ตถาคต, สุคต
  12. สหาย, สหายก, มิตฺต
ตัวอย่างเฉลย
ต้นเค้าคำนาม รูปผันเครื่องทำ
เอกพจน์ พหูพจน์
ช. –ะ เ–น เ–หิ, เ–ภิ
กกจ
(เลื่อย)
กกเจน
(ด้วยเลื่อย)
กกเจหิ, กกเจภิ
(ด้วยเลื่อยทั้งหลาย)
สร
(ศร)
สเรน
(ด้วยศร)
สเรหิ, สเรภิ
(ด้วยศรทั้งหลาย)
สกฏ
(เกวียน)
สกเฏน
(ด้วยเกวียน)
สกเฏหิ, สกเฏภิ
(ด้วยเกวียนทั้งหลาย)
ปตฺต
(ถ้วย)
ปตฺเตน
(ด้วยถ้วย)
ปตฺเตหิ, ปตฺเตภิ
(ด้วยถ้วยทั้งหลาย)
ปาสาณ
(ก้อนหิน)
ปาสาเณน
(ด้วยก้อนหิน)
ปาสาเณหิ, ปาสาเณภิ
(ด้วยก้อนหินทั้งหลาย)
ปาท
(เท้า)
ปาเทน
(ด้วยเท้า)
ปาเทหิ, ปาเทภิ
(ด้วยเท้าทั้งหลาย)
หตฺถ
(มือ)
หตฺเถน
(ด้วยมือ)
หตฺเถหิ, หตฺเถภิ
(ด้วยมือทั้งหลาย)
มคฺค
(ทาง, ถนน)
มคฺเคน
(ตามทาง, ตามถนน)
มคฺเคหิ, มคฺเคภิ
(ตามทางทั้งหลาย)
นร
(ผู้ชาย)
นเรน
(พร้อมผู้ชาย)
นเรหิ, นเรภิ
(พร้อมพวกผู้ชาย)
ภูปาล
(กษัตริย์)
ภูปาเลน
(พร้อมกษัตริย์)
ภูปาเลหิ, ภูปาเลภิ
(พร้อมกษัตริย์ทั้งหลาย)
พุทฺธ, ตถาคต, สุคต
(พระพุทธเจ้า)
พุทฺเธน, ตถาคเตน, สุคเตน
(พร้อมพระพุทธเจ้า)
พุทฺเธหิ, ตถาคเตหิ, สุคเตหิ
พุทฺเธภิ, ตถาคเตภิ, สุคเตภิ
(พร้อมพระพุทธเจ้าทั้งหลาย)
สหาย, สหายก, มิตฺต
(เพื่อน)
สหาเยน, สหายเกน, มิตฺเตน
(พร้อมเพื่อน)
สหาเยหิ, สหายเกหิ, มิตฺเตหิ
สหาเยภิ, สหายเกภิ, มิตฺเตภิ
(พร้อมพวกเพื่อน)

จงแปลเป็นภาษาไทย

แก้ไข
  1. พุทฺโธ สาวเกหิ สทฺธิงฺ วิหารํ คจฺฉติ.
    Buddho sāvakehi saddhiṃ vihāraṃ gacchati.
  2. ปุริโส ปุตฺเตน สห ทีปํ ธาวติ.
    Puriso puttena saha dīpaṃ dhāvati.
  3. กสฺสโก สเรน สิคาลํ วิชฺฌติ.
    Kassako sarena sigālaṃ vijjhati.
  4. พฺราหฺมณา มาตุเลน สห ปพฺพตํ อารุหนฺติ.
    Brāhmaṇā mātulena saha pabbataṃ āruhanti.
  5. ปุตฺตา ปาเทหิ กุกฺกุเร ปรหนฺติ.
    Puttā pādehi kukkure paharanti.
  6. มาตุโล ปุตฺเตหิ สทฺธิงฺ รเถน คามํ อาคจฺฉติ.
    Mātulo puttehi saddhiṃ rathena gāmaṃ āgacchati.
  7. กุมารา หตฺเถนิ ปตฺเต อาหรนฺติ.
    Kumārā hatthehi patte āharanti.
  8. โจโร มคฺเคน อสฺสํ หรติ.
    Coro maggena assaŋ harati.
  9. กสฺสโก อาวาฏํ โอรุหติ.
    Kassako āvāṭaṃ oruhati.
  10. ภูปาลา ปณฺฑิเตหิ สห สมเณ ปสฺสนฺติ.
    Bhūpālā paṇḍitehi saha samaṇe passanti.
  11. ปณฺฑิโต ภูปาเลน สห ตถาคตํ วนฺทติ.
    Paṇḍito bhūpālena saha Tathāgataṃ vandati.
  12. ปุตฺตา สหาเยน สทฺธิงฺ โอทนํ ภุญฺชนฺติ.
    Puttā sahāyena saddhiṃ odanaṃ bhuñjanti.
  13. วาณิโช ปาสาเณน มิคํ ปหรติ.
    Vāṇijo pāsāṇena migaṃ paharati.
  14. สุนขา ปาเทหิ อาวาเฏ ขณนฺติ.
    Sunakhā pādehi āvāṭe khaṇanti.
  15. พฺราหฺมโณ ปุตฺเตน สห สุริยํ วนฺทติ.
    Brāhmaṇo puttena saha suriyaṃ vandati.
  16. กสฺสโก โสเณหิ สทฺธิงฺ รุกเข รกฺขติ.
    Kassako soṇehi saddhiṃ rukkhe rakkhati.
  17. สุคโต สาวเกหิ สห วิหารํ อาคจฺฉติ.
    Sugato sāvakehi saha vihāraṃ āgacchati.
  18. ยาจโก ปตฺเตน ภตฺตํ อาหรติ.
    Yācako pattena bhattaṃ āharati.
  19. ปณฺฑิตา สคฺคํ คจฺฉนฺติ.
    Paṇḍitā saggaṃ gacchanti.
  20. กุมารา อสฺเสหิ สทฺธิงฺ คามํ ธาวนฺติ.
    Kumārā assehi saddhiṃ gāmaṃ dhāvanti.
  21. โจโร ขคฺเคน นรํ ปหรติ.
    Coro khaggena naraṃ paharati.
  22. วาณิโช สกเฏน ทีเป อาหรติ.
    Vānijo sakaṭena dīpe āharati.
  23. อสฺสา มคฺเคน ธาวนฺติ.
    Assā maggena dhāvanti.
  24. สิคาลา มิเคหิ สทฺธิงฺ ปพฺพตํ ธาวนฺติ.
    Sigālā migehi saddhiṃ pabbataṃ dhāvanti.
  25. ภูปาโล ปณฺฑิเตน สห มนุสเส รกฺขติ.
    Bhūpālo paṇḍitena saha manusse rakkhati.
ตัวอย่างเฉลย
  1. พระพุทธเจ้าเสด็จไปยังวิหารพร้อมเหล่าสาวก
  2. ผู้ชายวิ่งไปยังเกาะพร้อมกับลูกชาย
  3. ชาวนายิงหมาจิ้งจอกทองด้วยศร
  4. เหล่าพราหมณ์ขึ้นภูเขาพร้อมกับพวกลุง
  5. พวกบุตรใช้เท้า (ทั้งหลาย) เตะพวกสุนัข
  6. ลุงมาหมู่บ้านพร้อมกับเหล่าลูกชายด้วยรถ
  7. พวกเด็กชายถือถ้วยทั้งหลายมาด้วยมือ
  8. โจรพาม้าไปตามถนน
  9. ชาวนาลงหลุม
  10. พระราชาทั้งหลายทอดพระเนตรเหล่าภิกษุพร้อมด้วยเหล่าบัณฑิต
  11. บัณฑิตไหว้พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยกษัตริย์
  12. เหล่าลูกชายกินข้าวสวยพร้อมกับเพื่อน
  13. พ่อค้าตีกวางด้วยก้อนหิน
  14. สุนัขขุดหลุมทั้งหลายด้วยเท้า (ทั้งหลาย)
  15. พราหมณ์กำลังบูชาพระอาทิตย์พร้อมกับบุตร
  16. ชาวนากับสุนัขหลายตัวปกป้องต้นไม้ทั้งหลาย
  17. พระพุทธเจ้าเสด็จมายังวิหารพร้อมด้วยเหล่าสาวก
  18. ขอทานนำข้าวใส่ถ้วยมา
  19. เหล่าบัณฑิตไปสู่สวรรค์
  20. เหล่าเด็กชายวิ่งไปยังหมู่บ้านพร้อมกับม้าทั้งหลาย
  21. โจรทำร้ายคนด้วยดาบ
  22. พ่อค้านำตะเกียงทั้งหลายมาด้วยเกวียน
  23. พวกม้าวิ่งไปตามทาง
  24. พวกหมาจิ้งจอกทองวิ่งไปยังภูเขาพร้อมพวกกวาง
  25. พระราชาพร้อมกับบัณฑิตปกป้องมนุษย์ทั้งหลาย

จงแปลเป็นภาษาบาลี

แก้ไข
  1. ภิกษุเห็นพระพุทธเจ้าพร้อมกับสหายของพระองค์
  2. เหล่าพระสงฆ์ไปวิหารพร้อมกับพระพุทธเจ้า
  3. ม้าวิ่งไปยังภูเขาพร้อมกับสุนัขทั้งหลาย
  4. เด็กผู้ชายทุบตะเกียงด้วยก้อนหิน
  5. เหล่าพ่อค้ายิงกวางด้วยศรทั้งหลาย
  6. พวกชาวนาขุดหลุมทั้งหลายด้วยมือทั้งหลาย
  7. พวกเด็กชายไปยังวิหารพร้อมกับลุงด้วยรถม้า
  8. พราหมณ์หุงข้าวพร้อมกับเพื่อน
  9. พระราชาปกป้องเกาะพร้อมด้วยบัณฑิตทั้งหลาย
  10. เหล่าพระราชาพร้อมกับพระราชบุตรทั้งหลายกราบพระสงฆ์ทั้งหลาย
  11. เหล่าขโมยนำม้าทั้งหลายไปยังเกาะ
  12. เหล่าสาวกปีนภูเขาทั้งหลายพร้อมกับพวกผู้ชาย
  13. พวกพ่อค้าตัดต้นไม้ทั้งหลายพร้อมกับเหล่าชาวนา
  14. ขอทานขุดหลุมพร้อมกับเพื่อน
  15. พราหมณ์มองดูพระจันทร์พร้อมกับพวกลุง
  16. ขโมยทำร้ายม้าด้วยดาบ
  17. บุตรนำข้าวใส่ถ้วยมา
  18. เหล่าเด็กชายวิ่งไปยังภูเขาพร้อมด้วยสุนัขทั้งหลาย
  19. เหล่าพ่อค้ามายังหมู่บ้านพร้อมกับพวกชาวนาด้วยเกวียนทั้งหลาย
  20. พวกลุงพร้อมกับพวกลูกชายมายังวิหารด้วยรถทั้งหลาย
  21. เหล่าหมาจิ้งจอกทองวิ่งตามถนนไปยังภูเขา
  22. พวกสุนัขขุดหลุมทั้งหลายด้วยเท้าทั้งหลาย
  23. ผู้ชายถือเลื่อยด้วยมือ
  24. สมณะทั้งหลายไปสู่สวรรค์
  25. พระพุทธเจ้าเสด็จมายังหมู่บ้านพร้อมด้วยเหล่าสาวก
ตัวอย่างเฉลย
  1. สมโณ สหาเยน สทฺธิงฺ พุทฺธํ ปสฺสติ.
  2. สมณา ตถาคเตน สทฺธิงฺ วิหารํ คจฺฉนฺติ.
  3. อสฺโส สุนเขหิ สห ปฺพพตํ ธาวติ.
  4. กุมาโร ปาสาเณน ทีปํ ปหรติ.
  5. วาณิชา สเรหิ มิคํ วิชฺฌนฺติ.
  6. กสฺสกา หตฺเถหิ อาวาเฏ ขณนฺติ.
  7. กุมารา มาตุเลน สห รเถน วิหารํ คจฺฉนฺติ. (เครื่องทำสองคำ)
  8. พฺราหฺมโณ มิตฺเตน สทฺธิงฺ ภตฺตํ ปจติ.
  9. ภูปาโล ปณฺฑิเตหิ สทฺธิงฺ ทีปํ รกฺขติ.
  10. ภูปาลา ปุตฺเตหิ สห สมเณ วนฺทนฺติ.
  11. โจรา ทีปํ อสฺเส หรนฺติ. (กรรมตรงสองคำ)
  12. สาวกา ปุริเสหิ สห ปฺพพเต อารุหนฺติ.
  13. วาณิชา กสฺสเกหิ สทฺธิงฺ รุกฺเข ฉินฺทนฺติ.
  14. ยาจโก สหาเยน สห อาวาฏํ ขณติ.
  15. พฺราหฺมโณ มาตุเลหิ สทฺธิงฺ จนฺทํ ปสฺสติ.
  16. โจโร ขคฺเคน อสฺสํ ปหรติ.
  17. ปุตฺโต ปตฺเตน ภตฺตํ อาหรติ.
  18. กุมารา กุกฺกุเรหิ สห ปพฺพตํ ธาวนฺติ.
  19. วาณิชา กสฺสเกหิ สทฺธิงฺ สกเฏหิ คามํ อาคจฺฉนฺติ. (เครื่องทำสองคำ)
  20. มาตุลา ปุตฺเตหิ สห รเถหิ วิหารํ อาคจฺฉนฺติ. (เครื่องทำสองคำ)
  21. สิคาลา มคฺเคน ปพฺพตํ ธาวนฺติ.
  22. โสณา ปาเทหิ อาวาเฏ ขณนฺติ.
  23. นโร หตฺเถน กกจํ หรติ.
  24. สมณา สคฺคํ คจฺฉนฺติ.
  25. พุทฺโธ สาวเกหิ สทฺธิงฺ คามํ อาคจฺฉติ.

สารบัญ

แก้ไข
บทนำ - การอ่านออกเสียง
บทที่ 1 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ทำ รูปเอกพจน์และพหูพจน์, การผันกริยากาลปัจจุบันสำหรับประธานบุรุษที่ 3 เอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 2 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมตรง รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 3 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องทำ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 4 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นต้นกำเนิด รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 5 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมรอง รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 6 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าของ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 7 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นสถานที่ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 8 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นคำร้องเรียก รูปเอกพจน์และพหูพจน์, การผันคำนามเพศกลางที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ
บทที่ 9 - การสร้างคำนามจากกริยา
บทที่ 10 - การผันคำกริยาเพื่อไม่ให้ระบุกาล
บทที่ 11 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน, การผันคำนามเพศชายและเพศกลาง
บทที่ 12 - การผันคำกริยาในกาลปัจจุบัน และบอกความเป็นผู้กระทำ
บทที่ 13 - การผันคำกริยาในกาลปัจจุบัน และบอกความเป็นผู้กระทำ (ภาคต่อ)
บทที่ 14 - การผันคำกริยาเพื่อบอกกาลอนาคต
บทที่ 15 - การผันคำกริยาเพื่อบอกความเป็นไปได้และคำแนะนำ
บทที่ 16 - การผันคำกริยาเพื่อบอกคำสั่ง
บทที่ 17 - การผันคำกริยาเพื่อบอกกาลอดีต
บทที่ 18 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อา
บทที่ 19 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น
บทที่ 20 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ และ อี
บทที่ 21 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน (ภาคต่อ), การผันคำนามเพศหญิง
บทที่ 22 - การผันคำกริยาเพื่อบอกความเป็นผู้ถูกกระทำในกาลอนาคต
บทที่ 23 - การผันคำกริยาเพื่อบอกการไหว้วานหรือการบังคับ
บทที่ 24 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อุ
บทที่ 25 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ
บทที่ 26 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อี
บทที่ 27 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อุ และ อู
บทที่ 28 - การผันคำนามของผู้กระทำกริยา และคำนามที่บ่งบอกความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
บทที่ 29 - การผันคำนามเพศกลางที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ และ อุ
บทที่ 30 - การผันคำคุณศัพท์ที่ลงท้ายด้วย -วนฺตุ และ -มนฺตุ
บทที่ 31 - การผันคำสรรพนามบอกบุรุษ
บทที่ 32 - การผันคำสรรพนามบอกบุรุษ สรรพนามบอกความสัมพันธ์ สรรพนามบอกระยะ และสรรพนามบอกคำถาม
ภาคผนวก - รายการคำกริยาในภาษาบาลี, รายการคำที่นอกเหนือจากคำกริยาในภาษาบาลี