ภาษาไทย/ไวยากรณ์/การใช้คำ/คำมูล

คำมูล คือ คำพื้นฐานที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง เป็นคำที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะ เป็นได้ทั้งคำไทยแท้หรือเป็นคำที่มาจากภาษาอื่นก็ได้ และจะมีพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้

(พยางค์ คือ เสียงที่เปล่งออกมาเพียงครั้งเดียว จะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้)

ชนิดของคำมูล

แก้ไข
  • คำมูลพยางค์เดียว เช่น กิน ดื่ม เขียว แดง ร้อน หนาว
  • คำมูลหลายพยางค์
    • ประกอบด้วยพยางค์ที่ไม่มีความหมาย เช่น จิ้งหรีด ( "จิ้ง" และ "หรีด" ต่างไม่มีความหมาย )
    • ประกอบด้วยพยางค์ที่มีความหมายเพียงบางพยางค์ เช่น กิริยา ( คำว่า "ยา" เท่านั้นที่มีความหมาย )
    • ประกอบด้วยพยางค์ที่มีความหมาย เช่น วารี ( คำว่า "วา" หมายถึง หน่วยวัดความยาวทางคณิตศาสตร์ มีค่าเท่ากับ 2 เมตร คำว่า "รี" หมายถึง รูปร่างที่ไม่กลม ไม่ยาว เรียกว่า รูปวงรี แต่เมื่อรวม "วา" กับ "รี" เข้าด้วยกัน คือ "วารี" ซึ่งแปลว่า น้ำ และำไม่มีความหมายเกี่ยวข้องกับความหมายของแต่ละพยางค์

คำที่สร้างจากคำมูล

แก้ไข

เมื่อนำคำมูลตั้งแต่สองคำขึ้นไปมาผสมกัน จะสามารถสร้างคำได้อีกหลายชนิด ดังนี้

  • คำประสม
  • คำซ้ำ
  • คำซ้อน
  • คำสมาส