มรดก
กฎหมายนั้นเกี่ยวพันกับความเป็นอยู่ของบุคคลเสมอ แม้บุคคลไม่มีตัวอยู่แล้ว กฎหมายก็ยังควบคุมบางสิ่งบางอย่างซึ่งเคยเป็นของเขาในครั้งมีชีวิตอยู่ กฎหมายนี้คือ กฎหมายลักษณะมรดก (Law of Succession) ซึ่งเป็นกฎหมายหมู่สำคัญหมู่หนึ่งในกฎหมายแพ่ง
ในการศึกษานิติศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาไทย สำหรับบรรดากฎหมายแพ่งนั้น กฎหมายลักษณะมรดกมักเล่าเรียนกันในปีที่สาม ถัดจากความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายและระบบกฎหมาย กฎหมายลักษณะบุคคล กฎหมายลักษณะหนี้ กฎหมายลักษณะนิติกรรมและสัญญา กฎหมายลักษณะละเมิด จัดการงานนอกสั่ง และลาภมิควรได้ กฎหมายว่าด้วยเอกเทศสัญญา กฎหมายลักษณะทรัพย์สิน และกฎหมายลักษณะครอบครัว ตามลำดับ
เนื่องจากความตายเป็นธรรมชาติพื้นฐานประการหนึ่งของมนุษย์ ความสัมพันธ์ของมนุษย์ในทางมรดกและกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์นี้จึงมีมาช้านาน สำหรับชนชาติไทยสยาม (ไทยภาคกลางปัจจุบัน) เองนั้นก็เป็นต้นว่า พระไอยการลักษณมฤดก ที่พระเจ้าทรงธรรมทรงตราขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของพระธรรมศาสตร์[1] และในกรุงรัตนโกสินทร์ก็ได้รับการชำระพร้อมกับกฎหมายหมวดหมู่อื่นของพระธรรมศาสตร์ซึ่งมักเรียกรวมกันว่า "กฎหมายตราสามดวง" ต่อมา จึงได้รับการยกเลิกและแทนที่ด้วยกฎหมายหลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการทำพินัยกรรม์ พุทธศักราช 2475[2] กระทั่งมีการตรา ป.พ.พ. โดยมี บ. 6 ว่าด้วยมรดก ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2478[3] มาตราบบัดนี้
ปัจจุบัน กฎหมายลักษณะมรดกมิได้ใช้บังคับทั่วราชอาณาจักรไทย เฉพาะคดีมรดกที่เกิดในจังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดสะตูลนั้น ให้ใช้กฎหมายชะรีอะฮ์ (Šarīʿah) แทน ป.พ.พ. ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ. 2498[4]
เพื่อประโยชน์ในการศึกษากฎหมายลักษณะมรดก ตำรานี้จึงแบ่งส่วนดังต่อไปนี้
บทที่ 1 บททั่วไป: ว่าด้วยมรดกคืออะไร เกิดขึ้นอย่างไร มีลักษณะอย่างไร มีผลอย่างไร และใครคือผู้รับมรดก
บทที่ 2 สิทธิรับมรดกโดยธรรม: ว่าด้วยการรับมรดกโดยอาศัยสิทธิตามกฎหมาย และการเสียสิทธิดังกล่าว
บทที่ 3 สิทธิรับมรดกโดยพินัยกรรม: ว่าด้วยการรับมรดกโดยอาศัยสิทธิตามพินัยกรรม การทำพินัยกรรม และผลของพินัยกรรม
บทที่ 4 สิทธิรับทรัพย์สินของผู้ตายโดยมิได้เป็นทายาท: ว่าด้วยการรับมรดกของผู้ตาย แม้มิได้เป็นทายาทของผู้ตายก็ตาม
บทที่ 5 การบริหารมรดก: ว่าด้วยการจัดการมรดก การเรียกชำระหนี้จากกองมรดก และการแบ่งมรดก
บทที่ 6 อายุความ: ว่าด้วยอายุความเกี่ยวกับมรดก
ตำรานี้ว่าด้วยกฎหมายไทยที่ยังใช้บังคับอยู่เท่านั้น ไม่กล่าวถึงที่เลิกใช้แล้ว และไม่กล่าวถึงกฎหมายชะรีอะฮ์ อนึ่ง เพื่อประโยชน์ในการศึกษา ตำรานี้ได้แทรกศัพท์กฎหมายที่เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่นไว้ด้วย ศัพท์เหล่านี้อ้างอิงประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน ญี่ปุ่น หรือฝรั่งเศส ซึ่งเป็นแม่แบบ ป.พ.พ. เป็นหลัก
ตำรานี้ยังแทรก ฎ. บางฉบับไว้ด้วย แต่พึงทราบว่า ในระบบซีวิลลอว์ (civil law) ซึ่งเป็นระบบกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทยนั้น คำพิพากษาไม่เป็นกฎหมาย เป็นเพียงการปรับใช้กฎหมายเป็นรายกรณีไปเท่านั้น
เชิงอรรถ
แก้ไขรายการอ้างอิง
แก้ไขภาษาไทย
แก้ไข- กฎหมาย
- กฎหมายตรา 3 ดวง ฉบับพิมพ์มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง, เล่ม 1. (2548.06.24). กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ. ISBN 9744096527.
- สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
- (2554.01.11). กฎกระทรวงมหาดไทย ออกตามความในมาตรา 1672 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2481.. [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 2556.02.14).
- (2554.01.11). กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2503) ออกตามความในมาตรา 1672 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2503.. [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 2556.02.14).
- (2551.03.10). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 2556.02.14).
- "พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2495." (2495.03.11). ราชกิจจานุเบกษา, (เล่ม 69, ตอนที่ 16, หน้า 413). [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 2556.02.14).
- "พระราชบัญญัติว่าด้วยการทำพินัยกรรม์ พุทธศักราช 2475." (2476.04.05). ราชกิจจานุเบกษา, (เล่ม 50, หน้า 16). [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 2556.02.14).
- "พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 6 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477." (2478.06.07). ราชกิจจานุเบกษา, (เล่ม 52, หน้า 529). [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 2556.02.14).
- คำพิพากษา
- สำนักงานศาลยุติธรรม. (ม.ป.ป.). คำพิพากษาศาลฎีกา (ปี 2530 ถึงปัจจุบัน). [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 2556.02.14).
- ศาลฎีกา. (2550.01.25). ระบบสืบค้นคำพิพากษาและคำสั่งคำร้องศาลฎีกา. [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 2556.02.14).
- หนังสือ
- เพรียบ หุตางกูร. (2552.12). คำอธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ISBN 9789744664433.
- บทความ
- กีรติ กาญจนรินทร์. (2551.05-08). "การสืบมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1607." ดุลพ่าห์, (เล่ม 2, ปีที่ 55). [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 2556.02.14).
- ประสบสุข บุญเดช. (2541.10). "พินัยกรรม สัญญาที่จะทำ หรือไม่ทำ หรือไม่เพิกถอน." วารสารยุติธรรม. [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 2556.02.14).
- เพ็ง เพ็งนิติ. (2550.09-12). "ตั้งทนายให้ผี." ดุลพ่าห์, (เล่ม 2, ปีที่ 55). [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 2556.02.14).
- เพรียบ หุตางกูร. (ม.ป.ป.). อายุความเกี่ยวกับมรดก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: (เข้าถึงเมื่อ: 2556.02.14).
- ไพจิตร ปุญญพันธุ์. (ม.ป.ป.). การบังคับสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้กองมรดก. [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 2556.02.14).
- มานิต มานะทัต. (2510). มรดกพระภิกษุ. [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 2556.02.14).
- วีระ ทรัพย์ไพศาล. (ม.ป.ป.). ส่วนแบ่งอันบังคับตามกฎหมายมฤดก. [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 2556.02.14).
- โสต สุตานันท์. (2548.09-12). "การสืบมรดกกับการรับมรดกแทนที่กัน". ดุลพ่าห์, (เล่ม 3, ปีที่ 52). [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 2556.02.14).
- หลวงเกรียงชโย. (ม.ป.ป.). พินัยกรรม ข้อวิจารณ์บทความเรื่อง สัญญาที่ทำ หรือไม่ทำ หรือไม่เพิกถอนพินัยกรรม. [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 2556.02.14).
- อื่น ๆ
- ราชบัณฑิตยสถาน.
- (2551.02.07). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 2556.02.14).
- (ม.ป.ป.). ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน. [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 2556.02.14).
ภาษาต่างประเทศ
แก้ไข- Code civil des français: éd. originale et seule officielle. (1804). France: Bibliothèque nationale de france. [En ligne]. (Consulté: 2013.02.14).
- Kamol Sandhikshetrin. (2007). The Civil and Commercial Code, Books I-VI, and Glossary. (8th edition). Bangkok: Nitibannakan. ISBN 9789744473493.
- Langenscheidt Translation Service.
- (2010). Bürgerliches Gesetzbuch. [Online]. (Accessed: 2013.02.14).
- (2011). German Civil Code. [Online]. (Accessed: 2013.02.14).
- Legifrance.
- (2006.04.04). French Civil Code. [Online]. (Accessed: 2013.02.14).
- (2005.01.01). French Commercial Code. [Online]. (Accessed: 2013.02.14).
- (2013). Code civil. [En ligne]. (Consulté: 2013.02.14).
- Ministry of Justice of Japan. (2011). Japanese Civil Code. [Online]. Available: <Parts 1-3 and Parts 4-5>. (Accessed: 2013.02.14).
ขึ้น |