ความรู้เรื่องประชากรและชุมชนเมือง

(เปลี่ยนทางจาก ชุมชน)

ปกติจะเรียกกลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่อยู่ร่วมกันว่าเป็นสังคม แต่ความจริงแล้วมีคำที่ใช้เรียกกลุ่มคนหลายแบบหลายประเภทด้วยกัน เช่น ครอบครัว ละแวกบ้าน หมู่บ้าน ชุมชน เมือง องค์กร พรรค สมาคม เป็นต้น ก่อนที่จะอธิบายความหมายของคำว่า ชุมชน เมือง และความเป็นเมือง จะอธิบายให้เห็นความแตกต่างของกลุ่มคนสองประเภทก่อน คือ สังคมกับชุมชน

ราชบัณฑิตยสถาน (2524 : 371) อธิบายว่า สังคม (Society) คือ คนจำนวนหนึ่งที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันตามระเบียบ กฎเกณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญร่วมกัน

ส่วนคำว่า ชุมชน (Community) พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา (ราชบัณฑิตยสถาน 2524: 72) ได้ให้ความหมายไว้ 3 แนวดังนี้ คือ

1.กลุ่มย่อยที่มีลักษณะหลายประการเหมือนกับลักษณะสังคมแต่มีขนาดเล็กกว่า และมีความสนใจร่วมที่ประสานกันในวงแคบกว่า

2.เขตพื้นที่ ระดับของความคุ้นเคย และการติดต่อระหว่างบุคคล ตลอดจนพื้นฐานความยึดเหนี่ยวเฉพาะบางอย่างที่ทำให้ชุมชนต่างไปจากกลุ่มเพื่อนบ้าน ชุมชนมีลักษณะทางเศรษฐกิจเป็นแบบเลี้ยงตนเองที่จำกัดมากกว่าสังคม แต่ภายในวงจำกัดเหล่านั้นย่อมมีการสังสรรค์ใกล้ชิดกว่า และมีความเห็นอกเห็นใจลึกซึ้งกว่า อาจมีสิ่งเฉพาะบางประการที่ผูกพันเอกภาพ เช่น เชื้อชาติ ต้นกำเนิดเดิมของชาติหรือศาสนา

3.ความรู้สึกและทัศนคติทั้งมวลที่ผูกพันปัจเจกบุคคลให้รวมเข้าเป็นกลุ่มจากความหมายดังกล่าวมีความสอดคล้องกับ เดนนี่ส์ อี. บ็อปลิน (Dennies E. Poplin

1979 : 3) ที่กล่าวว่า ชุมชน เป็นคำที่ใช้เกี่ยวกับ การรวมตัวกันของหน่วยสังคมและที่อยู่อาศัย ที่ขึ้นอยู่กับขนาดของกลุ่ม โดยใช้คำเรียกที่แตกต่างกันออกไป เช่น ละแวกบ้าน หมู่บ้าน เมือง นคร และมหานคร

จากความหมายดังกล่าว จะเห็นว่าสังคมกับชุมชนมีความแตกต่างกันในด้านขนาดของกลุ่มคนมากกว่าด้านอื่น ๆ แต่บางครั้งมีการใช้คำว่า ชุมชนนำหน้าชื่อของกลุ่มคนเพื่อบงบอกถึงคุณลักษณะต่าง ๆ ของกลุ่มดังนี้

-บอกพื้นที่ เช่น ชุมชนหนองมน

-บอกเชื้อชาติ เช่น ชุมชนจีน

-บอกศาสนา เช่น ชุมชนมุสลิม

-บอกอาชีพ เช่น ชุมชนชาวประมง

ส่วนกลุ่มคนขนาดใหญ่ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ หรือ การกล่าวถึงกลุ่มคนต่าง ๆ โดยทั่วไปเราจะใช้คำว่า สังคม นำหน้า เช่น สังคมไทย สังคมชนบท สังคมเมือง เป็นต้น

หน้า

แก้ไข