ภาษาไทย/ไวยากรณ์/การใช้คำ/คำประสม

คำประสม คือ การนำคำที่มีความหมายสมบูรณ์ตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป มาประสมกันแล้วเกิดเป็นคำใหม่ มีความหมายใหม่ มีลักษณะดังนี้

  • เกิดจากการนำคำที่มีลักษณะต่างกันทั้งรูป เสียง และความหมาย มาประสมกันทำให้เกิดความหมายใหม่ เช่น
อา (น้องของพ่อ) + หาร (เครื่องหมายชนิดหนึ่งใช้ในการคิดเลข) = อาหาร (ของกิน หรือสิ่งที่หล่อเลี้ยงชีวิต) (อาหาร เป็นคำมูล)
  • เกิดจากการนำคำที่มีลักษณะต่างกันทั้งรูป เสียง และความหมาย มาประสมกันแต่ความหมายยังคงเดิม เช่น
บท (ข้อความเรื่องหนึ่ง ๆ หรือตอนหนึ่ง ๆ) + เพลง (เสียงขับร้อง ทำนองดนตรี) = บทเพลง (คำประพันธ์สำหรับขับร้อง เนื้อร้อง หรือบทร้อง)
  • เกิดจากการนำคำที่มีลักษณะเหมือนกันทั้ง รูป เสียง และความหมายมาประสมกันแล้วความหมายเปลี่ยนไปจากเดิม แต่ก็ยังคงมีเค้าความหมายเดิมอยู่ เช่น
แบน (มีลักษณะแผ่ราบออกไป) + แบน (มีลักษณะแผ่ราบออกไป) = แบน ๆ (ค่อนข้างแบน)
  • เกิดจากการนำคำที่มีลักษณะเหมือนกันทั้ง รูป เสียง แต่ความหมายเหมือนกันมาประสมกันแล้วความหมายเหมือนเดิม เช่น
ห่าง (ไม่ชิด) + ไกล (ยืดยาว นาน) = ห่างไกล (จากไปในระยะทางอันยืดยาวไม่ได้อยู่ใกล้ชิดกัน)
  • เกิดจากการย่อคำที่มีใจความมาก มักมีคำว่า การ ความ ชาว ผู้ ช่าง นัก หมอ ฯลฯ ประกอบอยู่หน้าคำและมีความหมายเหมือนเดิม เช่น
นักเขียน ย่อมาจาก ผู้ที่เขียนหนังสือเป็นอาชีพ
ชาวประมง ย่อมาจาก ผู้ที่ประกอบอาชีพจับสัตว์น้ำ
  • เกิดจากการนำคำภาษาบาลีและสันสกฤต มาสมาสและสนธิกัน ได้คำที่มีความหมายใหม่และสมบูรณ์กว่าเดิม เช่น พลานามัย อรุโณทัย วัฒนธรรม เป็นต้น

ดูเพิ่ม

แก้ไข