ภาษาไทย/ไวยากรณ์/ภาษาไทยเบื้องต้น/พยัญชนะ
รูปพยัญชนะ
แก้ไขพยัญชนะ หมายถึง ตัวอักษรหรือตัวหนังสือที่ใช้สำหรับแทนเสียงแปร รูปพยัญชนะไทยมี 44 ตัว แต่ละตัวมีชื่อเรียกโดยเฉพาะ ดังนี้
ก ไก่ | ข ไข่ | ฃ ขวด | ค ควาย | ฅ คน | ฆ ระฆัง | ง งู | จ จาน |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ฉ ฉิ่ง | ช ช้าง | ซ โซ่ | ฌ เฌอ | ญ หญิง | ฎ ชฎา | ฏ ปฏัก | ฐ ฐาน |
ฑ มณโฑ | ฒ ผู้เฒ่า | ณ เณร | ด เด็ก | ต เต่า | ถ ถุง | ท ทหาร | ธ ธง |
น หนู | บ ใบไม้ | ป ปลา | ผ ผึ้ง | ฝ ฝา | พ พาน | ฟ ฟัน | ภ สำเภา |
ม ม้า | ย ยักษ์ | ร เรือ | ล ลิง | ว แหวน | ศ ศาลา | ษ ฤๅษี | ส เสือ |
ห หีบ | ฬ จุฬา | อ อ่าง | ฮ นกฮูก |
เสียงพยัญชนะ
แก้ไขพยัญชนะไทยทั้ง 44 ตัว มีเสียงพยัญชนะ 21 เสียง ดังนี้
|
|
|
การใช้พยัญชนะ
แก้ไขพยัญชนะมีหน้าที่เป็นพยัญชนะต้น เช่น น้อง สวย มาก จมูก ตลาด ปรอท และพยัญชนะท้าย เช่น บ้าน หลัง เล็ก
- พยัญชนะต้น เสียงพยัญชนะต้นในคำ ๆ หนึ่ง อาจมีเสียงเดียว หรืออาจมีสองเสียงก็ได้ จึงแบ่งพยัญชนะต้นออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ พยัญชนะเดี่ยว และพยัญชนะคู่ ซึ่งพยัญชนะคู่แบ่งออกเป็น อักษรควบ และอักษรนำ
- พยัญชนะท้าย เป็นพยัญชนะที่อยู่ท้ายพยางค์ ได้แก่ ตัวสะกด และตัวการันต์
นอกจากนี้ พยัญชนะยังทำหน้าที่เป็นอักษรย่อ เช่น กม. พ.ศ. ด.ญ.
อักษรนำ
แก้ไขอักษรนำ คือ การนำพยัญชนะ 2 ตัวมาเรียงกัน แล้วประสมด้วยสระเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงต้องออกเสียงพยัญชนะตัวแรกเป็นเสียง อะ กึ่งมาตรา เช่น
ถนน | อ่านว่า | ถะ - หนน |
ขยาด | อ่านว่า | ขะ – หยาด |
อักษรที่มี อ นำ มี 4 คำ ได้แก่
อย่า | อยู่ | อย่าง | อยาก |
อักษรควบ
แก้ไขอักษรควบ คือ คำที่มีพยัญชนะอื่นควบกับ ร ล ว รวมอยู่ในสระเดียวกัน อักษรควบแบ่งออกเป็น ๒ ชนิดคือ
- อักษรควบแท้ หมายถึง อักษรควบที่ต้องอ่านออกเสียงพยัญชนะ ๒ ตัวพร้อมกัน
กราบกราน | กลับกลาย | เกลื่อนกลาด | ขลาดเขลา | ขวนขวาย | เคว้งคว้าง | คลางแคลง |
- อักษรควบไม่แท้ หมายถึง อักษรควบที่ต้องอ่านออกเสียงพยัญชนะตัวหน้าเพียงตัวเดียว
จริง | ทรง | ทราบ | ทราม | สร้าง | เสริม | สร้อย | ศรี | เศร้า |
ตัวสะกด
แก้ไขพยัญชนะท้ายคำ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตัวสะกด คำในภาษาไทยมีตัวสะกดเพียงเสียงเดียว ถึงแม้คำจะมีพยัญชนะท้ายเรียงกันหลายตัวก็ตาม เช่น จักร ลักษมณ์ ก็กำหนดเสียงเดียวเป็นตัวสะกด นอกนั้นไม่ออกเสียง ตัวสะกดของภาษาไทยมีอยู่ 8 เสียง หรือเรียกว่า มาตราตัวสะกด ได้แก่
- แม่กง มีเสียง ง เป็นตัวสะกด เช่น รัง ดวง บาง
- แม่กน มีเสียง น เป็นตัวสะกด เช่น รวน ลาน คน
- แม่กม มีเสียง ม เป็นตัวสะกด เช่น ผม ชาม เจิม
- แม่เกย มีเสียง ย เป็นตัวสะกด เช่น เฉย วาย สวย
- แม่เกอว มีเสียง ว เป็นตัวสะกด เช่น ยาว หนาว ข้าว
- แม่กก มีเสียง ก เป็นตัวสะกด เช่น รัก มาก โลก
- แม่กด มีเสียง ด เป็นตัวสะกด เช่น ลด มด ทวด
- แม่กบ มีเสียง บ เป็นตัวสะกด เช่น จับ สาบ ชอบ
ตัวสะกดที่มีรูปไม่ตรงกับชื่อของมาตราตัวสะกด เช่น บาท อยู่ในมาตราแม่กด เรียกตัวสะกดนี้ว่า ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ส่วนคำที่ไม่มีตัวสะกด เรียกได้ว่าเป็นคำที่อยู่ใน แม่ ก กา
- ตัวสะกดที่ไม่ตรงตามมาตรา
- เมื่อมี ติ ตุ ต ท ธ ศ ษ ส จ ช ซ ฐ ฎ ฏ ฑ ฒ ฒิ ถ เป็นตัวสะกด เวลาอ่านจะออกเสียงเหมือนมี ด สะกด เช่น
ชาติ อ่านว่า ชาด | ธาตุ อ่านว่า ทาด | จิต อ่านว่า จิด | บาท อ่านว่า บาด |
พุธ อ่านว่า พุด | เพศ อ่านว่า เพด | ชาติ อ่านว่า ชาด | ธาตุ อ่านว่า ทาด |
พิษ อ่านว่า พิด | ทาส อ่านว่า ทาด | อาจ อ่านว่า อาด | พืช อ่านว่า พืด |
ก๊าซ อ่านว่า ก๊าด | รัฐ อ่านว่า รัด | กฎ อ่านว่า กด | ปรากฏ อ่านว่า ปรา - กด |
ครุฑ อ่านว่า ครุด | พุฒ อ่านว่า พุด | วุฒิ อ่านว่า วุด | รถ อ่านว่า รด |
- เมื่อมี ญ ณ ร ล เป็นตัวสะกด เวลาอ่านจะออกเสียงเหมือนมี น สะกด เช่น
บุญ อ่านว่า บุน | คุณ อ่านว่า คุน |
การ อ่านว่า กาน | ศาล อ่านว่า สาน |
- เมื่อมี ป พ ฟ ภ เป็นตัวสะกด เวลาอ่านจะออกเสียงเหมือนมี บ สะกด เช่น
ธูป อ่านว่า ทูบ | ภาพ อ่านว่า พาบ |
เสิร์ฟ อ่านว่า เสิบ | โลภ อ่านว่า โลบ |
- เมื่อมี ข ค ฆ เป็นตัวสะกด เวลาอ่านจะออกเสียงเหมือนมี ก สะกด เช่น
สุข อ่านว่า สุก | ภาค อ่านว่า พาก |
เมฆ อ่านว่า เมก |
ตัวการันต์
แก้ไขตัวการันต์ คือ ตัวอักษรทั้งพยัญชนะและสระที่ไม่อ่านออกเสียงซึ่งมีไม้ทัณฑฆาต (-์) กำกับไว้ข้างบน เช่น
จันทร์ | โทรทัศน์ | กษัตริย์ | รถยนต์ | โรงภาพยนตร์ |
หมายเหตุ -์ เรียกว่า ไม้ทัณฑฆาต ไม่ใช่ตัวการันต์
ตัวการันต์ มีหลักการใช้ดังนี้