ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐศาสตร์/รัฐ

ความหมาย แก้ไข

                        รัฐ คือ สมาคมของมนุษย์จำนวนหนึ่งครอบครองดินแดนแห่งหนึ่งที่มีอาณาเขตแน่นอน รวมกันอยู่ภายใต้รัฐบาลหนึ่ง ถ้าเป็นกิจการภายในเป็นองค์การแสดงออกซึ่งอธิปไตย แต่ถ้าเป็นกิจการภายนอกเป็นอิสระจากการบังคับบัญชาของรัฐบาลอื่น

องค์ประกอบของรัฐ

                        ประกอบด้วยลักษณะสำคัญ 4 ประการ

                        1. มีประชาชนจำนวนหนึ่งอาศัยอยู่

  •                         จำนวน
  •                         คุณภาพประชากร
  •                         พลเมือง-คนต่างด้าว-ผู้อพยพ

                                    2. มีดินแดนที่มีอาณาเขตแน่นอน

  •                                     รัฐจะไม่เกิดขึ้นถ้าไม่มีอาณาเขตแน่นอน
  •                                     ขนาดของแผ่นดิน - พื้นน้ำ
  •                                                                       พื้นดิน
  •                                                                       พื้นอากาศ

                        3. มีรัฐบาล หมายถึงองค์การและคณะบุคคลที่ใช้อำนาจในการปกครองประเทศอย่างเป็นอิสระไม่ขึ้นกับรัฐบาลของรัฐอื่นใด ประกอบด้วย

  •                                     ฝ่ายนิติบัญญัติ
  •                                     ฝ่ายบริหาร
  •                                     ฝ่ายตุลาการ

                        4. มีอำนาจอธิปไตย หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ เมื่อรัฐมีอำนาจอธิปไตยรัฐจึงมีอำนาจเหนือบุคคลทุกคน และสมาคมทุกสมาคม ในดินแดนของรัฐโดยไม่มีข้อยกเว้น

อำนาจอธิปไตย  แก้ไข

แบ่งออกเป็น 2 ประการ คือ

1. อำนาจอธิปไตยภายใน เป็นอำนาจสูงสุดในการออกกฎหมาย รักษากฎหมาย และการใช้กฎหมายในเขตดินแดนของรัฐนั้น 

2. อำนาจอธิปไตยภายนอก เป็นผู้ที่รัฐดำเนินความสัมพันธ์กับรัฐอื่น ๆ รวมถึงอำนาจที่จะประกาศสงครามหรือทำสัญญาสันติภาพได้อย่างอิสระโดยปราศจากการบังคับบัญชาของรัฐอื่น

อำนาจอธิปไตยภายนอก คือ เอกราชของรัฐ

ความหมายของ “รัฐ” กับ “ประเทศ”

            รัฐ        เน้น      ด้านการปกครอง

            ประเทศ  เน้น      ด้านภูมิศาสตร์

ความหมายของ “รัฐ” กับ “ชาติ”

            รัฐ        เน้น     ด้านการเมือง

            ชาติ       เน้น      ด้านวัฒนธรรม

ความหมายของ “ชาติ” กับ “สัญชาติ”

            ชาติ       เน้น      ด้านวัฒนธรรม

            สัญชาติ เน้น      ด้านวัฒนธรรมและด้านการเมือง

ความหมายของ “รัฐ” กับ “รัฐบาล”

            รัฐ         เน้น      ด้านการเมืองมีความเด็ดขาด มีอำนาจสูงสุด ถาวร มีอิสรภาพ

            รัฐบาล   เป็นองค์กรหนึ่งของรัฐ ดำเนินการแทนรัฐ เปลี่ยนแปลงได้ ไม่มีอธิปไตย แต่ใช้อำนาจอธิปไตยแทนรัฐ

“รัฐ” กับ “องค์การระหว่างประเทศ”

                        รัฐ มีอำนาจอธิปไตย มีอำนาจเหนือองค์การในประเทศ

                        องค์การระหว่างประเทศ แม้จะประกอบด้วยประเทศเอกราชเป็นสมาชิก แต่องค์การเหล่านี้ เช่น สหประชาชาติ นาโต้ อาเซียน หาได้มีอำนาจปกครอง บังคับบัญชารัฐสมาชิกไม่ รัฐสมาชิกยังคงความเป็นเอกราชและไม่ต้องอยู่ใต้บังคับบัญชา คำสั่ง/การควบคุมขององค์การระหว่างประเทศ 

ความเป็นมาของรัฐ  แก้ไข

มีทฤษฎีที่สำคัญ ๆ คือ

            1. ทฤษฎีธรรมชาติ รัฐเกิดขึ้นจากธรรมชาติ และวิวัฒนาการของมนุษย์

            2. ทฤษฎีเทวสิทธิ์ รัฐเกิดจากพระเจ้า

            3. ทฤษฎีสัญญาประชาคม รัฐเกิดจากสัญญาประชาคม

            4. ทฤษฎีพลกำลัง รัฐเกิดจากการใช้อำนาจยึดครอง

            5. ทฤษฎีวิวัฒนาการ (Ecolutionary Theory) รัฐเกิดวิวัฒนาการหลายระดับ ตั้งแต่ระดับเล็กที่สุด จนระดับใหญ่ที่สุด ได้แก่ วงศาคณาญาติ เผ่าพันธุ์ นครรัฐ จักรวรรดิ รัฐขุนนาง รัฐชาติ รัฐโลก 

การรับรองรัฐ (Recognition) แก้ไข

การรับรองรัฐ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

            1. การรับรองข้อเท็จจริงหรือโดยพฤตินัย (De Facto Recognition)

เป็นการรับรองรัฐใดรัฐหนึ่งในฐานะที่รัฐนั้นเกิดขึ้นตามสภาพความเป็นจริง แต่ยังไม่อาจรับรองในรูปกฎหมาย คือการให้สัตยาบัน แม้ว่าจะมีรัฐเกิดขึ้นใหม่แต่รัฐอื่นที่สงสัยจึงไม่ยอมรับตามกฎหมาย แต่รับรองตามข้อเท็จจริงไปก่อน อาจจะยาว เช่น สหรัฐอเมริการับรองสหภาพโซเวียตรัสเซีย 1917-1933 (16 ปี)

            2. การรับรองตามกฎหมายหรือรับรองโดยนิตินัย (De Jure Recognition)

เป็นการรับรองตามกฎหมายหรือนิตินัย และมีผลถูกต้องตามกฎหมาย เป็นการรับรองสภาพความถูกต้องของรัฐ มีลักษณะเป็นทางการ ถาวร มีความสัมพันธ์ทางการฑูตมีการให้สัตยาบันต่อกัน เช่น สหรัฐอเมริการับรองสหภาพโซเวียตรัสเซีย 1917-1933 (16 ปี) เป็นระบบ De Facto พอปี 1933 รับรองแบบ De Jure เป็นการรับรองอย่างเป็นทางการและถาวร 

ปัญหาของรัฐ แก้ไข

            1. ปัญหาเชื้อชาติ

            2. ปัญหาภาษา

            3. ปัญหาศาสนา

            4. ปัญหาขนบธรรมเนียมประเพณี

            5. ปัญหาภูมิอากาศ

            6. ปัญหาที่ตั้ง

            7. ปัญหาทรัพยากร

            8. ปัญหาประชากร

            9. ปัญหาการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้

                        รัฐต่าง ๆ ย่อมต้องประสบปัญหาไม่มากก็น้อย รัฐที่มีเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณีเดียวกัน ความสามัคคีก็มีมาก รัฐที่มีความแตกต่างกันมาก ความขัดแย้งภายในก็ย่อมมีมากรัฐใดที่อยู่ในเขตอบอุ่นที่ตั้งเหมาะสม มีทรัพยากรธรรมชาติสมบูรณ์ มีประชากรที่มีคุณภาพ สามารถนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ก็มาก รัฐนั้นก็จะมีอำนาจแห่งชาติมาก

ดูเพิ่ม แก้ไข