ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐศาสตร์/อำนาจอธิปไตย

ความหมาย

แก้ไข

                        อำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ(รัฐ) ทำให้รัฐมีอำนาจในการดำเนินกิจการภายในรัฐ และกิจการระหว่างประเทศได้อย่างเต็มที่ ทำให้รัฐมีอำนาจบังคับและทำให้รัฐสามารถใช้กำลังเพื่อให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายข้อบังคับที่รัฐกำหนดขึ้น อำนาจอธิปไตย จึงแสดงออก (Manifesto) มาทางรัฐบาล โดยทั่วไปแล้วรัฐบาลได้แยกอำนาจอธิปไตยตามลักษณะหน้าที่ออกเป็น 3 ส่วน คือ

                        1. อำนาจนิติบัญญัติ คือ อำนาจในการออกกฎหมาย รัฐสภา (ส.ส.และ ส.ว.) ทำหน้าที่แทนปวงชนในการออกกฎหมาย เพื่อรักษาความสงบภายในและนำมาซึ่งความกินดีอยู่ดีและความมั่นคงของรัฐ

                        2. อำนาจบริหาร คือ อำนาจซึ่งคณะรัฐมนตรี และข้าราชการทั้งหลายใช้ในการบริหารปกครองประเทศตามกฎหมายซึ่งฝ่ายนิติบัญญัติได้ตราออกมา

                        3. อำนาจตุลาการ คือ อำนาจศาล มีอำนาจตัดสินคดี ข้อขัดแย้งต่าง ๆ ระหว่างบุคคลกับบุคคลหรือบุคคลกับรัฐตามกฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติตราออกมา

ข้อจำกัดการใช้อำนาจอธิปไตย

แก้ไข

                        ในทางทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุดเด็ดขาดและไม่มีข้อจำกัดการใช้ก็จริง แต่ในทางปฏิบัติมีข้อจำกัด

                        1. จำกัดโดยขนบประเพณีและศีลธรรม

                        2. จำกัดโดยกฎหมายรัฐธรรมนูญ

                        3. จำกัดโดยสนธิสัญญาหรือกฎหมายระหว่างประเทศ                        

การควบคุมรัฐ ไม่มีรัฐใดในโลกที่มีเอกราชสมบูรณ์ จะถูกควบคุมไม่มากก็น้อย โดยวิธีการใดวิธีการหนึ่งดังต่อไปนี้

                        1. Capitulation สิทธิสภาพนอกอาณาเขต

                        2. Colonies อาณานิคม

                        3. Satellite ประเทศบริวาร

                        4. Deterrence นโยบายป้องปราบ

                        5. Good Will/ Popularity การแสวงหาคะแนนนิยม

วิวัฒนาการของความคิดเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตย

แก้ไข

                        - Aristotle ว่าในรัฐรัฐหนึ่งต้องมีอำนาจสูงสุด

                        - นักกฎหมายโรมัน นักรัฐศาสตร์สมัยกลางว่าในรัฐรัฐหนึ่งจะต้องมีอำนาจสูงสุด

                        - นักปราชญ์ในยุคแรก ๆ มีความเห็นว่า อำนาจสูงสุดเป็นของปวงชน แต่ไม่กล้าแสดงออกเพราะกลัวกษัตริย์กับพระ

                        - ผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ในยุคแรก เชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก และเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย

                        - พระเจ้ามอบให้สันตะปาปาเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย

                        - ต่อมามีอำนาจสามารถดึงอำนาจจากสันตะปาปา จึงเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย

                        - “อำนาจอธิปไตย” ใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1516 โดยนักรัฐศาสตร์ชื่อ Bodin ชาวฝรั่งเศส เป็นผุ้พยายามเพิ่มอำนาจให้กษัตริย์ และลดอำนาจของ Pope

                        - ศ.16-17 Thomas Hobbes ชาวอังกฤษ เป็นผู้สนับสนุนพระเจ้าชาร์ลที่ 1 Hobbes อ้างว่า การใช้อำนาจอธิปไตยนี้ไม่ต้องอยู่ใต้กฎเกณฑ์ ข้อบังคับใด ๆ และกษัตริย์เป็นผู้ใช้เจตนารมณ์ของพระองค์ในการปกครองประเทศนั้น เท่ากับเป็นการใช้อำนาจอธิปไตยซึ่งไม่จำเป็นต้องอยู่ใต้ผู้ใด

                        - Locke ว่าไม่ควรอยู่กับกษัตริย์ แต่ควรอยู่กับผู้แทนของปวงชน

                        - Rousseau ว่าอำนาจอธิปไตยอยู่ที่เจตนารมณ์ของปวงชน

อำนาจอธิปไตยในปัจจุบัน

แก้ไข

                        - ในประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย ถือว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน

                        - ในประเทศที่มีการปกครองแบบเผด็จการ ถือว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของผู้เผด็จการ ผู้เผด็จการจะใช้อำนาจอธิปไตยนี้ไปในทางใด ๆ ก็ได้

ลักษณะสำคัญของอำนาจอธิปไตย

แก้ไข

            1. มีความสมบูรณ์ (Absoluteness) คือ จะไม่มีอำนาจอื่นภายในรัฐเหนือกว่าและจะไม่มีอำนาจอื่นที่มาจำกัดอำนาจการออกกฎหมายของรัฐ

            2. มีลักษณะเป็นการทั่วไป (Universality) อำนาจอธิปไตยของรัฐที่มีอยู่เหนือคนทุกคน และทุกองค์การที่อยู่ภายในรัฐ ใช้ได้เป็นการทั่วไป ยกเว้นผู้แทนทางการฑูต

            3. มีความถาวร (Permanence) อำนาจอธิปไตยของรัฐยังคงมีอยู่ตราบเท่าที่รัฐยังมีชีวิตอยู่ ผู้ใช้อำนาจอธิปไตยอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลา เมื่อรัฐถูกทำลายเท่านั้น อธิปไตยจึงจะสูญสลายไปจากรัฐ

            4. แบ่งแยกมิได้ (Indivisibility) ในรัฐหนึ่ง ๆ จะต้องมีอธิปไตยเพียงหน่วยเดียวเท่านั้น ถ้ามีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยก็เท่ากับเป็นการทำลายอำนาจอธิปไตย


ประเภทของอำนาจอธิปไตย

แก้ไข

                        นักวิชาการแบ่งประเภทของอำนาจอธิปไตยเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้

                        1. อำนาจอธิปไตยทางกฎหมาย (Legal Sovereignty) คือ อำนาจสูงสุดในการออกกฎหมายและอำนาจที่จะแสดงออกในรูปของกฎหมาย ซึ่งเป็นบทบัญญัติสูงสุดของรัฐ

                        2. อำนาจอธิปไตยทางการเมือง (Political Sovereignty) คือ ความเห็นหรือเจตนารมย์ของประชาชนที่จะแสดงออกในฐานะผู้ใช้อำนาจอธิปไตยทางการเมือง เช่น การเลือกตั้ง ส.ส. , ส.ว. การออกกฎหมาย

                        3. อำนาจอธิปไตยโดยนิตินัย (De Jure Sovereignty) คือ อำนาจอธิปไตยตามกฎหมาย อำนาจอธิปไตยจะตกอยู่กับรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมาย คือ รัฐบาลที่เกิดตามวิถีทางการเมือง หรือการได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชน

                        4. อำนาจอธิปไตยโดยพฤตินัย (De Facto Sovereignty) คือ อำนาจอธิปไตยที่ตกอยู่กับรัฐบาลที่ทำการปฏิวัติรัฐประหารซึ่งผิดกฎหมายที่มีอยู่ แต่เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดอันเกิดจากการปฏิวัติรัฐประหาร

                        5. อำนาจอธิปไตยภายใน (Internal Sovereignty) คือ อำนาจอธิปไตยซึ่งรัฐบาลสามารถใช้ในการปกครองประเทศได้อย่างเต็มที่ โดยปราศจากการควบคุมจากผู้อื่น

                        6. อำนาจอธิปไตยภายนอก (External Sovereignty) คือ ความเป็นเอกราชของรัฐ ในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้อย่างเต็มที่ โดยปราศจากการควบคุมจากผู้อื่น

                        7. อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (Popular Sovereignty) ประชาชนสามารถแสดงออกโดยการเลือกตั้ง การแสดงมติมหาชน การตัดสินปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง

เจ้าของอำนาจอธิปไตย

แก้ไข

                        1. กษัตริย์เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ศ.16 นักปราชญ์เชื่อว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของกษัตริย์ เพราะกษัตริย์ เพราะกษัตริย์เป็นผู้สถาปนาเอกราชให้รัฐ ทรงเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ

                        2. ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ศ.16-17 นักปราชญ์สนับสนุนให้มีการยอมรับอำนาจอธิปไตยของปวงชน

                        - Popular Sovereignty อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ซึ่งเป็นรากฐานการปกครองแบบประชาธิปไตย

                        3. อำนาจที่บัญญัติรัฐธรรมนูญเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย กล่าวคือรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีอำนาจเขียนรัฐธรรมนูญจึงมีลักษณะผู้มีอำนาจสูงสุด

                        4. องค์การนิติบัญญัติเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ทฤษฎีนี้เชื่อว่าองค์การนิติบัญญัติมีหน้าที่ออกกฎหมายมาใช้ในการปกครองรัฐ ได้รับส่วนแบ่งในการใช้อำนาจอธิปไตยมากกว่าองค์การอื่น คือฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการ เพราะฉะนั้น ทฤษฎีนี้จึงเชื่อว่าองค์การนิติบัญญัติเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย

การแสดงออกซึ่งอำนาจอธิปไตยของปวงชน

แก้ไข

                        ปวงชนสามารถแสดงออกซึ่งอำนาจอธิปไตยได้ดังต่อไปนี้

                        1. การออกเสียงเลือกตั้ง (Election) เป็นการแสดงออกเลือกรัฐบาล การเลือกตั้งจะต้องยุติธรรม โดยยึดหลัก One Man, Ona Vote

                        2. การออกเสียงประชามติ (Referendum) เป็นการใช้ประชาชนแสดงออกซึ่งเจตนารมณ์ของปวงชนในการตัดสินปัญหาที่สำคัญ ๆ เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ การรวมรัฐ เป็นต้น

                        3. ประชาพินิจ (Plebiscite) วิธีการให้ประชาชนตัดสินปัญหาต่าง ๆ เมื่อรัฐบาลไม่สามารถตัดสินปัญหาได้มักจะเป็นเรื่องของเทศบาล สุขาภิบาล หรือเรื่องของท้องถิ่น

                        4. ปวงชนมีสิทธิเสนอร่างกฎหมาย (Initiative) ปกติการออกกฎหมายเป็นหน้าที่ของรับสภา แต่บางประเทศ เช่น ไทย สวิส สหรัฐอเมริกา ประชาชนมีสิทธิเสนอร่างกฎหมายได้

                        5. การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ (Recall) เป็นวิธีการให้ประชาชนเปลี่ยนผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ได้โดยเฉพาะตำแหน่งที่ได้มาโดยการเลือกตั้ง

                        6. การแสดงประชามติ (Public Opinion) เป็นมติมหาชนที่แสดงออกโดยไม่ใช่เป็นการออกเสียง เป็นปฏิกิริยาที่แสดงความพอใจหรือไม่พอใจของประชาชนที่มีต่อการกระทำบางอย่างของรัฐบาล

                        7. การประชาพิจารณ์ (Public Hearing) รัฐจะทำโครงการใหญ่ที่มีผลกระทบถึงสาธารณะต้องให้ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้แสดงความเห็นและประชาพิจารณ์

                        8. การระงับยับยั้งการออกกฎหมายหรือโครงการของรัฐ (Veto)

ดูเพิ่ม

แก้ไข