ภาษาอังกฤษ/คำศัพท์/วันที่และเวลา
บทนี้ว่าด้วยคำศัพท์เกี่ยวกับวันที่และเวลา (Dates and Times)
วันในสัปดาห์ (Days of the Week)
แก้ไขภาษาอังกฤษ | ภาษาไทย | ||
---|---|---|---|
รูป | ออกเสียง | ||
บริติช | อเมริกัน | ||
Sunday | ซันเด, ซันดิ | วันอาทิตย์ | |
Monday | มันเด, มันดิ | วันจันทร์ | |
Tuesday | ทยูซดิ, -เดย์ | ทูซดิ, ทูซเดย์, ทยูซ- | วันอังคาร |
Wednesday | เวนซ์เดย์, เวนซ์ดิ, เวดนซ์- | เวนซ์เดย์, เวนซ์ดิ | วันพุธ |
Thursday | เธิร์สเดย์, เธิร์สดิ[lower-alpha 1] | วันพฤหัสบดี | |
Friday | ฟรายเดย์, ฟรายดิ | วันศุกร์ | |
Saturday | แซ(ะ)ทะเดย์, -ดิ | แซ(ะ)เทอร์เดย์, -ดิ | วันเสาร์ |
Sunday | ซันเด, ซันดิ | วันเสาร์ |
เดือน (Months)
แก้ไขภาษาอังกฤษ | ภาษาไทย | ||
---|---|---|---|
รูป | ออกเสียง | ||
บริติช | อเมริกัน | ||
January | จแยนยะริ, จแยนยุอะริ[lower-alpha 2] (หรือเหมือนอเมริกัน) | จแยนยูเอะริ, จแยนยูแอะริ[lower-alpha 2] | เดือนมกราคม |
February | เฟบ-รูเอะริ, เฟบยะริ, เฟบยุเอะริ, เฟบยะริ, เฟบริ | เฟบ-รูเอะริ, เฟบยูเอ(อะ)ริ | เดือนกุมภาพันธ์ |
March | มาช[lower-alpha 3] | มาร์ช[lower-alpha 3] | เดือนมีนาคม |
April | เอพริล | อาพริล, ออพริล | เดือนเมษายน |
May | เมย์ | เดือนพฤษภาคม | |
June | จยูน, จย-ยูน[lower-alpha 2] | เดือนมิถุนายน | |
July | จยูลาย, จยะลาย[lower-alpha 2] | เดือนกรกฎาคม | |
August | ออกัสต์ | ออกัสต์, อะกัสต์ | เดือนสิงหาคม |
September | เซพเทมบะ, ซัพ- | เซพเทมบะร์ | เดือนกันยายน |
October | ออคโทบะ | ออคโทบะร์, ออคโทเบอร์ | เดือนตุลาคม |
November | โน-ฟเวมบะ, นะ-ฟเวมบะ[lower-alpha 4] | โน-ฟเวมบะร์[lower-alpha 4] | เดือนพฤศจิกายน |
December | ดิเซมบะ | ดิเซมบะร์ | เดือนธันวาคม |
ปี
แก้ไขการบอกปีให้แบ่งเลขออกเป็นสองชุด ชุดแรกประกอบด้วยเลขสองตัวหน้า และอีกชุดประกอบด้วยอีกสองตัวที่เหลือ เช่น
- 2020 Twenty twenty หรือ two thousand twenty
- 1969 Nineteen sixty-nine
การถามและตอบวันที่
แก้ไขภาษาอังกฤษ | ภาษาไทย | ||
---|---|---|---|
รูป | ออกเสียง | ||
บริติช | อเมริกัน | ||
What day is (it) today? | วอต เดย์ อีซ (อิต) ทะเดย์ | ทะเดย์ หรือ ทุเดย์ ก็ได้ | วันนี้วันอะไร, วันที่เท่าไหร่ |
Today is ... | ทะเดย์ อีซ ... | วันนี้วันที่ ... | |
It is ... today. | อิต อีซ ... ทะเดย์ |
คำตอบ ตอนเป็นวันที่ เดือน ปี และอาจใส่วันในสัปดาห์ด้วย เช่น Today is Sunday, the seventh of June, two thousand twenty.
การเขียนวันเดือนปี อาจมีสองวิธี
- แบบบริติช เช่น 6 June 2020
- แบบอเมริกัน เช่น June 6, 2020 [เรียงเดือนขึ้นก่อนวัน แล้วตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) แล้วตามด้วยปี]
เวลาและช่วงของวัน
แก้ไขภาษาอังกฤษ | ภาษาไทย | ||
---|---|---|---|
รูป | ออกเสียง | ||
บริติช | อเมริกัน | ||
morning | มอร์นิง | เวลาเช้า (หรืออาจหมายถึงเวลาตั้งแต่เที่ยงคืนถึงเที่ยงวัน) | |
noon | นุน | เที่ยงวัน | |
afternoon | อาฟตะนุน | แอ็ฟตะนุน | เวลาบ่าย |
evening | อีฟนิง | อิฟนิง | เวลาเย็น (แต่สำหรับการบอกเวลาอาจใช้ได้ถึงเที่ยงคืน) |
night | นายต์ | เวลากลางคืน | |
o'clock | อะคลอค, โอ-คลอค | ในบริบทการบอกเวลา ใช้บอกเวลาเป็นชั่วโมงหรือนาฬิกา |
การถามและบอกเวลา
แก้ไขภาษาอังกฤษ | ภาษาไทย | ||
---|---|---|---|
รูป | ออกเสียง | ||
บริติช | อเมริกัน | ||
What time is it? | วอต ทาย-อึม อีซ อิต | เวลากี่โมงแล้ว, เท่าไหร่แล้ว | |
What is (What's) the time? | วอต อีซ (วอตส์) เธอะ ทาย-อึม[lower-alpha 5] |
คำตอบบอกเวลาอาจตอบว่า It's ... เช่น
- It's eight o' clock.
อาจขยายความต่อว่าเป็นแปดโมงเช้า (เพื่อแยกกับเวลาสองทุ่ม)
- It's eight o' clock in the morning. เวลา 8 โมงเช้า
การบอกเวลาอาจบอกได้เป็นเลขชั่วโมงกับนาทีได้เลย หรืออาจบอกเวลาคล้ายแบบหน้าปัดซึ่งระบุว่าผ่าน 1 ชั่วโมงมากี่นาทีแล้ว หรืออีกกี่นาทีจะครบ 1 ชั่วโมงถัดไป ตัวอย่าง
เวลา | ชั่วโมง-นาที | แบบหน้าปัด |
---|---|---|
08:15 | Eight fifteen | Fifteen past eight หรือ a quarter past eight |
08:30 | Eight thirty | Thirty past eight หรือ half past eight |
08:45 | Eight forty-five | A quarter to nine หรือ fifteen to nine |
08:55 | Eight fifty-five | Five to nine |
สังเกตว่าเมื่อผ่านครึ่งชั่วโมงไป การบอกเวลาแบบหน้าปัดจะเปลี่ยนจาก past (พ้น, เลย) มาเป็น to (ถึง) แทน และจะบอกเวลาโดยบอกจำนวนนาทีที่เหลือก่อนถึงชั่วโมงถัดไป สำหรับคำว่า quarter (หนึ่งในสี่) หรือ half (ครึ่ง) เกิดขึ้นจากการแบ่งนาฬิกาออกเป็นสี่ส่วนเท่ากัน เมื่อเวลาผ่านไป 15 นาทีหรือ 30 นาทีจึงใช้คำดังกล่าวได้ตามลำดับ
เชิงอรรถ
แก้ไข- ↑ /θ/ เป็นหน่วยเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย ดูที่ บทว่าด้วยการออกเสียงก่อนหน้านี้ ส่วนในที่นี้จะใช้ ธ แทน
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 /dʒ/ เป็นหน่วยเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย ดูที่ บทว่าด้วยการออกเสียงก่อนหน้านี้ ส่วนในที่นี้จะใช้จวบกล้ำ จย แทน
- ↑ 3.0 3.1 /tʃ/ ออกเสียงแบบ ช ลากยาว ดูที่ บทว่าด้วยการออกเสียงก่อนหน้านี้
- ↑ 4.0 4.1 /v/ เป็นหน่วยเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย ดูที่ บทว่าด้วยการออกเสียงก่อนหน้านี้ ส่วนในที่นี้จะใช้ควบกล้ำ ฟว แทน
- ↑ /ð/ เป็นหน่วยเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย ดูที่ บทว่าด้วยการออกเสียงก่อนหน้านี้ ส่วนในที่นี้จะใช้ ธ แทน