ให้/บทที่ 2
การถอนคืน (revocation) คือ การยกเลิกการให้ เป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวของผู้มีสิทธิ และจะกระทำได้ก็เฉพาะแต่ในกรณีที่กฎหมายอนุญาตเท่านั้น คือ (1) ผู้ให้ถอนคืนเอง เนื่องจากผู้รับเนรคุณผู้ให้ และ (2) ทายาทถอนคืนแทน เนื่องจากมีเหตุที่ผู้ให้จะถอนคืนได้แล้ว แต่ผู้ให้ถึงแก่ความตายลงเสียก่อน[1]
กรณีที่ถอนคืนได้
แก้ไขผู้ให้ถอนคืนเอง
แก้ไข อันผู้ให้จะเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณนั้น ท่านว่า อาจจะเรียกได้แต่เพียงในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้
(1) ถ้าผู้รับได้ประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดฐานอาญาอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายลักษณะอาญา หรือ (2) ถ้าผู้รับได้ทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง หรือ (3) ถ้าผู้รับได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้และผู้รับยังสามารถจะให้ได้ |
ป.พ.พ. ม. 531 |
ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย จนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี
อันตรายสาหัสนั้น คือ (1) ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท (2) เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธุ์ (3) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว หรืออวัยวะอื่นใด (4) หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว (5) แท้งลูก (6) จิตพิการอย่างติดตัว (7) ทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บเรื้อรังซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต (8) ทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวัน หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน |
ป.อ. ม. 297 |
ตาม ป.พ.พ. ม. 531 ผู้ให้มีสิทธิถอนคืนซึ่งการให้ด้วยตนเองเมื่อผู้รับเนรคุณผู้ให้ การเนรคุณ (ingratitude[ก]) ดังกล่าว แบ่งเป็นสามกรณี คือ ผู้รับประทุษร้ายต่อผู้ให้ ผู้รับหมิ่นประมาทผู้ให้ และผู้รับไม่อุปการะเลี้ยงดูผู้ให้
ผู้รับประทุษร้ายต่อผู้ให้
แก้ไขถ้าผู้รับประทุษร้ายต่อผู้ให้จนเป็นความผิดอาญาร้ายแรงตามประมวลกฎหมายอาญา ผู้ให้สามารถถอนคืนซึ่งการให้ได้ ตาม ป.พ.พ. ม. 531 (1)
โดยปรกติ "ประทุษร้าย" หมายความถึง ทำร้ายร่างกายหรือจิตใจ และ ป.พ.พ. บัญญัติต่อว่า การประทุษร้ายนั้นต้องเข้าข่ายเป็นความผิดอาญาร้ายแรงตาม "ประมวลกฎหมายลักษณะอาญา" ซึ่งได้แก่ กฎหมายลักษณะอาญา ม. 256 ว่าด้วยความผิดฐาน "ประทุษร้ายแก่ร่างกายอย่างสาหัส" หรือปัจจุบันถูกยกเลิกและแทนที่โดย ป.อ. ม. 297 ว่าด้วยความผิดฐาน "ทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกทำร้ายได้รับอันตรายสาหัส" นักกฎหมายจึงเห็นว่า การประทุษร้ายที่จะเป็นเหตุให้ถอนคืนซึ่งการให้ได้ ต้องก่อให้เกิดอันตรายสาหัสตาม ป.อ. ม. 297 ด้วย[2] อนึ่ง ด้วยเหตุผลที่ว่า การประทุษร้ายต้องเข้าลักษณะตาม ป.อ. ม. 297 นี้ จึงมีนักกฎหมายเห็นว่า การประทุษร้ายตาม ป.พ.พ. ม. 531 หมายถึง กรณีที่ก่ออันตรายแก่ร่างกายเท่านั้น ไม่รวมที่ส่งผลต่อจิตใจหรือทรัพย์สิน[3][4]
ทว่า ในทางปฏิบัติ ศาลไทยมิได้ยึดถือเช่นนั้นเคร่งครัดนัก หากแต่พิจารณาความหนักเบาทางศีลธรรมมากกว่า[5] เช่น มีคดีมารดาให้ทรัพย์สินแก่บุตร แล้วบุตรทำร้ายร่างกายมารดา แต่ไม่ถึงสาหัสตาม ป.อ. ม. 297 ศาลฎีกาเห็นว่า เป็นการเนรคุณอย่างร้ายแรงตาม ป.พ.พ. ม. 531 แล้ว มารดาจึงถอนคืนซึ่งการให้ได้[ข]
ผู้รับหมิ่นประมาทผู้ให้
แก้ไขถ้าผู้รับทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง ผู้ให้ถอนคืนซึ่งการให้ได้ ตาม ป.พ.พ. ม. 531 (2)
สำหรับหมิ่นประมาทอย่างร้ายแรงนั้น ไม่จำต้องถึงขนาดเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ป.อ. เพราะ ป.พ.พ. ไม่ได้ระบุไว้ และในทางปฏิบัติ ศาลไทยก็ไม่ได้ถืออย่างนั้นเช่นกัน แต่มักพิจารณาความร้ายแรงทางศีลธรรมมากกว่า[6] เช่น มีคดีมารดาเลี้ยงให้ที่ดินแก่บุตรเลี้ยง แล้วบุตรนั้นด่ามารดาเลี้ยงว่า "โตไม่รู้จักโต พูดไม่อยู่กับร่องกับรอย พูดหน้ามือเป็นหลังมือ เหมือนไม้หลักปักขี้เลน ตอแหลเก่ง เป็นคนไม่ดี ไม่ใช่แม่กู เชื่อถือไม่ได้" ศาลฎีกาเห็นว่า "แสดงถึงการไม่เคารพยำเกรงโจทก์ซึ่งเป็นมารดาเลี้ยง และเป็นการลบหลู่บุญคุณอีกด้วย มิใช่เป็นเพียงคำกล่าวที่ไม่สุภาพหรือไม่สมควรเท่านั้น การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ทั้งเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง" มารดาเลี้ยงจึงถอนคืนซึ่งการให้ที่ดินนั้นได้[ฃ]
ผู้รับไม่อุปการะเลี้ยงดูผู้ให้
แก้ไขตาม ป.พ.พ. ม. 531 (3) ถ้าผู้รับไม่อุปการะเลี้ยงดูผู้ให้ ผู้รับชื่อว่าเนรคุณผู้ให้ และผู้ให้สามารถถอนคืนซึ่งการให้ได้ ทั้งนี้ การไม่อุปการะเลี้ยงดูดังกล่าวต้องเข้าข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้ทุกประการด้วย คือ (1) ผู้ให้ยากไร้ (2) ผู้ให้จึงมาขอความช่วยเหลืออันจำเป็นแก่การดำรงชีพของตนจากผู้รับ (3) แต่ผู้รับไม่ยอมให้ความช่วยเหลือ (4) ทั้งที่ในเวลานั้น ผู้รับสามารถจะให้ได้ แต่ถ้าไม่เข้าองค์ประกอบข้อใดแม้เพียงข้อเดียว ก็ไม่อาจนับว่าผู้รับเนรคุณผู้ให้[7]
ความสำคัญของการเนรคุณตามอนุมาตรานี้อยู่ตรงที่ การไม่ยอมช่วยเหลือ ทั้งที่สามารถช่วยเหลือได้[8] เช่น มีคดีบิดาให้ทรัพย์สินแก่บุตร แล้วบิดาเกิดขัดสน มาขอพึ่งบุตร แต่บุตรบอกปัดอย่างสิ้นเชิงโดยอ้างว่า ไม่พอกินพอใช้เช่นกัน ศาลฎีกาเห็นว่า การช่วยเหลือเจือจุนผู้คนนั้น ไม่จำเป็นว่าต้องให้มากมายจนตนเองเดือดร้อน ควรให้แต่ที่พอให้ได้ กรณีนี้ปรากฏว่า บุตรยังพอให้ได้ แต่กลับตัดรอนโดยสิ้นเชิง นับว่าอกตัญญู เป็นการเนรคุณต่อบิดาแล้ว บิดาจึงถอนคืนซึ่งการให้นั้นได้[ค]
ทายาทถอนคืนแทน
แก้ไข ทายาทของผู้ให้อาจเรียกให้ถอนคืนการให้ได้แต่เฉพาะในเหตุที่ผู้รับได้ฆ่าผู้ให้ตายโดยเจตนาและไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือได้กีดกันผู้ให้ไว้มิให้ถอนคืนการให้
แต่ว่าผู้ให้ได้ฟ้องคดีไว้แล้วอย่างใดโดยชอบ ทายาทของผู้ให้จะว่าคดีอันนั้นต่อไปก็ได้ |
ป.พ.พ. ม. 532 |
ตาม ป.พ.พ. ม. 532 ทายาทของผู้ให้จะถอนคืนซึ่งการให้แทนผู้ให้ได้ ก็เมื่อผู้ให้ถึงแก่ความตายในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
1. ผู้ให้ถูกผู้รับฆ่าโดยเจตนาและโดยมิชอบด้วยกฎหมาย การฆ่าโดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น การประหารชีวิตตามคำสั่งศาล
2. ผู้ให้ถูกผู้รับกีดกันมิให้ใช้สิทธิถอนคืนในระหว่างมีชีวิตอยู่ เป็นกรณีที่ผู้รับประพฤติเนรคุณตาม ป.พ.พ. ม. 531 จนเป็นเหตุให้ถอนคืนซึ่งการให้ได้แล้ว แต่ผู้รับขัดขวางมิให้ผู้ให้ใช้สิทธิถอนคืน จนกระทั่งผู้ให้ถึงแก่ความตาย[9] เช่น ผู้รับจับผู้ให้ขังไว้ในบ้านเรื่อยมา
3. ผู้รับประพฤติเนรคุณตาม ป.พ.พ. ม. 531 และผู้ให้ได้ฟ้องคดีขอถอนคืนซึ่งการให้ต่อศาลแล้ว แต่มาตายลงขณะที่คดีนั้นยังไม่ถึงที่สุด ทายาทของผู้ให้มีสิทธิดำเนินคดีต่างผู้ให้ต่อไปได้ เรียกว่าเป็นการรับมรดกความ[10]
ปรกติแล้ว สิทธิถอนคืนซึ่งการให้เป็นเรื่องเฉพาะตัวผู้ให้ เพราะขึ้นอยู่กับผู้ให้แต่ผู้เดียวว่าจะถอนคืนหรือไม่ ฉะนั้น เมื่อผู้ให้ตาย สิทธิถอนคืนย่อมสิ้นสุดลงตามไปด้วย ไม่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของผู้ให้แต่ประการใด แต่ในกรณีทั้งสามข้างต้น ผู้ให้ยังไม่ได้รับความเป็นธรรม กฎหมายจึงให้ทายาทของผู้ให้ใช้สิทธิแทนผู้ให้ได้เฉพาะในกรณีเหล่านั้น[9][11]
กรณีที่ถอนคืนมิได้
แก้ไขเหตุแห่งเจตนา
แก้ไข เมื่อผู้ให้ได้ให้อภัยแก่ผู้รับในเหตุประพฤติเนรคุณนั้นแล้วก็ดี หรือเมื่อเวลาได้ล่วงไปแล้วหกเดือนนับแต่เหตุเช่นนั้นได้ทราบถึงบุคคลผู้ชอบที่จะเรียกถอนคืนการให้ได้นั้นก็ดี ท่านว่า หาอาจจะถอนคืนการให้ได้ไม่
อนึ่ง ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลาสิบปีภายหลังเหตุการณ์เช่นว่านั้น |
ป.พ.พ. ม. 533 |
ตาม ป.พ.พ. ม. 533 ว. 1 ถ้าผู้รับเนรคุณผู้ให้ และผู้ให้อภัยผู้รับในความเนรคุณนั้นแล้ว เป็นอันถอนคืนซึ่งการให้โดยอาศัยเหตุเนรคุณดังกล่าวมิได้อีก
การอภัยนี้ต้องเป็นของผู้ให้เท่านั้น ทายาทไม่อาจให้อภัยแทนผู้ให้ได้[12] อนึ่ง การอภัยต้องเป็นไปโดยแจ้งชัดด้วย แต่ในทางใดก็ได้ เช่น วาจา ลายลักษณ์อักษร หรืออากัปกิริยา[12]
เหตุแห่งเวลา
แก้ไขตาม ป.พ.พ. ม. 533 ว. 1 ถ้าผู้รับเนรคุณผู้ให้ การถอนคืนซึ่งการให้โดยอาศัยเหตุเนรคุณดังกล่าวต้องกระทำภายในอายุความดังต่อไปนี้
1. ผู้มีสิทธิถอนคืนต้องใช้สิทธิภายในหกเดือนนับแต่ได้ทราบถึงเหตุเนรคุณ หรือ
2. ถ้าผู้มีสิทธิถอนคืนไม่ทราบถึงเหตุเนรคุณ จนกระทั่งล่วงเลยกำหนดหกเดือนข้างต้น ก็ต้องใช้สิทธิภายในสิบปีนับแต่เกิดเหตุเนรคุณ
การเนรคุณอาจเกิดขึ้นได้หลายครั้ง บางครั้งอาจขาดอายุความแล้ว และบางครั้งอาจยังไม่ขาด ผู้มีสิทธิจะอาศัยการเนรคุณครั้งใดที่ยังไม่ขาดอายุความมาใช้สิทธิถอนคืนก็ได้ เช่น มีคดีเมื่อปี 2538 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า แม้การบอกปัดไม่ยอมให้สิ่งจำเป็นแก่การเลี้ยงชีวิตแก่โจทก์ที่เกิดขึ้นในครั้งก่อนจะขาดอายุความหกเดือนแล้วก็ตาม แต่ก่อนที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ประมาณหนึ่งเดือน จำเลยปฏิเสธไม่ยอมให้เงินโจทก์ไปรักษาตัวเนื่องจากเจ็บป่วยอีก คดีส่วนนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ[ฅ]
เหตุแห่งสภาพของการให้
แก้ไข การให้อันจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านว่า จะถอนคืนเพราะเหตุเนรคุณไม่ได้ คือ
(1) ให้เป็นบำเหน็จสินจ้างโดยแท้ (2) ให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน (3) ให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา (4) ให้ในการสมรส |
ป.พ.พ. ม. 535 |
การให้ตามมารยาท (donation for decency[ฆ]) นั้นไม่อาจถอนคืนเพราะผู้รับเนรคุณผู้ให้[12] ป.พ.พ. ม. 535 แบ่งการให้ดังกล่าวออกเป็นสี่กรณี คือ
1. การให้เป็นบำเหน็จสินจ้างโดยแท้ (gift purely remuneratory[ง] หรือ remunerative donation[จ]) หมายถึง การให้บำเหน็จรางวัล[13] เช่น สินน้ำใจ หรือค่าเหนื่อย
เป็นต้นว่า พระลามใช้หนุมารนำแหวนไปมอบให้นางสีกาที่กรุงลงกลอน หนุมารบุกน้ำลุยไฟดั้นดนไปจนถึงกรุงลงกลอน และปฏิบัติภารกิจเป็นที่เรียบร้อย พระลามพอใจจึงถอดผ้านุ่งอาบน้ำให้หนุมารเป็นรางวัล หนุมารรับมาแล้วเห็นว่าน้อยค่า ก็ไปนินทาพระลามเป็นที่เสียหายร้ายแรงต่าง ๆ นานา ดังนี้ พระลามจะถอนคืนซึ่งการให้ผ้านุ่งดังกล่าวโดยอาศัยเหตุที่หนุมารเนรคุณตาม ป.พ.พ. ม. 531 (2) มิได้ เพราะเป็นการให้บำเหน็จสินจ้างโดยแท้ตาม ป.พ.พ. ม. 535 (1)
2. การให้ทรัพย์สินที่มีค่าภาระติดพัน (encumbered gift)
3. การให้ตามหน้าที่ธรรมจรรยา (donation to meet a moral duty[ฆ]) คือ การให้เพื่อชำระหนี้ทางใจ กล่าวคือ การให้เพราะรู้สึกว่ามีหน้าที่ต้องให้ ไม่ใช่ให้เพราะมีกฎหมายกำหนดไว้[14] แต่ก็อาจมีได้ที่หน้าที่ธรรมจรรยาไปพ้องกับหน้าที่ตามกฎหมาย เช่น หน้าที่ของบิดามารดาในการส่งเสียเลี้ยงดูบุตร เป็นทั้งหน้าที่ในทางศีลธรรม และหน้าที่ตามกฎหมาย
เป็นต้นว่า ยายสายถูกชาวบ้านกล่าวหาว่าเป็นกระสือจนไม่มีผู้ใดคบค้าสมาคมด้วย ดีที่นางสาวรำพึงซึ่งอยู่ข้างบ้านมีความเอ็นดูยายสายจึงคอยส่งข้าวปลาอาหารให้มิได้ขาด แต่ยายสายนั้นไม่รู้คุณคน เที่ยวโพนทะนาว่านางสาวรำพึงเป็นปอบลักเป็ดไก่วัวควายชาวบ้านกิน เป็นเหตุให้รำพึงถูกชาวบ้านตั้งรังเกียจอย่างหนักไปอีกคน ดังนี้ รำพึงจะถอนคืนซึ่งการให้ข้าวปลาอาหารโดยอาศัยเหตุที่ยายสายเนรคุณตาม ป.พ.พ. ม. 531 (2) มิได้ เพราะเป็นการให้ตามหน้าที่ธรรมจรรยาตาม ป.พ.พ. ม 535 (3)
4. การให้ในการสมรส (gift in favour of marriage[ฉ]) หมายถึง การให้ทรัพย์สินเนื่องในการสมรสตามกฎหมาย ซึ่งก็คือ การสมรสที่มีการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย[15]
วิธีถอนคืน
แก้ไขกฎหมายไทยไม่ได้ระบุวิธีใช้สิทธิถอนคืนซึ่งการให้[16] ต่างจากกฎหมายต่างประเทศที่กำหนดวิธีไว้ เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมันว่า ม. 531 (1) ว่า "การถอนคืนนั้นพึงกระทำโดยแสดงเจตนาต่อผู้รับ"[ช]
เมื่อกฎหมายไทยไม่ระบุวิธีไว้ จึงควรทำตามปรกติ คือ แสดงเจตนาต่อผู้รับว่าจะถอนคืนเสียซึ่งการให้[16] ทำนองเดียวกับวิธีตามกฎหมายเยอรมัน
อย่างไรก็ดี เป็นไปได้ที่ผู้รับจะไม่ยอมส่งมอบทรัพย์สินคืน กรณีนี้ก็จำเป็นที่จะต้องตั้งเป็นคดีต่อศาล เพราะฉะนั้น สิทธิถอนคืนอาจใช้โดยแสดงเจตนาข้างต้น หรือจะฟ้องคดีต่อศาลเสียทีเดียวก็ได้[16]
ผลของการถอนคืน
แก้ไขเมื่อถอนคืนการให้ ท่านให้ส่งคืนทรัพย์สินตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยลาภมิควรได้ |
ป.พ.พ. ม. 534 |
การถอนคืนซึ่งการให้ไม่เป็นการบอกเลิกสัญญาให้ เพราะตามกฎหมายลักษณะสัญญาแล้ว สัญญาจะบอกเลิกได้ต่อเมื่อมีเหตุตามที่คู่สัญญาตกลงกันหรือตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งมักเป็นเหตุว่าด้วยคู่สัญญาไม่ชำระหนี้ กล่าวคือ คู่สัญญาไม่ปฏิบัติตามสัญญา ทว่า ในสัญญาให้ คู่สัญญาไม่มีหนี้ใด ๆ ต้องชำระ และที่ยกเลิกการให้ได้นั้น ก็เพราะกฎหมายอนุญาตไว้เป็นพิเศษ สืบเนื่องจากเหตุผลทางศีลธรรม มิใช่เพราะคู่สัญญาไม่ชำระหนี้[1][17]
เมื่อการถอนคืนซึ่งการให้มิใช่การบอกเลิกสัญญาให้ จึงไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. ม. 391 ซึ่งว่าด้วยการที่คู่สัญญาต่างกลับคืนสู่ฐานะเดิม[18] แต่จะเกิดผลอย่างเดียวกับลาภมิควรได้ตามที่ ป.พ.พ. ม. 534 บัญญัติไว้ เช่น การคืนทรัพย์สินนั้นพิจารณาความสุจริตของผู้คืนเป็นที่ตั้ง ถ้าสุจริต และในเวลาคืน ทรัพย์สินเหลือเท่าใดหรืออยู่ในสภาพใด ก็คืนไปเช่นนั้น ถ้าไม่สุจริต ต้องคืนทั้งหมดหรือใช้ราคาแทน[16]
เหตุที่กฎหมายให้มีผลเสมือนคืนลาภมิควรได้นั้น เพราะตามปรกติเมื่อรับทรัพย์สินมา บุคคลย่อมไม่คาดคิดว่าจะถูกเรียกทรัพย์สินกลับคืนไปอีก และย่อมใช้สอยทรัพย์สินไปเต็มที่[16]
ฎ. บางฉบับเกี่ยวกับการถอนคืน
แก้ไข# | เลขที่ | ใจความ | หมายเหตุ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ผู้รับประทุษร้ายต่อผู้ให้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1 | 412/2528 | จำเลยทำร้ายร่างกายโจทก์ผู้เป็นมารดาจนได้รับอันตรายแก่กาย ย่อมแสดงว่า จำเลยขาดความกตัญญู แม้โจทก์ได้รับบาดเจ็บไม่ถึงสาหัส ก็ถือได้ว่า จำเลยประพฤติเนรคุณโดยประทุษร้ายต่อผู้ให้อย่างร้ายแรงตาม ป.พ.พ. ม. 531 (1) แล้ว โจทก์จึงเรียกถอนคืนซึ่งการให้ได้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้รับหมิ่นประมาทผู้ให้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1 | 5791/2540 | โจทก์ยกที่นาให้แก่จำเลยซึ่งเป็นบุตร และอาศัยอยู่กับจำเลย ต่อมา จำเลยด่าทอโจทก์ว่า "ไอ้บ้า" ทั้งขับไล่ไสส่งโจทก์ออกจากบ้านโดยคว้าข้าวของเสื้อผ้าโจทก์มาโยนลงจากบ้าน กริยาวาจาจำเลยเช่นนี้แสดงว่า จำเลยเหยียดหยามโจทก์และปราศจากความเคารพโจทก์ผู้เป็นบุพการี เป็นการประพฤติเนรคุณโดยหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง โจทก์ย่อมเรียกถอนคืนซึ่งการให้นั้นได้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | 697/2531 | โจทก์ยกที่ดินให้แก่จำเลยซึ่งเป็นหลาน และอาศัยอยู่กับจำเลย ต่อมา โจทก์ทราบว่า จำเลยเป็นภริยาน้อยผู้อื่น จึงได้พูดจาตักเตือนจำเลย จำเลยโกรธและพูดต่อโจทก์ว่า "ข้าวน้ำมึงไม่ต้องกิน ไอ้แก่หัวหงอก มึงอยู่ที่ไหนได้ก็ให้ไป" การที่จำเลยพูดกับโจทก์ด้วยถ้อยคำดังกล่าวและขับไล่โจทก์นั้น ถือได้ว่า เป็นการประพฤติเนรคุณโดยหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง โจทก์ย่อมเรียกถอนคืนซึ่งการให้นั้นได้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | 3847/2533 | จำเลยด่าโจทก์ซึ่งเป็นมารดาว่า "เจ้าหยังมาหน้าเข่งแท้ อีหน้าบ่มีสกุล..." ในข้อความนี้ คำว่า "อีหน้าบ่มีสกุล" เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าหมายถึง คนมีตระกูลเลวทรามหรือไร้สกุลรุนชาติ จำเลยยังด่าโจทก์อีกว่า "อีหมอความใหญ่ มึงมีเงินพอกระสอบบ่ ไปซื้อขี้ให้หมากินดีกว่า" เป็นการเปรียบเปรยโจทก์ถึงสัตว์เดรัจฉาน การกระทำของจำเลยทั้งนี้ถือเป็นการดูหมิ่นโจทก์ผู้เป็นบุพการี มิได้เคารพยำเกรงตามวิสัยของบุตรทั่วไป จึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงอันเป็นเหตุเนรคุณตาม ป.พ.พ. ม. 531 (2) โจทก์จึงเรียกถอนคืนซึ่งการให้ทรัพย์สินพิพาทแก่จำเลยนั้นได้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | 1527/2534 | ข้อเท็จจริงฟังเป็นที่ยุติว่า โจทก์เป็นบิดาของมารดาจำเลย (โจทก์เป็นตาของจำเลย) มารดาจำเลยถึงแก่กรรมเมื่อจำเลยอายุได้แปดเดือน โจทก์จึงเลี้ยงดูจำเลยตั้งแต่นั้นตลอดมา เมื่อจำเลยทำมาหากินได้ จึงเป็นฝ่ายเลี้ยงดูโจทก์ซึ่งล่วงเข้าสู่วัยชราแล้ว ต่อมา โจทก์ยกทรัพย์สินดังต่อไปนี้ให้แก่จำเลย คือ ที่ดินสองผืน ผืนแรกยกให้พร้อมบ้านสำหรับอยู่อาศัย ผืนหลังให้ไว้ทำนา ทั้งยกกระบือให้อีกเจ็ดตัวด้วย การให้มีขึ้นเมื่อปี 2527 ครั้นปลายปีนั้น จำเลยได้พูดจากับโจทก์ด้วยถ้อยคำว่า "เฒ่าหัวหงอกหัวขาวนานตาย" และไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่า โจทก์นำที่ดินที่ยกให้แก่จำเลยนั้นไปขายให้ผู้อื่น ในการนี้ ข้อเท็จจริงเชื่อได้ว่า โจทก์ขายเช่นนั้นจริง ส่วนที่จำเลยกล่าวแก่โจทก์ว่า "เฒ่าหัวหงอกหัวขาวนานตาย" นั้น ศาลฎีกาเห็นว่า เนื้อหาตลอดจนความหมายแห่งถ้อยคำมิใช่คำด่าทอ เป็นเพียงวาจากระทบกระเทียบที่จำเลยไม่สมควรใช้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุพการีเท่านั้น นอกจากนี้ การแจ้งความและการใช้ถ้อยคำของจำเลยดังกล่าวก็หาทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงหรือเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงแต่ประการใดไม่ จึงยังมิอาจถือได้ว่า จำเลยประพฤติเนรคุณต่อโจทก์อันจะเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิเรียกถอนคืนซึ่งการให้ทรัพย์สินข้างต้นได้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | 3081/2535 | โจทก์เป็นมารดาของจำเลย และโจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยโดยเสน่หา ต่อมา โจทก์ไปทวงเงินสองพันห้าร้อยบาทคืนจากจำเลย จำเลยไม่พอใจ ร้องด่าโจทก์ว่า "อีสำเพ็ง อีหัวหงอก กูไม่ให้ อยากได้ให้ไปฟ้องร้องเอา" การกระทำของจำเลยเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงตาม ป.พ.พ. ม. 531 (2) อันเป็นการประพฤติเนรคุณ โจทก์ชอบที่จะเรียกถอนคืนซึ่งการให้ที่ดินนั้นได้ | "สำเพ็ง" เป็นชื่อท้องที่ในกรุงเทพมหานครซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งค้าประเวณี "อีสำเพ็ง" จึงหมายถึง โสเภณี[19] | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | 3502/2535 | หมิ่นประมาทตาม ป.พ.พ. ม. 531 (2) หาจำเป็นต้องถึงกับเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาททางอาญาไม่ เพียงแต่ได้ความว่า เจตนาดูหมิ่น ก็ถือว่า ประพฤติเนรคุณแล้ว
จำเลยซึ่งได้รับการให้ที่ดินจากโจทก์ผู้เป็นบิดาด่าทอว่าโจทก์ว่า "ไอ้แก่ กูไม่นับมึงเป็นพ่อ ออกไปให้พ้น ไม่ไปมึงตาย กูไม่รับรู้" เป็นการแสดงเจตนาดูหมิ่นโจทก์ เรียกโจทก์ว่า ไอ้แก่ ขึ้นมึงขึ้นกูกับโจทก์ ไม่นับถือโจทก์เป็นบิดา ขับไล่โจทก์ออกไปให้พ้น มิฉะนั้น โจทก์ตายจำเลยไม่รับรู้ ย่อมทำให้โจทก์อับอาย เสียชื่อเสียง และเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง โจทก์จึงเรียกถอนคืนซึ่งการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณได้ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | 412/2528 | ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นบุตรของโจทก์ โจทก์ยกที่ดินสี่แปลงและบ้านหนึ่งหลังให้แก่จำเลยโดยเสน่หา ต่อมา โจทก์ขอให้จำเลยแบ่งที่ดินให้แก่บุตรคนอื่นของโจทก์ จำเลยไม่ยอมและด่าโจทก์ว่า "มึงจะหนีไปไหนก็ไป กูจะไม่เลี้ยงมึงแล้ว ทรัพย์สินที่อยากได้ก็มาฟ้องเอาเพราะยกให้แล้ว ถ้ากลับมาอยู่บ้านจะเอายาเบื่อให้กิน" แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่า วาจาดังกล่าวเพียงหยาบคาย ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเนรคุณโจทก์ พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ และจำเลยแก้อุทธรณ์โจทก์ว่า จำเลยรับว่ากล่าวเช่นนั้นจริงแต่ก็ด้วยความโกรธ ข้อเท็จจริงจึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยด่าทอโจทก์ด้วยข้อความเช่นนั้น ในชั้นฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยด่าว่าโจทก์ซึ่งเป็นบุพการีในลักษณะขับไล่ไสส่ง ไม่ต้องการเลี้ยงดูอีกต่อไป ทั้งยังขู่เข็ญว่าจะวางยาเบื่อให้ถ้ากลับมาอีก ย่อมเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ผู้ให้อย่างร้ายแรงตาม ป.พ.พ. ม. 531 (2) แล้ว โจทก์เรียกถอนคืนซึ่งการให้เพราะจำเลยเนรคุณได้ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | 3880/2540 | คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่า โจทก์จดทะเบียนยกที่ดินให้แก่จำเลยเพื่อประกอบการเลี้ยงชีพ เป็นการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยาหรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า การที่โจทก์จดทะเบียนยกที่ดินให้แก่จำเลยผู้เป็นบุตรเพื่อนำไปทำมาหาเลี้ยงชีพนั้น เป็นการให้ทรัพย์สินแก่บุตรโดยเสน่หา หาใช่เป็นการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยาดังที่บัญญัติไว้ตาม ป.พ.พ. ม. 535 (3) ไม่ เพราะโจทก์ไม่มีหน้าที่ตามธรรมจรรยาที่จะต้องกระทำเช่นนั้น นอกจากนี้ ในการจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่จำเลย ก็ระบุไว้ในสารบัญจดทะเบียนตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และหนังสือสัญญาให้ที่ดิน เอกสารหมาย จ. 1 ถึง จ. 5 ว่า เป็นการให้ไม่มีค่าตอบแทนแต่อย่างใด เพราะผู้รับการให้เป็นบุตร จำเลยจะอ้างว่าที่ระบุเช่นนั้นเป็นแต่เพียงกระทำขึ้นตามระเบียบปฏิบัติของกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย มิได้กระทำไปตามเจตนาแห่งการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา หาได้ไม่ จึงต้องฟังว่าการจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่จำเลยดังกล่าวเป็นการให้ทรัพย์สินโดยเสน่หา ที่จำเลยฎีกาว่าเป็นการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยานั้นฟังไม่ขึ้น
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการที่สองว่า จำเลยหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงหรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า นายสงบ บัวคง, นายประชา อินช่วย และนายสว่าง แสงอำไพ พยานโจทก์ ล้วนรู้จักสนิทสนมกับโจทก์และจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่า พยานโจทก์ดังกล่าวมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยอันจะทำให้มีเหตุระแวงสงสัยว่าจะเบิกความปรักปรำจำเลย ส่วนจำเลยคงมีแต่ตัวจำเลยอ้างตนเองเป็นพยานเบิกความปฏิเสธว่าไม่ได้หมิ่นประมาทโจทก์เท่านั้น พยานหลักฐานโจทก์จึงมีน้ำหนักน่าเชื่อถือดีกว่าพยานหลักฐานจำเลย ข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำเบิกความของพยานโจทก์ดังกล่าวว่า จำเลยด่าโจทก์ด้วยถ้อยคำว่า "ไอ้เปรต ไอ้เฒ่าบ้า แก่จะเข้าโลงยังหลงบ้าสมบัติ แถมบ้าเมีย ไม่สมแก่ ไอ้หัวล้าน" และถ้อยคำว่า "ไอ้เปรต ไอ้เฒ่า ไอ้หัวดอ ตายกับหีอีคลี่" ต่อหน้าบุคคลอื่น การที่จำเลยด่าโจทก์ด้วยถ้อยคำเช่นนั้น ผู้ได้ยินฟังย่อมเข้าใจได้ว่าโจทก์เป็นคนไม่ดี บ้าสมบัติ บ้าผู้หญิง ถ้อยคำดังกล่าวไม่เพียงแต่หยาบคายและเป็นคำกล่าวที่ไม่สมควรเท่านั้น หากแต่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ผู้ให้อย่างร้ายแรง อันถือได้ว่าเป็นการประพฤติเนรคุณ โจทก์ย่อมเรียกถอนคืนซึ่งการให้ที่ดินทั้งสี่แปลงจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. ม. 531 (2) ที่จำเลยฎีกาว่ามิได้หมิ่นประมาทโจทก์นั้นฟังไม่ขึ้น |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | 123/2541 | ข้อเท็จจริงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ว่า เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2537 โจทก์ได้จดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 63850 ตำบลมาบแค อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นบุตรเลี้ยงอันเกิดระหว่างสามีโจทก์กับนางบ๊วย นิ่มโพธิ์ทอง ตามสำเนาโฉนดที่ดิน และโฉนดที่ดิน เอกสารหมาย จ. 1 และ ล. 6 ต่อมา จำเลยด่าว่าโจทก์ว่า โจทก์ "นิสัยไม่ดี คนโตไม่รู้จักโต พูดไม่อยู่กับร่องกับรอยพูดหน้ามือเป็นหลังมือ เหมือนไม้หลักปักขี้เลน ตอแหลเก่ง เป็นคนไม่ดี ไม่ใช่แม่กู และเชื่อถือไม่ได้"
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยมีว่า ถ้อยคำที่จำเลยด่าว่าโจทก์ดังกล่าวเป็นถ้อยคำที่หมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง หรือทำให้เสียชื่อเสียง อันโจทก์จะถอนคืนการให้ได้หรือไม่ เห็นว่า ถ้อยคำดังกล่าวที่จำเลยด่าว่าโจทก์นั้น แสดงถึงการไม่เคารพยำเกรงโจทก์ซึ่งเป็นมารดาเลี้ยง และเป็นการลบหลู่บุญคุณอีกด้วย มิใช่เป็นเพียงคำกล่าวที่ไม่สุภาพหรือไม่สมควรเท่านั้น การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ทั้งเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง ตาม ป.พ.พ. ม. 531 (2) แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิถอนคืนซึ่งการให้เพราะจำเลยประพฤติเนรคุณได้ตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษามาชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | 4037/2546 | โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จดทะเบียนยกที่ดินโฉนดเลขที่ 12170 ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นหลานโดยเสน่หา แต่จำเลยไม่เคยสนใจดูแลโจทก์ซึ่งอยู่ในวัยชราและอยู่อย่างอดอยากในเวลาที่โจทก์เจ็บป่วย กับทั้งไม่ให้การปฏิการะแก่โจทก์และบอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นแก่การเลี้ยงชีวิตโจทก์ในเวลาที่โจทก์ยากไร้และจำเลยยังสามารถให้ได้ มิหนำซ้ำ จำเลยยังใช้ถ้อยคำก้าวร้าย เหยียดหยาม ย่ำยี หยาบคายกับโจทก์ เป็นต้นว่า "ข้าวปลาอาหารที่เหลือเทให้หมากินดีกว่าจะไปให้อีแก่กิน" ถือว่าเนรคุณโจทก์อย่างร้ายแรง ขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินดังกล่าวคืนแก่โจทก์ หากจำเลยไม่ไป ขอให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ในการฟ้อง โจทก์ตั้งข้อหาสองประการ คือ จำเลยไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นแก่การเลี้ยงชีวิตโจทในเวลาที่โจทก์ยากไร้และจำเลยยังสามารถให้ได้ และจำเลยหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง จำเลยให้การว่า โจทก์เป็นผู้มีอันจะกิน มีที่ดินให้ผู้อื่นเช่า แสดงว่า จำเลยปฏิเสธข้อหาประการแรก ส่วนข้อหาประการที่สอง จำเลยหาได้ให้การโดยชัดแจ้งเป็นประการใดไม่ จึงเป็นคำให้การที่มิชอบด้วย ป.วิ.พ. ม. 177 ว. 2 และต้องถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามข้อหานั้น ในการนี้ ศาลฎีกาเห็นว่า ข้อความที่จำเลยด่าว่าโจทก์ตามฟ้องเป็นถ้อยคำหมิ่นประมาทโจทก์อย่างเหยียดหยามและไม่ให้ความเคารพนับถือโจทก์ ถือเป็นถ้อยคำหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง โจทก์จึงมีสิทธิถอนคืนการให้เพราะเหตุเนรคุณนั้นตาม ป.พ.พ. ม. 531 (2) |
เมื่อขอถอนคืนซึ่งการให้โดยอาศัยเหตุหลายประการ และพิจารณาได้ความว่ามีเหตุเพียงประการใดประการหนึ่ง ก็เพียงพอแล้ว
คดีนี้ ศาลถือว่าจำเลยรับว่าด่าทอโจทก์ตามข้อหาที่สอง และศาลเห็นว่า คำด่าทอนั้นร้ายแรงถึงขนาดที่เป็นเหตุเนรคุณอันนำไปสู่การถอนคืนซึ่งการให้ได้แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องสืบข้อหาแรกอีก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | 8306/2548 | โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เห็นว่าจำเลยไม่มีที่อยู่อาศัย จึงยกที่ดินโฉนดเลขที่ 60772 ตำบลธารปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ให้แก่จำเลยโดยเสน่หา ต่อมา จำเลยถูกพนักงานอัยการจังหวัดนครราชสีมาฟ้องเป็นคดีต่อศาลในข้อหากระทำชำเราหลานของโจทก์ และจำเลยก็รับสารภาพในชั้นสอบสวนด้วย โจทก์จึงไปต่อว่าจำเลย แต่จำเลยไม่พอใจและด่าโจทก์ว่า "อีพวกดอกทอง ไม่ต้องมายุ่งเรื่องของกู มึงออกไป ออกไปจากบ้านของกู" ซึ่งคำว่า "ดอกทอง" ในข้อความนี้ย่อมมีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ว่า "หญิงใจง่ายในทางประเวณี (ใช้เป็นคำด่า)" โจทก์จึงฟ้องถอนคืนซึ่งการให้ที่ดินนั้นเพราะเหตุที่จำเลยหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง
ปัญหาที่ศาลฎีกาต้องวินิจฉัยมีว่า จำเลยได้ประพฤติเนรคุณโดยหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง อันเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิถอนคืนซึ่งการให้ที่ดินดังกล่าวหรือไม่ เห็นว่า แม้พฤติการณ์ข้างต้นนี้ส่อว่าจำเลยมีความประพฤติไม่เหมาะสมและไม่เคารพโจทก์ แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า เรื่องที่จำเลยกระทำชำเราหลานโจทก์นั้นเกิดขึ้นก่อนมีการฟ้องคดี้นี้เกือบสองปี ประกอบกับโจทก์จำเลยมีเรื่องหมางใจกันอีกเรื่อง เพราะโจทก์ถูกจำเลยกล่าวหาว่ารุกล้ำที่ดินจำเลย และพยานทั้งฝ่ายโจทก์ฝ่ายจำเลยก็เบิกความยืนยันข้อหมางใจนี้ จึงน่าเชื่อว่า จำเลยด่าทอโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้อง เพราะมีโทสะจากความขัดแย้งเรื่องที่ดินดังกล่าว ยิ่งกว่าเรื่องกระทำชำเราอันผ่านมานานแล้ว ส่วนถ้อยคำที่จำเลยด่าทอโจทก์ แม้ไม่สุภาพและไม่สมควรที่จำเลยจะกล่าวต่อโจทก์ แต่โดยวิสัยของบุคคลระดับชาวบ้าน ก็เป็นคำที่ใช้ด่าว่ากันทั่วไป ยังไม่อาจรับฟังได้ถึงขั้นว่าจำเลยมีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงอันจะเป็นเหตุประพฤติเนรคุณต่อโจทก์เสียทีเดียว โจทก์จึงยังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะเรียกถอนคืนซึ่งการให้ที่ดินตามฟ้องได้ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | 980/2550 | ปัญหาที่ศาลฎีกาต้องวินิจฉัยมีว่า มีเหตุเพิกถอนการให้หรือไม่ โจทก์เบิกความว่า เมื่อกลางเดือนกันยายน 2541 โจทก์เจ็บป่วยจึงไปขอความช่วยเหลือจากจำเลย แต่จำเลยไม่พอใจพร้อมพูดจาหมิ่นประมาทว่า บักหมามึงแก่แล้ว พูดจากลับไปกลับมาเหมือนเด็กเล่นขายของ มึงไม่มีศีลธรรม มึงไปตายที่ไหนก็ไป โจทก์มีนางทองอินทร์และนายสวาทเป็นพยานคนกลางเบิกความสนับสนุน จำเลยเพียงเบิกความปฏิเสธลอย ๆ จึงไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานโจทก์ พยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักให้เชื่อว่า จำลยได้กล่าวถ้อยคำดังกล่าวด่าว่าโจทก์อันถือได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง จึงมีเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณที่โจทก์จะเรียกถอนคืนการให้ได้ตาม ป.พ.พ. ม. 531 (2) แล้ว ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้รับไม่อุปการะเลี้ยงดูผู้ให้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1 | 735/2523 | โจทก์ไม่เคยขออะไรจากจำเลย และโจทก์ไม่อยากได้ของของจำเลย จำเลยบอกจะส่งเสียเลี้ยงดูโจทก์ ขออย่างเดียวอย่าฟ้องร้องกัน นอกจากนี้ จำเลยชวนโจทก์ไปอยู่ด้วยเพื่อเลี้ยงดู แต่โจทก์ไม่ยอมไป เพราะต้องการเอาที่พิพาทคืน จึงฟังไม่ได้ว่า จำเลยประพฤติเนรคุณโจทก์โดยไม่อุปการะเลี้ยงดูโจทก์หรือบอกปัดไม่ให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่โจทก์
เมื่อบิดาจำเลยตาย จำเลยซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของโจทก์ได้ไปทวงโฉนดพิพาทกับโจทก์ โจทก์ว่า ไม่รู้ไม่เห็น จำเลยจึงไปปรึกษาเจ้าพนักงานที่ดิน และที่สุด จำเลยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่า โจทก์ยักยอกโฉนดที่พิพาท การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิอันชอบธรรม ไม่เป็นการหมิ่นประมาทต่อโจทก์อย่างร้ายแรง |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | 3410/2526 | โจทก์มีอายุแปดสิบห้าปี เป็นบิดาจำเลย มีรายได้เดือนละประมาณหนึ่งพันบาทเศษ หากจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินมากกว่านี้ บุตรอีกคนหนึ่งของโจทก์ก็พร้อมที่จะให้โจทก์อยู่แล้ว โจทก์มีฐานะดีกว่าราษฎรอื่นในหมู่บ้านเดียวกัน มีเงินฝากธนาคารออมสิน ดังนี้ แม้โจทก์จะชราแล้ว แต่ก็มิได้อยู่ในฐานะยากไร้ขนาดไม่มีสิ่งของจำเป็นในการเลี้ยงชีพ จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยเพื่อเรียกถอนคืนซึ่งการให้ตาม ป.พ.พ. ม. 531 (3) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | 905/2527 | การให้เงินหรือสิ่งของแก่บิดาเพื่อเป็นการช่วยเหลือเจือจุนบิดาในขณะยากไร้นั้น ไม่จำเป็นต้องให้มากมายอันจะเป็นเหตุให้บุตรต้องเดือนร้อน แต่เป็นการให้ตามควรแก่ฐานะของบุตรพอสามารถจะให้ได้ ไม่ใช่เป็นการปฏิเสธการให้หรือการช่วยเหลือโดยสิ้นเชิง นอกจากจะถือว่าเป็นเหตุเนรคุณต่อบิดาผู้ให้แล้ว ยังถือได้ว่า เป็นการขาดความกตัญญูกตเวทีต่อบิดาด้วย จึงเป็นเหตุให้ผู้ให้เรียกถอนคืนการให้ได้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | 87/2532 | การที่โจทก์ยกที่ดินให้จำเลยผู้เป็นบุตรโดยมีเงื่อนไขว่า จำเลยต้องส่งข้าวเปลือกให้โจทก์ปีละสิบถังนั้น ยังถือไม่ได้ว่า เป็นการให้ทรัพย์สินที่มีค่าภาระติดพันตาม ป.พ.พ. ม. 528 แต่เป็นการยกให้โดยเสน่หา เพราะค่าภาระติดพันในที่ดินหรือทรัพย์สินต้องเป็นภาระติดพันเกี่ยวกับตัวที่ดินหรือทรัพย์สินนั้นเองโดยตรง ไม่ใช่ภาระติดพันนอกตัวทรัพย์
อนึ่ง เมื่อปรากฏว่าโจทก์เพียงคนเดียวมีที่ดินสามไร่เศษ ได้ข้าวปีละกว่าหนึ่งร้อยถัง ย่อมมีฐานะไม่ถึงกับเป็นผู้ยากไร้ ตรงข้ามกับจำเลยซึ่งมีบุตรถึงสิบคน มีที่ดินที่พิพาทแปลงเดียว เนื้อที่เพียงประมาณห้าไร่ ได้ข้าวปีละหนึ่งร้อยสี่สิบถังถึงหนึ่งร้อยห้าสิบถัง และไม่มีรายได้อื่น ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้ยากไร้ จำเลยย่อมไม่อยู่ในฐานะที่จะจุนเจือผู้อื่นได้อีก และไม่ปรากฏว่า จำเลยด่าโจทก์หรือหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง กรณีจึงไม่อาจถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประพฤติเนรคุณตาม ป.พ.พ. ม. 531 (2) และ (3) |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | 3562/2535 | โจทก์ชราภาพมากแล้ว มีค่าใช้จ่ายน้อย มีบุตรหลายคนช่วยกันอุปการะเลี้ยงดูไม่เดือดร้อน สถานภาพเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่า โจทก์เป็นคนยากไร้ ทั้งจำเลยเองก็เป็นลูกจ้างอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ได้เงินเดือนเพียงหกร้อยบาท และมีบุตรหนึ่งคนต้องเลี้ยงดู สาวนที่ดินที่โจทก์ยกให้นั้น จำเลยก็มอบให้ ก. ใช้ทำกิน แล้วเก็บค่าเช่ามาแบ่งเลี้ยงดูโจทก์ ดังนี้ แม้จำเลยเป็นบุตรโจทก์ มีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ แต่ปล่อยให้พี่น้องคนอื่นเลี้ยงดูแทน เพราะตัวต้องไปทำงานที่กรุงเทพมหานคร กระนั้น ก็ยังถือไม่ได้ว่า จำเลยประพฤติเนรคุณอันจะเป็นเหตุให้ถอนคืนการให้ ตาม ป.พ.พ. ม. 531 (3) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | 5756/2540 | โจทก์ฟ้องว่า "จำเลยประพฤติเนรคุณ กล่าวคือ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2536 เป็นต้นมา จำเลยไม่ยอมให้อาหารเลี้ยงดูโจทก์อย่างที่เคยปฏิบัติ โดยจำเลยนำอาหารไปวางไว้ห่างจากที่โจทก์นั่งอยู่ แล้วก็หนีไปไม่รออยู่ดูแลว่าโจทก์จะได้รับประทานหรือไม่ บางครั้ง กว่าโจทก์จะคลำไปถูกอาหารที่จำเลยนำมาวางไว้ ก็ปรากฏว่า สุนัขกินอาหารหมดแล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับประทานอาหาร บางวันโจทก์ต้องเรียกชาวบ้านข้างเคียงขออาหารมารับประทานเพื่อยังชีพ นอกจากนี้ จำเลยไม่สนใจปรนนิบัติดูแลโจทก์ ปล่อยให้โจทก์ต้องทนทุกข์ทรมานต่าง ๆ ในเวลาเจ็บป่วย ฯลฯ" จึงเรียกถอนคืนซึ่งการให้ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2634, 1598 และ 254 โดยเหตุที่จำเลยเนรคุณโจทก์ตาม ป.พ.พ. ม. 531 (3)
ศาลฎีกาเห็นว่า ตามคำฟ้องดังกล่าว โจทก์พรรณนาข้อเท็จจริงว่า จำเลยไม่เอาใจใส่ดูแลโจทก์ แต่ ป.พ.พ. ม. 531 (3) ว่าด้วยผู้รับไม่ยอมให้สิ่งของอันจำเป็นแก่การเลี้ยงชีพผู้ให้ในขณะที่ผู้รับยังสามารถจะให้ได้ ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า คำฟ้องของโจทก์ไม่เข้าเหตุที่จะเรียกถอนคืนซึ่งการให้ตาม ป.พ.พ. ม. 531 (3) จึงชอบแล้ว พิพากษายืน |
โจทก์เรียกถอนคืนซึ่งการให้โดยอ้างเหตุเนรคุณตาม ป.พ.พ. ม. 531 (3) และโจทก์บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยไม่ปรนนิบัติวัตถากโจทก์ แต่ไม่ได้กล่าวว่า จำเลยไม่ให้สิ่งของจำเป็นแก่การเลี้ยงชีพโจทก์ในเวลาที่โจทก์ยากไร้และจำเลยยังให้ได้แม้แต่น้อย จึงต้องถูกยกฟ้อง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อายุความ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1 | 1459/2526 | กำหนดเวลาหกเดือนตาม ป.พ.พ. ม. 533 ว. 1 เป็นอายุความ เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น และมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยยกขึ้นเป็นข้อฎีกามิได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | 388/2536 | ป.พ.พ. ม. 531 และ ม. 533 มิได้กำหนดว่า ในชั่วชีวิตของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้ โจทก์จะขอสิ่งจำเป็นเพื่อการเลี้ยงชีวิตของโจทก์จากจำเลยได้เพียงครั้งเดียว การขาดแคลนสิ่งจำเป็นเพื่อเลี้ยงชีวิตย่อมเกิดขึ้นได้ทุกขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ เมื่อโจทก์ยังมีชีวิตอยู่ และยากไร้ โจทก์ย่อมขอสิ่งเหล่านั้นจากจำเลยได้เสมอตามความจำเป็นและตราบที่จำเลยยังสามารถให้ได้
ดังนั้น แม้การบอกปัดไม่ยอมให้สิ่งจำเป็นแก่การเลี้ยงชีวิตแก่โจทก์ที่เกิดขึ้นในครั้งก่อนจะขาดอายุความหกเดือนแล้วก็ตาม แต่ก่อนโจทก์ฟ้องประมาณหนึ่งเดือน จำเลยก็ปฏิเสธไม่ยอมให้เงินแก่โจทก์นำไปรักษาตัวเนื่องจากเจ็บป่วยอีก ในขณะที่โจทก์ยากไร้และชราภาพโดยมีอายุถึงแปดสิบสี่ปี และจำเลยอยู่ในฐานะจะให้เงินแก่โจทก์ได้ จึงเป็นการประพฤติเนรคุณต่อโจทก์อันเป็นเหตุให้โจทก์เรียกถอนคืนซึ่งการให้ที่ดินจากจำเลยได้ คดีโจทก์ในส่วนนี้ยังไม่ขาดอายุความ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การให้เป็นบำเหน็จสินจ้างโดยแท้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1 | 2982/2526 | โจทก์ให้ที่พิพาทแก่จำเลย เพราะให้จำเลยชำระหนี้แก่เจ้าหนี้แทนโจทก์ แม้การให้ดังกล่าวจะมิใช่เป็นการชำระหนี้ตอบแทนตามสัญญาต่างตอบแทนโดยตรง และถือไม่ได้ว่า เป็นการให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพันตาม ป.พ.พ. ม. 535 (2) แต่ก็เป็นการให้เพื่อเป็นบำเหน็จสินจ้างโดยแท้ตาม ป.พ.พ. ม. 535 (1) การให้เช่นนี้จะถอนคืนเพราะเหตุเนรคุณหาได้ไม่ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | 1459/2526 | คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า โจทก์จะถอนคืนการให้ได้หรือไม่ ได้ความตามทางนำสืบของจำเลยว่า เมื่อปี 2520 นายเริญ หรือเจริญ กับนายขาน บุตรทั้งสองของโจทก์ ได้มาขอเงินจากโจทก์ โจทก์จึงให้จำเลยไปหาเงินมาให้ หากได้เงินมาโจทก์จะยกที่ดินส่วนของโจทก์ให้จำเลย จำเลยจึงไปยืมเงินจากญาติสามีจำเลยมาให้นายเจริญหนึ่งหมื่นบาท และนายขานแปดพันบาท ในปีเดียวกัน จำเลยและโจทก์เอาที่ดินพิพาทไปจำนองธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เพื่อนำเงินไปชำระให้แก่เจ้าหนี้เงินกู้ ต่อมาวันที่ 4 ธันวาคม 2534 จึงได้ไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาท และในวันเดียวกันนั้น โจทก์ได้จดทะเบียนยกที่ดินเฉพาะส่วนของโจทก์ให้แก่จำเลย
ในข้อนี้ โจทก์ตอบคำถามค้านทนายจำเลยว่า จำเลยนำที่ดินพิพาทไปจำนองธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเพื่อนำเงินมาให้นายเจริญ บุตรโจทก์ ต่อมา จำเลยได้ขายบ้านจำเลยไปไถ่ถอนจำนองคืน ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า การที่โจทก์ยกที่ดินเฉพาะส่วนของโจทก์ให้จำเลย เพราะจำเลยได้ชำระหนี้เงินกู้และไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรซึ่งเป็นหนี้ที่โจทก์ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ของโจทก์ฝ่ายเดียว การที่โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยจึงเป็นการให้เพื่อบำเหน็จสินจ้างโดยแท้ โจทก์จึงถอนคืนซึ่งการให้ไม่ได้ตาม ป.พ.พ. ม. 535 (1) |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การให้ทรัพย์สินที่มีค่าภาระติดพัน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1 | 5147/2537 | โจทก์ยกที่ดินให้แก่โจทก์ โดยที่โจทก์ยังมีสิทธิเก็บกินในที่ดินนั้นตลอดชีวิตโจทก์ แม้สิทธิดังกล่าวจะมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ก็เป็นภาระอันเกี่ยวเนื่องด้วยที่ดินพิพาท กรณีจึงเป็นการให้ที่ดินโดยมีค่าภาระติดพัน เป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจเรียกถอนคืนเพราะการเนรคุณได้ตาม ป.พ.พ. ม. 535 (2) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | 320/2538 | ค่าภาระติดพันตาม ป.พ.พ. ม. 535 (2) จะต้องมีอยู่แล้วในขณะตกลงทำสัญญาให้แก่กัน
โจทก์ให้ที่ดินแก่จำเลย ที่ดินนั้นติดจำนองเพื่อประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ซึ่งจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและต้องรับผิดในหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. ม. 1077 (2) ประกอบ ม. 1087 ในข้อนี้ จำเลยก็รับว่าเป็นการจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้จำเลย จึงถือได้ว่า การจำนองเป็นการประกันหนี้ของจำเลย ฉะนั้น ที่ดินที่โจทก์ให้จึงไม่มีค่าภาระติดพัน |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | 4475/2551 | ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยมีว่า โจทก์มีสิทธิถอนคืนซึ่งการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณหรือไม่ โจทก์ฎีการับข้อเท็จจริงว่า ในวันที่ 27 มกราคม 2538 หลังจากจำเลยรับโอนที่ดินพิพาทจากโจทก์แล้ว จำเลยได้กู้เงินจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เพื่อรับภาระหนี้แทนโจทก์ สอดคล้องกับสารบัญจดทะเบียนที่ดินพิพาทซึ่งระบุว่า ในวันที่ 27 มกราคม 2538 โจทก์ไถ่ถอนจำนองจากธนาคารกรุงเทพแล้ว จึงจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้จำเลย และในวันเดียวกันนั้น จำเลยกู้ยืมเงินหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทจากธนาคารกรุงเทพ จึงจำนองที่ดินพิพาทไว้เป็นประกันหนี้ดังกล่าว จึงรับฟังได้ว่า โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยเป็นการตอบแทนที่จำเลยไถ่ถอนที่ดินพิพาท อันเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณตาม ป.พ.พ. ม. 535 (2)
แม้หนังสือสัญญาให้ที่ดินจะระบุว่า เป็นการให้โดยเสน่หา ไม่มีค่าตอบแทน จำเลยก็มีสิทธินำสืบพยานบุคคลให้เห็นว่า การให้ตามสัญญาให้ที่ดินนั้นเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพันได้ เพราะคดีนี้เป็นการฟ้องถอนคืนการให้ ไม่ใช่คดีฟ้องร้องให้บังคับหรือไม่บังคับตามสัญญาให้ จึงไม่ใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร อันจะเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. ม. 94 (ข) ศาลล่างทั้งสองพิพากษาชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน ให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นฎีกาสามพันบาทแทนจำเลย |
เชิงอรรถ
แก้ไขอ้างอิง
แก้ไข- ↑ 1.0 1.1 ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์; 2552: 386.
- ↑ ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์; 2552: 387-389.
- ↑ ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์; 2552: 387-388.
- ↑ ปรีชา สุมาวงศ์, 2532: 743.
- ↑ ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์; 2552: 389.
- ↑ ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์; 2552: 389-391.
- ↑ ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์; 2552: 391-392.
- ↑ ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์; 2552: 392.
- ↑ 9.0 9.1 ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์; 2552: 393.
- ↑ ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์; 2552: 393-394.
- ↑ เพรียบ หุตางกูร; 2552, ธันวาคม: 34-35.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์; 2552: 396.
- ↑ ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์; 2552: 396-397.
- ↑ ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์; 2552: 397-398.
- ↑ ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์; 2552: 398.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์; 2552: 407.
- ↑ จิตติ ติงศภัทิย์, 2526: 91.
- ↑ ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์; 2552: 386-387.
- ↑ บาราย; 2553, 24 มกราคม: ออนไลน์.
หมายเหตุ
แก้ไขก เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน ม. 530 ว่า
"Section 530 Revocation of donation
"(1) A donation may be revoked if the donee is guilty of gross ingratitude by doing serious wrong to the donor or a close relative of the donor.
"(2) The heir of the donor only has the right of revocation if the donee has intentionally and unlawfully killed the donor or prevented him from revoking."
และประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส ม. 955 ว่า
"Art. 955
"An inter vivos gift may be revoked on account of ingratitude only in the following cases:
"1° Where the donee has made an attempt against the life of the donor;
"2° Where he has been guilty of cruelty, serious offences or grievous insults against him;
"3° Where he refuses maintenance to him."
ข ฎ. 412/2528: "การที่จำเลยทำร้ายร่างกายโจทก์ผู้เป็นมารดาจนได้รับอันตรายแก่กาย ย่อมเป็นการแสดงว่า จำเลยขาดความกตัญญู แม้โจทก์จะได้รับบาดเจ็บไม่ถึงสาหัส ก็ถือได้ว่า จำเลยได้ประพฤติเนรคุณโจทก์โดยประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดฐานอาญาอย่างร้ายแรงตาม ป.พ.พ. ม. 531 (1) แล้ว โจทก์จึงเรียกถอนคืนการให้ได้"
ฃ ฎ. 123/2541: "จำเลยด่าโจทก์ว่า 'โจทก์นิสัยไม่ดี คนโตไม่รู้จักโต พูดไม่อยู่กับร่องกับรอยพูด หน้ามือเป็นหลังมือ เหมือนไม้หลักปักขี้เลน ตอแหล เก่ง เป็นคนไม่ดี ไม่ใช่แม่กู และเชื่อถือไม่ได้' ถ้อยคำดังกล่าวแสดงถึงการไม่เคารพยำเกรงโจทก์ซึ่งเป็นมารดาเลี้ยง และเป็นการลบหลู่บุญคุณอีกด้วย มิใช่เป็นเพียงคำกล่าวที่ไม่สุภาพหรือไม่สมควรเท่านั้น การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ทั้งเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531 (2) แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิถอนคืนการให้เพราะจำเลยประพฤติเนรคุณได้"
ค ฎ. 905/2527: "การให้เงินหรือสิ่งของแก่บิดาเพื่อเป็นการช่วยเหลือเจือจุนบิดาในขณะยากไร้นั้น ไม่จำเป็นต้องให้มากมายอันจะเป็นเหตุให้บุตรต้องเดือดร้อน แต่เป็นการให้ตามควรแก่ฐานะของบุตรพอสามารถจะให้ได้ ไม่ใช่เป็นการปฏิเสธการให้หรือการช่วยเหลือโดยสิ้นเชิง นอกจากจะถือว่าเป็นเหตุเนรคุณต่อบิดาผู้ให้แล้ว ยังถือได้ว่าเป็นการขาดความกตัญญูกตเวทีต่อบิดาด้วย จึงเป็นเหตุให้ผู้ให้เรียกถอนคืนการให้ได้"
ฅ ฎ. 388/2536: "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531 และมาตรา 533 มิได้กำหนดว่า ในชั่วชีวิตของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้ที่จะขอสิ่งจำเป็นเพื่อการ เลี้ยงชีวิตของโจทก์จากจำเลยได้เพียงครั้งเดียว การขาดแคลนสิ่งจำเป็นเพื่อเลี้ยงชีวิตย่อมเกิดขึ้นได้ทุกขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ เมื่อโจทก์ยังมีชีวิตอยู่และยากไร้ โจทก์ย่อมขอสิ่งเหล่านั้นจากจำเลยได้เสมอตามความจำเป็นและจำเลยยังสามารถให้ได้ ดังนั้น แม้การบอกปัดไม่ยอมให้สิ่งจำเป็นแก่การเลี้ยงชีวิตแก่โจทก์ที่เกิดขึ้นในครั้งก่อนจะขาดอายุความหกเดือนแล้วก็ตาม แต่ต่อมา ก่อนโจทก์ฟ้องประมาณหนึ่งเดือน จำเลยก็ปฏิเสธไม่ยอมให้เงินแก่โจทก์นำไปรักษาตัวเนื่องจากเจ็บป่วยอีก ในขณะที่โจทก์ยากไร้และชราภาพโดยมีอายุถึงแปดสิบสี่ปี และจำเลยอยู่ในฐานะจะให้เงินแก่โจทก์ได้ จึงเป็นการประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ อันเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิเรียกถอนคืนการให้ที่ดินจากจำเลยได้โดย คดีโจทก์ในส่วนนี้ไม่ขาดอายุความ"
ฆ เป็นศัพท์ที่ใช้ในประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน เช่น ม. 534 ว่า
"Section 534 Donations for duty and decency
"Donations to meet a moral duty or made from considerations of decency are not subject to a claim for return or to revocation."
ง เป็นศัพท์ที่ใช้ในคำแปลอย่างเป็นทางการของ ป.พ.พ. เช่น ม. 535 ว่า (Kamol Sandhikshetrin, 2007: 111)
"The following gifts are not revocable for ingratitude:
"(1) Gifts purely remuneratory;
"(2) Gifts encumbered with a charge;
"(3) Gifts made in compliance with a moral duty;
"(4) Gifts made in consideration of marriage."
จ เป็นศัพท์ที่ใช้ในประมวลกฎหมายแพ่งแห่งรัฐลุยเซียนา สหรัฐอเมริกา เช่น ม. 1527 ว่า
"Art. 1527. Remunerative donations
"The rules peculiar to donations inter vivos do not apply to a donation that is made to recompense for services rendered that are susceptible of being measured in money unless at the time of the donation the value of the services is less than two-thirds of the value of the thing donated."
ฉ เป็นศัพท์ที่ใช้ในประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส เช่น ม. 959 ว่า
"Art. 959
"Gifts in favour of marriage may not be revoked on account of ingratitude."
ช ประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน ม. 531 ว่า
"Section 531 Declaration of revocation
"(1) Revocation is effected by declaration to the donee.
"(2) If the donation is revoked, return of the gift may be demanded under the provisions on the return of unjust enrichment."
← บทที่ 1 บททั่วไป | ขึ้น | บทที่ 3 การให้ทรัพย์สิน ที่มีค่าภาระติดพัน → |