สุนทรีย์ดนตรีไทยประยุกต์/วิวัฒนาการดนตรีไทย

ดนตรีไทย ถือว่าเป็นดนตรีของชาติไทย ที่มีมาแต่โบราณและมีที่มาแตกต่างกันไป เริ่มจากสมัยสุโขทัย ซึ่งมีแต่เพียงเครื่องสาย ต่อมาสมัย อยุธยาเริ่มมีการนำ ระนาด เข้ามาผสมวงและมีการเพิ่มเครื่องดนตรีต่างๆอาทิเช่น ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก เป็นต้น แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าสิ่งหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของดนตรีไทย หรือเสียงไทยคือมี ๗ เสียงเท่า ซึ่งยังคงมีอยู่เดิมและในปัจจุบันนี้ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าเป็นการทำให้วิบัติหรือไม่.

เมื่อมีการติดต่อกับโลกตะวันตกมากขึ้น วัฒนธรรมทางดนตรีที่มีความแตกต่างกันนำมาซึ่งความคิดที่จะประสานทำนองกันได้อย่างลงตัว จึงเกิดดนตรีไทยในระบบเสียงสากลคือมี ๑๒ เสียง ภายใต้รูปแบบคงเดิมแต่แตกต่างกันที่โครงสร้างบันไดเสียงที่เป็นสำเนียงสากลแตกต่างจากแบบเก่าที่เป็นเสียงไทยเดิม

แบบไทย โด เร มี ฟา ซอล ล า ที

แบบสากล C C#/Db D D#/Eb E F F#/Gb GG#/Ab A A#/Bb B

ปัจจุบันมีหลายท่านพยายามปรับให้ดนตรีไทยสามารถเล่นกับโน้ตสากลให้ได้แต่ติดที่โครงสร้างของเครื่องดนตรี และวิธีการเล่นที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก อย่างดีก็ทำได้เพียงปรับให้เล่นได้ในบันไดเสียงหนึ่งเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ระนาด เทียบเสียง c ของสากลซึ่งก็ถือว่าไม่สมบูรณ์ในความเป็นสากลเพราะเล่นได้เพียงบันไดเสียงเดียว

การปรับเสียงทำให้ดนตรีไทยวิบัติหรือไม่

นี่เป็นคำถามที่ผู้เขียนถูกถามมากที่สุดและจะขออธิบายเป็นข้อๆ ดังนี้

๑. จากที่กล่าวข้างต้นเสียงไทยเดิมและเสียงสากล แตกต่างกันกันอย่างสิ้นเชิง เพียงแต่เราต้องพิจารณาถึงบทเพลงที่จะเล่นกับเครื่องดนตรีแต่ละชนิดว่า ถูกเพลงและถูก เครื่องมือหรือไม่

๒. มุมมองที่เห็นว่าดนตรีไทยจะวิบัติเป็นเพราะมองเห็นแค่เพียงความแตกต่างจากของเดิม ซึ่งลืมคิดไปว่าดนตรีไทยถูกพัฒนามาโดยตลอด และมีความคล้ายคลึงกับดนตรีเพื่อนบ้านจนบางครั้งอดคิดไม่ได้ว่า ใครลอกเลียนแบบใคร

๓. ของทุกอย่างต้องมีการปรับให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดความคงอยู่ เพราะวันนั้นไม่ใช่วันนี้ มุมมอง หรือ องค์ความรู้มีมากขึ้น ย่อมก่อให้เกิดสิ่งใหม่แต่จะดีหรือแย่ลง กว่าเดิมหรือไม่ ไม่สามารถตอบได้เพราะเป็นคนละอย่างกัน

๔. ถ้าพูดว่าดนตรีไทยจะวิบัติ แสดงว่า ปัจจุบันดนตรีไทยเดิม เจริญงอกงามมีผู้ที่เล่นหรือฟังดนตรีไทยเดิมกันอย่างกว้างขวางใช่หรือไม่ มีวิธีการเรียนรู้ที่เป็นระบบ หรือมีวิธีการที่จูงใจให้คนรักดนตรีไทย จนไม่อยากไปหาดนตรีประเภทอื่นใช่หรือไม่

๕. คำว่าวิบัติ คือ การนำไปทำให้เกิดความเสื่อมเสีย น่าจะลองคิดกันดูว่า ของใหม่ไม่ใช่ของเก่า ไม่สามารถแทนกันได้เลยไม่รู้ว่าของเก่าจะเสียตรงไหน เพียงแต่นำไปปรับปรุงหรือพัฒนาในรูปแบบที่ของเดิมไม่มีหรือทำไม่ได้

หน้า

แก้ไข