ภาษาอังกฤษ/ไวยากรณ์/ประโยค

ประโยค (sentence) เป็นการแสดงความคิดออกมาเป็นถ้อยคำ

หากแบ่งวิธีที่มีการนำเสนอความคิดต่อผู้ฟังหรือผู้อ่าน อาจแบ่งประโยคออกได้เป็น 3 ชนิด

  1. ประโยคบอกเล่า (declarative) เป็นการถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นการแจ้งหรือยืนยัน เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด
  2. ประโยคคำถาม (interrogative) เป็นการถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นคำถาม
  3. ประโยคชี้นำ (imperative) ใช้แสดงคำสั่ง หรือคำขอร้อง

การจำแนกประโยคตามจำนวนข้อความ

แก้ไข

การแบ่งประโยคอีกชนิดหนึ่งคือการแบ่งประโยคตามจำนวนข้อความ (statement) ซึ่งมีประโยชน์มากกว่าในการวิเคราะห์ คือ การแยกประโยคออกเป็นส่วนองค์ประกอบ

ประโยคความเดียว

แก้ไข

ประโยคความเดียว (simple sentence) หมายถึงประโยคที่มีข้อความ คำถามหรือคำสั่งเดียว

ประโยคทุกประโยคต้องประกอบด้วยสองส่วน คือ ประธานและภาคแสดง (predicate)

ภาคแสดงของประโยคคือกริยาหรือวลีกริยาซึ่งกล่าวถึงประธาน

ลองดูตัวอย่างประโยค

(A) But now all is to be changed.
(B) A rare old plant is the ivy green.

เราหาประโยคใน (A) โดยลองวางคำว่า what นำหน้าภาคแสดง What is to be changed? คำตอบคือ all เราจึงกล่าวได้ว่า all เป็นประธานของประโยค ส่วนในประโยค (B) เกิดปัญหาขึ้น What is the ivy green? คำตอบ a rare old plant แต่เราจะเห็นว่าในประโยคนี้มีการประเมิน (ซึ่งเป็นหน้าที่ของภาคแสดง) ไม่ใช่ประเมิน a rare old plant แต่ประเมิน the ivy green เพราะฉะนั้นจึงเป็นประธานของประโยคด้วย

ประโยค (B) เป็นตัวอย่างของประโยคในภาษาอังกฤษอาจมีการเรียงลำดับแบบผกผัน (inversion) ส่วนมากพบในบทกวี

การเรียงลำดับแบบผกผันยังพบในประโยคคำถาม

"When should this scientific education be commenced?" → "This scientific education should be commenced when?"
"What wouldst thou have a good great man obtain?" → "Thou wouldst have a good great man obtain what?"

ประโยคชี้นำมักละประธาน และเวลาคิดความหมายอาจใส่กลับเข้าไป เช่น

"ฺBehold her single in the field." → "You behold her single in the field."

องค์ประกอบ

แก้ไข

ประโยคความเดียวอาจมีองค์ประกอบได้ดังนี้

  1. ประธาน (ต้องมี)
  2. ภาคแสดง (ต้องมี)
  3. กรรม
  4. ส่วนเติมเต็ม (complement)
  5. ส่วนขยาย (modifiers)
  6. องค์ประกอบอิสระ (independent elements)

ประธานและภาคแสดงอธิบายไว้แล้วข้างต้น

กรรม แบ่งได้อีกเป็นสองชนิด

  1. กรรมตรง เป็นคำหรือวลีที่ตอบคำถาม "ใคร" หรือ "อะไร" ที่วางอยู่หลังกริยา หรือเป็นชื่อวัตถุโดยตรงที่เป็นเป้าหมายการกระทำของภาคแสดง
  2. กรรมรอง เป็นนามหรือเทียบเท่านามที่ใช้เป็นตัวขยายกริยาหรือ Verbal เป็นชื่อบุคคลหรือสิ่งที่ได้ประโยชน์จากการกระทำ ตัวอย่างเช่น
I give thee this to wear at the collar. (this เป็นกรรมตรง, thee เป็นกรรมรอง)

ส่วนเติมเต็ม เป็นคำที่เติมเข้ากับกริยาซึ่งมีภาคแสดงไม่สมบูรณ์เพื่อให้ความหมายสมบูรณ์

กริยาที่ภาคแสดงไม่สมบูรณ์มีได้สองชนิด ทั้งสกรรมกริยาและอกรรมกริยา

สกรรมกริยามักต้องการคำ (นอกเหนือจากกรรม) เพื่อนิยามการกระทำอย่างบริบูรณ์ซึ่งมีต่อวัตถุ ตัวอย่างเช่น

"Ye call me chief."
ประโยคนี้ call เป็นกริยา, ส่วน me ไม่ได้เป็นวัตถุของ call อย่างเดียว แต่เป็นวัตถุของ call chief คำว่า me เป็นวัตถุที่สอง แต่เป็นส่วนเติมเต็มแท้

อกรรมกริยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูป be, seem, appear, taste, feel, become ฯลฯ มักต้องการคำเพื่อทำให้ความหมายสมบูรณ์ เช่น

"He was termed Thomas."

สิ่งที่ใช้เป็นประธานได้

แก้ไข
  1. คำนาม
  2. คำสรรพนาม
  3. วลี Infinitive เช่น "To enumerate and analyze these relations is to teach the science of method."
  4. Gerund เช่น "There will be sleeping enough in the grave."
  5. คำคุณศัพท์ที่ใช้เป็นนาม เช่น "The dead are there."
  6. คำวิเศษณ์ เช่น "Then is the moment for the humming bird to secure the insects."

บางกรณีประธานอยู่หลังกริยาได้ ในกรณีต่อไปนี้

  1. การเรียงกลับ (inversion) เช่น "Never, from their lips, was heard one syllable to justify."
  2. ในประโยคคำถาม
  3. หลังเริ่มต้นประโยคด้วย it หรือ there เช่น
    "It ought not to need to print in a reading room a caution not to read aloud."
    (ประโยคนี้จะใช้ to print เป็นประธานก็ได้ แต่เมื่อใช้ it จะเลื่อน to print ไปไว้หลังกริยา)
    "There was a description of the destructive operations of time."

สิ่งที่ใช้เป็นกรรมตรงได้

แก้ไข
  1. คำนาม
  2. คำสรรพนาม
  3. Infinitive เช่น "We like to see everything do its office."
  4. Gerund เช่น "She heard that sobbing of litanies."
  5. คำคุณศัพท์ที่ใช้เป็นคำนาม เช่น "For seventy leagues through the mighty cathedral, I saw the quick and the dead."