ภาษาไทย/ไวยากรณ์/ชนิดของคำ/คำคุณศัพท์
คำวิเศษณ์ คือคำที่ทำหน้าที่ประกอบคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ด้วยกัน เพื่อให้ได้ความชัดเจนยิ่งขึ้น
ชนิด
แก้ไขคำวิเศษณ์ในภาษาไทยมี 10 ชนิดดังนี้ เช่น
- ลักษณวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกลักษณะต่างๆ เช่น บอกชนิด สี ขนาด สัณฐาน กลิ่น รส บอกความรู้สึก เช่น ดี ชั่ว ใหญ่ ขาว ร้อน เย็น หอม หวาน กลม แบน เป็นต้น เช่น น้ำร้อนอยูในกระติกสีขาว หรือ จานใบใหญ่ราคาแพงกว่าจานใบเล็ก
- กาลวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์บอกเวลา เช่น เช้า สาย บ่าย เย็น อดีต อนาคต เป็นต้น เช่น พรุ่งนี้เป็นวันเกิดของคุณแม่ หรือ เขามาโรงเรียนสาย
- สถานวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์บอกสถานที่ เช่น ใกล้ ไกล บน ล่าง เหนือ ใต้ ซ้าย ขวา เป็นต้น เช่น ชั้นนั่งเรียนอยู่แถวหน้า
- ประมาณวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์บอกจำนวน หรือปริมาณ เช่น หนึ่ง สอง สาม มาก น้อย บ่อย หลาย บรรดา ต่าง บ้าง เป็นต้น เช่น เขามีเงินห้าบาท หรือ เขามาหาฉันบ่อยๆ
- ปฏิเสธวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่แสดงความปฏิเสธ หรือไม่ยอมรับ เช่น ไม่ ไม่ใช่ มิ มิใช่ ไม่ได้ หามิได้ เป็นต้น เช่น เขามิได้มาคนเดียว หรือ ของนี้ไม่ใช่ของฉัน ฉันจึงรับไว้ไม่ได้
- ประติชญาวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่ใช้แสดงการขานรับหรือโต้ตอบ เช่น ครับ ขอรับ ค่ะ เป็นต้น เช่น คุณครับมีคนมาหาขอรับ หรือ คุณครูขา สวัสดีค่ะ
- นิยมวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความชี้เฉพาะ เช่น นี้ นั่น โน่น ทั้งนี้ ทั้งนั้น แน่นอน เป็นต้น เช่น บ้านนั้นไม่มีใครอยู่ หรือ เขาเป็นคนขยันแน่ๆ
- อนิยมวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความไม่ชี้เฉพาะ เช่น ใด อื่น ไหน อะไร ใคร ฉันใด เป็นต้น เช่น เธอจะมาเวลาใดก็ได้ หรือ คุณจะนั่งเก้าอื้ตัวไหนก็ได้
- ปฤจฉาวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์แสดงคำถาม หรือแสดงความสงสัย เช่น ใด ไร ไหน อะไร สิ่งใด ทำไม เป็นต้น เช่น เสื้อตัวนี้ราคาเท่าไร หรือ เขาจะมาเมื่อไร
- ประพันธ์วิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมคำหรือประโยคให้มีความเกี่ยวข้องกัน เช่นคำว่า ที่ ซึ่ง อัน