สุนทรีย์ดนตรีไทยประยุกต์/เครื่องดนตรีไทยประยุกต์มีอะไรบ้าง

๑. ตะเลงเอก เปรียบได้กับระนาดเอกของไทยเดิม ทำไมต้องตั้งชื่อว่า ตะเลง เป็นเพราะเสียงของระนาดคือ เต็ง ๆ ตะเลง ๆ จึงใช้เสียงนำมาตั้งเป็นชื่อ การตีตะเลง เหมือนกับ การตีระนาดทุกอย่าง ต่างที่วิธีการ และองค์ความรู้ ซึ่งระนาดปัจจุบันมี ๒๒ ลูก แต่ ตะเลง มี ๓๗ ลูก แต่มีความยาวผืนเท่ากัน สามารถใช้รางเดียวกันได้เลย ระยะห่างของมือก็เท่ากัน คือ ห่าง ๘ ลูกระนาด เท่ากับห่าง ๑๓ ลูก ของตะเลง เราสามารถเรียนรู้วิธีการเล่นตะเลงได้ในแบบสากลสามารถอ่านโน้ตสากลได้ มีการประสานเสียงเป็นแบบสากลทั่วโลก

๒. ตะเลงทุ้ม เปรียบได้กับระนาดทุ้มของไทย ทำหน้าที่ ประสาน สอดทำนอง ความยาวผืนเท่ากับระนาดทุ้มไทยเช่นกันแต่มี ๒๙ ลูก

๓. ขิมโครมาติค เป็นเครื่องมือที่ผู้เขียนมีความภูมิใจเป็นอย่างมากเพราะเป็นเครื่องแรกที่ประยุกต์ขึ้นมาอีกทั้งมีเทคนิคและรูปแบบที่ไม่เหมือนใครในโลก สามารถเล่นโน้ตสากลได้ครบสมบูรณ์โดยไม่ต้องเสริมหลักเหมือนขิมทั่วไป มีขนาด ๑๘ หย่องที่เป็นมาตรฐานซึ่งมีขนาดเท่ากับขิม ๑๑ หย่องทั่วไป

๔. แข่ หรือ จะเข้สากล ขนาดเท่าจะเข้เดิมทุกอย่างต่างกันที่มี นม ๑๙ นม ของเดิมมี ๑๑ นม และแข่มีทั้ง ๓ สาย กับ ๔ สาย สามารถเล่นคอร์ดได้

๕. ฆ้องสากล เหมือนกับฆ้องไทย เป็นการรวม เอาฆ้องวงใหญ่ มารวม กันกับฆ้องวงเล็ก มีลูกฆ้อง ๒๖ ลูก สามารถเล่นได้ทั้งแนวทำนองและ แนวประสาน

๖. กระจับปี่ เป็นเครื่องดนตรีโบราณ มี ๔ สาย แต่เรานำมาแยกสายออกจากกัน วิธีการเล่นเหมือนกับการเล่นกีตาร์สากล

๗. ขลุ่ย เหมือนขลุ่ยทั่วไป มี๗ รูแต่มีเสียงสากลครบ

และยังมีอื่นๆอีกมากอาทิเช่น เปิงมางคอก ซึ่งเดิมมี ๗ ลูก แต่ประยุกต์แล้วมี ๑๓ ลูก ตั้งเสียงเป็นแบบสากลครบทุกเสียง

หน้า แก้ไข