ภาษาบาลีสำหรับผู้เริ่มต้น/บทที่ 5
คำศัพท์
แก้ไขคำศัพท์ | ความหมาย | |
---|---|---|
อักษรไทย | อักษรโรมัน | |
คำนาม (เพศชาย + ลงท้ายด้วย -a /อะ/) | ||
ตาปส | tāpasa | ฤๅษี, ดาบส |
สีห | sīha | สิงห์ (พระที่นั่งสีหบัญชร - พระที่นั่งที่มีหน้าต่างเป็นสิงห์) |
วานร, มกฺขฎ | vānara, makkhaṭa | ลิง (วานร) |
กุทฺทาล | kuddāla | จอบ |
อาจริย | ācariya | อาจารย์ (ภาษาสันสกฤต) |
ลุทฺทก | luddaka | นายพราน |
ลาภ | lābha | ลาภ, ผลประโยชน์ |
เวชฺช | vejja | หมอ (เวช) |
อชา | aja | แกะ |
มญฺจ | mañca | เตียงนอน |
คำกริยา (ผันตามกาลปัจจุบัน + ประธานบุรุษที่สาม + เอกพจน์) ตรงกับ he/she/it + V.-s/es หรือ is + V.-ing ในภาษาอังกฤษ | ||
โรทติ | rodati | ร้องไห้ |
ปวิสติ | pavisati | เข้าไป |
กีฬติ | kīḷati | เล่น (กีฬา) |
ปชหติ | pajahati | ยกเลิก, ละทิ้ง |
หสติ | hasati | หัวเราะ (หรรษา ในภาษาสันสกฤต) |
ททาติ | dadāti (พหูพจน์คือ dadanti - ททนฺติ) | ให้ |
นหายติ | nahāyati | อาบน้ำ |
ลภติ | labhati | ได้รับ, ได้ (ลาภ) |
อาททาติ | ādadāti (พหูพจน์คือ ādadanti) | เอามา |
อากฑฺฒติ | ākaḍḍhati | ลาก |
การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วย -a
แก้ไขการผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วย -a ให้ทำหน้าที่เป็นกรรมรอง มีหลักการดังนี้
กรรมรอง (ที่หมายของกริยา) ในภาษาบาลีเรียกว่า จตุตถี ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า Dative เช่น ฉันให้ขนมแก่น้อง - น้อง ทำหน้าที่เป็น กรรมรอง โดยมีคำว่า แก่ เป็นตัวบ่ง ในภาษาบาลี เมื่อแปลนามที่ทำหน้าที่กรรมรองออกมาเป็นภาษาไทย จะให้ความหมายว่า แก่..., เพื่อ... หรือ ต่อ... |
- 1. ถ้าต้องการให้เป็นเอกพจน์ ให้เติม -āya หรือ -ssa ลงที่ท้ายต้นเค้าคำนาม (เติม -อาย, -สฺส)
- ที่ต้องมีการผันสองแบบ ก็เพื่อความสะดวกในการลงสัมผัสในบทประพันธ์
นร + อาย/สฺส (nara + āya/ssa) |
= | นราย, นสฺส narāya/nassa |
มาตุล + อาย/สฺส (mātula + āya/ssa) |
= | มาตุลาย, มาตุลสฺส mātulāya/mātulassa |
กสฺส + อาย/สฺส (kassaka + āya/ssa) |
= | กสฺกาย, กสฺกสฺส kassakāya/kassakassa |
- 2. ถ้าต้องการให้เป็นพหูพจน์ ให้เติม -ānaṃ ลงที่ท้ายต้นเค้าคำนาม (เติม -อานํ)
nara + ānaṃ | = | narānaṃ (นรานํ) |
mātula + ānaṃ | = | mātulānaṃ (มาตุลานํ) |
kassaka + ānaṃ | = | kassakānaṃ (กสกานํ) |
รูปแบบประโยค
แก้ไขประโยคในภาษาบาลีจะเรียงเป็น ประธาน + กรรมรอง + เครื่องมือ + ที่มา + กรรมตรง + กริยา (S IO Inst Src O V) เช่น
Dhīvaro narāya macchaṃ āharati. (ธีวโร นราย มจฺฉํ อาหรติ) | = | ชาวประมงนำปลามาให้แก่ผู้ชาย |
Putto mātulassa odanaṃ dadāti. (ปุตโต มาตุลสฺส โอทนํ ททาติ) | = | บุตรให้ข้าวสุกแก่ลุง |
Vāṇijo kassakassa ajaṃ dadāti. (วาณิโช กสกสฺส อชํ ททาติ) | = | พ่อค้าให้แพะแก่ชาวนา |
Dhīvarā narānaṃ macche āharanti. (ธีวรา นรานํ มจฺเฉ อาหรนฺติ) | = | พวกชาวประมงนำปลาทั้งหลายมาให้แก่ผู้ชายทั้งหลาย |
Puttā mātulānaṃ odanaṃ dadanti. (ปุตตา มาตุลานํ โอทนํ ททนฺติ) | = | พวกบุตรให้ข้าวสุกแก่พวกลุง |
Vāṇijā kassakānaṃ aje dadanti. (วาณิชา กสกานํ อเช ททนฺติ) | = | พวกพ่อค้าให้แพะทั้งหลายแก่พวกชาวนา |
วิธีการจดจำลำดับคำของประโยคภาษาบาลี
แก้ไข- ลำดับคำหลักของประโยคคือ ประธาน + ส่วนขยายกริยา + กรรมตรง + กริยา (S Adv O V)
- ลำดับคำของส่วนขยายกริยาจะเป็นแบบถอยหลัง เริ่มจากที่มาของกริยาไว้หลังสุด ตามด้วยเครื่องมือไว้ตรงกลาง แล้วจบด้วยที่หมายของกริยา (กรรมรอง) ไว้หน้าสุด (Adv = IO Inst Src)
แบบฝึกหัด
แก้ไขจงแปลเป็นภาษาไทย
แก้ไข- วาณิโช รชกสฺส สาฏกํ ททาติฯ
- เวชฺโช อาจริยสฺส ทีปํ อาหรติฯ
- มิคา ปาสาณมฺหา ปพฺพตํ ธาวนฺติฯ
- มนุสฺสา พุทฺเธหิ ธมฺมํ ลภนฺติฯ
- ปุริโส เวชฺชาย สกฏํ อากฑฺฒติฯ
- ทารโก หตฺเถน ยาจกสฺส ภตฺตํ อาหรติฯ
- ยาจโก อาจริยาย อาวาฏํ ขณติฯ
- รชโก อมจฺจานํ สาฏเก ททาติฯ
- พฺราหฺมโณ สาวกานํ มญฺเจ อาหรติฯ
- วานโร รุกฺขมฺหา ปตติ, กุกฺกุโร วานรํ ฑสติฯ
- ธีวรา ปิฏเกหิ อมจฺจานํ มจฺเฉ อาหรนฺติฯ
- กสฺสโก วาณิชาย รุกฺขํ ฉินฺทติฯ
- โจโร กุทฺทาเลน อาจริยาย อาวาฏํ ขณติฯ
- เวชฺโช ปุตฺตานํ ภตฺตํ ปจติฯ
- ตาปโส ลุทฺทเกน สทฺธึ ภาสติฯ
- ลุทฺทโก ตาปสสฺส ทีปํ ททาติฯ
- สีหา มิเค หนนฺติฯ
- มกฺกโฏ ปุตฺเตน สห รุกฺขํ อารุหติฯ
- สมณา อุปาสเกหิ โอทนํ ลภนฺติฯ
- ทารกา โรทนฺติ, กุมาโร หสติ, มาตุโล กุมารํ ปหรติฯ
- วานรา ปพฺพตมฺหา โอรุหนฺติ, รุกฺเข อารุหนฺติฯ
- โจรา รถํ ปวิสนฺติ, อมจฺโจ รถํ ปชหติฯ
- อาจริโย ทารกาย รุกฺขมฺหา สุกํ อาหรติฯ
- ลุทฺทโก ปพฺพตสฺมา อชํ อากฑฺฒติฯ
- ตาปโส ปพฺพตมฺหา สีหํ ปสฺสติฯ
- วาณิชา กสฺสเกหิ ลาภํ ลภนฺติฯ
- ลุทฺทโก วาณิชานํ วราเห หนติฯ
- ตาปโส อาจริยมฺหา ปเญฺห ปุจฺฉติฯ
- ปุตฺโต มญฺจมฺหา ปตติฯ
- กุมารา สหายเกหิ สทฺธึ นหายนฺติฯ
จงแปลเป็นภาษาบาลี
แก้ไข- พวกพ่อค้าให้ม้าทั้งหลายแก่อมาตย์ทั้งหลาย
- นายพรานฆ่าแพะให้แก่พ่อค้า
- ผู้ชายตัดต้นไม้ทั้งหลายด้วยเลื่อยให้แก่ชาวนา
- กวางวิ่ง (หนี) ไปจากสิงโต
- พระราชาทรงไหว้พระพุทธเจ้ากับทั้งพระสาวกทั้งหลาย
- พวกหัวขโมยวิ่งจากหมู่บ้านทั้งหลายไปยังภูเขาทั้งหลาย
- คนซักผ้าล้างเสื้อผ้าทั้งหลายให้แก่พระราชา
- ชาวประมงนำปลามาในตะกร้าทั้งหลายให้แก่ชาวนา
- อาจารย์เข้าไปในวิหาร (และ) พบกับพระ
- งูใหญ่กัดลิง
- พวกเด็กผู้ชายลากเตียงไปให้พราหมณ์
- พวกขโมยเข้าไปสู่ปราสาทพร้อมกับพวกผู้ชาย
- พวกชาวนานำปลามาจากพวกชาวประมง
- หมูทั้งหลายไปจากเกาะไปสู่ภูเขา
- พระราชาทิ้งปราสาท พระราชบุตรเข้าไปในวิหาร
- สิงโตนอนหลับ พวกลิงเล่นกัน
- อาจารย์ปกป้องบุตรทั้งหลายจากสุนัข
- พวกนายพรานยิงกวางด้วยลูกศรทั้งหลายให้แก่อมาตย์ทั้งหลาย
- พวกเด็กๆ ต้องการข้าวจากลุง
- หมอให้เสื้อผ้าแก่ฤๅษี
- พ่อค้านำแพะมาด้วยเกวียนให้แก่อาจารย์
- พวกบุตรมองดูพระจันทร์จากภูเขา
- พวกนักปราชญ์ได้ประโยชน์จากพระธรรม
- พวกลิงออกจากหมู่บ้าน
- บุตรนำนกแก้วมาให้แก่เพื่อนจากภูเขา
- หมอเข้าไปในวิหาร
- หมาไนวิ่งจากหมู่บ้านไปยังภูเขาด้วยถนน
- เกวียนตกจากถนน เด็กร้องไห้
- พวกอมาตย์ขึ้นบันได หมอลงมาจากบันได
- พวกนักปราชญ์ถามคำถามจากพระพุทธเจ้า
สารบัญ
แก้ไข- บทนำ - การอ่านออกเสียง
- บทที่ 1 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ทำ รูปเอกพจน์และพหูพจน์, การผันกริยากาลปัจจุบันสำหรับประธานบุรุษที่ 3 เอกพจน์และพหูพจน์
- บทที่ 2 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมตรง รูปเอกพจน์และพหูพจน์
- บทที่ 3 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องทำ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
- บทที่ 4 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นต้นกำเนิด รูปเอกพจน์และพหูพจน์
- บทที่ 5 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมรอง รูปเอกพจน์และพหูพจน์
- บทที่ 6 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าของ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
- บทที่ 7 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นสถานที่ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
- บทที่ 8 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นคำร้องเรียก รูปเอกพจน์และพหูพจน์, การผันคำนามเพศกลางที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ
- บทที่ 9 - การสร้างคำนามจากกริยา
- บทที่ 10 - การผันคำกริยาเพื่อไม่ให้ระบุกาล
- บทที่ 11 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน, การผันคำนามเพศชายและเพศกลาง
- บทที่ 12 - การผันคำกริยาในกาลปัจจุบัน และบอกความเป็นผู้กระทำ
- บทที่ 13 - การผันคำกริยาในกาลปัจจุบัน และบอกความเป็นผู้กระทำ (ภาคต่อ)
- บทที่ 14 - การผันคำกริยาเพื่อบอกกาลอนาคต
- บทที่ 15 - การผันคำกริยาเพื่อบอกความเป็นไปได้และคำแนะนำ
- บทที่ 16 - การผันคำกริยาเพื่อบอกคำสั่ง
- บทที่ 17 - การผันคำกริยาเพื่อบอกกาลอดีต
- บทที่ 18 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อา
- บทที่ 19 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น
- บทที่ 20 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ และ อี
- บทที่ 21 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน (ภาคต่อ), การผันคำนามเพศหญิง
- บทที่ 22 - การผันคำกริยาเพื่อบอกความเป็นผู้ถูกกระทำในกาลอนาคต
- บทที่ 23 - การผันคำกริยาเพื่อบอกการไหว้วานหรือการบังคับ
- บทที่ 24 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อุ
- บทที่ 25 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ
- บทที่ 26 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อี
- บทที่ 27 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อุ และ อู
- บทที่ 28 - การผันคำนามของผู้กระทำกริยา และคำนามที่บ่งบอกความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
- บทที่ 29 - การผันคำนามเพศกลางที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ และ อุ
- บทที่ 30 - การผันคำคุณศัพท์ที่ลงท้ายด้วย -วนฺตุ และ -มนฺตุ
- บทที่ 31 - การผันคำสรรพนามบอกบุรุษ
- บทที่ 32 - การผันคำสรรพนามบอกบุรุษ สรรพนามบอกความสัมพันธ์ สรรพนามบอกระยะ และสรรพนามบอกคำถาม
- ภาคผนวก - รายการคำกริยาในภาษาบาลี, รายการคำที่นอกเหนือจากคำกริยาในภาษาบาลี