ทรัพย์สิน

(เปลี่ยนทางจาก Property law)




กฎหมายลักษณะทรัพย์สิน[1] (law of property) เป็นกฎหมายหมู่สำคัญหมู่หนึ่งในกฎหมายแพ่ง ในระบบการศึกษาของประเทศไทย กฎหมายลักษณะทรัพย์สินมักศึกษาถัดจากความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายและระบบกฎหมาย กฎหมายลักษณะบุคคล กฎหมายลักษณะหนี้ และกฎหมายลักษณะนิติกรรมและสัญญา ตามลำดับ ทว่า แม้ศึกษาแยกกันเป็นวิชา ๆ แต่กฎหมายเหล่านี้สัมพันธ์กันอยู่โดยสภาพ แยกใช้ขาดจากกันมิได้

ภาพสีน้ำมัน ริบราชบาตร (Die Hausratsauflösung) ราวคริสต์ศตวรรษที่ 19

บุคคลทุกคน ไม่ว่าบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้ว ย่อมมี "กองทรัพย์สิน" (estate) เป็นของตนเอง กองทรัพย์สินนี้เป็นที่รวมบรรดานิติสัมพันธ์ของบุคคลนั้นซึ่งมีค่ามีสิน นิติสัมพันธ์เหล่านี้ได้แก่ ทรัพย์สิน สิทธิเรียกร้อง และหนี้[2]

แต่ละคนมีกองทรัพย์สินของตนเพียงกองเดียวเท่านั้น[3] และบุคคลไม่อาจแยกจากกองทรัพย์สินตนได้จนกว่าสิ้นสภาพบุคคล สำหรับบุคคลธรรมดานั้น เมื่อสิ้นสภาพบุคคล กองทรัพย์สินของเขาจะเปลี่ยนไปเรียก "กองมรดก" (estate) และตกทอดแก่ทายาทหรือผู้อื่นต่อไป[4]

กฎหมายลักษณะทรัพย์สินนั้นมีหัวใจเป็นการกำหนดเจ้าของทรัพย์สินและขอบเขตของความเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ตำรานี้แบ่งศึกษากฎหมายลักษณะทรัพย์สินตามลำดับดังนี้

  บทที่ 1 ลักษณะทั่วไปของทรัพย์สิน

  บทที่ 2 ประเภทของทรัพย์สิน

  บทที่ 3 ส่วนประกอบของทรัพย์สิน

  บทที่ 4 ทรัพยสิทธิ

รายละเอียดของแต่ละบทปรากฏอยู่ในกล่องท้ายหน้านี้แล้ว

เพื่อประโยชน์ในการศึกษา ตำรานี้ได้แทรกศัพท์กฎหมายที่เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่นไว้ด้วย ศัพท์เหล่านี้อ้างอิงประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน ญี่ปุ่น หรือฝรั่งเศส ซึ่งเป็นแม่แบบ ป.พ.พ. เป็นหลัก

ตำรานี้ยังแทรก ฎ. บางฉบับไว้ด้วย แต่พึงทราบว่า ในระบบซีวิลลอว์ (civil law) ซึ่งเป็นระบบกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทยนั้น คำพิพากษาไม่เป็นกฎหมาย เป็นเพียงการปรับใช้กฎหมายเป็นรายกรณีไปเท่านั้น

เชิงอรรถ

แก้ไข
  1. เรียกว่า "กฎหมายลักษณะทรัพย์" ก็มี เช่น บัญญัติ สุชีวะ, 2555: 1.
  2. มานิตย์ จุมปา, 2551: 2-3.
  3. มานิตย์ จุมปา, 2551: 3.
  4. มานิตย์ จุมปา, 2551: 4.

อ้างอิง

แก้ไข

ภาษาไทย

แก้ไข
  • กฎหมายดีดี. (2555). คำพิพากษาศาลฎีกา (ปี 2512 ถึงปัจจุบัน). [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 31 กรกฎาคม 2555).
  • "กฎหมายลักษณะอาญา". (2451, 1 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา, (เล่ม 25, ฉบับพิเศษ). [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 1 มกราคม 2556). หน้า 206.
  • ขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์). (2549). พจนานุกรมกฎหมาย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิญญูชน. ISBN 9742883653.
  • ไชยยศ เหมะรัชตะ. (2540). กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
  • บัญญัติ สุชีวะ. (2555). คำอธิบายกฎหมายลักษณะทรัพย์. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: เนติบัณฑิตยสภา. ISBN 978-616-7425-37-5.
  • ประมูล สุวรรณศร. (2525). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1-4 ว่าด้วยทรัพย์. กรุงเทพฯ: นิติบรรณาการ.
  • ประภาศน์ อวยชัย. (2536). ข้อโต้แย้งจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาตามกฎหมายอาญา เล่ม 3. กรุงเทพฯ: สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย.
  • พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตาบดี (บุญช่วย วณิกกุล). (2502). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1-2. กรุงเทพฯ: เนติบัณฑิตยสภา.
  • "พระราชบัญญัติกระบวนพิจารณาความแพ่ง รัตนโกสินทรศก 115". (2439, 15 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา, (เล่ม 13, แผ่นที่ 33). [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 1 มกราคม 2556). หน้า 367.
  • มานิตย์ จุมปา. (2551). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิย์ว่าด้วยทรัพย์สิน. (พิมพ์ครั้งที่ 6) กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ISBN 978-974-03-2300-6.
  • ราชบัณฑิตยสถาน. (2551, 7 กุมภาพันธ์). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 31 กรกฎาคม 2555).
  • ศาลฎีกา. (2550, 26 มกราคม). ระบบสืบค้นคำพิพากษาและคำสั่งคำร้องศาลฎีกา. [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 31 กรกฎาคม 2555).
  • สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2534, กันยายน). ข้อเสนอแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1. กรุงเทพฯ: มปท.
  • เสนีย์ ปราโมช. (2521). กฎหมายลักษณะทรัพย์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
  • สำนักงานศาลยุติธรรม. (ม.ป.ป.). คำพิพากษาศาลฎีกา (ปี 2530 ถึงปัจจุบัน). [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 31 กรกฎาคม 2555).
  • หยุด แสงอุทัย. (2523). กฎหมายอาญา ภาค 2-3. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภาษาต่างประเทศ

แก้ไข