ภาษาบาลีสำหรับผู้เริ่มต้น/การอ่านออกเสียง

เนื้อหา: ตัวอักษร - เสียง (เสียงสระ, เสียงพยัญชนะ)

ตัวอักษร แก้ไข

ภาษาบาลีเป็นภาษาที่ไม่มีตัวอักษรใช้เป็นของตนเอง ภาษานี้จึงถูกบันทึกด้วยตัวอักษรของประเทศต่าง ๆ ที่ศึกษาภาษาบาลี เช่น ในอินเดียจะใช้ตัวอักษรเทวนาครี ในศรีลังกาจะใช้ตัวอักษรสิงหล ในประเทศพม่าจะใช้ตัวอักษรพม่า ในประเทศกัมพูชาใช้ตัวอักษรเขมร และในประเทศไทยใช้ตัวอักษรไทยและตัวอักษรเขมรควบคู่กันไป ปัจจุบันนี้ภาษาบาลีเริ่มถูกบันทึกด้วยตัวอักษรโรมันมากขึ้น ตามความนิยมและความศรัทธาของชาวตะวันตกที่มีต่อพระพุทธศาสนานั่นเอง ในตำราฉบับแปลเป็นภาษาไทยนี้จะใช้ตัวอักษรโรมันเป็นหลัก แต่ผู้เรียบเรียงจะกำกับตัวอักษรไทยและตัวอักษรเทวนาครีไว้ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถนำไปใช้ศึกษาต่อไปในภายภาคหน้าด้วย

เสียง แก้ไข

ในภาษาบาลีมีเสียงทั้งหมด 41 เสียง แบ่งเป็นเสียงสระ 8 เสียง และเสียงพยัญชนะ 33 เสียง

เสียงสระ แก้ไข

เสียงสระทั้งหมด 8 เสียง มีดังนี้

อักษรโรมัน a ā i ī u ū e o
อักษรไทย อ (อะ) อา อิ อี อุ อู เอ โอ
อักษรเทวนาครี (ลอย/จม) अ / (ไม่มีรูป) अा / ा इ / ि ई / ी उ / ु ऊ / ू ए / े ओ / ो

หลักการออกเสียงสระ แก้ไข

1. สระ a, i, u จะมีเสียงสั้น
1.1. ทั้งนี้ สระ a เมื่ออยู่ท้ายคำ จะออกเสียงแผ่วเบาจนกลายเป็นเสียง /เออะ/ เช่น kumāra /กุ-มา-เร่อะ/ เสียงสระ a ที่ท้ายคำนี้ออกเสียงแผ่วเบามากจนแทบจะหายไปในสำเนียงอินเดีย ดังนั้นในสำเนียงอินเดียจึงอ่าน kumāra ว่า /กุ-มารฺ/ (ในภาษาฮินดีจะเขียนเพียง kumār ตามเสียงอ่าน)
2. สระ ā, ī, ū จะมีเสียงยาว
3. สระ e และ o จะมีเสียงกึ่งสั้นกึ่งยาว โดย
3.1. จะออกเสียงสั้นเมื่อเป็นพยางค์ปิด เช่น mettā /เม็ต-ตา/, khetta /เค็ต-เตอะ/, koṭṭha /ก็อฎ-เฐอะ/, sotthi /ซ็อต-ทิ/
3.2. จะออกเสียงยาวเมื่อเป็นพยางค์เปิด เช่น deva /เด-เว่อะ/, senā /เซ-นา/, loka /โล-เกอะ/, odana /โอ-ดะ-เนอะ/

เสียงพยัญชนะ แก้ไข

เสียงพยัญชนะทั้งหมด 33 เสียง จะแบ่งออกเป็นกลุ่ม (เรียกว่า วรรค) ตามแหล่งกำเนิดเสียง ดังนี้

วรรค แหล่งกำเนิดเสียง (ฐาน) เสียง
วรรคกะ ฐานคอ
(กัณฐชะ)
k kh g gh
วรรคจะ ฐานเพดาน
(ตาลุชะ)
c ch j jh ñ
วรรคฏะ ฐานปุ่มเหงือก
(มุทธชะ)
ṭh ḍh
วรรคตะ ฐานฟัน
(ทันตชะ)
t th d dh n
วรรคปะ ฐานริมฝีปาก
(โอฐชะ)
p ph b bh m
เศษวรรค ฐานต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน h y r, ḷ l, s v

(คอ)

(เพดาน)
ร, ฬ
(ปุ่มเหงือก)
ล, ส
(ฟัน)

(ริมฝีปาก)
र, ळ ल, स
เศษวรรค
อํ
(นิคหิต)
अं

หลักการออกเสียงพยัญชนะ แก้ไข

  1. เสียงจากคอ
    • เสียง k ออกเสียง /ก/
    • เสียง kh ออกเสียง /ค/
    • เสียง g ออกเสียงคล้าย /ก/ แต่ให้เลื่อนมาใช้เพดานอ่อนแทน
    • เสียง gh ออกเสียงคล้าย /ค/ แต่ใช้เพดานอ่อนแทน
    • เสียง ṅ คือเสียง /ง/
  2. เสียงจากเพดาน
    • เสียง c ออกเสียง /จ/
    • เสียง ch เหมือน /ช/
    • เสียง j ออกเสียงคล้าย /จ/ แต่มีเสียงเสียดสีเหมือน /j/ ในภาษาอังกฤษ
    • เสียง jh ออกเสียง /ช/ ที่มีเสียงเสียดสี
    • เสียง ñ ออกเสียงคล้าย /ย/ แต่เป็นเสียงขึ้นจมูก เมื่อเป็นเสียงตัวสะกดจะออกเสียงเหมือน /น/
  3. เสียงจากปุ่มเหงือก
    • เสียง ṭ ออกเสียงคล้าย /ต/ แต่ออกเสียงแบบม้วนลิ้น
    • เสียง ṭh ออกเสียง /ท/ ที่ม้วนลิ้น
    • เสียง ḍ ออกเสียง /ด/ ที่ม้วนลิ้น
    • เสียง ḍh ออกเสียง /ด+ท/ ที่ม้วนลิ้น
    • เสียง ṇ ออกเสียง /น/ ที่ม้วนลิ้น
  4. เสียงจากฟัน
    • เสียง t ออกเสียง /ต/
    • เสียง th ออกเสียง /ท/
    • เสียง d ออกเสียง /ด/
    • เสียง dh ออกเสียง /ด+ท/
    • เสียง n ออกเสียง /น/
  5. เสียงจากริมฝีปาก
    • เสียง p ออกเสียง /ป/
    • เสียง ph ออกเสียง /พ/
    • เสียง b ออกเสียง /บ/
    • เสียง bh ออกเสียง /บ+พ/
    • เสียง m ออกเสียง /ม/
  6. เสียงจากที่ต่างๆ
    • เสียง y ออกเสียง /ย/
    • เสียง r ออกเสียง /ร/ (มีรัวลิ้น)
    • เสียง l ออกเสียง /ล/
    • เสียง ḷ ออกเสียงคล้าย /ล/ แต่ม้วนลิ้น
    • เสียง v ออกเสียง /ว/ โดยไม่มีเสียงเสียดสีเหมือน /v/ ในภาษาอังกฤษ
    • เสียง s ออกเสียง /ซ/
    • เสียง h ออกเสียง /ฮ/
    • เสียง ṃ ออกเสียงได้หลายแบบ โดย
      • สำเนียงลังกา กัมพูชา และไทยจะออกเสียง /ง/ (อัง)
      • สำเนียงอินเดียและพม่าจะออกเสียง /ม/

สารบัญ แก้ไข

บทนำ - การอ่านออกเสียง
บทที่ 1 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ทำ รูปเอกพจน์และพหูพจน์, การผันกริยากาลปัจจุบันสำหรับประธานบุรุษที่ 3 เอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 2 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมตรง รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 3 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องทำ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 4 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นต้นกำเนิด รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 5 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมรอง รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 6 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าของ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 7 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นสถานที่ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 8 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นคำร้องเรียก รูปเอกพจน์และพหูพจน์, การผันคำนามเพศกลางที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ
บทที่ 9 - การสร้างคำนามจากกริยา
บทที่ 10 - การผันคำกริยาเพื่อไม่ให้ระบุกาล
บทที่ 11 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน, การผันคำนามเพศชายและเพศกลาง
บทที่ 12 - การผันคำกริยาในกาลปัจจุบัน และบอกความเป็นผู้กระทำ
บทที่ 13 - การผันคำกริยาในกาลปัจจุบัน และบอกความเป็นผู้กระทำ (ภาคต่อ)
บทที่ 14 - การผันคำกริยาเพื่อบอกกาลอนาคต
บทที่ 15 - การผันคำกริยาเพื่อบอกความเป็นไปได้และคำแนะนำ
บทที่ 16 - การผันคำกริยาเพื่อบอกคำสั่ง
บทที่ 17 - การผันคำกริยาเพื่อบอกกาลอดีต
บทที่ 18 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อา
บทที่ 19 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น
บทที่ 20 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ และ อี
บทที่ 21 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน (ภาคต่อ), การผันคำนามเพศหญิง
บทที่ 22 - การผันคำกริยาเพื่อบอกความเป็นผู้ถูกกระทำในกาลอนาคต
บทที่ 23 - การผันคำกริยาเพื่อบอกการไหว้วานหรือการบังคับ
บทที่ 24 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อุ
บทที่ 25 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ
บทที่ 26 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อี
บทที่ 27 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อุ และ อู
บทที่ 28 - การผันคำนามของผู้กระทำกริยา และคำนามที่บ่งบอกความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
บทที่ 29 - การผันคำนามเพศกลางที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ และ อุ
บทที่ 30 - การผันคำคุณศัพท์ที่ลงท้ายด้วย -วนฺตุ และ -มนฺตุ
บทที่ 31 - การผันคำสรรพนามบอกบุรุษ
บทที่ 32 - การผันคำสรรพนามบอกบุรุษ สรรพนามบอกความสัมพันธ์ สรรพนามบอกระยะ และสรรพนามบอกคำถาม
ภาคผนวก - รายการคำกริยาในภาษาบาลี, รายการคำที่นอกเหนือจากคำกริยาในภาษาบาลี