ภาษาไทย/ไวยากรณ์/การใช้เครื่องหมาย/การใช้เครื่องหมายวรรคตอน
ศิรวิทย์-แร่
อินทร์
เนื้อหา: | ไข่ปลา - จุลภาค - ทวิภาค - ทับ - นขลิขิต - บุพสัญญา - ปรัศนี - ไปยาลน้อย - ไปยาลใหญ่ - มหัพภาค - ไม้ยมก (ข้อยกเว้น) - ยัติภังค์ - วงเล็บปีกกา - วงเล็บเหลี่ยม - สัญประกาศ - อัญประกาศ - อัญประกาศเดี่ยว - อัฒภาค - อัศเจรีย์ - อักษรย่อ |
---|
ไข่ปลา
แก้ไขไข่ปลา หรือ จุดไข่ปลา (...)
- ใช้ละข้อความข้างท้ายที่ไม่จำเป็นหรือไม่ต้องการกล่าวถึง เพื่อแสดงว่าตัดตอนข้อความนั้นมาเพียงบางส่วน โดยต้องใส่จุดอย่างน้อย ๓ จุด
- สำหรับในบทร้อยกรอง ถ้าจะละข้อความตั้งแต่ ๑ บรรทัดขึ้นไป ให้ใช้จุดไข่ปลายาวตลอดบรรทัด แต่ถ้าจะเน้นฉันทลักษณ์ก็สามารถใส่จุดไข่ปลาตามรูปแบบฉันทลักษณ์ได้
- ใช้เพื่อแสดงว่ามีข้อความ แต่ข้อความนั้นลบเลือนหรือขาดหายไป และยังไม่สามารถหาหลักฐานมาประกอบหรือยืนยันได้ เช่น ข้อความในศิลาจารึก เป็นต้น
จุลภาค
แก้ไขจุลภาค (,)
- ใช้คั่นจำนวนเลขนับจากหลักหน่วยไปทีละ ๓ หลัก
- ใช้แยกคำ ข้อความย่อย หรือประโยคย่อยให้เด่นชัดขึ้น เพื่อกันความสับสน
- ใช้คั่นคำในรายการที่เขียนต่อ ๆ กันตั้งแต่ ๓ รายการขึ้นไป กรณีที่รายการสุดท้ายมีคำ "และ" หรือ "หรือ" อยู่หน้าคำ ไม่ต้องใส่จุลภาคหลังรายการรองสุดท้าย
- ใช้ในการเขียนบรรณานุกรม ดัชนี และนามานุกรม โดยเขียนคั่นเมื่อมีการสับที่ระหว่างนามสกุลกับชื่อ, ระหว่างชื่อ-สกุล กับคำนำหน้านาม หรือยศ, ระหว่างราชทินนาม กับบรรดาศักดิ์ ฐานันดรศักดิ์ หรือสมณศักดิ์
- ใช้ในพจนานุกรม เขียนคั่นความหมายหรือบทนิยามของคำที่มีความหมายหลาย ๆ อย่าง แต่ความหมายคล้าย ๆ กัน
ทวิภาค
แก้ไขทวิภาค (:)
- ใช้แสดงมาตราส่วนในแผนที่
- ใช้แสดงอัตราส่วน
- ใช้แสดงสัดส่วน
- ใช้แสดงส่วนเปรียบในวิชาคณิตศาสตร์
- ใช้ไขความ แทนคำว่า "คือ"
- ใช้เขียนหลังคำ "ดังนี้" "ดังต่อไปนี้" เป็นต้น เพื่อแจกแจงรายการ
- ใช้คั่นบอกเวลา ซึ่งใช้คั่นระหว่างชั่วโมงกับนาที หรือชั่วโมงกับนาทีกับวินาที
ทับ
แก้ไขทับ (/)
- ใช้ขีดหลังจำนวนเลขเพื่อแบ่งจำนวนย่อยออกจากจำนวนใหญ่
- ใช้ขีดคั่นระหว่างเลขบอกลำดับกับเลขศักราช
- ใช้ขีดคั่นระหว่างตัวเลขแสดงวัน เดือน ปี
- ใช้ขีดคั่นระหว่างคำ "และ" กับ "หรือ" เป็น "และ/หรือ" หมายถึงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างก็ได้
- ใช้ขีดคั่นระหว่างคำ แทนคำว่า "หรือ" หมายถึง อย่างใดอย่างหนึ่ง
- ใช้ขีดคั่นระหว่างคำ มีความหมายว่า "ต่อ"
นขลิขิต
แก้ไขนขลิขิตหรือวงเล็บ ( )
- ใช้กับข้อความที่อธิบายไว้เพื่อช่วยให้ชัดเจนขึ้น
- ใช้กับข้อมูลบางอย่างเพื่อเตือนความจำ
- ใช้คร่อมนามเต็มที่เขียนไว้ใต้ลายเซ็น
- ใช้คร่อมตัวเลขหรือตัวอักษรที่เป็นหัวข้อบอกเชิงอรรถ
- ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ หรือเขียนสูตรเคมีเพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขหรือสัญลักษณ์
ปรัศนี
แก้ไขปรัศนี (?)
- ใช้เมื่อสิ้นสุดประโยคคำถาม
- ใช้หลังข้อความที่แสดงความสงสัยหรือไม่แน่ใจ
ไปยาลน้อย
แก้ไขไปยาลน้อย (ฯ)
- ใช้ละบางส่วนของคำ โดยมากใช้สำหรับชื่อเฉพาะหรือสำนวนที่รู้จักกันดี
- ใช้ในการเขียนวัน เดือน ปี แบบไทย
ไปยาลใหญ่
แก้ไขไปยาลใหญ่ (ฯลฯ)
- ใช้ละคำที่มีอีกมากเพื่อประหยัดเวลาและหน้ากระดาษ
มหัพภาค
แก้ไขมหัพภาค (.)
- ใช้เขียนไว้หลังตัวอักษรเพื่อแสดงให้รู้ว่าเป็นอักษรย่อ
ประโยชน์ของอักษรย่อคือ ช่วยให้เขียนได้สั้นลง และที่สำคัญเพื่อความรวดเร็วเมื่อมีระยะเวลาอันจำกัดในการเขียน การย่อจะใช้พยัญชนะต้นของแต่ละพยางค์เป็นตัวย่อ แต่เวลาอ่านอักษรย่อต้องอ่านคำเต็ม
- ใช้เขียนหลังจากจบข้อความหรือประโยค
- ใช้เขียนหลังตัวเลขหรืออักษรที่บอกลำดับข้อ
- ใช้เขียนคั่นระหว่างชั่วโมงกับนาทีเพื่อบอกเวลา อาจเขียนเลขบอกชั่วโมงเป็นเลข ๑ หลักก็ได้
- ใช้เขียนแสดงทศนิยมในจำนวนเลข เช่น
- ใช้เขียนแสดงจำนวนทศนิยมไม่รู้จบ
- ใช้แทนเครื่องหมายคูณในวิชาคณิตศาสตร์
- ใช้คั่นสูตรเคมีเพื่อแสดงสูตรของสารประกอบในสารประกอบเชิงซ้อน
ไม้ยมก
แก้ไขไม้ยมก (ๆ) มีวิธีใช้ดังนี้
- ใช้เพื่อซ้ำคำ
- ใช้เพื่อซ้ำวลี
- ใช้เพื่อซ้ำประโยค
ข้อยกเว้น
แก้ไขไม่ใช้ไม้ยมกในกรณีต่อไปนี้
- คำเดิมที่ทำหน้าที่ต่างกันไม่ใช้ไม้ยมก
- ในการเขียนคำประพันธ์ไม่ใช้ไม้ยมกในคำซ้ำกัน
- คำว่า นานา และ จะจะ ไม่ใช้ไม้ยมก
ยัติภังค์
แก้ไขยัติภังค์ (-)
- ใช้ใส่เมื่อต้องแยกคำ เนื่องจากมาอยู่ตรงสุดบรรทัด แล้วไม่สามารถบรรจุคำเต็มได้
- ใช้ใส่ไว้ท้ายวรรคหน้าของบทร้อยกรองเพื่อต่อพยางค์หรือคำที่ต้องเขียนคาบวรรคกัน เพื่อให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์
- ใช้เขียนแยกพยางค์ เพื่อบอกคำอ่าน
- ใช้ในพจนานุกรม เพื่อแสดงว่าคำนั้นมีคำอื่นมาต่อท้าย, เพื่อแทนคำอ่านของพยางค์ที่ไม่มีปัญหาในการออกเสียง, เพื่อใช้แทนส่วนหน้าของคำคู่ที่ละส่วนหน้าไว้และเพื่อใช้แทนคำที่มาจากข้างต้นที่ละไว้โดยไม่ต้องเขียนซ้ำ มักใช้ในกรณีที่เป็นรายการชุดเดียวกัน
- ใช้ในความหมายว่า "และ" หรือ "กับ"
- ใช้แทนความหมายว่า "ถึง" เพื่อแสดงช่วงเวลา จำนวน สถานที่ ฯลฯ
- ใช้ขยายความ
- ใช้แสดงลำดับย่อยของรายการที่ไม่ใส่ตัวอักษร
- ใช้แยกตัวอักษรเพื่อให้เห็นการสะกดชัดเจน
วงเล็บปีกกา
แก้ไขวงเล็บปีกกา {}
- ใช้พ่วงคำซึ่งอยู่คนละบรรทัดเข้าด้วยกัน เพื่อให้รู้ว่าเป็นกลุ่มเดียวกัน อาจใช้เพียงข้างใดข้างหนึ่งก็ได้
- ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อกั้นสมาชิกของเซต หรือกั้นกลุ่มตัวเลขหรือกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บอื่นอยู่แล้ว ไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน
วงเล็บเหลี่ยม
แก้ไขวงเล็บเหลี่ยม []
- ใช้คร่อมคำหรือข้อความเพื่อแยกออกจากข้อความอื่น ในกรณีที่ข้อความนั้นมีการใช้เครื่องหมายวงเล็บแบบอื่นอยู่แล้ว
- ใช้ในพจนานุกรม สำหรับบอกคำอ่าน
- ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขหรือกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บอื่นอยู่แล้ว
- ใช้ในทางวิทยาศาสตร์ สำหรับกั้นกลุ่มตัวเลขหรือกลุ่มสัญลักษณ์เพื่อแสดงความหมายต่าง ๆ
สัญประกาศ
แก้ไขสัญประกาศ (_____)
- ใช้ขีดเส้นใต้ข้อความที่สำคัญ
- ใช้ขีดเส้นใต้ข้อความที่เป็นหัวข้อหรือข้อความที่ต้องการให้เด่นเป็นพิเศษ
อัญประกาศ
แก้ไขอัญประกาศ (" ") เป็นเครื่องหมายที่ใช้คร่อมตัวอักษร คำ กลุ่มคำ หรือข้อความที่มีลักษณะพิเศษหรือเป็นส่วนของคำพูด มีวิธีใช้ดังนี้
- ใช้เมื่อต้องการให้ผู้อ่านสังเกตคำใดคำหนึ่ง
- ใช้เมื่อต้องการให้ผู้อ่านทราบว่าเป็นบทสนทนา ในกรณีที่มีทั้งบทบรรยายและบทสนทนา
- ใช้เมื่อยกข้อความตอนใดตอนหนึ่งจากหนังสืออีกเล่มหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่หนังสือที่ผู้เขียนกำลังเขียนมา
อัญประกาศเดี่ยว
แก้ไขอัญประกาศเดี่ยว (' ')
- ใช้เขียนเป็นอัญประกาศซ้อนในข้อความที่มีอัญประกาศอยู่แล้ว
- ทนายของจำเลยแย้งขึ้นมาว่า "เมื่อสักครู่พยาน พูดว่า 'ผมได้ยินเสียงไม่ค่อยชัด' จึงขอเลื่อนเวลาเพื่อตรวจสอบให้แน่ชัด "
อัฒภาค
แก้ไขอัฒภาค (;)
- ใช้แยกประโยคเปรียบเทียบออกจากกัน
- ใช้คั่นระหว่างประโยคที่สมบูรณ์ ๒ ประโยค เพื่อแสดงความต่อเนื่องของประโยคทั้งสอง
- ใช้แบ่งประโยค กลุ่มคำ หรือกลุ่มตัวเลขที่มีเครื่องหมายจุลภาคอยู่แล้วให้เป็นส่วน ๆ ชัดเจนขึ้น
- ใช้คั่นคำในรายการที่มีจำนวนมาก ๆ เพื่อจำแนกรายการออกเป็นพวก ๆ
- ใช้ในพจนานุกรม เขียนคั่นบทนิยามของคำที่มีความหมายหลายอย่าง แต่ความหมายก็ยังมีนัยเนื่องกับความหมายเดิม และยังใช้คั่นบทนิยามของคำที่มีความหมายไม่สัมพันธ์กันด้วย
อัศเจรีย์
แก้ไขอัศเจรีย์ (!) โดยทั่วไปใช้เป็นเครื่องหมายที่ใช้เขียนไว้ข้างหลังคำหรือกลุ่มคำที่แสดงอารมณ์และความรู้สึกต่าง ๆ เช่น ดีใจ เสียใจ ตกใจ รับรู้ ประหลาดใจ พอใจ หรืออื่น ๆ มีวิธีใช้ดังนี้
- เขียนไว้ข้างหลังคำอุทานเพื่อแสดงอารมณ์ และความรู้สึกที่เกิดขึ้น เช่น
- เขียนไว้หลังข้อความที่ต้องการให้ผู้อ่านสังเกตและระมัดระวัง มักเป็นข้อความเตือนใจ เช่น
- ใช้เขียนหลังคำที่เลียนแบบเสียงธรรมชาติ
- ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เป็นเครื่องหมายแฟกทอเรียล เขียนหลังตัวเลขหรือตัวอักษร แสดงถึงผลคูณต่อเนื่อง