หนี้/บทที่ 1
นิยาม
แก้ไขหนี้ (obligation) เป็น ความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป แต่ละฝ่ายจะมีกี่คนก็ได้ และด้วยความสัมพันธ์อันนี้ ฝ่ายที่เรียกว่า "เจ้าหนี้" มีสิทธิบังคับฝ่ายที่เรียกว่า "ลูกหนี้" ให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อประโยชน์ของฝ่ายเจ้าหนี้ได้ หรือกล่าวอีกทำนองหนึ่ง คือ ฝ่ายลูกหนี้มีหน้าที่ต้องกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อประโยชน์ของฝ่ายเจ้าหนี้[1][2]
หนี้ในทำนองเงินตรานั้นเรียก "หนี้สิน" (debt) และมักเรียกกันสั้น ๆ ว่า "หนี้" ทำให้เข้าใจกันว่า หนี้เกี่ยวด้วยเรื่องเงินตราเสมอไป แต่อันที่จริงแล้ว หนี้สินเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของหนี้ และหนี้ปรากฏตัวหลากหลายรูปแบบ เช่น จินตหราจ้างเขียวเสวยให้ร้องเพลงให้หนึ่งเพลง และเขียวเสวยตกลง ด้วยความสัมพันธ์นี้ เขียวเสวยจึงต้องร้องเพลงตามที่ตกลง ความผูกพันที่เขียวเสวยจะต้องร้องเพลงนี้ก็จัดเป็นหนี้รูปแบบหนึ่ง โดยที่จินตราหราและเขียวเสวยต่างเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ของกันและกันในลักษณะต่างตอบแทนกัน คือ จินตรามีหนี้ต้องให้ค่าจ้างแก่เขียวเสวย และมีสิทธิเรียกให้เขียวเสวยร้องเพลง ขณะที่เขียวเสวยนั้นมีหนี้ต้องร้องเพลงให้แก่จินตหรา และมีสิทธิเรียกให้จินตราชำระค่าจ้างได้
จะเห็นได้ว่า หนี้ของลูกหนี้เกี่ยวข้องกับกับสิทธิของเจ้าหนี้เสมอ สิทธิเช่นนี้เรียกว่า สิทธิเรียกร้อง (claim)[2] และบางทีก็มีผู้เห็นว่า "หนี้" กับ "สิทธิเรียกร้อง" นั้นเป็นไวพจน์ (synonym) ของกันด้วย[2]
ส่วนคำ "obligation" ที่แปลว่า หนี้ ในภาษาอังกฤษปัจจุบันนั้น มีรากมาจากคำ "obligacioun" ในภาษาอังกฤษมัชฌิมยุค (ค.ศ. 1250-1300) ซึ่งมีที่มาจากคำ "obligation" (อ็อบลีกาซียง) ในภาษาฝรั่งเศส อันรับมาจากคำ "obligātiōn" ในภาษาละตินตามลำดับ ทั้งหมดมีความหมายว่า ความผูกพัน (a binding)[3]
สภาพแห่งหนี้
แก้ไขหนี้เป็นทรัพย์สินประเภทหนึ่ง ซึ่งมีราคา (valuable), ยึดถือเอาได้ (susceptible of being appropriated) และสามารถจำหน่ายจ่ายโอน (disposable) ไปได้เหมือนทรัพย์สินประเภทอื่น ๆ โดยวิธีโอนสิทธิเรียกร้อง[4]
นอกจากนี้ เมื่อแบ่งตามประเภทแห่งสิทธิแล้ว หนี้เป็นบุคคลสิทธิ (personal right) ประเภทหนึ่ง เพราะมีแก่นสารเป็นสิทธิเรียกร้องระหว่างบุคคล และในฐานะที่เป็นบุคคลสิทธิ หนี้จึงรวมอยู่ในกองทรัพย์สิน (estate) ของบุคคลแต่ละคน แต่ในกองทรัพย์สินใช่ว่าจะมีแต่บุคคลสิทธิ ยังมีทรัพยสิทธิ (real right) หรือสิทธิที่มีแก่นสารเป็นทรัพย์สิน อยู่ด้วย[4][5]
เมื่อบุคคลตาย กองทรัพย์สินของเขาจะเปลี่ยนไปเรียกว่า "กองมรดก" และจะตกทอดแก่ทายาทของเขา เพราะฉะนั้น ทายาทจึงจะต้องรับใช้หนี้ของผู้ตายต่อไปด้วย เว้นแต่บรรดาหนี้ที่ตามกฎหมายหรือตามสภาพแล้วเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้ตายอย่างแท้จริง กล่าวคือ ไม่มีใครชำระแทนได้โดยแน่แท้ เช่น ผู้ตายหมั้นกับบุคคลอื่นไว้ เมื่อเขาตาย ใครก็ไม่สามารถไปสมรสแทนเขาได้ ในกรณีอย่างนั้น หนี้จะดับสูญไปโดยสภาพ[6]
การเกิดหนี้
แก้ไขหนี้เกิดขึ้นเพราะนิติกรรม และนิติเหตุ[7] ทั้งสองประการนี้เป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ หรือเรียกว่า มูลหนี้ (source of obligation)
นิติกรรม (legal transaction) คือ การที่บุคคลกระทำลงด้วยใจสมัครและโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อก่อความสัมพันธ์ทางกฎหมายขึ้น ซึ่งอาจเป็นความสัมพันธ์ฝ่ายเดียว เช่น ให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินให้ ผู้ให้คำมั่นก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำมั่น คำมั่นจึงเป็นมูลแห่งหนี้ของเขา หรืออาจเป็นความสัมพันธ์หลายฝ่าย เช่น หลายคนตกลงทำสัญญากัน คู่สัญญาก็มีหน้าที่ต่อกันตามสัญญา สัญญาจึงชื่อว่าเป็นมูลแห่งหนี้ของคู่สัญญาเหล่านั้น
ส่วนนิติเหตุ (legal cause) คือ เหตุที่ทำให้บุคคลเกิดมีความสัมพันธ์ทางกฎหมายขึ้น อันเป็นเหตุที่กฎหมายกำหนดไว้ ไม่ว่าเขาจะสมัครใจหรือไม่ก็ตาม เหตุเช่นนี้แบ่งเป็นสี่ประเภท คือ ละเมิด (tort), จัดการงานนอกสั่ง (agency without authorisation), ลาภมิควรได้ (unjust enrichment) และบุคคลสถานะ เช่น หน้าที่ของบิดามารดาต่อบุตร[7][8] เป็นต้นว่า แพรวพราวคุยโทรจิตกับเพื่อนขณะขับรถยนต์อยู่บนถนนหลวง จึงชนรถโดยสารสาธารณะเข้าอย่างจัง มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตหลายคน แพรวพราวนับว่าทำละเมิดต่อผู้เสียหาย และต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายเพราะกฎหมายบัญญัติไว้ ไม่ใช่เพราะความสมัครใจ การละเมิดของแพรวพราวเป็นนิติเหตุซึ่งก่อให้แพรวพราวมีหนี้ คือ ความผูกพันที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
บุคคลในหนี้
แก้ไขหนี้เป็นนิติกรรมแบบทวิภาคี (bilateral) กล่าวคือ มีคู่กรณีอยู่สองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ลูกหนี้ (obligor หรือ debtor) มีหน้าที่ต้องกระทำหรือไม่กระทำการใด ๆ เพื่อประโยชน์ของอีกฝ่ายซึ่งเรียกว่า เจ้าหนี้ (obligee หรือ creditor)[9] แต่ละฝ่ายอาจประกอบบุคคลหนึ่งคนหรือหลายคนก็ได้ กรณีที่บุคคลหลายคนเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ร่วมกันนั้น เรียกว่า "หนี้ร่วม" (joint obligation) และเจ้าหนี้เช่นนั้นเรียก "เจ้าหนี้ร่วม" (joint obligee) ส่วนลูกหนี้เรียก "ลูกหนี้ร่วม" (joint obligor)[10]
เจ้าหนี้และลูกหนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญของหนี้ หากขาดฝ่ายหนึ่งไป ก็จะไม่มีหนี้ หรือหนี้อาจระงับสิ้นลงได้[11] สำหรับลูกหนี้นั้นต้องมีตัวตนแน่ชัด เพราะถ้าไม่รู้ว่าจะต้องเรียกให้ใครชำระหนี้ ก็ไม่ต่างกับว่าไม่มีหนี้[12] แต่เจ้าหนี้ในบางกรณีอาจไม่มีตัวแน่ชัดแต่แรกเริ่มก็ได้[12] เช่น พี่ม้าออกประกาศว่า จะให้เงินรางวัลสิบล้านบาทแก่ผู้ชนะเลิศการประกวดเดอะดาว เป็นการแสดงเจตนาผูกพันตัวเองด้วยคำมั่นว่าจะให้รางวัล แม้ยังไม่มีผู้รับคำมั่น แต่ก็ก่อหนี้ให้แก่พี่ม้า กล่าวคือ พี่ม้าได้เป็นลูกหนี้ตามความผูกพันนั้นแล้ว ต่อมา น้องลาชนะเลิศการประกวดดังกล่าว น้องลาจึงค่อยกลายเป็นเจ้าหนี้และมีสิทธิเรียกให้พี่ม้าจ่ายเงินรางวัลตามคำมั่นได้
ผลแห่งหนี้
แก้ไขการใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ |
ป.พ.พ. ม. 150 |
สิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความ ลูกหนี้มีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้ |
ป.พ.พ. ม. 193/10 |
การชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องซึ่งขาดอายุความแล้วนั้น ไม่ว่ามากน้อยเพียงใด จะเรียกคืนไม่ได้ แม้ว่าผู้ชำระหนี้จะไม่รู้ว่าสิทธิเรียกร้องขาดอายุความแล้วก็ตาม
บทบัญญัติในวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับแก่การที่ลูกหนี้รับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือโดยการให้ประกันด้วย แต่จะอ้างความข้อนี้ขึ้นเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันเดิมไม่ได้ |
ป.พ.พ. ม. 193/28 |
เมื่อไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลจะอ้างเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้ |
ป.พ.พ. ม. 193/29 |
ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ อนึ่ง การชำระหนี้ด้วยงดเว้นการอันใดอันหนึ่งก็ย่อมมีได้ |
ป.พ.พ. ม. 194 |
บุคคลใดได้กระทำการอันใดตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ ท่านว่าบุคคลผู้นั้นหามีสิทธิจะได้รับคืนทรัพย์ไม่ |
ป.พ.พ. ม. 407 |
บุคคลดังจะกล่าวต่อไปนี้ไม่มีสิทธิจะได้รับคืนทรัพย์ คือ
(1) บุคคลผู้ชำระหนี้อันมีเงื่อนเวลาบังคับเมื่อก่อนถึงกำหนดเวลานั้น (2) บุคคลผู้ชำระหนี้ซึ่งขาดอายุความแล้ว (3) บุคคลผู้ชำระหนี้ตามหน้าที่ศีลธรรม หรือตามควรแก่อัธยาศัยในสมาคม |
ป.พ.พ. ม. 408 |
บุคคลใดได้กระทำการเพื่อชำระหนี้ เป็นการอันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ท่านว่า บุคคลนั้นหาอาจจะเรียกร้องคืนทรัพย์ได้ไม่ |
ป.พ.พ. ม. 411 |
อันการพนันหรือขันต่อ ท่านว่า หาก่อให้เกิดหนี้ไม่ สิ่งที่ได้ให้กันไปในการพนันหรือขันต่อก็จะทวงคืนไม่ได้ เพราะเหตุหามูลหนี้อย่างหนึ่งอย่างใดมิได้
ข้อบัญญัติที่กล่าวนี้ ท่านให้ใช้ตลอดถึงข้อตกลงเป็นมูลหนี้อย่างหนึ่งอย่างใดอันฝ่ายข้างเสียพนันขันต่อ หากทำให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อจะใช้หนี้เงินพนันหรือขันต่อนั้นด้วย |
ป.พ.พ. ม. 853 |
เมื่อหนี้เกิดขึ้น ลูกหนี้ย่อมมีหน้าที่ชำระหนี้ และเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ตาม ป.พ.พ. ม. 194[13] เว้นแต่หนี้สองชนิดที่เรียกชำระกันมิได้ คือ หนี้โดยธรรม กับหนี้พ้นวิสัย
หนี้โดยธรรม
แก้ไขหนี้โดยธรรม (natural obligation)[14] คือ หนี้ที่ผูกพันคู่กรณีอยู่ในทางความรู้สึก เช่น ทางเกียรติยศ หรือทางศีลธรรม แต่ไม่สามารถฟ้องร้องบังคับกันให้ชำระได้[15] ได้แก่[16]
1. หนี้ที่ขาดอายุความแล้ว ลูกหนี้บอกปัดไม่ชำระได้ตาม ป.พ.พ. ม. 193/10 แต่ถ้าชำระไปแล้ว จะเรียกคืนมิได้ตาม ป.พ.พ. ม. 193/28 ว. 1 ประกอบ ม. 408 (2) ซึ่งภาษาปากเรียกว่า "เสียค่าโง่"
2. หนี้ที่ขาดหลักฐาน เช่น สัญญาบางประเภทกฎหมายบังคับว่า จะฟ้องร้องกันได้ ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมายืนยัน แต่เมื่อไม่มี เจ้าหนี้ก็ยกสัญญานั้นขึ้นว่ากล่าวไม่ได้ อย่างไรก็ดี ถ้าลูกหนี้ได้ชำระหนี้ไปแล้ว โดยที่รู้อยู่ว่าไม่จำเป็นต้องชำระ ลูกหนี้ก็เรียกสิ่งที่ชำระนั้นคืนมิได้เช่นกัน ตาม ป.พ.พ. ม. 407
3. หนี้ที่ชำระ "ตามหน้าที่ศีลธรรมหรือตามควรแก่อัธยาศัยในสมาคม" (in compliance with a moral duty or consideration of decency) เช่น บิดามารดาให้เงินส่งเสียบุตรเล่าเรียน เป็นหน้าที่ศีลธรรม หรือผู้ใหญ่ให้เงินเป็นสินน้ำใจแก่เด็กที่เก็บของหายได้แล้วนำไปส่งเจ้าพนักงาน เป็นอัธยาศัยในสมาคม หนี้ทำนองนี้จะบังคับกันให้ชำระไม่ได้ และเมื่อชำระแล้ว ก็เรียกคืนมิได้เช่นกัน ตาม ป.พ.พ. ม. 408 (3)
4. หนี้ที่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี จะเรียกชำระมิได้ เพราะปราศจากมูลหนี้ กล่าวคือ หนี้เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. ม. 150 และถ้าได้ชำระหนี้ไปแล้ว จะเรียกทรัพย์สินที่ชำระคืนมิได้ด้วย ตาม ป.พ.พ. ม. 411
เช่น หม่ำกับโหน่งผิดใจกันเรื่องผู้ชาย หม่ำจึงจ้างเท่งไปตบศีรษะโหน่งให้หายแค้น สัญญาจ้างนี้ย่อมเป็นโมฆะ เพราะขัดทั้งต่อกฎหมายและต่อศีลธรรมอันดี ถ้าเท่งตกลงแล้วไม่ทำตามสัญญา หม่ำจะขอให้ศาลสั่งให้เท่งไปตบศีรษะโหน่งตามสัญญามิได้ หรือถ้าเท่งตบศีรษะโหน่ง แล้วหม่ำไม่ยอมจ่ายค่าจ้างตามสัญญา เท่งจะขอให้ศาลสั่งให้หม่ำจ่ายค่าจ้างมิได้ หรือถ้าหม่ำจ่ายค่าจ้างไปแล้ว มาทราบภายหลังว่า ไม่จำเป็นต้องจ่าย เพราะไม่มีมูลหนี้ หม่ำจะฟ้องเรียกเงินคืนมิได้เช่นกัน
5. หนี้อันเนื่องด้วยการพนันหรือขันต่อ เป็นหนี้ที่ไม่เกิดขึ้นจริง เพราะการพนันหรือขันต่อเป็นกิจกรรมอันขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมอันดี ย่อมเป็นโมฆะไปตาม ป.พ.พ. ม. 150 ไม่เป็นมูลแห่งหนี้แต่ประการใด เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นหนี้เป็นสินกันเพราะการพนันขันต่อ ลูกหนี้ก็ไม่จำต้องชำระหนี้ และเจ้าหนี้ก็ไม่มีสิทธิเรียกให้ชำระ แต่ถ้าชำระไปแล้ว ลูกหนี้ก็ไม่มีสิทธิเรียกคืนด้วย ตาม ป.พ.พ. ม. 853 ว. 1
หนี้ที่ไม่สมบูรณ์เหล่านี้ ถ้าเจ้าหนี้เอามาฟ้องร้องเพื่อขอให้ศาลบังคับให้ลูกหนี้ชำระ แล้วลูกหนี้ไม่ต่อสู้ ศาลก็สั่งให้ชำระได้ เช่น หนี้ที่ขาดอายุความ ถ้าลูกหนี้ไม่ต่อสู้ว่าขาดอายุความแล้ว ก็จะต้องถูกบังคับให้ชำระ ตาม ป.พ.พ. ม. 193/29[17]
หนี้พ้นวิสัย
แก้ไขความหมาย
แก้ไขหนี้พ้นวิสัย (impossible obligation) คือ หนี้ที่ไม่มีทางปฏิบัติได้ เมื่อปฏิบัติไม่ได้ กฎหมายจึงไม่บังคับให้ปฏิบัติ[18]
นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัยเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. ม. 150 เช่น จ้างให้ไปเอาอ่าวไทยมาไว้หน้าบ้าน หรือจ้างให้ไปเอากระต่ายบนดวงจันทร์ลงมาให้ สัญญาจ้างนี้เป็นโมฆะ เพราะลูกจ้างย่อมไม่สามารถทำให้สำเร็จได้
หลักการนี้มีมาแต่โบราณกาล ดังปรากฏในประชุมกฎหมายแพ่ง (Corpus Iuris Civilis) ว่า "หน้าที่จะต้องทำสิ่งอันพ้นวิสัยนั้นไม่มี" (impossibilium nulla obligatio est, one cannot be obliged to perform impossible tasks หรือ ultra posse nemo obligatur, no one is obligated beyond what he is able to do)[19][20]
ประเภท
แก้ไขการพ้นวิสัยแบ่งเป็นสองประเภท คือ
1. การพ้นวิสัยเชิงวัตถุวิสัย (objective impossibility) เป็นการพ้นวิสัยที่มีมาแต่เดิมอยู่แล้ว กล่าวคือ สิ่งนั้น ๆ ไม่สามารถเป็นไปได้โดยสภาพ เป็นต้นว่า จ้างให้กินข้าวสารสามร้อยถังในเวลาหนึ่งวินาที กรณีเช่นนี้เรียก การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย (performance being impossible)
2. การพ้นวิสัยเชิงอัตวิสัย (subjective impossibility) เป็นการพ้นวิสัยที่เกิดขึ้นภายหลัง กล่าวคือ เดิมสิ่งนั้น ๆ สามารถเป็นไปได้ แต่ต่อมาเกิดเหตุบางประการ จึงไม่อาจเป็นไปได้อีก เป็นต้นว่า ตกลงซื้อขายบ้านหลังหนึ่ง แต่ก่อนจะได้ส่งมอบบ้านกัน บ้านนั้นถูกคำสั่งศาลยึดเสียก่อน เป็นเหตุให้ผู้ขายไม่สามารถส่งมอบบ้านได้อีกต่อไป กรณีเช่นนี้เรียก การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย (performance becoming impossible)
เมื่อการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย แม้ลูกหนี้ไม่ต้องชำระหนี้อีกต่อไป แต่ลูกหนี้อาจต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้แทน ขึ้นอยู่กับว่า การพ้นวิสัยนั้นสืบเนื่องจากความผิดของลูกหนี้หรือไม่
ความรับผิดเมื่อการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย
แก้ไขคำว่า "เหตุสุดวิสัย" หมายความว่า เหตุใด ๆ อันจะเกิดขึ้นก็ดี จะให้ผลพิบัติก็ดี เป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้ แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้นจะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น |
ป.พ.พ. ม. 8 |
การใดเป็นการแตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมาย ถ้ามิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นไม่เป็นโมฆะ |
ป.พ.พ. ม. 151 |
ถ้าการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยจะทำได้ เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ต้องรับผิดชอบไซร้ ท่านว่า ลูกหนี้จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เจ้าหนี้เพื่อค่าเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การไม่ชำระหนี้นั้น
ในกรณีที่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยแต่เพียงบางส่วน ถ้าหากว่าส่วนที่ยังเป็นวิสัยจะทำได้นั้นจะเป็นอันไร้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้แล้ว เจ้าหนี้จะไม่ยอมรับชำระหนี้ส่วนที่ยังเป็นวิสัยจะทำได้นั้นแล้ว และเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้เสียทั้งหมดทีเดียวก็ได้ |
ป.พ.พ. ม. 218 |
ถ้าการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นภายหลังที่ได้ก่อหนี้ และซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบนั้นไซร้ ท่านว่า ลูกหนี้เป็นอันหลุดพ้นจากการชำระหนี้นั้น
ถ้าภายหลังที่ได้ก่อหนี้ขึ้นแล้วนั้น ลูกหนี้กลายเป็นคนไม่สามารถจะชำระหนี้ได้ไซร้ ท่านให้ถือเสมือนว่า เป็นพฤติการณ์ที่ทำให้การชำระหนี้ตกเป็นอันพ้นวิสัยฉะนั้น |
ป.พ.พ. ม. 219 |
ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบในความผิดของตัวแทนแห่งตน กับทั้งของบุคคลที่ตนใช้ในการชำระหนี้นั้น โดยขนาดเสมอกับว่าเป็นความผิดของตนเองฉะนั้น แต่บทบัญญัติแห่งมาตรา 373 หาใช้บังคับแก่กรณีเช่นนี้ด้วยไม่ |
ป.พ.พ. ม. 220 |
กรณีที่เป็นความผิดของลูกหนี้
แก้ไขเมื่อการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยโดยที่โทษลูกหนี้ได้ ลูกหนี้จะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ ในการนี้ ลูกหนี้ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน (compensation) ให้แก่เจ้าหนี้สำหรับความเสียทั้งหลายที่เจ้าหนี้ต้องประสบเพราะลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้นั้นได้ ตาม ป.พ.พ. ม. 218 ว. 1[21]
ความผิดของลูกหนี้ ย่อมรวมถึง ความผิดของตัวแทนลูกหนี้ หรือของบุคคลที่ลูกหนี้ใช้ในการชำระหนี้ด้วย ตาม ป.พ.พ. ม. 220[21]
ถ้าการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพียงบางส่วน และส่วนที่เหลือยังเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้อยู่ ลูกหนี้ยังคงต้องชำระหนี้ส่วนที่เหลือนั้น และเจ้าหนี้ก็จำต้องรับชำระหนี้เช่นนั้นด้วย[22] แต่ถ้าหนี้ส่วนที่เหลือดังกล่าวถึงชำระไปก็ไม่เป็นประโยชน์อีก เจ้าหนี้จึงจะมีสิทธิปฏิเสธไม่รับชำระหนี้ แล้วเรียกให้ลูกหนี้ใช้ค่าสินไหมทดแทน ตาม ป.พ.พ. ม. 218 ว. 2[22]
เช่น เล่าปี่ฝากม้าโดยสารตัวหนึ่งไว้ที่เล่าขลุ่ย เล่าขลุ่ยสั่งให้เล่าแคน ลูกจ้าง ดูแลม้านั้นเอาไว้ แต่เล่าแคนเอาม้าออกไปขับขี่เล่น และม้าถูกหมากัดตัวขาดเป็นสองท่อน พอเล่าปี่กลับมารับม้าคืนก็ต้องตกใจแทบสิ้นสติ จึงเรียกให้เล่าขลุ่ยรับผิดชอบ ดังนี้ แม้ม้ายังมีตัวตนอยู่ แต่เล่าขลุ่ยย่อมไม่สามารถชำระหนี้ คือ ส่งมอบม้าคืนให้แก่เล่าปี่ ได้อีกต่อไป เพราะม้าในสภาพเช่นนั้นย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่การใช้โดยสารอีก และโดยที่การชำระหนี้ของเล่าขลุ่ยกลายเป็นพ้นวิสัยเช่นนี้ ก็สืบเนื่องจากความผิดของเล่าแคนซึ่งเล่าขลุ่ยใช้สอยในการชำระหนี้ อันเปรียบเสมือนความผิดของตัวเล่าขลุ่ยเอง เพราะเมื่อรับฝากทรัพย์สินเขาแล้ว เล่าขลุ่ยย่อมมีหน้าที่ระวังรักษาทรัพย์สินนั้นให้จงดี เล่าขลุ่ยจึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เล่าปี่ฐานที่เล่าปี่เสียม้าตัวนั้นไป
กรณีที่ไม่เป็นความผิดของลูกหนี้
แก้ไขเมื่อการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย เพราะพฤติการณ์บางอย่างที่ไม่ใช่ความผิดของลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ไม่ต้องชำระหนี้นั้นอีกต่อไป และไม่ต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ด้วย ตาม ป.พ.พ. ม. 219 ว. 1[23]
พฤติการณ์เช่นว่านี้ คือ เหตุสุดวิสัย (force majeure)[24] และตามนิยามใน ป.พ.พ. ม. 8 เหตุวิสัยดังกล่าวต้องมีลักษณะสามประการ คือ
1. ไม่อาจป้องกันได้ (unpreventable) กล่าวคือ เป็นที่ยอมรับว่า เหตุนั้น ๆ อยู่เหนือความสามารถของมนุษย์ที่จะป้องกันได้โดยเด็ดขาด[24] ความยากลำบากหรือภาระที่เพิ่มขึ้นจึงไม่นับว่าเป็นเหตุอันป้องกันมิได้[24] เช่น มีคดีจำเลยไม่ยอมทำถนนและวางท่อระบายน้ำตามสัญญา โดยอ้างว่าวัสดุขึ้นราคา ศาลฎีกาเห็นว่า ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย[25]
2. ไม่อาจคาดหมายได้ (unpredictable) เพราะถ้าลูกหนี้คาดหมายถึงเหตุการณ์นั้น ๆ ได้ เขาก็ย่อมสามารถเตรียมหลีกเลี่ยงหรือใช้วิจารณญาณพิจารณาความเสี่ยงต่าง ๆ ได้อยู่แล้ว[26] เช่น มีคดีจำเลยรับลากจูงแพไม้ของโจทก์ แต่น้ำเชี่ยว แพจึงชนสะพานและแตก ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ไม่เป็นเหตุสุดวิสัย เพราะเป็นอุบัติภัยที่คาดหมายและใช้ความระมัดระวังป้องกันได้ จำเลยต้องใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์[27]
3. ไม่อาจเอาชนะได้ (insurmountable) กล่าวคือ ลูกหนี้ไม่สามารถตอบโต้หรือเอาชนะเหตุการณ์นั้น ๆ ได้ เพราะถ้าเป็นความบกพร่องของฝ่ายลูกหนี้แล้ว ก็ไม่เป็นเหตุสุดวิสัย[28] เช่น มีคดีซึ่งจำเลยมีหน้าที่ขายหุ้น แต่ต่อมาถูกกระทรวงการคลังสั่งระงับกิจการ จึงไม่สามารถทำธุรกรรมตามปรกติและขายหุ้นได้อีกต่อไป ศาลฎีกาเห็นว่า เป็นเหตุสุดวิสัย และไม่อาจถือได้ว่าจำเลยผิดสัญญาว่าจะขายหุ้น[29]
ข้อตกลงระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ว่า ลูกหนี้จะรับผิดแม้เป็นเหตุสุดวิสัย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และแม้มีผลเป็นการยกเว้น ป.พ.พ. ม. 219 แต่ ม. 219 ไม่ใช่บทบัญญัติว่าด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนเช่นกัน ข้อตกลงเช่นนี้จึงไม่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. ม. 150 และ 151[21] อย่างไรก็ดี ปัจจุบันมีพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 ข้อตกลงดังกล่าวอาจเข้าข่ายเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งจะใช้บังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและสมควรแก่กรณี[30]
กรณีลูกหนี้กลายเป็นคนไม่สามารถชำระหนี้ได้
แก้ไขเมื่อก่อหนี้แล้ว ต่อมา ลูกหนี้ "กลายเป็นคนไม่สามารถชำระหนี้" (becoming unable to perform) นั้นได้อีก ป.พ.พ. ม. 219 ว. 2 ก็ให้ถือว่า การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยด้วย แต่ลูกหนี้จะต้องรับผิดหรือไม่ ก็สุดแต่ว่าการพ้นวิสัยนั้นเป็นความผิดของลูกหนี้หรือไม่[23]
เช่น น้าเดชจ้างยาย่าเป็นนางแบบผม แต่ก่อนจะได้ถ่ายแบบ ยาย่าหนีบผมด้วยความร้อนเกินพอดี ผมเสียยับเยินจนต้องโกนทิ้งทั้งศีรษะ ยาย่าย่อมไม่เป็นนางแบบผมตามสัญญาจ้างได้อีกต่อไป การชำระหนี้ของยาย่ากลายเป็นพ้นวิสัย และโทษยาย่าได้ด้วย เพราะยาย่าย่อมมีหน้าที่ระมัดระวังสิ่งสำคัญอันจะใช้ในการชำระหนี้อยู่แล้ว ดังนั้น ยาย่าต้องรับผิดต่อน้าเดช โดยใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่น้าเดชได้รับอันเนื่องมาจากการที่ยาย่าไม่สามารถชำระหนี้ได้
วัตถุแห่งหนี้
แก้ไขวัตถุแห่งหนี้ (subject matter of obligation) คือ สิ่งที่เจ้าหนี้เรียกให้ลูกหนี้ชำระ แบ่งเป็นสามอย่าง คือ ให้กระทำการ (performance), ให้งดเว้นกระทำการ (forbearance) และให้โอนทรัพย์สิน (transfer)[30] คำว่า "วัตถุ" ในที่นี้มิได้หมายความว่า สิ่งของ ดังความหมายทั่วไป แต่หมายถึง สาระสำคัญ (ของหนี้)[30]
สำหรับวัตถุแห่งหนี้นั้นมีประเด็นต้องศึกษาเป็นพิเศษอยู่สามประเด็น คือ วัตถุแห่งหนี้เป็นทรัพย์ วัตถุแห่งหนี้เป็นเงินตรา และวัตถุแห่งหนี้มีหลายอย่าง
วัตถุแห่งหนี้เป็นทรัพย์
แก้ไขความหมาย
แก้ไขทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ คือ ทรัพย์ที่ต้องใช้ชำระหนี้[31] เช่น ตกลงซื้อขายควายเผือกหนึ่งตัว หนี้ของผู้ซื้อคือชำระราคาควายให้แก่ผู้ขาย และหนี้ของผู้ขายคือส่งมอบควายให้แก่ผู้ซื้อ การชำระราคาและการส่งมอบควายเป็นวัตถุแห่งหนี้ ส่วนเงินที่จะชำระและควายที่ซื้อขายกันนั้นคือทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้
นักกฎหมายบางคนพอใจจะใช้ถ้อยคำว่า ทรัพย์เป็นวัตถุแห่งการชำระหนี้ (object of payment) เพราะเห็นว่าฟังแล้วเข้าใจได้ดีกว่าถ้อยคำ ทรัพย์เป็นวัตถุแห่งหนี้[31]
กรณีที่ไม่รู้ตัวทรัพย์แน่ชัด
แก้ไขการก่อหนี้แม้ไม่รู้ตัวทรัพย์แน่ชัด
แก้ไขในเวลาก่อหนี้นั้น ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้จะมีตัวอยู่แล้วหรือไม่ก็ได้ หรือแม้มีตัวอยู่ แต่ยังไม่ทราบเจาะจงว่าตัวไหนก็ได้[32] เช่น กล้วยไม้ซึ่งจะออกดอกในอีกสามเดือน จะซื้อขายกันล่วงหน้าก็ได้
ทว่า ตราบที่ยังไม่รู้ตัวทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้แน่ชัด ก็ยังไม่ถือว่ามีทรัพย์นั้น[33] และเมื่อยังไม่มีทรัพย์ แม้จะได้ตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นกันแล้ว กรรมสิทธิ์ก็จะยังไม่โอนจนกว่าจะได้รู้ตัวทรัพย์[33]
ในกรณีที่ลูกหนี้กระทำการบางอย่าง ป.พ.พ. ม. 195 ว. 2 ก็ให้นับว่า รู้ตัวทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้แล้ว การกระทำเหล่านั้น คือ (1) ลูกหนี้ได้ทำสิ่งทั้งหลายที่ควรทำเพื่อส่งมอบทรัพย์นั้นครบถ้วนแล้ว เช่น ซื้อขายลำไยกันล่วงหน้า ครั้นลำไยออกผล ผู้ขายก็เก็บเกี่ยวและบรรจุลงตะกร้าเตรียมไว้ให้ผู้ซื้อมารับไป ดังนี้ เป็นอันรู้แล้วว่าลำไยในตะกร้านั้นเป็นทรัพย์ที่ผู้ขายต้องส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อ หรือ (2) ลูกหนี้ได้เลือกกำหนดตัวทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ โดยที่เจ้าหนี้ยินยอมด้วยแล้ว เช่น ซื้อขายลำไยกันล่วงหน้า โดยที่ผู้ขายกับผู้ซื้อมาดูสวนลำไยกันเพื่อชี้ว่าจะเอาลำไยจากต้นไหนบ้าง ดังนี้ เป็นอันรู้แล้วว่า ลำไยที่ออกผลจากต้นเหล่านั้นเป็นทรัพย์ที่ผู้ขายต้องส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อในภายภาคหน้า
การทั้งสองข้างต้นจะมีผลให้ทรัพย์กลายเป็นวัตถุแห่งหนี้นับแต่ได้กระทำการนั้นเป็นต้นไป[33] และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ก็จะโอนจากลูกหนี้ไปยังเจ้าหนี้ในเวลาเดียวกันนั้นด้วย[34] ครั้นกรรมสิทธิ์โอนมาแล้ว เจ้าหนี้ย่อมกลายเป็นเจ้าของทรัพย์ แม้ทรัพย์ยังตกไม่ถึงมือเจ้าหนี้ก็ตาม และถ้าระหว่างนั้น ทรัพย์เกิดวินาศไป เจ้าหนี้ก็ต้องเผชิญความเสียหายเอง จะเอาผิดแก่ลูกหนี้มิได้อีก ตามหลักกฎหมายที่ว่า "ความวินาศแห่งทรัพย์ ตกเป็นพับแก่เจ้าของ" (res perit domino, the thing is lost to the owner) หรือกล่าวด้วยภาษาปากว่า ของของใคร คนนั้นรับผิดชอบเอง[34][35]
วันที่ 1 มกราคม 2555 บริษัทกุหลาบประกาศทางเว็บไซต์ว่า บัดนี้ ได้รับอนุญาตให้นำอะนิเมะเรื่อง เรียกเธอว่าพระเจ้าเหา สูสูมีหญ้า หาดูซิ เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยแล้ว และจะวางจำหน่ายเป็นบลูเรย์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 แต่ระหว่างนั้น เปิดให้สั่งซื้อก่อนได้ เป็นการเชิญชวนให้บุคคลทั่วไปเข้ามาเสนอซื้อบลูเรย์เรื่องดังกล่าวจากบริษัท
ต่อมาวันที่ 1 เมษายน 2555 นางสาวเดกซ์สั่งซื้อบลูเรย์ข้างต้นจำนวนหนึ่งแผ่นจากบริษัทกุหลาบทางเว็บไซต์ และโอนเงินให้แก่บริษัทเพื่อชำระราคาทันที เป็นการที่นางสาวเดกซ์ทำคำเสนอซื้อไปยังบริษัทกุหลาบ ฝ่ายบริษัทกุหลาบ เมื่อทราบคำสั่งซื้อแล้ว ก็ขึ้นสถานะทางเว็บไซต์ให้แก่นางสาวเดกซ์ว่า "ชำระเงินแล้ว" เป็นการที่บริษัทกุหลาบตกลงสนองคำเสนอซื้อของนางสาวเดกซ์ เมื่อคำเสนอสนองต้องตรงกัน จึงเกิดเป็นสัญญาซื้อขายบลูเรย์เรื่อง เรียกเธอว่าพระเจ้าเหา สูสูมีหญ้า หาดูซิ จำนวนหนึ่งแผ่นระหว่างนางสาวเดกซ์กับบริษัทกุหลาบ และด้วยสัญญานี้ นางสาวเดกซ์มีหนี้ต้องชำระราคาบลูเรย์ให้แก่บริษัทกุหลาบ ซึ่งนางสาวเดกซ์ก็ได้ชำระแล้ว ขณะที่บริษัทกุหลาบมีหนี้ต้องส่งมอบบลูเรย์ให้แก่นางสาวเดกซ์ตามสั่ง แต่ยังมิได้ชำระ เพราะยังไม่ถึงกำหนด
อนึ่ง ปรกติแล้ว กรรมสิทธิ์ในบลูเรย์ที่สั่งซื้อจะต้องโอนจากบริษัทกุหลาบไปยังนางสาวเดกซ์ทันทีที่สัญญาซื้อขายเกิดขึ้นด้วย เพราะ ป.พ.พ. ม. 458 บัญญัติว่า "กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายนั้น ย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกัน" ทว่า เนื่องจากยังผลิตบลูเรย์ไม่เสร็จ จึงยังไม่มีทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ที่บริษัทกุหลาบต้องชำระ กล่าวคือ ยังไม่มีบลูเรย์ที่บริษัทกุหลาบจะต้องส่งมอบให้แก่นางสาวเดกซ์ เพราะฉะนั้น กรรมสิทธิ์ในบลูเรย์ที่สั่งซื้อจึงยังไม่โอนแก่กัน
ครั้นวันที่ 1 มกราคม 2556 บลูเรย์ผลิตเสร็จและพร้อมจำหน่าย บริษัทผู้ผลิตขนส่งมาให้บริษัทกุหลาบที่โกดังใกล้กับร้านสุริยาหีบศพ แม้ในโกดังจะมีบลูเรย์จำนวนมากแล้ว แต่ก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าแผ่นไหนที่จะต้องส่งให้แก่นางสาวเดกซ์ บริษัทกุหลาบจึงให้พนักงานเลือกบลูเรย์นั้นมาหนึ่งแผ่น แล้วจัดส่งให้แก่นางสาวเดกซ์ทางไปรษณีย์ นับแต่เวลานั้นเป็นต้นไป จึงเกิดผลสามประการ คือ
1. บลูเรย์แผ่นดังกล่าวเป็นทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ของบริษัทกุหลาบตาม ป.พ.พ. ม. 195 ว. 2
2. กรรมสิทธิ์ในบลูเรย์แผ่นนั้นโอนจากบริษัทกุหลาบไปยังนางสาวเดกซ์
3. ถ้าเกิดเหตุไม่พึงประสงค์แก่บลูเรย์แผ่นนั้น นางสาวเดกซ์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบลูเรย์แล้วจะต้องรับความเสียหายเอง ตามหลัก "ความวินาศแห่งทรัพย์ ตกเป็นพับแก่เจ้าของ" เป็นต้นว่า ระหว่างที่บริษัทไปรษณีย์ขนส่งบลูเรย์แผ่นนั้นไป รถไปรษณีย์ประสบอุบัติเหตุพลิกคว่ำ พัสดุเสียหายทั้งรถ นางสาวเดกซ์จะเรียกให้บริษัทกุหลาบรับผิดชดใช้บลูเรย์หรือราคาบลูเรย์นั้นแก่ตนมิได้ แต่อาจเรียกให้บริษัทไปรณีย์รับผิดใช้ค่าเสียหายได้
การส่งมอบทรัพย์เมื่อรู้ประเภทแต่ไม่รู้ชนิด
แก้ไข เมื่อทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้นั้นได้ระบุไว้แต่เพียงเป็นประเภท และถ้าตามสภาพแห่งนิติกรรม หรือตามเจตนาของคู่กรณี ไม่อาจจะกำหนดได้ว่าทรัพย์นั้นจะพึงเป็นชนิดอย่างไรไซร้ ท่านว่า ลูกหนี้จะต้องส่งมอบทรัพย์ชนิดปานกลาง
ถ้าลูกหนี้ได้กระทำการอันตนจะพึงต้องทำเพื่อส่งมอบทรัพย์สิ่งนั้นทุกประการแล้วก็ดี หรือถ้าลูกหนี้ได้เลือกกำหนดทรัพย์ที่จะส่งมอบแล้วด้วยความยินยอมของเจ้าหนี้ก็ดี ท่านว่า ทรัพย์นั้นจึงเป็นวัตถุแห่งหนี้จำเดิมแต่เวลานั้นไป |
ป.พ.พ. ม. 195 |
ถ้าลูกหนี้ต้องส่งมอบทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ และรู้แต่ประเภท (class[36]) ของทรัพย์นั้น แต่ไม่รู้ชนิด (quality[36][37]) ป.พ.พ. ม. 195 ว. 1 ก็ให้ถือตามสภาพของนิติกรรม หรือตามเจตนาของคู่กรณี[32] เช่น ลูกดวงว่าจ้างปื๊ดมาถ่ายภาพตนในวันรับตำแหน่งตำรวจใหม่ โดยสั่งว่าจะเอาภาพเป็นไฟล์ดิจิทัล แต่ไม่ได้บอกกล่าวว่า ไฟล์นั้นให้ละเอียดมากน้อยเพียงไร อย่างไรก็ดี เนื่องจากลูกดวงเป็นลูกค้าประจำของปื๊ด และสั่งไฟล์ขนาด 6.0 เมกะพิกเซลเสมอ ครั้งนี้ ปื๊ดก็พึงถือเอาตามแบบอย่างครั้งก่อน ๆ โดยส่งไฟล์ที่มีความละเอียด 6.0 เมกะพิกเซลให้เช่นกัน นี้เป็นการวินิจฉัยตามสภาพของนิติกรรม
แต่ถ้าไม่อาจหยั่งทราบถึงสภาพของนิติกรรมหรือเจตนาของคู่กรณีได้ ป.พ.พ. ม. 195 ว. 1 ก็ให้ลูกหนี้ส่งมอบทรัพย์ชนิดปานกลาง (average) กล่าวคือ ไม่ดีที่สุด แต่ก็ไม่เลวที่สุด ให้แก่เจ้าหนี้[38] เช่น ในตัวอย่างเดียวกันนั้น ถ้าลูกดวงเป็นลูกค้าใหม่ หรือไม่อาจหยั่งทราบวัตถุประสงค์ของลูกดวงหรือสัญญาจ้างได้เลย ก็ให้ปื๊ดส่งไฟล์ขนาด 3.1 เมกะพิกเซล ซึ่งเป็นความละเอียดปานกลาง ให้แก่ลูกดวง
กรณีที่ทรัพย์มีลักษณะเฉพาะเจาะจง
แก้ไขเมื่อทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง (specific thing) กล่าวคือ ทรัพย์ซึ่งเป็นที่ประสงค์โดยเฉพาะเจาะจง หรือทรัพย์ซึ่งจะเอาทรัพย์อื่นมาทดแทนมิได้ และทรัพย์นั้นถึงแก่ความวินาศลง จะส่งผลให้การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยทีเดียว[34]
ถ้าทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ยังเป็นทรัพย์ทั่วไป (general thing) กล่าวคือ ยังไม่เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง แต่ทรัพย์นั้นจะได้มาจากแหล่งหนึ่งแหล่งใดโดยเฉพาะ และแหล่งดังกล่าวเกิดวินาศจนเป็นเหตุให้ทรัพย์อย่างนั้นวินาศไปด้วยทั้งหมด หรือถ้าลูกหนี้โอนทรัพย์อย่างนั้นให้แก่บุคคลอื่นไปหมดแล้ว จนไม่มีเหลือจะส่งมอบให้แก่เจ้าหนี้ได้อีก ก็ถือว่า การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเช่นกัน[34]
เช่น แม่ชีกรรมะไชโยปลุกเสกจานบินหนึ่งพันชุด อาชามอุบลแห่งบ้านสวนพีระพิษทราบข่าว จึงติดต่อขอเช่าจำนวนห้าร้อยชุด ("เช่า" ในที่นี้หมายความว่า ซื้อขาย ใช้สำหรับของขลังหรือศักดิ์สิทธิ์) และแม่ชีกรรมะไชโยตกลงให้เช่า อาชามอุบลจึงโอนค่าเช่ามาให้ทางธนาคาร แต่ก่อนที่แม่ชีกรรมะไชโยจะได้ส่งจานบินให้แก่อาชามอุบลนั้น แม่ชีทศพวงทราบเรื่องการปลุกเสกเช่นกัน จึงโทรศัพท์มาขอเช่าจานบินทั้งพ้นชุด และรับปากจะให้ค่าเช่าเป็นสองเท่า แม่ชีกรรมะไชโยได้ฟังจำนวนเงินแล้วก็ตกลง และส่งจานบินทั้งหนึ่งพันชุดนั้นไปให้แม่ชีทศพวงทันที เป็นเหตุให้แม่ชีกรรมะไชโยไม่มีทรัพย์จะชำระหนี้อีก กล่าวคือ แม่ชีกรรมะไชโยไม่มีจานบินจะส่งมอบให้แก่อาชามอุบลอีก เพราะฉะนั้น การชำระหนี้ของแม่ชีกรรมะไชโยจึงกลายเป็นพ้นวิสัย และความพ้นวิสัยนี้โทษแม่ชีกรรมะไชโยได้ แม่ชีกรรมะไชโยจึงต้องรับผิดต่ออาชามอุบล
ถ้าหนี้เงินได้แสดงไว้เป็นเงินต่างประเทศ ท่านว่า จะส่งใช้เป็นเงินไทยก็ได้
การเปลี่ยนเงินนี้ ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน |
ป.พ.พ. ม. 196 |
ถ้าหนี้เงินจะพึงส่งใช้ด้วยเงินตราชนิดหนึ่งชนิดใดโดยเฉพาะ อันเป็นชนิดที่ยกเลิกไม่ใช้กันแล้วในเวลาที่จะต้องส่งเงินใช้หนี้นั้นไซร้ การส่งใช้เงิน ท่านให้ถือเสมือนหนึ่งว่า มิได้ระบุไว้ให้ใช้เป็นเงินตราชนิดนั้น |
ป.พ.พ. ม. 197 |
วัตถุแห่งหนี้เป็นเงินตรา
แก้ไขในบรรดาทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้นั้น เงินตรา (money) พิเศษยิ่งกว่าทรัพย์อื่นดังนี้
1. เงินตรานั้นออกดอกออกผลเสมอ กล่าวคือ ถ้าลูกหนี้มีหนี้เงินต้องชำระ แล้วไม่ชำระ เงินจำนวนนั้นจะเกิดดอกเบี้ย[39]
2. เงินตราไม่ใช่สินค้า ไม่มีชนิดดี เลว หรือปานกลางเหมือนทรัพย์อื่น จึงไม่มีปัญหาให้พิจารณาว่า ลูกหนี้ต้องส่งมอบเงินตราคุณภาพใดให้แก่เจ้าหนี้อย่างกรณีทรัพย์ทั่วไป[40] แต่ถ้ากำหนดกันให้ชำระเงินตราที่เลิกใช้แล้วในเวลาชำระ ป.พ.พ. ม. 197 ก็ให้ถือว่า ไม่ได้กำหนดให้ใช้เงินตราชนิดนั้นเลย เพราะเป็นธรรมดาอยู่ว่า เงินตราเลิกใช้แล้วเอามาใช้อีก จะมีประโยชน์อันใด[40]
3. ถ้ากำหนดกันให้ชำระหนี้ด้วยเงินตราต่างประเทศ ป.พ.พ. ม. 196 ว. 1 ว่า จะชำระด้วยเงินไทยก็ได้[41] บทบัญญัตินี้ให้ลูกหนี้มีสิทธิเลือก ไม่ใช่บทบังคับ[41] อนึ่ง นักกฎหมายเห็นว่า ถ้าคู่กรณีตกลงกันว่า ต้องชำระหนี้ด้วยเงินตราต่างประเทศเท่านั้น ห้ามใช้เงินไทย ข้อตกลงนี้เป็นโมฆะ เพราะขัดกับหลักที่ว่า เงินไทยก็ใช้ชำระหนี้ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย[41] แต่ศาลไทยเห็นว่า ข้อตกลงอย่างนั้นไม่เป็นโมฆะ[41]
4. ถ้าจะแลกเปลี่ยนเงินตรา ป.พ.พ. ม. 196 ว. 2 ให้ใช้ "อัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน" (rate of exchange in effect in the place of payment at the time of payment)[42] และนักกฎหมายเห็นว่า บทบัญญัตินี้เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่สัญญาไม่อาจตกลงกันเป็นอื่นได้ตาม ป.พ.พ. ม. 151 กล่าวคือ คู่สัญญาไม่อาจตกลงกันใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และเวลาอื่นนอกเหนือไปจากตาม ป.พ.พ. ม. 196 ว. 2 ได้[42]
วัตถุแห่งหนี้มีหลายอย่าง
แก้ไขลักษณะ
แก้ไขในการชำระหนี้ ลูกหนี้อาจต้องทำการหลายอย่าง และเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ทำทุกอย่าง หากลูกหนี้ชำระหนี้ไม่ครบ เจ้าหนี้ก็มีสิทธิเรียกให้ทำจนครบ[42] เช่น ซื้อขายบ้านพร้อมเครื่องเรือนในบ้านและที่ดินที่ตั้งบ้าน ผู้ขายมีหนี้ต้องชำระสามอย่าง คือ ส่งมอบบ้าน ส่งมอบเครื่องเรือน และส่งมอบที่ดินให้แก่ผู้ซื้อ
แต่บางกรณี ลูกหนี้เลือกทำการบางอย่างก็พอแล้ว หนี้เช่นนี้เรียกว่า หนี้เลือกชำระได้ (alternative obligation)[43] เช่น ผู้ซื้อโทรศัพท์สั่งผู้ขายว่า ขอซื้อไข่เป็ด ไข่ไก่ หรือไข่ห่านก็ได้ หนี้ของผู้ขาย คือ ส่งมอบไข่เป็ด ไข่ไก่ หรือไข่ห่านอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่ผู้ขาย แล้วแต่จะเลือกกัน
แต่หนี้เลือกชำระได้นั้นต่างจากหนี้ที่มีเบี้ยปรับและหนี้ที่ต้องชำระตามลำดับ เพราะหนี้สองประการหลังนั้นไม่ใช่ว่าคู่กรณีมีสิทธิเลือกชำระได้[44] หนี้มีเบี้ยปรับ คือ หนี้ที่ไม่ชำระแล้วจะต้องเสียเงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับให้แก่เจ้าหนี้ ไม่ได้หมายความว่า ลูกหนี้จะเลือกเสียเบี้ยปรับแทนชำระหนี้ได้ ทำนองเดียวกัน ไม่ได้หมายความว่า เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้เสียเบี้ยปรับแทนเรียกให้ชำระหนี้ โดยที่ลูกหนี้ยังไม่ได้ผิดนัดชำระหนี้[44] ส่วนหนี้ที่ต้องชำระตามลำดับ เช่น ผู้ซื้อผู้ขายตกลงกันว่า ถ้าผู้ขายส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อไม่ได้ ผู้ขายต้องคืนราคาสินค้าที่ผู้ซื้อแล้วให้แก่ผู้ซื้อ ไม่ได้หมายความว่า ผู้ขายมีสิทธิคืนเงินแล้วจะได้ไม่ต้องส่งมอบสินค้า โดยที่ยังมีสินค้าส่งมอบให้ได้อยู่ แต่ถ้าลูกหนี้ชำระหนี้ลำดับหลังก่อนหนี้ลำดับแรก แล้วเจ้าหนี้รับชำระโดยไม่โต้แย้ง หรือถ้าเจ้าหนี้เรียกชำระหนี้ลำดับหลังก่อนเอง ศาลไทยถือว่า เจ้าหนี้สละสิทธิเรียกชำระหนี้ลำดับแรกแล้ว[45]
การเลือกชำระหนี้
แก้ไขในกรณีที่มีข้อสงสัย ให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น |
ป.พ.พ. ม. 11 |
ถ้าการอันมีกำหนดพึงกระทำเพื่อชำระหนี้นั้นมีหลายอย่าง แต่จะต้องกระทำเพียงการใดการหนึ่งแต่อย่างเดียวไซร้ ท่านว่า สิทธิที่จะเลือกทำการอย่างใดนั้นตกอยู่แก่ฝ่ายลูกหนี้ เว้นแต่จะได้ตกลงกันกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น |
ป.พ.พ. ม. 198 |
การเลือกนั้น ท่านให้ทำด้วยแสดงเจตนาแก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง
การชำระหนี้ได้เลือกทำเป็นอย่างใดแล้ว ท่านให้ถือว่า อย่างนั้นอย่างเดียวเป็นการชำระหนี้อันกำหนดให้กระทำแต่ต้นมา |
ป.พ.พ. ม. 199 |
ถ้าจะต้องเลือกภายในระยะเวลาอันมีกำหนด และฝ่ายที่มีสิทธิจะเลือกมิได้เลือกภายในระยะเวลานั้นไซร้ ท่านว่า สิทธิที่จะเลือกนั้นย่อมตกไปอยู่แก่อีกฝ่ายหนึ่ง
ถ้ามิได้กำหนดระยะเวลาให้เลือกไซร้ เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ ฝ่ายที่ไม่มีสิทธิจะเลือกอาจกำหนดเวลาพอสมควรแก่เหตุ แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายโน้นใช้สิทธิเลือกภายในเวลาอันนั้น |
ป.พ.พ. ม. 200 |
ถ้าบุคคลภายนอกจะพึงเป็นผู้เลือก ท่านให้กระทำด้วยแสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ และลูกหนี้จะต้องแจ้งความนั้นแก่เจ้าหนี้
ถ้าบุคคลภายนอกนั้นไม่อาจจะเลือกได้ก็ดี หรือไม่เต็มใจจะเลือกก็ดี ท่านว่า สิทธิที่จะเลือกตกไปอยู่แก่ฝ่ายลูกหนี้ |
ป.พ.พ. ม. 201 |
ผู้มีสิทธิเลือก
แก้ไขสำหรับหนี้เลือกชำระได้นั้น เมื่อเลือกชำระหนี้อย่างหนึ่งอย่างใดและชำระหนี้นั้นแล้ว ก็ไม่ต้องชำระหนี้อย่างอื่นอีก ลูกหนี้เป็นอันหลุดจากความผูกพัน[42] แต่ใครจะเป็นผู้เลือกหนี้ที่ลูกหนี้จะต้องชำระ ก็สุดแต่เจ้าหนี้กับลูกหนี้จะตกลงกัน อาจเป็นเจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือบุคคลภายนอกก็ได้[46] สิทธินี้เรียกว่า "สิทธิเลือก" (right of choice)
ในกรณีที่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้มีสิทธิเลือก และมีเวลากำหนดไว้ให้ใช้สิทธิด้วย แต่ผู้นั้นไม่เลือกภายในเวลาดังกล่าว ป.พ.พ. ม. 200 ว. 1 ให้สิทธิเลือกไปอยู่ที่คู่กรณีฝ่ายตรงข้ามแทน[46] เช่น ถ้าเจ้าหนี้มีสิทธิเลือกภายในเวลาที่กำหนด และพ้นเวลานั้นไปแล้วเจ้าหนี้ก็ยังไม่ได้เลือก สิทธิเลือกจะตกแก่ลูกหนี้แทน
ในกรณีที่บุคคลภายนอก (third party) กล่าวคือ บุคคลที่ไม่ได้เป็นคู่สัญญา มีสิทธิเลือก แล้วบุคคลภายนอก "ไม่อาจจะเลือกได้ก็ดี หรือไม่เต็มใจจะเลือกก็ดี" (unable to make the choice or has no intention to make the choice) ป.พ.พ. ม. 201 ว. 2 ให้สิทธิเลือกนั้นไปอยู่ที่ลูกหนี้แทน[46] เช่น แม้วกับมาร์คซื้อขายที่ดินกันหนึ่งแปลงเพื่อใช้สร้างสนามบินแหนมงูเห่า แม้วเป็นผู้ขาย มาร์คเป็นผู้ซื้อ แม้วรับค่าที่ดินจากมาร์คมาแล้ว โดยตกลงกันว่า แม้วจะโอนที่ดินบริเวณถนนรัชดาภิเษกหรือบริเวณถนนพัฒน์พงศ์ให้แก่มาร์ค ตามที่อ้อ ภริยาของแม้ว กำหนด อ้อจึงเป็นบุคคลภายนอกผู้มีสิทธิเลือกหนี้ที่แม้วจะต้องชำระต่อมาร์ค แต่อ้อผิดใจกับแม้วอยู่ เพราะจับได้ว่า แม้วแอบไปแปลงเพศมาตามคำแนะนำของเจ๊เพ็ญ เพื่อนสาวคนสนิท อ้อจึงไม่ยอมเลือก ดังนี้ ถือว่าอ้อไม่เต็มใจจะเลือก และสิทธิเลือกย่อมตกแก่แม้วผู้เป็นลูกหนี้แทน เพราะฉะนั้น แม้วต้องเลือกเองว่า จะโอนที่ดินบริเวณใดให้แก่มาร์ค
ถ้ากำหนดเวลาให้เลือก แล้วบุคคลภายนอกไม่เลือกภายในเวลานั้น ก็ถือว่า บุคคลภายนอกไม่เต็มใจจะเลือกเช่นกัน[46]
ในกรณีที่ไม่ได้ตกลงกันให้ใครเป็นผู้เลือก ป.พ.พ. 198 ว่า ให้ลูกหนี้มีสิทธิเลือก ทั้งนี้ เพราะลูกหนี้เป็นฝ่ายเสียประโยชน์ในมูลหนี้ เมื่อมีข้อสงสัย จึงต้องตีความให้เป็นคุณแก่ลูกหนี้ตามหลักการใน ป.พ.พ. ม. 11[47]
วิธีเลือก
แก้ไขวิธีเลือกชำระหนี้นั้น ถ้าเจ้าหนี้หรือลูกหนี้เป็นผู้เลือก ให้ผู้เลือกแสดงเจตนาเลือกต่อคู่กรณีฝ่ายตรงข้ามตาม ป.พ.พ. ม. 199 ว. 1 เช่น เจ้าหนี้เลือกโดยแสดงเจตนาเลือกต่อลูกหนี้ หรือลูกหนี้เลือกโดยแสดงเจตนาเลือกต่อเจ้าหนี้[46] แต่ถ้าผู้เลือกเป็นบุคคลภายนอก ป.พ.พ. ม. 202 ว. 1 ว่า ให้บุคคลภายนอกแสดงเจตนาเลือกต่อลูกหนี้ แล้วให้ลูกหนี้แจ้งเจตนานั้นให้เจ้าหนี้ทราบอีกต่อหนึ่ง[46]
ในการเลือก คู่กรณีอาจตกลงกันกำหนดเวลาให้ผู้มีสิทธิเลือกใช้สิทธิก็ได้[48]
ในกรณีที่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้มีสิทธิเลือก และไม่ได้กำหนดเวลาเลือกไว้ ป.พ.พ. ม. 200 ว. 2 ว่า เมื่อถึงกำหนดชำระหนี้ ฝ่ายที่ไม่มีสิทธิเลือกจะกำหนดเวลาตามสมควร แล้วแจ้งให้อีกฝ่ายหนึ่งเลือกภายในกำหนดนั้นก็ได้ ถ้าไม่ใช้สิทธิภายในกำหนดดังกล่าว ก็จะเกิดผลตาม ป.พ.พ. ม. 200 ว. 1 ดังอธิบายมาแล้ว[48]
ถ้าการอันจะพึงต้องทำเพื่อชำระหนี้นั้นมีหลายอย่าง และอย่างใดอย่างหนึ่งตกเป็นอันพ้นวิสัยจะทำได้มาแต่ต้นก็ดี หรือกลายเป็นพ้นวิสัยในภายหลังก็ดี ท่านให้จำกัดหนี้นั้นไว้เพียงการชำระหนี้อย่างอื่นที่ไม่พ้นวิสัย อนึ่ง การจำกัดอันนี้ย่อมไม่เกิดมีขึ้น หากว่าการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งฝ่ายที่ไม่มีสิทธิจะเลือกนั้นต้องรับผิดชอบ |
ป.พ.พ. ม. 202 |
ความพ้นวิสัยของหนี้เลือกชำระได้
แก้ไขในกรณีที่หนี้ใดหนี้หนึ่งในบรรดาที่เลือกชำระได้นั้นตกเป็นพ้นวิสัยหรือกลายเป็นพ้นวิสัย ป.พ.พ. ม. 202 ก็ให้เลือกชำระแต่หนี้ที่เหลืออยู่ซึ่งไม่พ้นวิสัย[48]
แต่ถ้าการพ้นวิสัยนั้นโทษฝ่ายที่ไม่มีสิทธิเลือกได้ ป.พ.พ. ม. 202 ก็ให้ถือว่า หนี้พ้นวิสัยไปทั้งสิ้น กล่าวคือ ฝ่ายลูกหนี้ไม่ต้องชำระหนี้อีกโดยสิ้นเชิง[48]
เช่น นางสันธมารว่าจ้างรถเสนให้เดินทางไปคชปุรนคร แล้วเก็บเกี่ยวมะม่วงไม่รู้หาวหรือมะนาวไม่รู้โห่มาให้หนึ่งกระบุง จะเอาอย่างไหนมาก็ได้แล้วแต่รถเสนจะตัดสินใจ หนี้ของรถเสนจึงเลือกชำระได้ ฝ่ายรถเสนนั้นรับจ้างแล้วก็รุดไปยังคชปุรนคร แต่ระหว่างทาง ห่าลงคชปุรนคร มะม่วงไม่รู้หาวล้มตายทั้งสวน ส่วนมะนาวไม่รู้โห่ยังดีอยู่ หนี้ที่รถเสนจะต้องส่งมอบมะม่วงไม่รู้หาวจึงกลายเป็นพ้นวิสัยไป แต่หนี้ที่จะต้องส่งมอบมะนาวไม่รู้โห่ยังใช้บังคับได้ไม่เป็นพ้นวิสัย และรถเสนคงต้องชำระหนี้นั้นอยู่
อย่างไรก็ดี ปรากฏว่า ที่ห่าลงเมืองนั้น แท้จริงแล้วนางสันธมารสั่งให้ลูกน้องขับเครื่องบินโปรยเชื้อโรคเหนือเมือง ด้วยต้องการให้รถเสนถึงแก่ความตายอยู่ที่เมืองดังกล่าว แต่รถเสนไม่ตาย เพราะแวะพักที่โรงเตี๊ยมฤๅษี สาขาหิมพานต์ สองคืน จึงไปถึงเมืองช้ากว่าปรกติ ฉะนั้น การที่มะม่วงไม่รู้หาวล้มตายลงจึงโทษนางสันธมารซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายที่ไม่มีสิทธิเลือกชำระหนี้ได้ เป็นเหตุให้หนี้ของรถเสนตามสัญญาจ้างกลายเป็นพ้นวิสัยทุกประการ และรถเสนหลุดพ้นจากการชำระหนี้โดยสิ้นเชิง กล่าวคือ ไม่ต้องส่งมอบทั้งมะม่วงไม่รู้หาวและมะนาวไม่รู้โห่ให้แก่นางสันธมารอีก แม้ว่ามะนาวไม่รู้โห่มิได้เสียหายไปด้วยก็ตาม
ฎ. บางฉบับ
แก้ไข# | เลขที่ | ใจความ | หมายเหตุ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สภาพแห่งหนี้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1 | 2095/2524 | สิทธิในการเป็นลูกวงแชร์ เป็นทรัพย์สินชนิดหนึ่ง เพราะมีราคาและอาจถือเอาได้ตาม ป.พ.พ. ม. 99 (ปัจจุบันคือ ม. 138) สิทธินี้จึงจำหน่ายและซื้อขายกันได้
จำเลยขายสิทธิดังกล่าวให้แก่โจทก์ ในสัญญาซื้อขาย โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้ และจำเลยเป็นลูกหนี้ โจทก์มีสิทธิบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายได้ ตาม ป.พ.พ. ม. 194 |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | 4820/2529 | สิทธิการเช่าอาคารพิพาทเป็นสิทธิเกี่ยวกับกับทรัพย์สิน และจำหน่ายจ่ายโอนกันได้ เมื่อจำเลยโอนสิทธิให้แก่ผู้ร้อง และผู้ร้องได้ชำระเงินให้ครบถ้วนตามสัญญาทั้งได้เข้าครอบครองอาคารแล้ว ผู้ร้องจึงเป็นเจ้าของสิทธิ ไม่ใช่จำเลยอีกต่อไป โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะนำยึดสิทธินั้นโดยอ้างว่ายังเป็นของจำเลยลูกหนี้หาได้ไม่ ต้องเพิกถอนการยึดดังกล่าว | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
หนี้โดยธรรม | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1 | 1566/2499 | จำเลยฉุดคร่าน้องสาวของโจทก์ซึ่งมีอายุเกินยี่สิบปีแล้ว ต่อมา จำเลยขอขมาโจทก์ และรับปากว่าจะชำระค่าเสียหายให้ แต่ไม่ชำระ โจทก์จึงฟ้องขอให้ศาลบังคับให้ชำระ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า น้องสาวโจทก์อายุเกินยี่สิบปีแล้ว ย่อมบรรลุนิติภาวะ และไม่อยู่ในอำนาจปกครองอีก โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ปกครองซึ่งจะมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย | เหตุผล คือ เป็นหนี้กันทางใจ ไม่ได้เป็นหนี้กันทางกฎหมาย ศาลบังคับให้ไม่ได้ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
หนี้พ้นวิสัย | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1 | 960/2509 | จำเลยรับเงินจากโจทก์และยอมให้โจทก์ก่อสร้างอาคารบนที่ดินของจำเลย แต่เทศบาลไม่อนุญาตให้โจทก์ก่อสร้าง การชำระหนี้ของจำเลยกลายเป็นพ้นวิสัยโดยที่จำเลยไม่ต้องรับผิด | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | 831/2512 | การเช่ากระบือไปทำนา ถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ผู้เช่าจะส่งกระบือคนแก่ผู้ให้เช่าก็ต่อเมื่อได้เก็บเกี่ยวข้าวตลอดจนนำข้าวขึ้นยุ้งเรียบร้อยแล้ว ซึ่งถือว่าเสร็จฤดูทำนา
ก่อนถึงกำหนดส่งกระบือคืน คนร้ายปล้นเอากระบือไป สุดวิสัยที่ผู้เช่าจะป้องปัดขัดขวางได้ ความสูญหายของกระบือที่เช่าจึงไม่ใช่ความผิดของผู้เช่า ผู้เช่าไม่ต้องรับผิดคืนหรือใช้ราคากระบือ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | 473/2519 | จำเลยรับจ้างลากจูงแพไม้ของโจทก์แล้วแพไม้แตก เพราะชนเสาสะพานขณะลากจูงไป จำเลยทราบดีว่า กระแสน้ำไหลเชี่ยว จึงต้องระมัดระวังอย่างดีในการลากจูง เมื่อแพไม้ชนเสาสะพานแตก จึงเป็นความบกพร่องของฝ่ายจำเลยเอง ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย จำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | 928/2521 | ผู้ให้เช่าซื้อที่ดินไม่ยอมทำถนนคอนกรีตและท่อน้ำตามสัญญาโดยอ้างวัสดุขึ้นราคา ไม่เป็นเหตุสุดวิสัยที่ทำให้การชำระหนี้เป็นพ้นวิสัย ผู้ให้เช่าซื้อต้องถูกบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญา และเสียเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของเงินค่าเช่าซื้อที่ส่งแล้วตามสัญญา กับดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | 2934/2522 | "พ้นวิสัย" หมายถึง เหตุการณ์เกิดขึ้นแล้วทำให้การชำระหนี้เป็นไปไม่ได้ ผลผลิตของน้ำมันดิบขาดแคลนเพราะต่างประเทศขึ้นราคาน้ำมันดิบ ไม่เป็นเหตุพ้นวิสัยที่ทำให้ผู้ขายส่งยางแอสฟัลท์แก่ผู้ซื้อไม่ได้ตามกำหนดเวลา ผู้ขายจึงต้องรับผิดที่ส่งชักช้า | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | 2653/2526 | จำเลยไม่สามารถหาเรือมาบรรทุกน้ำมันเพื่อส่งมอบให้โจทก์ได้นั้น เป็นเรื่องด้อยความสามารถของจำเลยเอง และที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้นจนเป็นเหตุให้จำเลยขาดทุน ก็เป็นธรรมดาของการค้าขายซึ่งมีทั้งกำไรและขาดทุน พฤติการณ์ดังกล่าวมิใช่เหตุสุดวิสัยตาม ป.พ.พ. ม. 8 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | 1371/2527 | พนักงานขับรถของจำเลยขับรถบรรทุกของหนักออกนอกผิวการจราจร เป็นเหตุให้ดินที่ขอบไหล่ถนนทรุดหรือยุบ และรถบรรทุกเสียหลักแล่นตะแคงพลิกคว่ำตกลงไปข้างถนน กรณีเช่นนี้ พนักงานขับรถมีทางที่จะป้องกันได้โดยขับรถไปตามผิวการจราจร เมื่อมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร เหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นความประมาทเลินเล่อ มิใช่เหตุสุดวิสัย | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | 2046/2531 | จำเลยอ้างว่า ส่งมอบดินขาวให้แก่โจทก์ตามสัญญาไม่ได้ เพราะมีโจรแบ่งแยกดินแดนข่มขู่เรียกค่าคุ้มครองจากโรงงานที่ผลิตดินขาวของจำเลยจนคนงานไม่กล้าเข้าไปทำงาน ดังนี้ เมื่อตามสัญญามิได้เจาะจงให้ส่งมอบดินขาวจากแหล่งผลิตของโรงงานจำเลย จำเลยย่อมจัดหาดินขาวจากแหล่งอื่นได้ ดินขาวมิใช่เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง จำเลยจะอ้างว่าการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยและปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | 3342/2532 | โจทก์ทำสัญญาซื้อวิทยุหาทิศขนาดเล็กจากจำเลย จำเลยจึงมีหน้าที่จัดหาวิทยุหาทิศตามสัญญาส่งมอบให้แก่โจทก์ การที่บริษัทผู้ผลิตไม่ส่งวิทยุหาทิศมาให้จำเลย จึงเป็นความผิดของจำเลยเอง หาใช่เหตุสุดวิสัยหรือพ้นวิสัยไม่ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | 1185/2533 | จำเลยนำรถยนต์เข้ามาในราชอาณาจักรไทย โดยทำสัญญากับโจทก์ว่า จะส่งรถยนต์กลับออกไปภายในเวลาที่กำหนด มิฉะนั้น จะยอมรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ ต่อมา จำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาโดยอ้างว่า เป็นการพ้นวิสัย เนื่องจากประเทศที่จำเลยจะส่งรถยนต์กลับออกไปตามสัญญานั้นเปลี่ยนไปใช้ระบอบการปกครองที่แตกต่างจากของประเทศไทย จำเลยไม่กล้านำรถยนต์กลับออกไปยังประเทศดังกล่าว ดังนี้ จำเลยไม่กล้านำรถยนต์กลับออกไป ไม่ใช่จำเลยกระทำไม่ได้ การชำระหนี้ของจำเลยไม่พ้นวิสัย จำเลยจึงต้องชำระเงินแก่โจทก์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | 2684/2534 | จำเลยเช่าซื้อรถยนต์พิพาทมาเพื่อส่งมอบให้แก่โจทก์ แต่จำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อโดยไม่ชำระค่าเช่าซื้อ บริษัทผู้ให้เช่าซื้อจึงยึดรถยนต์กลับไป เป็นเหตุจำเลยไม่มีรถยนต์มาส่งมอบแก่โจทก์ ดังนี้ เป็นเรื่องที่จำเลยไม่ขวนขวายจัดการปัญหาของจำเลยเองให้เรียบร้อย มิใช่เรื่องนอกเหนืออำนาจจำเลย จึงเป็นความผิดของจำเลย มิใช่เป็นเหตุพ้นวิสัยหรือสุดวิสัยซึ่งอยู่นอกเหนือความสามารถที่จำเลยจะป้องกันได้แต่อย่างใด | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | 4968-5050/2543 | จำเลยมีหนี้ต้องนำหุ้นที่โจทก์ทั้งแปดสิบสามเหลืออยู่ในขณะถูกเลิกจ้างออกจำหน่ายให้แก่บุคคลอื่น ข้อเท็จจริงฟังเป็นที่ยุติว่า กระทรวงการคลังมีคำสั่งให้ระงับการดำเนินกิจการของจำเลย เป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้ตามปรกติ จำเลยจึงมีคำสั่งเลิกจ้างพนักงานทั้งหมดรวมทั้งโจทก์ทั้งแปดสิบสามด้วย ในวันที่โจทก์ทั้งแปดสิบสามถูกจำเลยเลิกจ้างนั้น จำเลยย่อมไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะนำหุ้นที่เหลือของโจทก์ทั้งแปดสิบสามออกขายให้แก่บุคคลอื่นอีกต่อไป จึงถือได้ว่า ภายหลังที่ได้ก่อหนี้ขึ้นแล้ว จำเลยกลายเป็นคนไม่สามารถชำระหนี้ได้ และ ป.พ.พ. ม. 219 ว. 2 ให้ถือเสมือนว่า เป็นพฤติการณ์ที่ทำให้การชำระหนี้ตกเป็นอันพ้นวิสัย
เมื่อปรากฏว่า การชำระหนี้ของจำเลยกลายเป็นการพ้นวิสัย โดยที่โทษจำเลยไม่ได้ เพราะจำเลยถูกกระทรวงการคลังห้ามไม่ให้ทำธุรกรรมทางการเงิน จำเลยจึงหลุดพ้นจากการชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. ม. 219 ว. 1 และถือไม่ได้ว่า จำเลยผิดข้อตกลงดังที่โจทก์ทั้งแปดสิบสามอ้าง จำเลยจึงไม่ต้องชำระเงินค่าหุ้นและค่าเสียหายรวมทั้งดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามฟ้อง |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | 1076/2546 | โจทก์ว่าจ้างจำเลยสีข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร โดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนเป็นปลายข้าวและรำข้าว เมื่อสีข้าวเสร็จแล้ว จำเลยเก็บข้าวสารไว้ที่โรงสีของจำเลย แต่เพลิงไหม้โรงสีนั้นเสียก่อนจะได้ส่งมอบข้าวสารให้แก่โจทก์ครบถ้วน
มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า การที่จำเลยส่งมอบข้าวสารไม่ได้เป็นเหตุสุดวิสัยซึ่งจำเลยไม่ต้องรับผิดหรือไม่ เห็นว่า เมื่อโจทก์ส่งมอบข้าวเปลือกของโจทก์ให้จำเลยสีเป็นข้าวสาร จำเลยจึงมีหน้าที่นำข้าวเปลือกนั้นซึ่งเป็นจำนวนที่โจทก์กำหนดเอาไว้แน่นอนแล้วมาสีเป็นข้าวสาร และข้าวสารที่จำเลยจะต้องส่งมอบแก่โจทก์จึงเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง สำหรับประเด็นเพลิงไหม้นั้น ไม่ปรากฏว่าเกิดจากการกระทำของผู้ใด และไม่พบร่องรอยหรือหลักฐานที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้ในครั้งนี้ด้วย จึงถือไม่ได้ได้ว่า เป็นพฤติการณ์ที่จำเลยต้องรับผิดชอบ ดังนั้น การชำระหนี้ของจำเลยย่อมกลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์ซึ่งจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบตาม ป.พ.พ. ม. 219 ว. 1 |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | 1678/2546 | จำเลยฎีกาว่า ที่จำเลยไม่สามารถชำระหนี้แก่โจทก์ได้ เพราะบริษัทธนินี จำกัด ผู้ซื้อผ้าจากจำเลยอีกทอด มีปัญหาทางการเงินไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่จำเลย เป็นเหตุสุดวิสัย ทำให้จำเลยหลุดพ้นไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้น ศาลฎีกาเห็นว่า เหตุสุดวิสัยตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. ม. 8 หมายถึง เหตุใด ๆ อันจะเกิดขึ้นหรือจะให้ผลพิบัติไม่มีใครอาจป้องกันได้ แต่กรณีของจำเลยเป็นเรื่องการประกอบธุรกิจ การประสบปัญหากำไรหรือขาดทุนเป็นปกติทางการค้า ย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ กรณีไม่อาจถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยอันจะทำให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดตาม ป.พ.พ. ม. 219 ว. 1 ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | 3506/2546 | ภายหลังจำเลยก่อหนี้แล้ว ประเทศไทยเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ส่งผลให้จำเลยไม่สามารถชำระหนี้ได้ เป็นพฤติการณ์ที่จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบ จำเลยไม่ผิดนัดชำระหนี้ และย่อมหลุดพ้นจากการชำระหนี้ ตาม ป.พ.พ. ม. 205 และ 219 เมื่อหลุดพ้นจากการชำระหนี้แล้ว จำเลยย่อมหลุดพ้นจากการบังคับคดีด้วย
ศาลฎีกาเห็นว่า ลูกหนี้จะหลุดพ้นจากการชำระหนี้ ก็ต่อเมื่อการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์ซึ่งเกิดขึ้นหลังก่อหนี้ โดยเป็นพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 219 ว. 1 ด้วย ในการนี้ แม้วิกฤติทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอาจกระทบลูกหนี้บางคน ทำให้ไม่สามารถชำระหนี้สินที่ตนมีต่อสถาบันการเงินได้ตามปรกติ แต่จะถือเป็นพฤติการณ์ที่ทำให้การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเสียทีเดียวไม่ได้ ต้องพิจารณาเป็นกรณีไป โดยเฉพาะจำเลยซึ่งได้จำนองที่ดินเป็นประกันเงินกู้ยืมไว้กับโจทก์ และโจทก์มีสิทธิร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับชำระหนี้เอาจากที่ดินนั้นได้ตาม ป.พ.พ. ม. 213 และ 728 การชำระหนี้ของจำเลยจึงอยู่ในวิสัยที่พึงปฏิบัติได้อยู่ จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์ต่อไป จะอ้างวิกฤติทางเศรษฐกิจของประเทศมาปลดเปลื้องให้ตนหลุดพ้นจากการบังคับไม่ได้ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วัตถุแห่งหนี้เป็นทรัพย์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1 | 339/2506 | จำเลยทำสัญญาขายไม้สักให้โจทก์ และรับเงินค่าไม้ไปแล้ว ต่อมา เจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ตรวจไม้ที่จำเลยเตรียมไว้ตามสัญญา และตีตราของโจทก์ลงไว้ ย่อมถือได้ว่า ไม้ที่ตีตราแล้วนั้นเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งตาม ป.พ.พ. ม. 370 เพราะมีการบ่งตัวทรัพย์ลงไว้แน่นอน กรรมสิทธิ์ในไม้จึงตกเป็นของโจทก์แล้ว เมื่อมีคนลอบวางเพลิงโรงเลื่อยจำเลย ซึ่งมิใช่ความผิดของจำเลย โจทก์จะเรียกร้องราคาไม้คืนจากจำเลยไม่ได้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | 455/2518 | ผู้ขายขายข้าวเปลือกในยุ้งที่มีอยู่สามสิบเกวียนให้แก่ผู้ซื้อ แม้ผู้ขายรับฝากข้าวเปลือกนั้นไว้ต่อไป กรรมสิทธิ์ย่อมโอนไปเป็นของผู้ซื้อแล้ว เมื่อผู้ซื้อขายข้าวนั้นให้แก่แก่ผู้อื่นอีก ย่อมเป็นยักยอก | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | 149/2539 | จำเลยมีหนี้ต้องส่งมอบไม้ฟืนให้แก่โจทก์ ต่อมา มีคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้สัมปทานทำไม้ในเขตป่าไม้ของจำเลยสิ้นสดลง การชำระหนี้ของจำเลยจึงตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายใดมิได้ เป็นผลให้จำเลยหลุดพ้นจากการชำระหนี้ แต่เมื่อสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทน โจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้ตอบแทนแล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิได้รับเช่นกัน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องมัดจำคืนจากจำเลยได้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | 5243/2550 | จำเลยเปิดรับจองพระจากประชาชนทั่วไป โจทก์สั่งจองพระพิมพ์จิตรลดาชุดทองคำและชำระเงินแล้ว ต่อมา จำเลยสั่งจ่ายแคชเชียร์เช็คให้โจทก์แทนการส่งมอบพระชุดพิพาท เพราะจำเลยส่งมอบพระดังกล่าวให้แก่ผู้อื่นไปจนหมดสิ้นแล้ว จึงไม่มีพระชุดพิพาทเหลืออยู่ที่จำเลยอีก โจทก์ไม่รับเช็คและมาฟ้องเรียกค่าเสียหาย
จำเลยฎีกาว่า ที่ส่งมอบพระให้แก่ผู้อื่น เพราะบุคคลเหล่านั้นมีสิทธิก่อนจำเลย ตามลำดับโควตาที่ได้เพิ่มหรือลดในภายหลัง การชำระหนี้ของจำเลยกลายเป็นพ้นวิสัยโดยที่ไม่ใช่ความผิดของจำเลย จำเลยหลุดพ้นจากการชำระหนี้ และไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย ศาลฎีกาเห็นว่า การเพิ่มหรือลดโควตาเป็นปัญหาทางธุรกิจของจำเลยเอง ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่จะทำให้การชำระหนี้ของจำเลยกลายเป็นพ้นวิสัย เมื่อจำเลยรับพระมาจากผู้สร้างแล้วไม่ส่งมอบให้โจทก์ตามสัญญา จำเลยจึงชื่อว่าผิดสัญญาและต้องรับผิดต่อโจทก์ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วัตถุแห่งหนี้เป็นเงินตรา | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1 | 5020/2544 | คดีนี้ ผู้ร้องขอให้บังคับผู้คัดค้านชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศ คือ โครเนอนอร์เวย์ (Norwegian krone) เท่านั้น ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยในวันที่มีคำพิพากษา จึงไม่เป็นไปตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. ม. 196 ว. 2 ที่ให้คิดอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน ทั้งยังเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 ม. 26 ประกอบ ป.วิ.พ. ม. 142 ว. 1 ปัญหานี้เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมียกขึ้นวินิจฉัยได้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | 5020/2547 | ป.พ.พ. ม. 196 ให้ลูกหนี้มีสิทธิเลือกเองว่าจะชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศหรือเงินไทย ศาลไม่มีอำนาจบังคับลูกหนี้หรือเลือกแทนลูกหนี้ จึงไม่จำเป็นที่ศาลจะสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คำนวณยอดหนี้จากเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินไทย | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | 568/2548 | คดีนี้ โจทก์ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เป็นเงินต่างประเทศ คือ ฟรังก์ฝรั่งเศส (French franc) พร้อมดอกเบี้ย จำเลยจะชำระเป็นเงินไทยก็ได้โดยให้คิดอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงินตาม ป.พ.พ. ม. 196 ว. 2 ทว่า ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้พิพากษาให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนในวันฟ้อง หากอัตราในวันฟ้องสูงกว่าอัตราในเวลาชำระเงินจริง ย่อมมีผลให้จำเลยต้องชำระหนี้สูงกว่าที่ควร เท่ากับเป็นการพิพากษานอกเหนือหรือเกินไปกว่าคำฟ้อง จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ปัญหานี้เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมียกขึ้นวินิจฉัยได้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วัตถุแห่งหนี้มีหลายอย่าง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1367/2510 | คำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งถึงที่สุดแล้วบังคับให้จำเลยส่งมอบห้องพิพาทให้โจทก์ ถ้าไม่สามารถส่งมอบห้องได้ ก็ให้จำเลยคืนเงินแก่โจทก์ ดังนี้ เป็นการกำหนดให้จำเลยชำระหนี้ตามลำดับ ไม่ใช่ให้เลือกชำระอย่างใดก็ได้ตาม ป.พ.พ. ม. 198 จำเลยจะอ้างว่า จำเลยต้องใช้ห้องพิพาทประกอบอาชีพ จึงขอไม่ส่งมอบห้องแล้วจะคืนเงินให้แก่โจทก์แทน หาได้ไม่ | แต่ถ้าโจทก์ยินยอม ก็ได้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
982/2513 | ในกรณีผิดสัญญา คู่สัญญาย่อมมีสิทธิบังคับเอาแก่คู่สัญญาฝ่ายผิดสัญญานั้นสองประการ คือ บังคับชำระหนี้ตามมูลหนี้ ประการหนึ่ง กับบอกเลิกสัญญาแล้วเรียกค่าเสียหาย ประการหนึ่ง เมื่อจำเลยใช้สิทธิเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ผู้ผิดสัญญาแล้ว ก็ย่อมจะบังคับให้โจทก์ชำระหนี้ตามสัญญาไม่ได้อีก ที่จำเลยฟ้องแย้งเรียกเอาราคาตึกซึ่งโจทก์ไม่ได้ชำระตามสัญญานั้น ก็เท่ากับฟ้องบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญานั่นเอง จำเลยจะใช้สิทธิดังนี้หาได้ไม่ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2442/2520 | ศาลพิพากษาว่า หนี้ที่จำเลยต้องชำระมีสองอย่างอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ส่งมอบกระดาษหรือใช้ราคา สิทธิเลือกย่อมอยู่ที่จำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. ม. 198 หาใช่โจทก์ไม่ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
484/2525 | ศาลพิพากษาให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ ถ้าจดทะเบียนไม่ได้ ก็ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ดังนี้ การชำระหนี้ต้องเป็นไปตามลำดับ มิใช่ว่าจำเลยมีสิทธิเลือกตาม ป.พ.พ. ม. 195 และ 198 เมื่อยังโอนที่ดินได้อยู่ จำเลยจะขอชดใช้ค่าเสียหายแทนโดยที่โจทก์มิได้ยินยอมหาได้ไม่ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6157/2544 | ศาลพิพากษาให้จำเลยไปจดทะเบียนให้โจทก์เช่าที่ดินเป็นเวลาสามสิบปีเพื่อโจทก์จะได้ใช้ทำการค้าขาย ถ้าจดทะเบียนไม่ได้ ก็ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยยอมจดทะเบียน แต่ปรากฏว่า หนังสือสัญญาเช่าที่จะจดทะเบียนนั้นมีข้อความจำกัดสิทธิผู้เช่าเกินกว่าที่ผู้เช่าโดยทั่วไปจะปฏิบัติได้ เช่น ผู้อยู่อาศัยต้องเป็นญาติของผู้เช่าเท่านั้น ห้ามชาวต่างประเทศอยู่หรือทำงานในที่เช่า ห้ามทุกคนอยู่บริเวณเฉลียงอาคารในเวลากลางวัน ผู้เช่าต้องค้าขายภายในสี่ปีนับแต่วันทำสัญญาเช่า มิฉะนั้น ต้องเสียค่าปรับเป็นรายวัน เป็นต้น โจทก์จึงมีสิทธิไม่ยอมรับการจดทะเบียนได้ ตาม ป.พ.พ. ม. 207 และ 320 กรณีต้องถือว่าจำเลยที่ไม่สามารถชำระหนี้ลำดับแรกตามคำพิพากษาได้ เพราะฉะนั้น โจทก์มีสิทธิขอให้ออกหมายบังคับคดีเพื่อให้จำเลยชำระหนี้ลำดับหลัง และการที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. ม. 296 ว. 1 แต่ประการใด | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2671/2550 | ศาลพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ตามลำดับ คือ ส่งมอบรถยนต์เช่าซื้อคืนจำเลย ถ้าคืนไม่ได้ ก็ให้ใช้ราคา แม้ไม่ใช่หนี้เลือกชำระได้ตาม ป.พ.พ. ม. 198 แต่เมื่อโจทก์ชำระราคาเป็นเงินตลอดจนค่าธรรมเนียมครบถ้วน และจำเลยรับไว้โดยไม่โต้แย้งคัดค้าน แสดงว่า จำเลยสละสิทธิบังคับชำระหนี้ลำดับแรกแล้ว | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5888/2551 | ศาลพิพากษาให้จำเลยคืนนกเขาชวาสีขาวบริสุทธิ์ ตาสีฟ้า จำนวนแปดตัว แก่โจทก์ ถ้าคืนไม่ได้ ก็ให้ใช้ราคา เป็นหนี้ที่จำเลยต้องชำระตามลำดับ มิใช่หนี้หลายอย่างซึ่งจำเลยจะเลือกชำระอย่างใดก็ได้ แต่เมื่อโจทก์ขอให้บังคับเอาราคาเงินจากทรัพย์สินของจำเลย แสดงว่าโจทก์สละสิทธิบังคับชำระหนี้ลำดับแรกแล้ว | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เชิงอรรถ
แก้ไข- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน; 2551, 7 กุมภาพันธ์: ออนไลน์.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 จิ๊ด เศรษฐบุตร; 2554, กรกฎาคม: 19.
- ↑ Dictionary.com; 2012: Online.
- ↑ 4.0 4.1 จิ๊ด เศรษฐบุตร; 2554, กรกฎาคม: 19-20.
- ↑ สมยศ เชื้อไทย; 2554, มิถุนายน: 138.
- ↑ จิ๊ด เศรษฐบุตร; 2554, กรกฎาคม: 20-21.
- ↑ 7.0 7.1 จิ๊ด เศรษฐบุตร; 2554, กรกฎาคม: 22.
- ↑ ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์, 2552: 17.
- ↑ จิ๊ด เศรษฐบุตร; 2554, กรกฎาคม: 118.
- ↑ จิ๊ด เศรษฐบุตร; 2554, กรกฎาคม: 120.
- ↑ จิ๊ด เศรษฐบุตร; 2554, กรกฎาคม: 118-119.
- ↑ 12.0 12.1 จิ๊ด เศรษฐบุตร; 2554, กรกฎาคม: 119.
- ↑ จิ๊ด เศรษฐบุตร; 2554, กรกฎาคม: 23.
- ↑ หนี้ทางใจ, หนี้ในธรรม, หนี้ธรรมดา หรือหนี้ธรรมชาติ ก็เรียก.
- ↑ John Bouvier, 1856: Online.
"Natural obligation, Civil law. One which in honor and conscience binds the person who has contracted it, but which cannot be enforced in a court of justice."
- ↑ จิ๊ด เศรษฐบุตร; 2554, กรกฎาคม: 26-27.
- ↑ จิ๊ด เศรษฐบุตร; 2554, กรกฎาคม: 53-54.
- ↑ จิ๊ด เศรษฐบุตร; 2554, กรกฎาคม: 28.
- ↑ TheFreeDictionary's legal dictionary, 2012: Online.
- ↑ Latin-dictionary.org, 2008: Online.
- ↑ 21.0 21.1 21.2 จิ๊ด เศรษฐบุตร; 2554, กรกฎาคม: 33.
- ↑ 22.0 22.1 จิ๊ด เศรษฐบุตร; 2554, กรกฎาคม: 57.
- ↑ 23.0 23.1 จิ๊ด เศรษฐบุตร; 2554, กรกฎาคม: 32.
- ↑ 24.0 24.1 24.2 จิ๊ด เศรษฐบุตร; 2554, กรกฎาคม: 29.
- ↑ ดู ฎ. 928/2521.
- ↑ จิ๊ด เศรษฐบุตร; 2554, กรกฎาคม: 30.
- ↑ ดู ฎ. 473/2519
- ↑ จิ๊ด เศรษฐบุตร; 2554, กรกฎาคม: 31.
- ↑ ดู ฎ. 4968-5050/2543.
- ↑ 30.0 30.1 30.2 จิ๊ด เศรษฐบุตร; 2554, กรกฎาคม: 34.
- ↑ 31.0 31.1 จิ๊ด เศรษฐบุตร; 2554, กรกฎาคม: 35.
- ↑ 32.0 32.1 จิ๊ด เศรษฐบุตร; 2554, กรกฎาคม: 36.
- ↑ 33.0 33.1 33.2 จิ๊ด เศรษฐบุตร; 2554, กรกฎาคม: 37.
- ↑ 34.0 34.1 34.2 34.3 จิ๊ด เศรษฐบุตร; 2554, กรกฎาคม: 38.
- ↑ John Bouvier, 1856: Online.
"Res perit domino. The thing is lost to the owner. This phrase is used to express that when a thing is lost or destroyed, it is lost to the person who was the owner of it at the time. For example, an article is sold; if the seller have perfected the title of the buyer so that it is his, and it be destroyed, it is the buyer's loss; but if, on the contrary, something remains to be done before the title becomes vested in the buyer, then the loss falls on the seller. ..."
- ↑ 36.0 36.1 เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน ม. 243 ว่า
"Section 243 Obligation in kind
"(1) A person who owes a thing defined only by class must supply a thing of average kind and quality.
"(2) If the obligor has done what is necessary on his part to supply such a thing, the obligation is restricted to that thing."
- ↑ เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งญี่ปุ่น ม. 401 ว่า
"Article 401 (Fungible Claim)
"(1) In cases the subject of the claim is specified only with reference to a type and if the quality of such property cannot be identified due to the nature of the juristic act or intention of the relevant party(ies), the obligor must deliver the property of intermediate quality.
"(2) In the case set forth inthe preceding paragraph, if the obligor has completed the acts necessary to deliver the Thing, or has identified the Thing he/she is to deliver with the consent of the obligee, such Thing shall thenceforth constitute the subject of the claim."
- ↑ จิ๊ด เศรษฐบุตร; 2554, กรกฎาคม: 36-37.
- ↑ จิ๊ด เศรษฐบุตร; 2554, กรกฎาคม: 40-41.
- ↑ 40.0 40.1 จิ๊ด เศรษฐบุตร; 2554, กรกฎาคม: 40.
- ↑ 41.0 41.1 41.2 41.3 จิ๊ด เศรษฐบุตร; 2554, กรกฎาคม: 42.
- ↑ 42.0 42.1 42.2 42.3 จิ๊ด เศรษฐบุตร; 2554, กรกฎาคม: 43.
- ↑ จิ๊ด เศรษฐบุตร; 2554, กรกฎาคม: 43-44.
- ↑ 44.0 44.1 จิ๊ด เศรษฐบุตร; 2554, กรกฎาคม: 44.
- ↑ จิ๊ด เศรษฐบุตร; 2554, กรกฎาคม: 45.
- ↑ 46.0 46.1 46.2 46.3 46.4 46.5 จิ๊ด เศรษฐบุตร; 2554, กรกฎาคม: 46.
- ↑ จิ๊ด เศรษฐบุตร; 2554, กรกฎาคม: 45-46.
- ↑ 48.0 48.1 48.2 48.3 จิ๊ด เศรษฐบุตร; 2554, กรกฎาคม: 47.
ขึ้น | บทที่ 2 อำนาจแห่งหนี้ → |