ภาษาอังกฤษ/ไวยากรณ์/หน้าที่ของคำ/คำนาม
คำนาม (Nouns) หมายถึง คำที่เป็นชื่อของคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ รวมทั้งสิ่งที่เป็นนามธรรม
คน | Johny, Arabs |
---|---|
สัตว์ | cat |
สิ่งของ | chair |
สถานที่ | nation |
นามธรรม | goodness |
ชนิดคำนาม
แก้ไข- สามานยนาม (Common noun)
- วิสามานยนาม (Proper noun)
- สมุหนาม (Collective noun)
- วัตถุนาม (Material noun)
- อาการนาม (Abstract noun)
- นามผสม (Compound noun)
สามานยนาม
แก้ไขสามานยนาม หมายถึง นามที่เป็นชื่อทั่วไปของคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ ไม่ได้ชี้เฉพาะเจาะจงลงไปว่าชื่ออะไร เช่น
- The man works in the garden. ผู้ชายทำงานอยู่ในสวน
- A cat is on the table. แมวอยู่บนโต๊ะ
วิสามานยนาม
แก้ไขวิสามานยนาม หมายถึง ชื่อที่หมายความถึงวัตถุเพียงอย่างเดียว ซึ่งอาจเป็นบุคคล สถานที่หรือสิ่งของ
วิสามานยนามจำกัดสิ่งของให้เป็นการใช้อย่างแคบ เช่น city (นคร) เป็นคำรวมที่ใช้กับสถานที่ประเภทเดียวกัน แต่ Bangkok เป็นชื่อของนครแห่งหนึ่ง และหมายความถึงนครแห่งนี้แห่งเดียว ทั้งนี้ แม้ว่าบางนครอย่างเช่น Bostons หรือ Manchesters จะมีหลายแห่งและปรากฏอยู่ในรูปพหูพจน์ แต่ชื่อที่ซ้ำกันนั้นก็ยังเป็นวิสามานยนามอยู่ (อาจระบุภายหลังว่า Boston, Massachusetts หรือ Manchester, England เป็นต้น)
สมุหนาม
แก้ไขสมุหนาม หมายถึง นามที่เป็นชื่อของหมู่คณะ ฝูง พวก กลุ่ม แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดที่สมุหนามไปประกอบกับสามานยนามโดยมี of มาคั่น เพื่อให้เน้นความเป็นหมู่คณะนั้นชัดยิ่งขึ้น ตามโครงสร้างดังนี้
โครงสร้าง | Collective noun | of | Common noun | |
---|---|---|---|---|
ตัวอย่าง | A bunch | of | flowers | ดอกไม้ช่อหนึ่ง |
A cluster | of | stars | ดาวกลุ่มหนึ่ง |
(สังเกตว่า common noun ที่นำม่าใช้อยู่ในรูปพหูพจน์)
ส่วนอีกชนิดหนึ่งเป็น คำคำเดียวที่มีความหมายแสดงหมวดหมู่ กลุ่มก้อนในตัวมันเองอยู่แล้ว เช่น family ครอบครัว, army กองทัพบก, flock ฝูงสัตว์, jury คณะลูกขุน, cabinet คณะรัฐมนตรี เป็นต้น
วัตถุนาม
แก้ไขวัตถุนาม หมายถึง นามสามัญในแง่ที่ชื่อใช้กับทุกอนุภาคของสสารที่คล้ายกัน ไม่ได้หมายความถึงวัตถุโดด ๆ หรือแยกกัน เช่น glass, iron, clay, frost, rain, snow, wheat, wine, tea, sugar เป็นต้น
อาการนาม
แก้ไขอาการนาม หมายถึง นามที่เป็นชื่อของสภาวะ สถานะ คุณลักษณะ หรือการกระทำ โดยไม่มีความสัมพันธ์กับสิ่งที่เป็นรูปธรรม
เช่น เมื่อเราพูดถึง a wise man (ผู้มีภูมิปัญญา) เรารับรู้คุณสมบัติหรือคุณภาพในตัวบุคคลคนหนึ่ง แต่ถ้าเราต้องการอธิบายถึงคุณสมบัติหรือคุณภาพนั้นโดยไม่นึกถึงบุคคลไปด้วย แปลว่าเรากำลังกล่าวถึง wisdom (ภูมิปัญญา) ซึ่งเป็นอาการนาม หรือเป็นชื่อเรียกของคุณสมบัติหรือคุณภาพที่เป็นนามธรรม
อาการนามแบ่งได้เป็นสองกลุ่ม คือ
- Attribute nouns แสดงคุณภาพหรือคุณลักษณะหรือคุณภาพ มาจากคำคุณศัพท์ เช่น height จาก high, redness จาก red
- Verbal nouns บอกชื่อสถานะ สภาพหรือการกระทำ มาจากคำกริยา
Verbal nouns แบ่งตามที่มาอีกได้ 3 อย่าง
- (1) รูปเดียวกับคำกริยา เพียงแต่เปลี่ยนหน้าที่เท่านั้น เช่น "a long run" "a bold move," "a brisk walk."
- (2) เป็นการเปลี่ยนคำลงท้ายหรือเติมคำตามหลัง (suffix) เช่น motion จาก move, speech จาก speak, theft จาก thieve, action จาก act, service จาก serve
- (3) มาจากกริยาที่เติม -ing เข้ากับรูปฐาน ระวังสับสนกับ gerunds โดยให้ดูว่า verbal nouns ไม่ได้แสดงอาการ เพียงแต่เป็นชื่อเท่านั้น
- Sleeping at midday is necessary for a baby. การนอนหลับกลางวันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเด็ก
- John likes reading after dinner. จอห์นชอบอ่านหนังสือหลังทานอาหารค่ำ
นามผสม
แก้ไขนามผสม อาจแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ
- คำที่ประสมเข้าเป็นคำเดียว เช่น courtyard, stepson
- กลุ่มคำที่ส่วนแรกเป็นคำหลัก แล้วนามต่อมาเป็นคำขยาย เช่น court-martial, father-in-law รายละเอียดการเปลี่ยนเป็นรูปพหูพจน์ ดูด้านล่าง
การใช้คำนามแบบพิเศษ
แก้ไขวิสามานยนามบางคำใช้เสมือนสามานยนามได้ในกรณีต่อไปนี้
- จุดกำเนิดของวัตถุใช้เป็นชื่อของวัตถุนั้นเอง เช่น china (เครื่องถ้วยกระเบื้อง)
- เป็นชื่อของคนหรือสถานที่ที่มีลักษณะบางประการที่ใช้บรรยายคนหรือสถานที่อื่นที่มีคุณสมบัติเดียวกัน เช่น a Hercules (หมายถึง คนที่มีพละกำลังมาก)
นามสามารถนำมาติดกับนามอีกคำหนึ่งโดยจะมีความหมายเพิ่มความหมายหรือคำอธิบาย (ทำหน้าที่เสมือนคุณศัพท์) ตัวอย่างเช่น
- a family quarrel (การทะเลาะในครอบครัว)
- a New York bank (ธนาคารนิวยอร์ก)
- a morning walk (การเดินยามเช้า)
คำหรือกลุ่มคำประเภทอื่นที่ใช้เป็นคำนาม
แก้ไขมีการนำคำหรือกลุ่มคำประเภทอื่นมาใช้เป็นนาม โดยมีที่มาจาก
- คำหน้าที่อื่น เช่น
- The great, the wealthy, fear thy blow.—Burns. หมายถึง ผู้ยิ่งใหญ่ ผู้มั่งมี
- Such are the words a brave should use.—Cooper. หมายถึง ผู้กล้า
- กลุ่มคำ เช่น
- Too swift arrives as tardy as too slow.—Shakespeare. หมายถึง คนที่มาเร็ว, คนที่มาช้า
นามนับไม่ได้ (Uncountable หรือ mass noun)
แก้ไขในภาษาอังกฤษและอีกหลายภาษา นามนับไม่ได้หมายถึงคำนามที่มีคุณสมบัติที่ปริมาณใด ๆ ถือเป็นหน่วยที่แบ่งแยกไม่ได้ ไม่ใช่ส่วนย่อยที่แยกออกจากกันได้ มีแนวโน้มให้ใช้คำนามที่หมายถึงของเหลว (water, juice), ผงหรือเมล็ด (sugar, sand, rice), หรือสสาร (metal, wood) เป็นคำนามนับไม่ได้ คำนามนับไม่ได้ไม่มีการแบ่งเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ แต่ใช้คู่กับรูปกริยาบุรุษที่ 3 เอกพจน์
คำนามนับไม่ได้ไม่สามารถใส่ตัวเลขด้านหน้าโดยตรงเพื่อบอกจำนวนได้ แต่ให้ใช้หน่วยวัดที่เจาะจง เช่น "20 litres of water" (ลองเทียบกับ 20 chairs)
คำนามบางคำเป็นได้ทั้งนามนับได้และนามนับไม่ได้ ตัวอย่างเช่น "wine"
- This is a good wine. นี่เป็นไวน์ที่ดี [หมายถึงไวน์ที่กำลังชิมหรือดื่มอยู่]
- I prefer red wine. ฉันชอบไวน์แดง [ชนิดของไวน์]
สองประโยคมีความหมายต่างกัน
อีกตัวอย่างหนึ่ง เช่น "cabbage"
- three cabbages
- three heads of cabbage
ข้างต้นสองบรรทัดมีความหมายเหมือนกัน
เอกพจน์และพหูพจน์
แก้ไขในภาษาอังกฤษ อาจมีการเปลี่ยนรูปตามจำนวนพจน์ได้ คือ มีทั้งนามรูปเอกพจน์ (singular) และพหูพจน์ (plural) เอกพจน์หมายถึงนามเดียว ส่วนพหูพจน์หมายถึงนามตั้งแต่สองขึ้นไป
รายละเอียดของรูปเอกพจน์และพหูพจน์ของนามดูได้ในตารางด้านล่าง
รายละเอียด | เปรียบเทียบ | |
---|---|---|
รูปเอกพจน์ | รูปพหูพจน์ | |
คำนามส่วนใหญ่เปลี่ยนเป็นรูปพหูพจน์โดยเติม -s | girl dog |
girls dogs |
เติม -es แทน -s ในกรณีต่อไปนี้
|
box cross glass |
boxes crosses glasses |
|
ally fairy |
allies fairies |
|
knife shelf |
knives shelves |
|
volcano | volcanos, volcanoes |
คำนามบางคำเติม -en | ox child |
oxen children |
คำนามบางคำเปลี่ยนสระ | man foot mouse |
men feet mice |
คำยืมจากภาษาต่างประเทศมักมีการเปลี่ยนรูปแบบไม่ปกติ (irregular plural)
ภาษาละตินและกรีก
|
formula | formulae, formula |
|
index | indicies |
|
testis crisis ยกเว้น: polis (และคำที่มาจาก polis) |
testes crises poleis |
|
medium millennium |
media millennia, millenniums |
|
alumnus virus |
alumni viruses |
|
phenomenon | phenomena, phenomenons |
|
stigma | stigmata, stigmas |
คำยืมภาษาฝรั่งเศสบางคำเติม x | bureau | bureaux, bureaus |
คำยืมภาษาอิตาลี โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับเครื่องดนตรี คงรูปพหูพจน์ของภาษาอิตาลี | cello | celli |
คำยืมภาษาอื่นมีทั้งคงรูปพหูพจน์ตามภาษานั้น ๆ หรือเติม -s | oblast | oblasti, oblasts (ภาษาสลาฟ) |
นามผสมที่ส่วนแรกเป็นคำหลัก แล้วนามต่อมาเป็นคำขยาย (ดูด้านบน) เติม -s ที่นามตัวหน้า | court-martial son-in-law |
courts-martial sons-in-law |
คำนามบางคำมีรูปเอกพจน์และพหูพจน์รูปเดียวกัน | deer sheep |
deer sheep |
คำนามบางคำปกติเป็นเอกพจน์ แม้เขียนในรูปพหูพจน์ | คำกลุ่มสาขาวิชา: mathematics, politics, physics news, means |
— |
คำนามบางคำไม่มีรูปเอกพจน์เข้าคู่กัน (เป็นพหูพจน์เสมอ) | — | scissors, trousers, spectacles, assets |
คำนามบางคำมีรูปพหูพจน์หลายรูปซึ่งเปลี่ยนความหมายของคำ | — | cloths (ผ้าประเภทหนึ่ง), clothes (เครื่องนุ่งห่ม) |
การใช้เอกพจน์หรือพหูพจน์
แก้ไขปริมาณศูนย์เป็นได้ทั้งเอกพจน์และพหูพจน์ แต่ถือเป็นพหูพจน์โดยปริยาย เช่น
- We have no bananas.
- We don't have any bananas.
จุดทศนิยมเป็นพหูพจน์เสมอ ส่วนเศษส่วนให้ดูเศษ (ดูที่ บท "จำนวน") เช่น
- 0.6 units
- 3.3 children per couple
ใช้รูปพหูพจน์กับคำที่ไม่มีรูปเอกพจน์ เช่น
- a glasses case หมายถึงกล่องใส่แว่นตา
- (ระวังสับสนกับ a glass case หมายถึงกล่องที่ทำจากแก้ว)
เพศของคำนาม
แก้ไขในภาษาอังกฤษ คำนามสามารถมีได้ 2 เพศ คือ เพศชายหรือผู้ (masculine) และเพศหญิงหรือเมีย (feminine) เพศของคำนามบอกได้จาก
- คำเติมหน้า (Prefix) เช่น
- she-goat—he-goat, cock sparrow—hen sparrow
- คำเติมท้าย (Suffix) มักลงท้ายด้วย -ess เช่น
- lion—lioness, actor—actress
- คำที่รูปต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่เป็นคำที่เข้าคู่กัน เช่น
- boy—girl, king—queen, bull—cow
หน้าที่ของคำนามในประโยค
แก้ไขหน้าที่ของคำนามในประโยคแบ่งได้เป็น กรรตุการก (nominative), กรรมการก (objective) และสัมพันธการก (possessive)
กรรตุการก
แก้ไข- เป็นประธานของกริยา
- เป็นนามภาคแสดง (predicate noun) หรือคำที่เติมกริยาให้สมบูรณ์ เช่น
- "A bent twig makes a crooked tree."
- วางข้าง (in apposition) นามกรรตุการกอื่น เป็นการเพิ่มความหมายของคำนั้น เช่น
- "The reaper Death with his sickle keen." (Death ขยาย the reaper)
- ใช้เมื่อกล่าวด้วยโดยตรง (direct address) เช่น
- "Lord Angus, thou hast lied!"
- ใช้กับ infinitive ในประโยคอุทาน เช่น
- "David to die!"
กรรมการก
แก้ไข- เป็นวัตถุโดยตรงหรือโดยอ้อมของกริยา
- เป็นการนิยามการกระทำของกริยาโดยระบุเวลา การวัด ระยะทาง เป็นต้น คล้ายกับคำวิเศษณ์ เช่น
- "Cowards die many times before their deaths."
- เป็นวัตถุที่สอง เป็นภาคแสดงที่เติมกริยาให้สมบูรณ์ (คือไม่ใช่สิ่งเดียวกับประธาน) เช่น
- "Time makes the worst enemies friends."
- เป็นวัตถุของบุพบท เช่น
- ""He must have a long spoon that would eat with the devil."
- วางข้างกรรมการกอื่น เช่น
- "The opinions of this junto were completely controlled by Nicholas Vedder, a patriarch of the village, and landlord of the inn."
สัมพันธการก
แก้ไข- สัมพันธการกวางข้าง (Appositional possessive) เทียบเท่ากับกรรมการกวางข้าง (appositional objective) เช่น
- The blind old man of Scio's rocky isle.—Byron (= the rocky isle of Scio)
- สัมพันธการกกรรม (Objective possessive) เทียบเท่ากับกรรมการกตามหลังกริยา เช่น
- "He passes to-day in building an air castle for to-morrow, or in writing yesterday's elegy."—Thackeray (= an elegy to commemorate yesterday)
- สัมพันธการกรรตุ (Subjective possessive) เทียบเท่ากับกรรตุการก เช่น
- The unwearied sun, from day to day,
- Does his Creator's power display.
- —Addison.
- หมายเหตุ
- บางครั้งละ s ในสัมพันธการกเอกพจน์ถ้าคำลงท้ายด้วยเสียงเสียดแทรก (hissing) แล้วเสียงเสียดแทรกอีกเสียงหนึ่งตามมา เหลือเฉพาะเครื่องหมายอะพอสทรอพี เช่น
- for goodness' sake
- ในวลีความซ้อน เติมอะพอสทรอพีหลังคำสุดท้าย เช่น
- They invited me in the emperor their master's name.—Swift.
- พบการใช้ double possessive ซึ่งมีเพื่อเน้นคำ หรือเพื่อเลี่ยงความกำกวม เช่น
- Besides these famous books of Scott's and Johnson's, there is a copious "Life" by Thomas Sheridan.—Thackeray
อ้างอิง
แก้ไข- ข้อความบางส่วนในหน้านี้ นำมาจากตำรา An English Grammar by W. M. Baskervill and J. W. Sewell, 1895. ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ