# | เลขที่ | ใจความ | หมายเหตุ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ผู้รับประทุษร้ายต่อผู้ให้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1 | 412/2528 | จำเลยทำร้ายร่างกายโจทก์ผู้เป็นมารดาจนได้รับอันตรายแก่กาย ย่อมแสดงว่า จำเลยขาดความกตัญญู แม้โจทก์ได้รับบาดเจ็บไม่ถึงสาหัส ก็ถือได้ว่า จำเลยประพฤติเนรคุณโดยประทุษร้ายต่อผู้ให้อย่างร้ายแรงตาม ป.พ.พ. ม. 531 (1) แล้ว โจทก์จึงเรียกถอนคืนซึ่งการให้ได้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้รับหมิ่นประมาทผู้ให้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1 | 5791/2540 | โจทก์ยกที่นาให้แก่จำเลยซึ่งเป็นบุตร และอาศัยอยู่กับจำเลย ต่อมา จำเลยด่าทอโจทก์ว่า "ไอ้บ้า" ทั้งขับไล่ไสส่งโจทก์ออกจากบ้านโดยคว้าข้าวของเสื้อผ้าโจทก์มาโยนลงจากบ้าน กริยาวาจาจำเลยเช่นนี้แสดงว่า จำเลยเหยียดหยามโจทก์และปราศจากความเคารพโจทก์ผู้เป็นบุพการี เป็นการประพฤติเนรคุณโดยหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง โจทก์ย่อมเรียกถอนคืนซึ่งการให้นั้นได้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | 697/2531 | โจทก์ยกที่ดินให้แก่จำเลยซึ่งเป็นหลาน และอาศัยอยู่กับจำเลย ต่อมา โจทก์ทราบว่า จำเลยเป็นภริยาน้อยผู้อื่น จึงได้พูดจาตักเตือนจำเลย จำเลยโกรธและพูดต่อโจทก์ว่า "ข้าวน้ำมึงไม่ต้องกิน ไอ้แก่หัวหงอก มึงอยู่ที่ไหนได้ก็ให้ไป" การที่จำเลยพูดกับโจทก์ด้วยถ้อยคำดังกล่าวและขับไล่โจทก์นั้น ถือได้ว่า เป็นการประพฤติเนรคุณโดยหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง โจทก์ย่อมเรียกถอนคืนซึ่งการให้นั้นได้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | 3847/2533 | จำเลยด่าโจทก์ซึ่งเป็นมารดาว่า "เจ้าหยังมาหน้าเข่งแท้ อีหน้าบ่มีสกุล..." ในข้อความนี้ คำว่า "อีหน้าบ่มีสกุล" เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าหมายถึง คนมีตระกูลเลวทรามหรือไร้สกุลรุนชาติ จำเลยยังด่าโจทก์อีกว่า "อีหมอความใหญ่ มึงมีเงินพอกระสอบบ่ ไปซื้อขี้ให้หมากินดีกว่า" เป็นการเปรียบเปรยโจทก์ถึงสัตว์เดรัจฉาน การกระทำของจำเลยทั้งนี้ถือเป็นการดูหมิ่นโจทก์ผู้เป็นบุพการี มิได้เคารพยำเกรงตามวิสัยของบุตรทั่วไป จึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงอันเป็นเหตุเนรคุณตาม ป.พ.พ. ม. 531 (2) โจทก์จึงเรียกถอนคืนซึ่งการให้ทรัพย์สินพิพาทแก่จำเลยนั้นได้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | 1527/2534 | ข้อเท็จจริงฟังเป็นที่ยุติว่า โจทก์เป็นบิดาของมารดาจำเลย (โจทก์เป็นตาของจำเลย) มารดาจำเลยถึงแก่กรรมเมื่อจำเลยอายุได้แปดเดือน โจทก์จึงเลี้ยงดูจำเลยตั้งแต่นั้นตลอดมา เมื่อจำเลยทำมาหากินได้ จึงเป็นฝ่ายเลี้ยงดูโจทก์ซึ่งล่วงเข้าสู่วัยชราแล้ว ต่อมา โจทก์ยกทรัพย์สินดังต่อไปนี้ให้แก่จำเลย คือ ที่ดินสองผืน ผืนแรกยกให้พร้อมบ้านสำหรับอยู่อาศัย ผืนหลังให้ไว้ทำนา ทั้งยกกระบือให้อีกเจ็ดตัวด้วย การให้มีขึ้นเมื่อปี 2527 ครั้นปลายปีนั้น จำเลยได้พูดจากับโจทก์ด้วยถ้อยคำว่า "เฒ่าหัวหงอกหัวขาวนานตาย" และไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่า โจทก์นำที่ดินที่ยกให้แก่จำเลยนั้นไปขายให้ผู้อื่น ในการนี้ ข้อเท็จจริงเชื่อได้ว่า โจทก์ขายเช่นนั้นจริง ส่วนที่จำเลยกล่าวแก่โจทก์ว่า "เฒ่าหัวหงอกหัวขาวนานตาย" นั้น ศาลฎีกาเห็นว่า เนื้อหาตลอดจนความหมายแห่งถ้อยคำมิใช่คำด่าทอ เป็นเพียงวาจากระทบกระเทียบที่จำเลยไม่สมควรใช้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุพการีเท่านั้น นอกจากนี้ การแจ้งความและการใช้ถ้อยคำของจำเลยดังกล่าวก็หาทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงหรือเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงแต่ประการใดไม่ จึงยังมิอาจถือได้ว่า จำเลยประพฤติเนรคุณต่อโจทก์อันจะเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิเรียกถอนคืนซึ่งการให้ทรัพย์สินข้างต้นได้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | 3081/2535 | โจทก์เป็นมารดาของจำเลย และโจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยโดยเสน่หา ต่อมา โจทก์ไปทวงเงินสองพันห้าร้อยบาทคืนจากจำเลย จำเลยไม่พอใจ ร้องด่าโจทก์ว่า "อีสำเพ็ง อีหัวหงอก กูไม่ให้ อยากได้ให้ไปฟ้องร้องเอา" การกระทำของจำเลยเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงตาม ป.พ.พ. ม. 531 (2) อันเป็นการประพฤติเนรคุณ โจทก์ชอบที่จะเรียกถอนคืนซึ่งการให้ที่ดินนั้นได้ | "สำเพ็ง" เป็นชื่อท้องที่ในกรุงเทพมหานครซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งค้าประเวณี "อีสำเพ็ง" จึงหมายถึง โสเภณี[1] | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | 3502/2535 | หมิ่นประมาทตาม ป.พ.พ. ม. 531 (2) หาจำเป็นต้องถึงกับเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาททางอาญาไม่ เพียงแต่ได้ความว่า เจตนาดูหมิ่น ก็ถือว่า ประพฤติเนรคุณแล้ว
จำเลยซึ่งได้รับการให้ที่ดินจากโจทก์ผู้เป็นบิดาด่าทอว่าโจทก์ว่า "ไอ้แก่ กูไม่นับมึงเป็นพ่อ ออกไปให้พ้น ไม่ไปมึงตาย กูไม่รับรู้" เป็นการแสดงเจตนาดูหมิ่นโจทก์ เรียกโจทก์ว่า ไอ้แก่ ขึ้นมึงขึ้นกูกับโจทก์ ไม่นับถือโจทก์เป็นบิดา ขับไล่โจทก์ออกไปให้พ้น มิฉะนั้น โจทก์ตายจำเลยไม่รับรู้ ย่อมทำให้โจทก์อับอาย เสียชื่อเสียง และเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง โจทก์จึงเรียกถอนคืนซึ่งการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณได้ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | 412/2528 | ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นบุตรของโจทก์ โจทก์ยกที่ดินสี่แปลงและบ้านหนึ่งหลังให้แก่จำเลยโดยเสน่หา ต่อมา โจทก์ขอให้จำเลยแบ่งที่ดินให้แก่บุตรคนอื่นของโจทก์ จำเลยไม่ยอมและด่าโจทก์ว่า "มึงจะหนีไปไหนก็ไป กูจะไม่เลี้ยงมึงแล้ว ทรัพย์สินที่อยากได้ก็มาฟ้องเอาเพราะยกให้แล้ว ถ้ากลับมาอยู่บ้านจะเอายาเบื่อให้กิน" แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่า วาจาดังกล่าวเพียงหยาบคาย ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเนรคุณโจทก์ พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ และจำเลยแก้อุทธรณ์โจทก์ว่า จำเลยรับว่ากล่าวเช่นนั้นจริงแต่ก็ด้วยความโกรธ ข้อเท็จจริงจึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยด่าทอโจทก์ด้วยข้อความเช่นนั้น ในชั้นฎีกา ศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยด่าว่าโจทก์ซึ่งเป็นบุพการีในลักษณะขับไล่ไสส่ง ไม่ต้องการเลี้ยงดูอีกต่อไป ทั้งยังขู่เข็ญว่าจะวางยาเบื่อให้ถ้ากลับมาอีก ย่อมเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ผู้ให้อย่างร้ายแรงตาม ป.พ.พ. ม. 531 (2) แล้ว โจทก์เรียกถอนคืนซึ่งการให้เพราะจำเลยเนรคุณได้ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | 3880/2540 | คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่า โจทก์จดทะเบียนยกที่ดินให้แก่จำเลยเพื่อประกอบการเลี้ยงชีพ เป็นการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยาหรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า การที่โจทก์จดทะเบียนยกที่ดินให้แก่จำเลยผู้เป็นบุตรเพื่อนำไปทำมาหาเลี้ยงชีพนั้น เป็นการให้ทรัพย์สินแก่บุตรโดยเสน่หา หาใช่เป็นการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยาดังที่บัญญัติไว้ตาม ป.พ.พ. ม. 535 (3) ไม่ เพราะโจทก์ไม่มีหน้าที่ตามธรรมจรรยาที่จะต้องกระทำเช่นนั้น นอกจากนี้ ในการจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่จำเลย ก็ระบุไว้ในสารบัญจดทะเบียนตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และหนังสือสัญญาให้ที่ดิน เอกสารหมาย จ. 1 ถึง จ. 5 ว่า เป็นการให้ไม่มีค่าตอบแทนแต่อย่างใด เพราะผู้รับการให้เป็นบุตร จำเลยจะอ้างว่าที่ระบุเช่นนั้นเป็นแต่เพียงกระทำขึ้นตามระเบียบปฏิบัติของกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย มิได้กระทำไปตามเจตนาแห่งการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา หาได้ไม่ จึงต้องฟังว่าการจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่จำเลยดังกล่าวเป็นการให้ทรัพย์สินโดยเสน่หา ที่จำเลยฎีกาว่าเป็นการให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยานั้นฟังไม่ขึ้น
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการที่สองว่า จำเลยหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงหรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่า นายสงบ บัวคง, นายประชา อินช่วย และนายสว่าง แสงอำไพ พยานโจทก์ ล้วนรู้จักสนิทสนมกับโจทก์และจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่า พยานโจทก์ดังกล่าวมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยอันจะทำให้มีเหตุระแวงสงสัยว่าจะเบิกความปรักปรำจำเลย ส่วนจำเลยคงมีแต่ตัวจำเลยอ้างตนเองเป็นพยานเบิกความปฏิเสธว่าไม่ได้หมิ่นประมาทโจทก์เท่านั้น พยานหลักฐานโจทก์จึงมีน้ำหนักน่าเชื่อถือดีกว่าพยานหลักฐานจำเลย ข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำเบิกความของพยานโจทก์ดังกล่าวว่า จำเลยด่าโจทก์ด้วยถ้อยคำว่า "ไอ้เปรต ไอ้เฒ่าบ้า แก่จะเข้าโลงยังหลงบ้าสมบัติ แถมบ้าเมีย ไม่สมแก่ ไอ้หัวล้าน" และถ้อยคำว่า "ไอ้เปรต ไอ้เฒ่า ไอ้หัวดอ ตายกับหีอีคลี่" ต่อหน้าบุคคลอื่น การที่จำเลยด่าโจทก์ด้วยถ้อยคำเช่นนั้น ผู้ได้ยินฟังย่อมเข้าใจได้ว่าโจทก์เป็นคนไม่ดี บ้าสมบัติ บ้าผู้หญิง ถ้อยคำดังกล่าวไม่เพียงแต่หยาบคายและเป็นคำกล่าวที่ไม่สมควรเท่านั้น หากแต่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ผู้ให้อย่างร้ายแรง อันถือได้ว่าเป็นการประพฤติเนรคุณ โจทก์ย่อมเรียกถอนคืนซึ่งการให้ที่ดินทั้งสี่แปลงจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. ม. 531 (2) ที่จำเลยฎีกาว่ามิได้หมิ่นประมาทโจทก์นั้นฟังไม่ขึ้น |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | 123/2541 | ข้อเท็จจริงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ว่า เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2537 โจทก์ได้จดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 63850 ตำบลมาบแค อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นบุตรเลี้ยงอันเกิดระหว่างสามีโจทก์กับนางบ๊วย นิ่มโพธิ์ทอง ตามสำเนาโฉนดที่ดิน และโฉนดที่ดิน เอกสารหมาย จ. 1 และ ล. 6 ต่อมา จำเลยด่าว่าโจทก์ว่า โจทก์ "นิสัยไม่ดี คนโตไม่รู้จักโต พูดไม่อยู่กับร่องกับรอยพูดหน้ามือเป็นหลังมือ เหมือนไม้หลักปักขี้เลน ตอแหลเก่ง เป็นคนไม่ดี ไม่ใช่แม่กู และเชื่อถือไม่ได้"
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยมีว่า ถ้อยคำที่จำเลยด่าว่าโจทก์ดังกล่าวเป็นถ้อยคำที่หมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง หรือทำให้เสียชื่อเสียง อันโจทก์จะถอนคืนการให้ได้หรือไม่ เห็นว่า ถ้อยคำดังกล่าวที่จำเลยด่าว่าโจทก์นั้น แสดงถึงการไม่เคารพยำเกรงโจทก์ซึ่งเป็นมารดาเลี้ยง และเป็นการลบหลู่บุญคุณอีกด้วย มิใช่เป็นเพียงคำกล่าวที่ไม่สุภาพหรือไม่สมควรเท่านั้น การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ทั้งเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง ตาม ป.พ.พ. ม. 531 (2) แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิถอนคืนซึ่งการให้เพราะจำเลยประพฤติเนรคุณได้ตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษามาชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | 4037/2546 | โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จดทะเบียนยกที่ดินโฉนดเลขที่ 12170 ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นหลานโดยเสน่หา แต่จำเลยไม่เคยสนใจดูแลโจทก์ซึ่งอยู่ในวัยชราและอยู่อย่างอดอยากในเวลาที่โจทก์เจ็บป่วย กับทั้งไม่ให้การปฏิการะแก่โจทก์และบอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นแก่การเลี้ยงชีวิตโจทก์ในเวลาที่โจทก์ยากไร้และจำเลยยังสามารถให้ได้ มิหนำซ้ำ จำเลยยังใช้ถ้อยคำก้าวร้าย เหยียดหยาม ย่ำยี หยาบคายกับโจทก์ เป็นต้นว่า "ข้าวปลาอาหารที่เหลือเทให้หมากินดีกว่าจะไปให้อีแก่กิน" ถือว่าเนรคุณโจทก์อย่างร้ายแรง ขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินดังกล่าวคืนแก่โจทก์ หากจำเลยไม่ไป ขอให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ในการฟ้อง โจทก์ตั้งข้อหาสองประการ คือ จำเลยไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นแก่การเลี้ยงชีวิตโจทในเวลาที่โจทก์ยากไร้และจำเลยยังสามารถให้ได้ และจำเลยหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง จำเลยให้การว่า โจทก์เป็นผู้มีอันจะกิน มีที่ดินให้ผู้อื่นเช่า แสดงว่า จำเลยปฏิเสธข้อหาประการแรก ส่วนข้อหาประการที่สอง จำเลยหาได้ให้การโดยชัดแจ้งเป็นประการใดไม่ จึงเป็นคำให้การที่มิชอบด้วย ป.วิ.พ. ม. 177 ว. 2 และต้องถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามข้อหานั้น ในการนี้ ศาลฎีกาเห็นว่า ข้อความที่จำเลยด่าว่าโจทก์ตามฟ้องเป็นถ้อยคำหมิ่นประมาทโจทก์อย่างเหยียดหยามและไม่ให้ความเคารพนับถือโจทก์ ถือเป็นถ้อยคำหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง โจทก์จึงมีสิทธิถอนคืนการให้เพราะเหตุเนรคุณนั้นตาม ป.พ.พ. ม. 531 (2) |
เมื่อขอถอนคืนซึ่งการให้โดยอาศัยเหตุหลายประการ และพิจารณาได้ความว่ามีเหตุเพียงประการใดประการหนึ่ง ก็เพียงพอแล้ว
คดีนี้ ศาลถือว่าจำเลยรับว่าด่าทอโจทก์ตามข้อหาที่สอง และศาลเห็นว่า คำด่าทอนั้นร้ายแรงถึงขนาดที่เป็นเหตุเนรคุณอันนำไปสู่การถอนคืนซึ่งการให้ได้แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องสืบข้อหาแรกอีก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | 8306/2548 | โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เห็นว่าจำเลยไม่มีที่อยู่อาศัย จึงยกที่ดินโฉนดเลขที่ 60772 ตำบลธารปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ให้แก่จำเลยโดยเสน่หา ต่อมา จำเลยถูกพนักงานอัยการจังหวัดนครราชสีมาฟ้องเป็นคดีต่อศาลในข้อหากระทำชำเราหลานของโจทก์ และจำเลยก็รับสารภาพในชั้นสอบสวนด้วย โจทก์จึงไปต่อว่าจำเลย แต่จำเลยไม่พอใจและด่าโจทก์ว่า "อีพวกดอกทอง ไม่ต้องมายุ่งเรื่องของกู มึงออกไป ออกไปจากบ้านของกู" ซึ่งคำว่า "ดอกทอง" ในข้อความนี้ย่อมมีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ว่า "หญิงใจง่ายในทางประเวณี (ใช้เป็นคำด่า)" โจทก์จึงฟ้องถอนคืนซึ่งการให้ที่ดินนั้นเพราะเหตุที่จำเลยหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง
ปัญหาที่ศาลฎีกาต้องวินิจฉัยมีว่า จำเลยได้ประพฤติเนรคุณโดยหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง อันเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิถอนคืนซึ่งการให้ที่ดินดังกล่าวหรือไม่ เห็นว่า แม้พฤติการณ์ข้างต้นนี้ส่อว่าจำเลยมีความประพฤติไม่เหมาะสมและไม่เคารพโจทก์ แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า เรื่องที่จำเลยกระทำชำเราหลานโจทก์นั้นเกิดขึ้นก่อนมีการฟ้องคดี้นี้เกือบสองปี ประกอบกับโจทก์จำเลยมีเรื่องหมางใจกันอีกเรื่อง เพราะโจทก์ถูกจำเลยกล่าวหาว่ารุกล้ำที่ดินจำเลย และพยานทั้งฝ่ายโจทก์ฝ่ายจำเลยก็เบิกความยืนยันข้อหมางใจนี้ จึงน่าเชื่อว่า จำเลยด่าทอโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้อง เพราะมีโทสะจากความขัดแย้งเรื่องที่ดินดังกล่าว ยิ่งกว่าเรื่องกระทำชำเราอันผ่านมานานแล้ว ส่วนถ้อยคำที่จำเลยด่าทอโจทก์ แม้ไม่สุภาพและไม่สมควรที่จำเลยจะกล่าวต่อโจทก์ แต่โดยวิสัยของบุคคลระดับชาวบ้าน ก็เป็นคำที่ใช้ด่าว่ากันทั่วไป ยังไม่อาจรับฟังได้ถึงขั้นว่าจำเลยมีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงอันจะเป็นเหตุประพฤติเนรคุณต่อโจทก์เสียทีเดียว โจทก์จึงยังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะเรียกถอนคืนซึ่งการให้ที่ดินตามฟ้องได้ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | 980/2550 | ปัญหาที่ศาลฎีกาต้องวินิจฉัยมีว่า มีเหตุเพิกถอนการให้หรือไม่ โจทก์เบิกความว่า เมื่อกลางเดือนกันยายน 2541 โจทก์เจ็บป่วยจึงไปขอความช่วยเหลือจากจำเลย แต่จำเลยไม่พอใจพร้อมพูดจาหมิ่นประมาทว่า บักหมามึงแก่แล้ว พูดจากลับไปกลับมาเหมือนเด็กเล่นขายของ มึงไม่มีศีลธรรม มึงไปตายที่ไหนก็ไป โจทก์มีนางทองอินทร์และนายสวาทเป็นพยานคนกลางเบิกความสนับสนุน จำเลยเพียงเบิกความปฏิเสธลอย ๆ จึงไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานโจทก์ พยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักให้เชื่อว่า จำลยได้กล่าวถ้อยคำดังกล่าวด่าว่าโจทก์อันถือได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง จึงมีเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณที่โจทก์จะเรียกถอนคืนการให้ได้ตาม ป.พ.พ. ม. 531 (2) แล้ว ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้รับไม่อุปการะเลี้ยงดูผู้ให้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1 | 735/2523 | โจทก์ไม่เคยขออะไรจากจำเลย และโจทก์ไม่อยากได้ของของจำเลย จำเลยบอกจะส่งเสียเลี้ยงดูโจทก์ ขออย่างเดียวอย่าฟ้องร้องกัน นอกจากนี้ จำเลยชวนโจทก์ไปอยู่ด้วยเพื่อเลี้ยงดู แต่โจทก์ไม่ยอมไป เพราะต้องการเอาที่พิพาทคืน จึงฟังไม่ได้ว่า จำเลยประพฤติเนรคุณโจทก์โดยไม่อุปการะเลี้ยงดูโจทก์หรือบอกปัดไม่ให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่โจทก์
เมื่อบิดาจำเลยตาย จำเลยซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของโจทก์ได้ไปทวงโฉนดพิพาทกับโจทก์ โจทก์ว่า ไม่รู้ไม่เห็น จำเลยจึงไปปรึกษาเจ้าพนักงานที่ดิน และที่สุด จำเลยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่า โจทก์ยักยอกโฉนดที่พิพาท การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิอันชอบธรรม ไม่เป็นการหมิ่นประมาทต่อโจทก์อย่างร้ายแรง |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | 3410/2526 | โจทก์มีอายุแปดสิบห้าปี เป็นบิดาจำเลย มีรายได้เดือนละประมาณหนึ่งพันบาทเศษ หากจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินมากกว่านี้ บุตรอีกคนหนึ่งของโจทก์ก็พร้อมที่จะให้โจทก์อยู่แล้ว โจทก์มีฐานะดีกว่าราษฎรอื่นในหมู่บ้านเดียวกัน มีเงินฝากธนาคารออมสิน ดังนี้ แม้โจทก์จะชราแล้ว แต่ก็มิได้อยู่ในฐานะยากไร้ขนาดไม่มีสิ่งของจำเป็นในการเลี้ยงชีพ จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยเพื่อเรียกถอนคืนซึ่งการให้ตาม ป.พ.พ. ม. 531 (3) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | 905/2527 | การให้เงินหรือสิ่งของแก่บิดาเพื่อเป็นการช่วยเหลือเจือจุนบิดาในขณะยากไร้นั้น ไม่จำเป็นต้องให้มากมายอันจะเป็นเหตุให้บุตรต้องเดือนร้อน แต่เป็นการให้ตามควรแก่ฐานะของบุตรพอสามารถจะให้ได้ ไม่ใช่เป็นการปฏิเสธการให้หรือการช่วยเหลือโดยสิ้นเชิง นอกจากจะถือว่าเป็นเหตุเนรคุณต่อบิดาผู้ให้แล้ว ยังถือได้ว่า เป็นการขาดความกตัญญูกตเวทีต่อบิดาด้วย จึงเป็นเหตุให้ผู้ให้เรียกถอนคืนการให้ได้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | 87/2532 | การที่โจทก์ยกที่ดินให้จำเลยผู้เป็นบุตรโดยมีเงื่อนไขว่า จำเลยต้องส่งข้าวเปลือกให้โจทก์ปีละสิบถังนั้น ยังถือไม่ได้ว่า เป็นการให้ทรัพย์สินที่มีค่าภาระติดพันตาม ป.พ.พ. ม. 528 แต่เป็นการยกให้โดยเสน่หา เพราะค่าภาระติดพันในที่ดินหรือทรัพย์สินต้องเป็นภาระติดพันเกี่ยวกับตัวที่ดินหรือทรัพย์สินนั้นเองโดยตรง ไม่ใช่ภาระติดพันนอกตัวทรัพย์
อนึ่ง เมื่อปรากฏว่าโจทก์เพียงคนเดียวมีที่ดินสามไร่เศษ ได้ข้าวปีละกว่าหนึ่งร้อยถัง ย่อมมีฐานะไม่ถึงกับเป็นผู้ยากไร้ ตรงข้ามกับจำเลยซึ่งมีบุตรถึงสิบคน มีที่ดินที่พิพาทแปลงเดียว เนื้อที่เพียงประมาณห้าไร่ ได้ข้าวปีละหนึ่งร้อยสี่สิบถังถึงหนึ่งร้อยห้าสิบถัง และไม่มีรายได้อื่น ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้ยากไร้ จำเลยย่อมไม่อยู่ในฐานะที่จะจุนเจือผู้อื่นได้อีก และไม่ปรากฏว่า จำเลยด่าโจทก์หรือหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง กรณีจึงไม่อาจถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประพฤติเนรคุณตาม ป.พ.พ. ม. 531 (2) และ (3) |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | 3562/2535 | โจทก์ชราภาพมากแล้ว มีค่าใช้จ่ายน้อย มีบุตรหลายคนช่วยกันอุปการะเลี้ยงดูไม่เดือดร้อน สถานภาพเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่า โจทก์เป็นคนยากไร้ ทั้งจำเลยเองก็เป็นลูกจ้างอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ได้เงินเดือนเพียงหกร้อยบาท และมีบุตรหนึ่งคนต้องเลี้ยงดู สาวนที่ดินที่โจทก์ยกให้นั้น จำเลยก็มอบให้ ก. ใช้ทำกิน แล้วเก็บค่าเช่ามาแบ่งเลี้ยงดูโจทก์ ดังนี้ แม้จำเลยเป็นบุตรโจทก์ มีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ แต่ปล่อยให้พี่น้องคนอื่นเลี้ยงดูแทน เพราะตัวต้องไปทำงานที่กรุงเทพมหานคร กระนั้น ก็ยังถือไม่ได้ว่า จำเลยประพฤติเนรคุณอันจะเป็นเหตุให้ถอนคืนการให้ ตาม ป.พ.พ. ม. 531 (3) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | 5756/2540 | โจทก์ฟ้องว่า "จำเลยประพฤติเนรคุณ กล่าวคือ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2536 เป็นต้นมา จำเลยไม่ยอมให้อาหารเลี้ยงดูโจทก์อย่างที่เคยปฏิบัติ โดยจำเลยนำอาหารไปวางไว้ห่างจากที่โจทก์นั่งอยู่ แล้วก็หนีไปไม่รออยู่ดูแลว่าโจทก์จะได้รับประทานหรือไม่ บางครั้ง กว่าโจทก์จะคลำไปถูกอาหารที่จำเลยนำมาวางไว้ ก็ปรากฏว่า สุนัขกินอาหารหมดแล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับประทานอาหาร บางวันโจทก์ต้องเรียกชาวบ้านข้างเคียงขออาหารมารับประทานเพื่อยังชีพ นอกจากนี้ จำเลยไม่สนใจปรนนิบัติดูแลโจทก์ ปล่อยให้โจทก์ต้องทนทุกข์ทรมานต่าง ๆ ในเวลาเจ็บป่วย ฯลฯ" จึงเรียกถอนคืนซึ่งการให้ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2634, 1598 และ 254 โดยเหตุที่จำเลยเนรคุณโจทก์ตาม ป.พ.พ. ม. 531 (3)
ศาลฎีกาเห็นว่า ตามคำฟ้องดังกล่าว โจทก์พรรณนาข้อเท็จจริงว่า จำเลยไม่เอาใจใส่ดูแลโจทก์ แต่ ป.พ.พ. ม. 531 (3) ว่าด้วยผู้รับไม่ยอมให้สิ่งของอันจำเป็นแก่การเลี้ยงชีพผู้ให้ในขณะที่ผู้รับยังสามารถจะให้ได้ ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า คำฟ้องของโจทก์ไม่เข้าเหตุที่จะเรียกถอนคืนซึ่งการให้ตาม ป.พ.พ. ม. 531 (3) จึงชอบแล้ว พิพากษายืน |
โจทก์เรียกถอนคืนซึ่งการให้โดยอ้างเหตุเนรคุณตาม ป.พ.พ. ม. 531 (3) และโจทก์บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยไม่ปรนนิบัติวัตถากโจทก์ แต่ไม่ได้กล่าวว่า จำเลยไม่ให้สิ่งของจำเป็นแก่การเลี้ยงชีพโจทก์ในเวลาที่โจทก์ยากไร้และจำเลยยังให้ได้แม้แต่น้อย จึงต้องถูกยกฟ้อง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อายุความ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1 | 1459/2526 | กำหนดเวลาหกเดือนตาม ป.พ.พ. ม. 533 ว. 1 เป็นอายุความ เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น และมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยยกขึ้นเป็นข้อฎีกามิได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | 388/2536 | ป.พ.พ. ม. 531 และ ม. 533 มิได้กำหนดว่า ในชั่วชีวิตของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้ โจทก์จะขอสิ่งจำเป็นเพื่อการเลี้ยงชีวิตของโจทก์จากจำเลยได้เพียงครั้งเดียว การขาดแคลนสิ่งจำเป็นเพื่อเลี้ยงชีวิตย่อมเกิดขึ้นได้ทุกขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ เมื่อโจทก์ยังมีชีวิตอยู่ และยากไร้ โจทก์ย่อมขอสิ่งเหล่านั้นจากจำเลยได้เสมอตามความจำเป็นและตราบที่จำเลยยังสามารถให้ได้
ดังนั้น แม้การบอกปัดไม่ยอมให้สิ่งจำเป็นแก่การเลี้ยงชีวิตแก่โจทก์ที่เกิดขึ้นในครั้งก่อนจะขาดอายุความหกเดือนแล้วก็ตาม แต่ก่อนโจทก์ฟ้องประมาณหนึ่งเดือน จำเลยก็ปฏิเสธไม่ยอมให้เงินแก่โจทก์นำไปรักษาตัวเนื่องจากเจ็บป่วยอีก ในขณะที่โจทก์ยากไร้และชราภาพโดยมีอายุถึงแปดสิบสี่ปี และจำเลยอยู่ในฐานะจะให้เงินแก่โจทก์ได้ จึงเป็นการประพฤติเนรคุณต่อโจทก์อันเป็นเหตุให้โจทก์เรียกถอนคืนซึ่งการให้ที่ดินจากจำเลยได้ คดีโจทก์ในส่วนนี้ยังไม่ขาดอายุความ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การให้เป็นบำเหน็จสินจ้างโดยแท้ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1 | 2982/2526 | โจทก์ให้ที่พิพาทแก่จำเลย เพราะให้จำเลยชำระหนี้แก่เจ้าหนี้แทนโจทก์ แม้การให้ดังกล่าวจะมิใช่เป็นการชำระหนี้ตอบแทนตามสัญญาต่างตอบแทนโดยตรง และถือไม่ได้ว่า เป็นการให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพันตาม ป.พ.พ. ม. 535 (2) แต่ก็เป็นการให้เพื่อเป็นบำเหน็จสินจ้างโดยแท้ตาม ป.พ.พ. ม. 535 (1) การให้เช่นนี้จะถอนคืนเพราะเหตุเนรคุณหาได้ไม่ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | 1459/2526 | คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า โจทก์จะถอนคืนการให้ได้หรือไม่ ได้ความตามทางนำสืบของจำเลยว่า เมื่อปี 2520 นายเริญ หรือเจริญ กับนายขาน บุตรทั้งสองของโจทก์ ได้มาขอเงินจากโจทก์ โจทก์จึงให้จำเลยไปหาเงินมาให้ หากได้เงินมาโจทก์จะยกที่ดินส่วนของโจทก์ให้จำเลย จำเลยจึงไปยืมเงินจากญาติสามีจำเลยมาให้นายเจริญหนึ่งหมื่นบาท และนายขานแปดพันบาท ในปีเดียวกัน จำเลยและโจทก์เอาที่ดินพิพาทไปจำนองธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เพื่อนำเงินไปชำระให้แก่เจ้าหนี้เงินกู้ ต่อมาวันที่ 4 ธันวาคม 2534 จึงได้ไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาท และในวันเดียวกันนั้น โจทก์ได้จดทะเบียนยกที่ดินเฉพาะส่วนของโจทก์ให้แก่จำเลย
ในข้อนี้ โจทก์ตอบคำถามค้านทนายจำเลยว่า จำเลยนำที่ดินพิพาทไปจำนองธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเพื่อนำเงินมาให้นายเจริญ บุตรโจทก์ ต่อมา จำเลยได้ขายบ้านจำเลยไปไถ่ถอนจำนองคืน ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า การที่โจทก์ยกที่ดินเฉพาะส่วนของโจทก์ให้จำเลย เพราะจำเลยได้ชำระหนี้เงินกู้และไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรซึ่งเป็นหนี้ที่โจทก์ก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ของโจทก์ฝ่ายเดียว การที่โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยจึงเป็นการให้เพื่อบำเหน็จสินจ้างโดยแท้ โจทก์จึงถอนคืนซึ่งการให้ไม่ได้ตาม ป.พ.พ. ม. 535 (1) |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การให้ทรัพย์สินที่มีค่าภาระติดพัน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1 | 5147/2537 | โจทก์ยกที่ดินให้แก่โจทก์ โดยที่โจทก์ยังมีสิทธิเก็บกินในที่ดินนั้นตลอดชีวิตโจทก์ แม้สิทธิดังกล่าวจะมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ก็เป็นภาระอันเกี่ยวเนื่องด้วยที่ดินพิพาท กรณีจึงเป็นการให้ที่ดินโดยมีค่าภาระติดพัน เป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจเรียกถอนคืนเพราะการเนรคุณได้ตาม ป.พ.พ. ม. 535 (2) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | 320/2538 | ค่าภาระติดพันตาม ป.พ.พ. ม. 535 (2) จะต้องมีอยู่แล้วในขณะตกลงทำสัญญาให้แก่กัน
โจทก์ให้ที่ดินแก่จำเลย ที่ดินนั้นติดจำนองเพื่อประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ซึ่งจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและต้องรับผิดในหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. ม. 1077 (2) ประกอบ ม. 1087 ในข้อนี้ จำเลยก็รับว่าเป็นการจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้จำเลย จึงถือได้ว่า การจำนองเป็นการประกันหนี้ของจำเลย ฉะนั้น ที่ดินที่โจทก์ให้จึงไม่มีค่าภาระติดพัน |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | 4475/2551 | ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยมีว่า โจทก์มีสิทธิถอนคืนซึ่งการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณหรือไม่ โจทก์ฎีการับข้อเท็จจริงว่า ในวันที่ 27 มกราคม 2538 หลังจากจำเลยรับโอนที่ดินพิพาทจากโจทก์แล้ว จำเลยได้กู้เงินจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เพื่อรับภาระหนี้แทนโจทก์ สอดคล้องกับสารบัญจดทะเบียนที่ดินพิพาทซึ่งระบุว่า ในวันที่ 27 มกราคม 2538 โจทก์ไถ่ถอนจำนองจากธนาคารกรุงเทพแล้ว จึงจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้จำเลย และในวันเดียวกันนั้น จำเลยกู้ยืมเงินหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทจากธนาคารกรุงเทพ จึงจำนองที่ดินพิพาทไว้เป็นประกันหนี้ดังกล่าว จึงรับฟังได้ว่า โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยเป็นการตอบแทนที่จำเลยไถ่ถอนที่ดินพิพาท อันเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณตาม ป.พ.พ. ม. 535 (2)
แม้หนังสือสัญญาให้ที่ดินจะระบุว่า เป็นการให้โดยเสน่หา ไม่มีค่าตอบแทน จำเลยก็มีสิทธินำสืบพยานบุคคลให้เห็นว่า การให้ตามสัญญาให้ที่ดินนั้นเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพันได้ เพราะคดีนี้เป็นการฟ้องถอนคืนการให้ ไม่ใช่คดีฟ้องร้องให้บังคับหรือไม่บังคับตามสัญญาให้ จึงไม่ใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร อันจะเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. ม. 94 (ข) ศาลล่างทั้งสองพิพากษาชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน ให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นฎีกาสามพันบาทแทนจำเลย |
- ↑ บาราย; 2553, 24 มกราคม: ออนไลน์.