ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐศาสตร์/รูปแบบการปกครอง

1. การปกครองแบบคนเดียว เป็นการปกครองที่คน ๆ เดียวมีอำนาจสูงสุด เช่น กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช

            2. การปกครองแบบคนกลุ่มน้อย เป็นการปกครองที่ประกอบด้วยคนกลุ่มเดียวที่ได้อำนาจมาด้วยการปฏิวัติรัฐประหาร และทำหน้าที่เป็นรัฐบาล ผูกขาดอำนาจแต่เพียงคนกลุ่มเดียว เช่น การปกครองแบบคณาธิปไตย อภิชนาธิปไตย คอมมิวนิสต์

            3. การปกครองแบบกลุ่มคนจำนวนมาก เป็นการปกครองที่คนกลุ่มใหญ่มีส่วนร่วมในทางการเมือง เช่น การปกครองในระบบประชาธิปไตย

การปกครองในระบอบเผด็จการ แก้ไข

                        การปกครองแบบเผด็จการอำนาจนิยม คือ การปกครองแบบเผด็จการที่ยึดหลักว่าอำนาจทั้งหลายทั้งปวงในรัฐจะต้องรวมอยู่ในมือของคนกลุ่มน้อยหรือคนกลุ่มเดียวซึ่งมีการรวมอำนาจ เช่น การรวมอำนาจด้วยวิธีการปฏิวัติรัฐประหาร ผู้ที่ยึดอำนาจรัฐได้จะเป็นรัฐบาลโดยที่รัฐบาลไม่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ใดโดยเฉพาะไม่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชน เพราะเป็นฐานอำนาจมิได้มาจากประชาชน

การปกครองแบบเผด็จการอำนาจนิยม ได้แก่ แก้ไข

อัตตาธิปไตย (Authocracy) หรือการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช กษัตริย์ทรงไว้ซึ่งอำนาจในการปกครองโดยไม่มีขอบเขตจำกัด เช่น จักรพรรดิซีซาร์ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เป็นต้น

คณาธิปไตย (Oligarchy) เป็นการปกครองแบบเผด็จการที่ประกอบด้วยคนกลุ่มเดียว (ไม่ใช่ระบบเผด็จการโดยคน ๆ เดียว) คนกลุ่มนี้จะเป็นผู้มีอำนาจในการปกครองประเทศอย่างแท้จริง อำนาจการปกครองประเทศอย่างแท้จริง อำนาจการปกครองถูกผูกขาดโดยคนกลุ่มเดียว เช่น คณะปฏิวัติ                        

อภิชนาธิปไตย (Aristocracy) เป็นการปกครองโดยชนกลุ่มน้อย ซึ่งตามปกติมักจะเป็นผู้มีตำแหน่งสูงในทางราชการ เช่น พวกขุนนาง หรือมิฉะนั้นก็เป็นผู้มีอำนาจในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ในอดีตบางประเทศ กลุ่มขุนนาง หรือกลุ่มอภิสิทธิ์ชน มีอำนาจเหล่านี้ จะเข้าปกครองประเทศซึ่งผลที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดรูปรัฐบาลเผด็จการ                        

การปกครองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ            เป็นระบบเผด็จการที่มีการรวมอำนาจ เช่น การปฏิวัติรัฐประหาร ผู้ยึดอำนาจได้จะเป็นรัฐบาล และไม่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชน โดยถือว่ากิจการทุกอย่างของประชาชน รวมทั้งวิถีดำรงชีวิตทั้งปวงของประชาชนไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคม หรือการเมือง จะต้องตกอยู่ในอำนาจของรัฐบาลแต่ผู้เดียว

การปกครองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ ได้แก่ แก้ไข

ฟาสซิส (Fascism) เป็นการปกครองแบบเผด็จการที่ประชาชนถูกจำกัดสิทธิและถูกบังคับ โดยมีความเชื่อว่า คนเกิดมาเพื่อรัฐ และจะต้องรับใช้รัฐตลอดไป รัฐที่เข้มแข็งกว่าย่อมได้สิทธิในการปกครองผู้ที่อ่อนแอกว่าต้องสละสิทธิดังกล่าว การปกครองโดยคนกลุ่มน้อย หรือคน ๆ เดียวเป็นการปกครองที่ดีที่สุด เพราะมีประสิทธิภาพช่วยช่วยให้ประเทศชาติเจริญอย่างรวดเร็ว และถือว่ารัฐเป็นเสมือนสิ่งที่มีชีวิต ย่อมต้องเจริญเติบโตอยู่ตลอดเวลา เหมือนรัฐจะต้องเจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้งมีการขยายดินแดน เพราะฉะนั้น สงครามจึงเป็นสิ่งที่ชอบธรรม เช่น รัฐบาลภายใต้พรรคฟาสซิสของมุสโสลินี

                        ปัจจุบันผู้ที่นิยม ทหารนิยม ชาตินิยม เชื้อชาตินิยม หรือจักรวรรดินิยม ก็อาจเรียกได้ว่าเป็นพวกฟาสซิส

                        ฉะนั้นพวกนาซีและฟาสซิสจึงมีวัตถุประสงค์ที่จะขยายดินแดน ขยายการควบคุมเข้าไปในส่วนต่าง ๆ ในโลก เพราะถือว่าเป็นสัญญลักษณ์ของความยิ่งใหญ่ของชาติตน โดยถือว่าการครอบครองชาติอื่นเป็นคุณธรรม เพราะยิ่งครอบครองชาติอื่นได้มากขึ้นเท่าใด ชาติของตนก็จะมีฐานะเด่นมากขึ้นเท่านั้น                        

คอมมิวนิสต์ (Communism) เป็นลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ คิดขึ้นโดย คาร์ลมาร์กซ์ และเองเกลส์ ซึ่งต้องการให้มีรัฐบาลกลางภายใต้พรรคคอมมิวนิสต์มีอำนาจ เพื่อควบคุมการเมืองและเศรษฐกิจของชาติ โดยขจัดพวกที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือการผลิต ต้องการให้มีการปฏิวัติและทำลายล้างระบบการเมืองอื่น ๆ ผู้ปกครองประเทศจะต้องเป็นคอมมิวนิสต์พวกเดียวเท่านั้น ประชาชนอื่นไม่มีสิทธิ พวกคอมมิวนิสต์ถือว่าตนมีอำนาจปกครองเพราะอ้างว่าเป็นตัวแทนของชนชั้นกรรมาชีพ


เปรียบเทียบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
แก้ไข

การปกครองแบบรัฐสภา แก้ไข

                        1. ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย

                        2. ประชาชนเป็นผู้เลือกสมาชิกรัฐสภา

                        3. สภาสามัญเลือกคณะรัฐบาล

                        4. คณะรัฐบาลมาจากพรรคที่มีเสียงข้างมากในสภาสามัญ

                        5. นายกรับมนตรีและรัฐมนตรีส่วนมากต้องมาจากสภาสามัญ

                       6. คณะรัฐบาลอยู่ในตำแหน่งได้นานตราบเท่าที่สภาสามัญไว้วางใจ

                        7. พรรคที่มีเสียงข้างมากในสภาสามัญทำหน้าที่เป็นรัฐบาล ส่วนพรรคที่มีเสียงข้างน้อยทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้าน

                        8. ทุกครั้งที่มีการประชุมสภาสามัญ คณะรัฐมนตรีต้องไปร่วมประชุมด้วยและมีหน้าที่ตอบกระทู้ถามของสมาชิกสภา

                        9. ผู้มีสิทธิเสนอร่างกฎหมาย คือ สมาชิกสภาสามัญและสมาชิกสภาขุนนางกับคณะรัฐมนตรี

                        10. คณะรัฐมนตรีมีอำนาจยุบสภาสามัญได้ เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่

การปกครองแบบประธานาธิบดี แก้ไข

                        1. อำนาจสูงสุดหรืออำนาจการปกครองเป็นของประชาชน

                        2. ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง และเลือกตั้งสมาชิกสภาคองเกรสโดยตรง

                        3. ประธานาธิบดีและสภาคองเกรสมีระยะเวลาอยู่ในตำแหน่งแน่นอนและมั่นคง ต่างเป็นอิสระต่างหากจากกัน ไม่ขึ้นต่อกันและกัน และถอดถอนกันไม่ได้

                        4. ประธานาธิบดีเป็นผู้ใช้อำนาจบริหารและเป็นประมุขของรัฐ

                        5. เมื่อประธานาธิบดีถึงแก่อสัญกรรมหรือลาออกหรือไร้สมรรถภาพ รองประธานาธิบดีเข้าดำรงตำแหน่งแทน

                        6. สมาชิกสภาจะเป็นรัฐมนตรีไม่ได้

                        7. ประธานาธิบดีจะเข้าร่วมประชุมสภาในสภาหนึ่งหรือประชุมร่วมกันมิได้ สมาชิกจะตั้งกระทู้ถามประธานาธิบดีหรือรัฐมนตรีไม่ได้

                        8. ประธานาธิบดีไม่มีสิทธิเสนอร่างกฎหมาย

                        9. ร่างกฎหมายจะต้องผ่านการพิจารณาของทั้ง 2 สภา

                        10. ร่างกฎหมายอาจเป็นโมฆะได้ ถ้าขัดกับรัฐธรรมนูญ

                        11. ประธานาธิบดีและคณะรัฐมนตรีอาจสังกัดพรรคหนึ่งและเสียงข้างมาก ในสภาคองเกรสอาจเป็นของอีกพรรคหนึ่งก็ได้

การปกครองกึ่งผสมแบบรัฐสภากับแบบประธานาธิบดี แก้ไข

                        1. ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย

                        2. ประชาชนเป็นผู้เลือกประธานาธิบดีโดยตรง และเลือกสมาชิกสภาได้โดยตรง

3. ประธานาธิบดีมีอำนาจแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี และเสนอให้สภาให้ความไว้วางใจ

                        4. ส.ส. เป็นรัฐมนตรีไม่ได้

                        5. คณะรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งได้นานตราบเท่าที่สภาให้ความไว้วางใจ

                        6. พรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภาทำหน้าที่สนับสนุนรัฐบาล ส่วนพรรคเสียงข้างน้อยทำหน้าที่ฝ่ายค้าน

                        7. ทุกครั้งมีสภามีการประชุม คณะรัฐมนตรีต้องไปร่วมประชุมเพื่อตอบกระทู้ถาม

                        8. คณะรัฐมนตรีกับสมาชิกสภามีสิทธิเสนอร่างกฎหมาย

                        9. ประธานาธิบดีมีอำนาจพิเศษหรืออำนาจฉุกเฉิน ซึ่งจะทำให้ประธานาธิบดีมีอำนาจ ใช้อำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจตุลาการ ได้เมื่อมีเหตุการณ์อันกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของชาติ

เปรียบเทียบการปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์กับประชาธิปไตย แก้ไข

                        ป. อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน

                        ค. อำนาจอธิปไตยเป็นของชนชั้นกรรมาชีพ

                        ป. ประชาชนเป็นผู้ใช้อำนาจสูงสุดในการเลือกรัฐบาล

                        ค. รัฐบาลเลือกมาจากพรรคคอมมิวนิสต์

                        ป. รัฐบาลโดยเสียงข้างมาก

                        ค. รัฐบาลโดยพรรค

                        ป. ประชาชนมีสิทธิขั้นมูลฐาน

                        ค. ประชาชนต้องปฏิบัติตามแนวของรัฐบาล

                        ป. คือหลักการแบ่งแยกอำนาจ

                        ค. คือหลักประชาธิปไตยรวมศูนย์

                        ป. มีการแข่งขันกันระหว่างกลุ่มผลประโยชน์

                        ค. แข่งขันกันภายในพรรค

                        ป. ยึดหลักกฎหมาย

                        ค. ถือนโยบายของพรรคเป็นสำคัญ

ดูเพิ่ม แก้ไข