ภาษาไทย/ภาคผนวก/คำที่มักเขียนผิด

เนื้อหา: บนสุด -

แก้ไข

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ
ก็ ก้อ
กงเกวียนกำเกวียน กงกำกงเกวียน กง และ กำ เป็นส่วนประกอบของล้อเกวียน
กงสุล กงศุล "กงสุล" มาจากคำในภาษาฝรั่งเศสว่า "consul"
กฎ กฏ กฎ ทุกอย่าง ใช้ ฎ ชฎา ยกเว้น ปรากฏ ใช้ ฏ ปฏัก ส่วน กรกฎ/กรกฏ สะกดได้ทั้งสองแบบ
กฐิน กฐิณ
กบฏ กบฎ, กบถ - "กบฏ" ใช้ ฏ ปฏัก

- ในสมัยโบราณ เคยสะกดด้วย ฎ ชฎา (ดู พจนานุกรมกฎหมาย ของ ขุนสมาหารหิตะคดี)
- ถ้าออกเสียง "ขะ-บด" เขียน "ขบถ"

กบาล, กระบาล กะบาล, -บาน ใช้เรียกศีรษะ (หัว) แต่ไม่สุภาพ
กรรมกร กรรมกรณ์ - "กรรมกร" = คนงาน, ลูกจ้างที่ใช้แรงงาน

- "กรรมกรณ์" = อาญา, เครื่องสำหรับลงอาญา ฯลฯ มักสลับกัน

กรรมกรณ์ กรรมกร - "กรรมกร" = คนงาน, ลูกจ้างที่ใช้แรงงาน

- "กรรมกรณ์" = อาญา, เครื่องสำหรับลงอาญา ฯลฯ มักสลับกัน

กระเชอ กระเฌอ, กะเชอ, กะเฌอ
กระเพาะ กะเพาะ, กะเพราะ, กระเพราะ ระวังสับสนกับ กะเพรา
(พระ)กระยาหาร (พระ)กายาหาร
กริยา กิริยา "กริยา" (กฺริ-) คือ คำชนิดหนึ่ง บอกอาการ การกระทำ เช่น เดิน วิ่ง เขียน เหล่านี้ คือ คำกริยา
กรีฑา กรีธา, กรีทา กีฬาอย่างหนึ่ง มักสลับกัน
กรีธา กรีฑา เคลื่อน ยก เดินเป็นหมู่หรือเป็นกระบวน เช่น กรีธาทัพ มักสลับกัน
กลยุทธ์ กลยุทธ, กลยุทธิ, กลยุทธิ์
กลางคัน กลางครัน
กลิ่นอาย กลิ่นไอ
กสิณ กสิน
กเฬวราก กเลวราก
กอปร กอป, กอปร์ อ่านว่า "กอบ"
กอล์ฟ กลอฟ, กอลฟ์, ก็อลฟ์, ก็อล์ฟ, ก๊อลฟ์, ก๊อล์ฟ
กะทันหัน กระทันหัน
กะเทย กระเทย
กะเทาะ กระเทาะ
กะบังลม กระบังลม
กะปิ กระปิ
กะพง กระพง
กะพริบ กระพริบ
กะพรุน กระพรุน
กะเพรา กะเพา, กระเพา, กระเพรา ระวังสับสนกับ กระเพาะ
กะล่อน กระล่อน
กะละมัง กาละมัง
กะลาสี กลาสี
กะละแม กาละแม, กาลาแม, กาละแมร์
กะหรี่ กระหรี่
กะเหรี่ยง กระเหรี่ยง
กะหล่ำ กระหล่ำ
กะโหลก กระโหลก จำไว้ว่า กะโหลก กะลา
กังวาน กังวาล
กันทรลักษ์ กันทรลักษณ์, กัณ-
กันแสง กรรแสง, กรรณแสง ทรงกันแสง, ทรงพระกันแสง = ร้องไห้; กรรแสง แผลงมาจาก กระแสง = ส่งเสียงร้อง, ผ้าสไบ
กาลเทศะ กาละเทศะ
กาลเวลา กาฬเวลา กาล หมายถึง เวลา , กาฬ แปลว่า รอยดำ หรือ แดง
กาฬสินธุ์ กาฬสินธ์, กาล-
กำเหน็จ กำเน็จ, กำเหน็ด
กิจจะลักษณะ กิจลักษณะ, กิจจลักษณะ
กิตติมศักดิ์ กิติมศักดิ์, เกียรติมศักดิ์
กินรี กินนรี แต่ "กิน-นอน" เขียน 'กินนร'
กิริยา กริยา "กิริยา" คือ อาการ การกระทำ เช่น ปฏิกิริยา
กุฎี, กุฏิ กุฎ, กุฎิ "กุฏิ" อ่านว่า "กุด" หรือ "กุด-ติ", ถ้าต้องการอ่าน "กุ-ดี" ต้องเขียน "กุฎี" (ใช้คำไหนก็ได้)
กู กรู คำสรรพนามบุรุษที่หนึ่ง
เกม เกมส์ ในภาษาไทยสำหรับกรณีทั่วไปจะไม่มีการเปลี่ยนรูปแบบคำใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าสื่อความหมายถึงเอกพจน์หรือพหูพจน์

เว้นแต่เป็นการทับศัพท์วิสามานยนาม เช่น "SEA Games" ว่า ซีเกมส์

เกล็ดเลือด เกร็ดเลือด
เกษียณ เกษียน, เกษียร เกษียณ = สิ้นไป เช่นเกษียณอายุ; เกษียน = เขียน; เกษียร = น้ำนม
เกสร เกษร ส่วนในของดอกไม้
เกาต์ เก๊าท์
เกียรติ เกียตร, เกียรต, เกียรต์, เกียรติ์ อ่านว่า "เกียด", ถ้าเขียน "เกียรติ์" อ่านว่า "เกียน" เช่น รามเกียรติ์
แก๊ง แก๊งค์, แก๊งก์ "แก๊ง" มาจากภาษาอังกฤษว่า "gang" ในภาษาไทยเป็นภาษาปาก หมายความว่า "กลุ่มคนที่ตั้งเป็นก๊กเป็นเหล่า (มักใช้ในความหมายไม่ดี) เช่น แก๊งโจร แก๊งอันธพาล"
แกร็น แกน, แกรน ไม่เจริญเติบโตตามปรกติ (ใช้แก่คน สัตว์ และพืช), เช่น แคระแกร็น

แก้ไข

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ
ขบถ ขบฏ ดู กบฏ
ขโมย โขมย
ขวาน ขวาญ
ขะมักเขม้น ขมักเขม้น
ขัณฑสกร ขัณท-, ขันท-, ขันฑ-
ขาดดุล ขาดดุลย์ ดู "ดุล", "สมดุล"
ข้าวเหนียวมูน ข้าวเหนียวมูล มูน = เอากะทิเคล้ากับข้าวเหนียวเพื่อให้มัน
ขี้เกียจ ขี้เกลียด, ขี้เกียด
ขึ้นฉ่าย คึ่น-, -ช่าย, -ไฉ่, -ไช่
เขยก ขเยก, ขะเหยก
ไข่มุก ไข่มุกข์, ไข่มุกด์, ไข่มุข

แก้ไข

ปัจจุบันไม่มีคำที่ใช้ "ฃ" โดยหันไปใช้ "ข" แทน เช่น "ฃวด" ก็ใช้เป็น "ขวด" เป็นต้น

แก้ไข

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ
คณบดี คณะบดี
คทา คฑา, คธา
คน ฅน ฅ ไม่เคยใช้เขียนคำว่า ฅน
ครรไล ครรลัย
ครองแครง คลองแคลง
ครองราชย์ ครองราช คำว่า "ราชย์" หมายถึง ความเป็นราชา, "ครองราชย์" จึงหมายถึง ครองความเป็นราชา

ทั้งนี้ คำว่า "ครองราชสมบัติ" หมายความว่า ครองสมบัติของพระราชา ก็คือ ครองความเป็นราชา (มิใช่ "ครองราชยสมบัติ" อันแปลว่า ครองสมบัติแห่งความเป็นพระราชา)

ครอบคลุม คลอบคลุม, -ครุม, -คุม
คริสตกาล คริสต์กาล ใช้ตามโบราณ
คริสตจักร คริสต์จักร ใช้ตามโบราณ
คริสต์ทศวรรษ คริสตทศวรรษ ไม่นิยมสมาสข้ามภาษา
คริสต์ศตวรรษ คริสตศตวรรษ ไม่นิยมสมาสข้ามภาษา
คริสต์ศักราช คริสตศักราช
คริสต์ศาสนา คริสตศาสนา ไม่นิยมสมาสข้ามภาษา
คริสต์ศาสนิกชน คริสตศาสนิกชน
คริสต์มาส คริสตมาส
ครุฑ ครุท
ครุภัณฑ์ คุรุภัณฑ์
ครุศาสตร์ คุรุศาสตร์
คฤหาสน์ คฤหาสถ์ คฤห + อาสน
คลิก คลิ้ก, คลิ๊ก
คลินิก คลีนิก, คลินิค
ค้อน ฆ้อน
คะ ค๊ะ
คะนอง คนอง
คัดสรร คัดสรรค์
คาร์ป คาร์ฟ, คราฟ, คาร์พ, คราพ ชื่อปลา ทับศัพท์มาจาก carp
คารวะ เคารวะ, คาราวะ, คราวะ
คำนวณ คำนวน
คำสดุดี คำดุษฎี
คุกกี้ คุ้กกี้, คุ๊กกี้ ออกเสียง คุก โดยไม่ต้องใส่วรรณยุกต์
คุรุศึกษา ครุศึกษา
เค้ก เค็ก, เค๊ก
เครียด เคลียด
เครื่องราง เครื่องลาง
แค็ตตาล็อก แคตตาล็อก, แคตาล็อก
แคบหมู แค็บ-, แคป-, แค็ป-
แคระแกร็น แคะแกน, แคะแกรน, แคระแกน, แคระแกรน, แคระเกร็น แกร็น = ไม่เจริญเติบโตตามปรกติ (ใช้แก่คน สัตว์ และพืช)
แครง แคลง แครง เป็นชื่อหอยทะเลและชื่อเห็ดชนิดหนึ่ง; แคลง แปลว่า กินแหนง, สงสัย
โค่ง โข่ง โข่ง = เปิ่น ไม่เข้าท่า / โค่ง = โตกว่าเพื่อน
โคตร โครต, โคต, โคด
โครงการ โครงการณ์, โคลงการ การ คือ งาน
โควตา โควต้า ออกเสียง คว ควบกล้ำ และออกเสียง ต้า โดยไม่ต้องใส่วรรณยุกต์
คอลัมน์ คอลัมม์, คอลัมภ์

แก้ไข

ปัจจุบันไม่มีคำที่ใช้ "ฅ" โดยหันไปใช้ "ค" แทน เช่น "ฅอ" ก็ใช้เป็น "คอ" เป็นต้น

แก้ไข

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ
ฆราวาส ฆรวาส, ฆารวาส, -วาท
ฆาตกร ฆาตรกร ฆาต แปลว่า ฆ่า, ทำลาย หรือ ตี
ฆาตกรรม ฆาตรกรรม ฆาต แปลว่า ฆ่า, ทำลาย หรือ ตี
เฆี่ยน เคี่ยน - "เฆี่ยน" = ตีด้วยหวายหรือไม้เรียวเป็นต้นเป็นการลงโทษ เป็นต้น

- "เคี่ยน" ไม่มีความหมาย

แก้ไข

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ
งบดุล งบดุลย์ ไม่ใช่ ดุลย์
งูสวัด งูสวัส, งูสวัสดิ์

แก้ไข

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ
จงกรม จงกลม การฝึกสมาธิ
จระเข้ จรเข้ เครื่องดนตรีไทย เรียก จะเข้; ชื่อสถานที่บางแห่งยังสะกดว่า จรเข้ อยู่เช่น คลองจรเข้บัว ตำบลจรเข้สามพัน ตำบลจรเข้ร้อง
จลนศาสตร์ จลศาสตร์
จลาจล จราจล มาจากคำ จล + อจล
จะงอย จงอย
จะจะ จะ ๆ คำมูลสองพยางค์
จะละเม็ด จาละเม็ด, จาระเม็ด, จรเม็ด, จระเม็ด
จักจั่น จั๊กจั่น
จักร จักร์
จักรพรรดิ จักรพรรดิ์ อ่านว่า "จัก-กฺระ-พัด"
จักรวรรดิ จักรวรรดิ์ อ่านว่า "จัก-กฺระ-หวัด"
จักสาน จักรสาน เครื่องใช้ที่ทำด้วยมือ
จัตุรัส จตุรัส
จาระไน จารไน
จาระบี จารบี
จำนง จำนงค์ แผลงจาก "จง"
จินตนาการ จินตะนาการ, จินตรนาการ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ปัจจุบันใช้แบบมีทัณฑฆาตตามที่ได้รับพระราชทาน (ขัดหลักคำสมาส)
เจ๊ง เจ็ง, เจ้ง, เจ๋ง เจ๊ง (ไม้ตรี) = ล้มเลิกกิจการ หมดสภาพ ใช้การไม่ได้
เจ๋ง เจ๊ง เจ๋ง (ไม้จัตวา) = ดีเลิศ ยอดเยี่ยม
เจตจำนง เจตจำนงค์ จำนง แผลงจาก จง
เจตนารมณ์ เจตนารมย์
เจียระไน เจียรไน
โจทก์ โจทย์ โจทก์ หมายถึง ผู้ฟ้องร้องในศาลกล่าวหาจำเลย โจทย์ หมายถึง ปัญหา เช่น โจทย์เลข
ใจ จัย

แก้ไข

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ
ฉบับ ฉะบับ
ฉะนั้น ฉนั้น
ฉะนี้ ฉนี้
ฉัน ฉันท์ เสมือน เช่น ฉันญาติ ฉันมิตร; รับประทาน ใช้แก่พระสงฆ์
ฉันท์ ฉัน ความพอใจ หรือร้อยกรองประเภทหนึ่งมีบังคับครุลหุ
เฉพาะ ฉะเพาะ, ฉเพาะ
ไฉน ฉไน

แก้ไข

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ
(พระ)ชนมพรรษา (พระ)ชนม์พรรษา อ่านว่า ชน-มะ-พัน-สา
(พระ)ชนมายุ (พระ)ชนม์มายุ มาจาก ชนฺม(นฺ) + อายุ
ชมพู ชมภู
ชมพู่ ชมภู่
ชลมารค ชลมาค, ชลมาคร, ชลมาร์ค หมายถึง ทางนํ้า เช่น กระบวนเสด็จพระราชดำเนินโดยทางชลมารค
ช็อกโกเลต, ช็อกโกแลต ช๊อกโกแลต, ช็อกโกแล็ต, ชอคโกแลต, ช๊อคโกแลต, ช็อคโกแลต ฯลฯ ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554
ชอุ่ม ชะอุ่ม
ชะนี ชนี
ชะมด ชมด
ชะลอ ชลอ
ชัชวาล ชัชวาลย์
ชานชาลา ชานชะลา "ชาลา" แปลว่า ชาน "ชานชาลา" เป็นคำซ้อน (ทำนองเดียวกับ กักขัง, ใหญ่โต ฯลฯ)
ชีพิตักษัย ชีพตักษัย
ชีวประวัติ ชีวะประวัติ สมาสแล้วลบวิสรรชนีย์
ไชเท้า, ไช้เท้า ใชเท้า พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้สะกดได้ทั้ง ไชเท้า และ ไช้เท้า
ไชโป๊, ไช้โป๊ ไชโป๊ว, ไช้โป๊ว, ไชโป้ว ผักกาดหัวที่ดองเค็มหรือหวาน แล้วนำไปตากแห้ง; ระบบเสียงภาษาไทยไม่มีเสียงสระโอว

แก้ไข

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ
ซวดเซ ทรวดเซ
ซ่องเสพ ส้องเสพ
ซาบซ่าน ทราบซ่าน, -ส้าน
ซาบซึ้ง ทราบซึ้ง
ซาลาเปา ซาละเปา, ซะละเปา
ซาวเสียง ซาวด์เสียง,

ซาวน์เสียง,
ซาวนด์เสียง

แปลว่า หยั่งเสียงเพื่อฟังความคิดเห็น และไม่ได้มาจากคำภาษาอังกฤษว่า "sound"
ซีเมนต์ ซีเม็นต์, ซีเมนท์, ซีเม็นท์, ซีเม็น
ซีรีส์ ซีรีย์, ซีรี่ย์
ซุ่ม สุ่ม, สุ้ม ซุ่ม = ซ่อน, แอบซ่อนคอยทีอยู่ / สุ่ม = เครื่องมือจับปลา, เครื่องสานครอบขังไก่, ไม่เฉพาะเจาะจง
ซุ้ม สุ้ม สิ่งที่เป็นพุ่มมีทางลอดได้, ส่วนบนของประตูหน้าต่าง
เซ็นชื่อ เซ็นต์ชื่อ จากคำอังกฤษ sign, ไม่มี ต การันต์
เซนติเมตร เซ็นติเมตร
แซ่บ แซบ ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554; ใส่รูปวรรณยุกต์เอกเพื่อบ่งว่าเป็นเสียงวรรณยุกต์โทและออกเสียงสั้น (อย่างคำว่า แน่บ)
แซ็ว แซว ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554; ใส่ไม้ไต่คู้เพราะออกเสียงสั้น
ไซ้ ไซร้ ไซ้ = กิริยาที่นกหรือเป็ดเอาปากย้ำ ๆ ขนหรือหาอาหาร ฯลฯ, เช่น เป็ดไซ้ขน

ไซร้ = คำสำหรับเน้นความหมายของคำหน้า, เช่น ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ไซร้ ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัด

โซม โทรม โซม = เปียกทั่ว, เช่น เหงื่อโซมตัว

โทรม = เสื่อมสภาพ, ระดมฟันแทง, ร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราหญิง ฯลฯ

แก้ไข

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ
ฌาน ฌาณ
ฌาปนกิจ ฌาปณกิจ
เฌอ กระเฌอ, กะเฌอ

แก้ไข

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ
ญวน ญวณ
ญัตติ ญัติ
ญาณ ญาน
ญาติ ญาต

แก้ไข

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ
ฎีกา ฏีกา ใช้ ฎ ชฎา ตัวอักษรที่คล้ายกันทำให้เกิดความสับสน

แก้ไข

ปัจจุบันไม่มีคำที่ขึ้นต้นด้วย "ฏ"

แก้ไข

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ
ฐาน ฐาณ

แก้ไข

ไม่มีคำที่เขียนผิด

แก้ไข

ไม่มีคำที่เขียนผิด สำหรับ "เฒ่าแก่" และ "เถ้าแก่" ใช้ได้ทั้งสองคำ

แก้ไข

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ
ณ. อ่านว่า "นะ" มีความหมายว่า ที่

ในการเขียน ไม่มีจุดข้างหลังเพราะมิใช่คำย่อ แต่ "ณ" แผลงรูปมาจาก "ใน" และมักเว้นวรรคหน้าวรรคหลัง "ณ" ด้วย เช่น "อยู่ ณ ที่นี้"

แก้ไข

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ
ดอกจัน ดอกจันท์, ดอกจันทน์, ดอกจันทร์ เครื่องหมาย *, ดอกของต้นจัน
ดอกจันทน์ ดอกจัน, ดอกจันท์, ดอกจันทร์ รกหุ้มเมล็ดจันทน์เทศ
ดอกไม้จันทน์ ดอกไม้จัน, ดอกไม้จันท์, ดอกไม้จันทร์ ดอกไม้ประดิษฐ์สำหรับงานเผาศพ
ดัตช์ ดัชต์, ดัชท์, ดัทช์
ดาดตะกั่ว ดาษตะกั่ว
ดาดฟ้า ดาษฟ้า
ดาวน์ ดาว์น, ดาว คำทับศัพท์ down ตัวสะกดหลักคือ ว
ดาษดื่น ดาดดื่น
ดำรง ดำรงค์
ดำริ ดำหริ, ดำริห์ อ่านว่า "ดำ-หริ", โบราณเขียน "ดำริห์"
ดุล ดุลย์ "ดุล" เป็นคำนามแปลว่า ความเท่ากัน หรือความเสมอกัน, ส่วน "ดุลย์" เป็นคำวิเศษณ์แปลว่า เท่ากัน หรือเสมอกัน
ดุษณี โดยดุษฎี ดุษณี หมายถึง นิ่ง

ดุษฎี หมายถึง ยินดี
มักใช้สลับกัน เช่น ในถ้อยคำว่า "ยอมรับโดยดุษณี"

เดินเหิน เดินเหิร โบราณเขียน "เหิร"
แดก แดรก, แด่ก, แดร่ก, แด๊ก เป็นภาษาปาก หมายถึง กิน หรือ พูดกระทบให้โกรธ ฯลฯ
ไดรฟ์ ไดร์ฟ คำทับศัพท์ drive ดร ควบกล้ำ

แก้ไข

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ
ตรรกศาสตร์ ตรรกะศาสตร์
ตรรกะ, ตรรก- ตรรกกะ
ตระเวน ตระเวณ
ตราสัง ตราสังข์
ตรึงตรา ตรึงตา หมายถึง ติดแน่น
ตะกร้า ตระกร้า
ตะราง ตาราง ที่คุมขัง
ตานขโมย ตาลขโมย
ตาราง ตะราง ช่องสี่เหลี่ยม
ตำรับ ตำหรับ
ติดสัด ติดสัตว์
โต๊ะ โต้ะ
ใต้ ไต้ ใช้แสดงตำแหน่ง เช่น ใต้โต๊ะ ภาคใต้ แสงใต้ (ออโรรา)
ใต้เท้า ไต้เท้า เปรียบเหมือนเราอยู่ข้างใต้ เท้าของผู้มีอำนาจบารมี ทำนองเดียวกับ ใต้ฝ่าพระบาท ฯลฯ
ไต้ ใต้ หมายถึงคบเพลิง เช่น ขี้ไต้ จุดไต้ตำตอ น้ำตาแสงไต้ หรือใช้ทับศัพท์ภาษาอื่น
ไต้ก๋ง ใต้ก๋ง นายท้ายเรือสำเภาหรือเรือประมง ทับศัพท์จากภาษาจีน
ไต้ฝุ่น ใต้ฝุ่น ทับศัพท์มาจาก typhoon
ไตรยางศ์ ไตรยางค์
ไต้หวัน ใต้หวัน ทับศัพท์จากภาษาจีน

แก้ไข

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ
ถนนลาดยาง ถนนราดยาง ลาด หมายถึง ปู
ถ่วงดุล ถ่วงดุลย์
ถั่วพู ถั่วพลู ถั่วที่ด้านข้างมีรอยเป็นพู
เถา เถาว์
ไถ่ตัว ถ่ายตัว เรียกค่าไถ่ ก็ใช้คำนี้

แก้ไข

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ
ทโมน ทะโมน, โทมน
ทยอย ทะยอย
ทแยง ทะแยง, แทยง
ทรงกลด ทรงกรด
ทรมาทรกรรม ทรมานทรกรรม
ทรราช ทรราชย์ - ทรราช = ผู้ปกครองบ้านเมืองที่ใช้อำนาจสร้างความเดือดร้อน, ตามรากศัพท์หมายถึง ราชาชั่ว แต่สามารถใช้ได้กับทั้งที่เป็นราชาและไม่เป็นราชา

- ทรราชย์ = รูปแบบ ระบบ หรือลัทธิการปกครองแบบทรราช

ทระนง, ทะนง ทรนง, ทนง
ทลาย ทะลาย พังทลาย ถล่มทลาย
ทศกัณฐ์ ทศกัณฑ์ กัณฑ์ แปลว่า คำเทศน์ตอนหนึ่ง; กัณฐ์ แปลว่า คอ
ทอนซิล ทอมซิน
ทะนุถนอม ทนุถนอม
ทะนุบำรุง, ทำนุบำรุง ทนุบำรุง
ทะลาย ทลาย ช่อผลของมะพร้าว
ทะเลสาบ ทะเลสาป
ทัณฑ์ ฑัณฑ์
ทายาด ทายาท ทายาด = ยิ่งยวด เช่น ทนทายาด

ทายาท = ผู้สืบสกุล

ทายาท ทายาด, ทาญาติ
ทารุณ ทารุน
ทีฆายุโก ฑีฆายุโก ทีฆายุ หมายถึง อายุยืนยาว
ทุกรกิริยา ทุกขกิริยา, ทุกขรกิริยา หมายถึง กิจที่ทำได้ยาก
ทุคติ ทุกข์คติ
ทุพพลภาพ ทุพลภาพ
ทุพภิกขภัย ทุภิกขภัย ทุส + ภิกขภัย, เปลี่ยน ส เป็น พ ตามหลักการสมาส
ทุศีล ทุจศีล
ทูต ฑูต ทูตทุกอย่าง ใช้ ท ทหาร
ทูนหัว ทูลหัว พ่อทูนหัว แม่ทูนหัว
ทูลกระหม่อม ทูนกระหม่อม
เท่ เท่ห์
เทพนม เทพพนม เทว + นม ไม่ใช่ เทพ + พนม
เทเวศร์ เทเวศ, เทเวศน์ เทว + อิศร
เทโวโรหณะ เทโวโรหนะ ใช้ ณ เณร มาจาก เทว + โอโรหณ
เทอญ เทิญ
เทอม เทิม, เทิร์ม
เท้าความ ท้าวความ เขียนเหมือน "เท้า"
เทิด เทอด ยกเว้นเมื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิสามานยนาม เช่น ถนนเทอดไท ทางแยกเทอดดำริ
เทิดทูน เทิดทูล
แท็กซี่ แท๊กซี่
แทรกแซง แซกแซง
โทรทรรศน์ โทรทัศน์ กล้องส่องทางไกล
โทรทัศน์ โทรทรรศน์ เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดหนึ่ง
โทรม โซม โทรม = เสื่อมสภาพ, ระดมฟันแทง, ร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราหญิง ฯลฯ

โซม = เปียกทั่ว, เช่น เหงื่อโซมตัว

โทรศัพท์ โทรศัพย์

แก้ไข

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ
ธนบัตร ธนาบัตร
ธนาณัติ ธนานัติ, ธนาณัต
ธรรมเนียม ทำเนียม ในหนังสือเก่า ๆ เขียน "ทำเนียม" ก็มี, แต่ปัจจุบัน ใช้ "ธรรมเนียม" (มาจาก ธรรม + นิยม)
ธัญพืช ธัญญพืช
ธำมรงค์ ธำมรง, ทำมะรงค์ แปลว่า "แหวน"
ธำรง ธำรงค์
ธุรกิจ ธุระกิจ คำสมาส หรือใช้ กิจธุระ

แก้ไข

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ
นพปฎล นพปดล แปลว่า เก้าชั้น
นภดล นพดล เว้นแต่ "นพดล" ที่เป็นชื่อเฉพาะ
นวัตกรรม นวตกรรม
นอต น็อต, น๊อต ทับศัพท์จาก nut ในภาษาอังกฤษที่หมายถึงอุปกรณ์ช่าง
นะ น๊ะ ออกเสียงวรรณยุกต์ตรี โดยไม่ปรากฏรูป
นะคะ นะค่ะ, นะค๊ะ คะ เป็นเสียงตรี ไม่ต้องใช้ไม้ตรี ในขณะที่ ค่ะ เป็นเสียงโท
นันทนาการ สันทนาการ
นัย นัยยะ อ่านได้ทั้ง ไน และ ไน-ยะ
นัยน์ตา นัยตา
น่า หน้า คำประกอบหน้ากริยา หมายความว่า ควร เช่น น่าจะทำอย่างนั้น น่าจะเป็นอย่างนี้; ชวนให้, ทำให้อยากจะ, เช่น น่ากิน น่ารัก
นาฏกรรม นาฎกรรม ใช้ ฏ ปฏัก
นาที นาฑี นาฑี เป็นภาษาสันสกฤต พบบ้างในหนังสือเก่า ปัจจุบันพจนานุกรมให้สะกดแบบเดียวเท่านั้น
นานัปการ นานับประการ
นานา นา ๆ ไม่ใช่คำซ้ำ แต่เป็นคำมูลสองพยางค์ที่รับมาจากภาษาบาลี แปลว่า "ต่าง ๆ"
น้ำจัณฑ์ น้ำจัน, -จัณท์, -จันท์
น้ำมันก๊าด น้ำมันก๊าซ, -ก๊าส
น้ำแข็งไส น้ำแข็งใส หมายถึงการนำน้ำแข็งไปไสบนกบ จนได้เกล็ดน้ำแข็ง เป็นวิธีทำแบบดั้งเดิม
นิจศีล นิจสิน
นิตยสาร นิตยาสาร
นิเทศ นิเทศน์, นิเทส
นิมิต นิมิตร, นิรมิตร
นิวัต นิวัติ
นิเวศวิทยา นิเวศน์วิทยา
เนรมิต เนรมิตร
เนืองนิตย์ เนืองนิจ
แน่นหนา หนาแน่น - "แน่นหนา" ว่า มั่นคง เช่น ใส่กุญแจแน่นหนา มีหลักฐานมัดตัวแน่นหนา, แข็งแรง เช่น ประตูหน้าต่างแน่นหนา, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับ ปึกแผ่น เป็น เป็นปึกแผ่นแน่นหนา.

- "หนาแน่น" ว่า คับคั่ง, แออัด, เช่น กรุงเทพฯ มีประชากรหนาแน่นมาก.

โน้ต โน๊ต, โน้ท, โน๊ท อักษรต่ำ ไม่ใส่ไม้ตรี

แก้ไข

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ
บรรทัด บันทัด
บรรทุก บันทุก
บรรลุ บันลุ
บรรเลง บันเลง
บรั่นดี บะหรั่นดี
บริสุทธิ์ บริสุทธ, บริสุทธิ
บล็อก บล็อค, บล๊อก หลักการทับศัพท์
บ่วงบาศ บ่วงบาศก์, บ่วงบาต, บ่วงบาท
บอระเพ็ด บรเพ็ด, บอระเพชร
บังสุกุล บังสกุล
บังเอิญ บังเอิน
บัญญัติไตรยางศ์ บัญญัติไตรยางค์ เหมือน ไตรยางศ์
บัตรสนเท่ห์ บัตรสนเท่
บันดาล บรรดาล
บันได บรรได
บันเทิง บรรเทิง
บันลือ บรรลือ
บางลำพู บางลำภู
บาดทะยัก บาททะยัก, บาดทยัก
บาตร บาต เครื่องใช้อย่างหนึ่งของพระสงฆ์
บาทบงสุ์ บาทบงส์ อ่านว่า บาด-ทะ-บง
บาทหลวง บาดหลวง
บำเหน็จ บำเน็จ
บิณฑบาต บิณฑบาตร, บิณฑบาท "บาต" ไม่ได้มาจากคำที่แปลว่า บาตร แต่รับมาจากคำภาษาบาลีว่า ปาต [ปา-ตะ] แปลว่า ตก, การตก

เช่น ปิณฺฑปาต = การตกของก้อนข้าว (บิณฑบาต), อุกฺกาปาต แปลว่า การตกของคบเพลิง (อุกกาบาต), อสนิปาต = การตกของสายฟ้า (อสุนีบาต)

บิดพลิ้ว บิดพริ้ว
บุคคล บุคล
บุคลากร บุคคลากร
บุคลิก บุคคลิก, บุคลิค, บุคคลิค มาจากคำภาษาบาลีว่า ปุคฺคลิก [ปุก-คะ-ลิ-กะ] เมื่อรับมาใช้ในภาษาไทย สะกดด้วย ค ตัวเดียว แต่อ่านว่า บุก-คะ-ลิก
บุคลิกภาพ บุคคลิกภาพ, บุคลิคภาพ, บุคคลิคภาพ
บุปผชาติ บุปผาชาติ
บุษราคัม บุษราคำ, บุศ-
บูชายัญ บูชายัน, บูชายันต์
บูรณปฏิสังขรณ์ บูรณะปฏิสังขรณ์ คำสมาส ไม่ต้องประวิสรรชนีย์ระหว่างคำ แต่ยังคงออกเสียง อะ
เบญจเพส เบญจเพศ เพส มาจากคำว่า วีสะ แปลว่า 20; เบญจ แปลว่า 5 ดังนั้น เบญจเพส = 25
เบนซิน เบ็นซิน, เบนซิล
เบรก เบรค ศัพท์บัญญัติ หรือใช้คำว่า ห้ามล้อ
แบงก์ แบ๊งก์, แบ็งก์, แบงค์, แบ๊งค์, แบ็งค์ ตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษและพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (เฉพาะกรณีที่ใช้เป็นภาษาปากหมายถึงธนาคารหรือธนบัตร หากเป็นวิสามานยนามอาจสะกดแตกต่างออกไปได้)
โบราณ โบราน, โบราญ

แก้ไข

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ
ปฏิกิริยา ปฏิกริยา
ปฏิสันถาร ปฏิสัณฐาน, ปฏิสันถาน
ปฏิทิน ปติทิน
ปฏิพัทธ์ ประติพัทธ์
ปฏิสังขรณ์ ปฏิสังขร
ปฐมนิเทศ ปฐมนิเทศก์, ปฐมนิเทศน์
ปณิธาน, ประณิธาน ปนิธาน, ประนิธาน ตั้งใจไว้
ปรนนิบัติ ปรณนิบัติ
ปรมาณู ปรมณู ปรม + อณู
ปรองดอง ปองดอง
ประกายพรึก ประกายพฤกษ์
ประกาศนียบัตร ประกาศณียบัตร
ประกาศิต ประกาษิต
ประจัญ ประจัน • ประจัญ = ปะทะต่อสู้ (เช่น ประจัญบาน = รบอย่างตะลุมบอน), แผลงมาจากคำเขมรว่า "ผจัญ" (ผฺจาญ่)

• ประจัน = กั้นเป็นส่วนสัด (เช่น ฝาประจันห้อง = ฝากั้นห้อง), เผชิญ (เช่น ประจันหน้ากัน), ฯลฯ

ประจัญบาน ประจันบาน, ประจันบาล, ประจัญบาล
ประจันหน้า ประจัญหน้า
ประจันห้อง ประจัญห้อง
ประจำการ ประจำการณ์
ประณต ประนต (กริยา) น้อมไหว้
ประณม ประนม (อาการนาม) การน้อมไหว้
ประณาม ประนาม
ประณีต ปราณีต, ประนีต
ประดิดประดอย ประดิษฐ์ประดอย
ประนีประนอม ประณี-, ปรานี-, ปราณี-,

-ประณอม, -ปรานอม, -ปราณอม

ประมาณ ประมาน
ประเมิน ประเมิณ
ประโยชน์โพดผล[1] ประโยชน์โพธิผล,

ประโยชน์โภชผล,
ประโยชน์โภชน์ผล

ประสบการณ์ ประสพการณ์, ประสบการ • "ประสบ" เป็นคำกริยาแปลว่าพบหรือพบปะ

• ส่วน "ประสพ" เป็นคำนามมีความหมายว่าการเกิดผล
• ในภาษาไทยจึงใช้ "ประสบ" เพียงรูปเดียว เช่น ประสบความสำเร็จ ประสบการณ์ ประสบอุทกภัย ประสบโชค

ประสบผลสำเร็จ, ประสบความสำเร็จ ประสพผลสำเร็จ, ประสพความสำเร็จ
ประสูติ ประสูต, ประสูตร
ประสูติการ ประสูติกาล การคลอด เช่น มีพระประสูติการ
ประสูติกาล ประสูติการ เวลาคลอด เช่น พระประสูติกาลตก ณ วัน 4 ขึ้น 1 เดือน 6 ย่ำรุ่ง 2 นาฬิกา เศษสังขยา 5 บาท
ประหลาด ปะหลาด, ปลาด
ประหัตประหาร ประหัดประหาร, ประหัตถ์ประหาร
ประหาณ, ปหาน ประหาร • ประหาณ, ปหาน = ละทิ้ง เช่น สมุจเฉทประหาณ (การตัดขาดและการละทิ้ง), ปหานกิเลส (ละทิ้งกิเลส)

• ประหาร = ตี ฟัน ทำลาย หรือ ฆ่า เช่น ประหารชีวิต

ประหาร, ปหาร ประหาณ, -หาน, ปะ-
ปรัมปรา ปรำปรา, ปะรำปะรา อ่านว่า ปะ-รำ-ปะ-รา
ปรัศนี ปรัศนีย์
ปรากฏ ปรากฎ ใช้ ฏ ปฏัก, คำนี้ไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า กฎ
ปราณี ปรานี • ปราณี = ผู้มีลมปราณ หมายความว่า ผู้มีชีวิต หรือสิ่งมีชีวิต เช่น สัตว์ และคน

• ปรานี = เอ็นดูด้วยความสงสาร

ปรานี ปราณี
ปรานีปราศรัย ปราณีปราศัย
ปรารถนา ปราถนา อ่านว่า "ปราด-ถะ-หนา"
ปราศจาก ปราศจาค
ปราศรัย ปราศัย
ปล้นสะดม ปล้นสดมภ์ • สะดม = รมยาให้หลับ

• สดมภ์ = เสาหรือช่องตามแนวตั้ง

ปวารณา ปวารนา
ปะทะ ประทะ
ปะแล่ม ปแล่ม, แปล่ม
ปักษิน ปักษิณ
ปั๊ม ปั้ม
ปาฏิหาริย์ ปาฏิหาร, ปาฏิหารย์
ปาติโมกข์ ปาฏิโมกข์
ปาริชาต ปาริชาติ ชื่อบุคคลจำนวนมากยังใช้ ปาริชาติ อยู่
ปิกนิก ปิคนิค คำทับศัพท์
ปิดปากเงียบ ปริปากเงียบ • ปิดปาก = ไม่พูด หรือไม่ให้พูด

• ปริปาก = แย้มปากพูดออกมา

ปีติยินดี ปิติยินดี ปีติ = ความปลาบปลื้มใจ, ความอิ่มใจ; ปิติ ไม่มีความหมาย
ปุโรหิต ปุโลหิต
เปล่า ปล่าว, ป่าว
เปอร์เซ็นต์ เปอร์เซนต์ คำทับศัพท์
เป๋อเหลอ เป๋อเล๋อ อักษรต่ำ ไม่ใช้วรรณยุกต์จัตวา

แก้ไข

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ
ผดุง ผะดุง
ผรุสวาท ผรุสวาส
ผลลัพธ์ ผลลัพท์
ผล็อย ผลอย
ผลัด ผัด "ผลัด" แปลว่า เปลี่ยน เช่น ผลัดเปลี่ยน ผลัดผ้า ผลัดเวร

ส่วน "ผัด" แปลว่า เลื่อน หรือย้าย เช่น ผัดผ่อน ผัดฟ้อง ผัดวัน ผัดหนี้

ผลานิสงส์ ผลานิสงฆ์
ผอบ ผะอบ
ผัดไทย ผัดไท
ผัดผ่อน ผลัดผ่อน
ผัด ผลัด "ผลัด" แปลว่า เปลี่ยน เช่น ผลัดเปลี่ยน ผลัดผ้า ผลัดเวร

ส่วน "ผัด" แปลว่า เลื่อน หรือย้าย เช่น ผัดผ่อน ผัดฟ้อง ผัดวัน ผัดหนี้

ผาสุก ผาสุข มาจากคำบาลีว่า ผาสุก [ผา-สุ-กะ] แปลว่า ความสำราญ, ความสบาย (ไม่ได้มาจาก ผา + สุข); แต่ชื่อบุคคลและสถานที่จำนวนมากยังใช้ ผาสุข อยู่
ผีซ้ำด้ำพลอย ผีซ้ำด้ามพลอย ด้ำ เป็นภาษาเหนือ แปลว่า ผีเรือน
ผีพุ่งไต้ ผีพุ่งใต้ เปรียบว่าเป็นผีที่พุ่งออกมาเป็นแสงเหมือนแสงไต้ หรือเปรียบเหมือนไต้ที่ผีซัดออกมา
ผุดลุกผุดนั่ง ผลุดลุกผลุดนั่ง
ผูกพัน ผูกพันธ์
ผู้เยาว์ ผู้เยา
เผชิญ ผเชิญ, ผะเชิญ
เผลอไผล เผอไผ
เผอเรอ เผลอเรอ
เผอิญ ผเอิญ, ผะเอิญ
เผ่าพันธุ์ เผ่าพัน
แผ่ซ่าน แผ่ส้าน, แผ่ซ้าน
แผนการ แผนการณ์
แผลงฤทธิ์ แผงฤทธิ์
ไผท ผไท, ผะไท

แก้ไข

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ
ฝรั่งเศส ฝรั่งเศษ
ฝักฝ่าย ฝักใฝ่, ฝักไฝ่ พวก, ข้าง
ฝักใฝ่ ฝักฝ่าย, ฝักไฝ่ เอาใจใส่, ผูกพัน
ฝากครรภ์ ฝากครร
ฝีดาษ ฝีดาด ไข้ทรพิษ
ฝึกปรือ ฝึกปือ, ฝึกปลือ
ไฝ ใฝ คำนอกกฎการใช้ไม้ม้วน

แก้ไข

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ
พงศ์พันธุ์ พงพันธุ์, พงษ์พันธุ์
พจนานุกรม พจณานุกรม พจน + อนุกรม
ฯพณฯ พณ, พณฯ, ฯพณ, ฯพณฯ ท่าน, พณ.ท่าน, พณะท่าน เขียน "ฯพณฯ" อ่านว่า "พะ-นะ-ท่าน" ย่อมาจาก พณหัวเจ้าท่าน (พระ ณ หัวเจ้าท่าน)
พยัก พะยัก
พยักพเยิด พะยักพะเยิด, พยักเพยิด
พยัคฆ์ พยัค, พยัคร, พยัฆ เสือ
พยาน พญาณ, พยาณ, พะยาน
พยาบาท พญาบาท, พยาบาตร
พยุง พะยุง
พเยีย พะเยีย, เพยีย พวงดอกไม้
พรรณนา พรรณา อ่านว่า พัน-นะ-นา
พรหมจรรย์ พรมจรรย์
พระวงศ์ พระวงค์ รวมทั้ง เชื้อพระวงศ์
พราหมณ์ พราห์มณ์, พรามณ์ อ่านว่า พฺราม
พร่ำพลอด พร่ำพรอด
พฤศจิกายน พฤษจิกายน
พฤษภาคม พฤศภาคม
พลการ พละการ คำสมาส
พลศึกษา พละศึกษา คำสมาส
พละกำลัง พลกำลัง
พลาสติก พลาสติค
พหูสูต พหูสูตร
พะแนง พแนง, แพนง
พะยอม พยอม ชื่อต้นไม้ มีดอกสีขาว
พะยูน พยูน
พะวักพะวน พวักพวน
พังทลาย พังทะลาย
พันทาง พันธุ์ทาง ลูกผสมต่างสายพันธุ์
พันธกิจ พันธะกิจ คำสมาส
พันธสัญญา พันธะสัญญา คำสมาส
พัศดี พัสดี
พัสดุ พัศดุ
พากย์ พากษ์ พากย์หนัง
พาณิชย์, พาณิชย, พณิชย์

พาณิช, พณิช

พานิชย์, พานิชย, พนิชย์

พานิช, พนิช

ใช้ ณ เสมอ รวมถึงรูปศัพท์เดิมก่อนแผลง ว เป็น พ เช่น วาณิชย์ วาณิชกะ วณิชย์ วณิชยา วาณิช วณิช

พาณิชย์ พาณิชย หรือ พณิชย์ แปลว่าการค้า พาณิชหรือพณิชหมายถึงพ่อค้า
ยกเว้นวิสามานยนามบางคำ เช่น ไทยวัฒนาพานิช, กรุงไทยพานิชประกันภัย, ศุภชัย พานิชภักดิ์, วิจารณ์ พานิช และ ชิน โสภณพนิช

พานจะเป็นลม พาลจะเป็นลม
พาหุรัด พาหุรัต, พาหุรัตน์
พิณพาทย์ พิณภาทย์
พิธีรีตอง พิธีรีตรอง
พิบูล พิบูลย์
พิพิธภัณฑ์ พิพิทธภัณฑ์
พิราบ พิราป นกชนิดหนึ่ง
พิลาป พิราป คร่ำครวญ, ร้องไห้ เช่น รำพันพิลาป
พิลิปดา ฟิลิปดา
พิศวง พิสวง
พิศวาส พิสวาส, พิสวาท
พิสดาร พิศดาร
พิสมัย พิศมัย
พิสูจน์ พิสูตร
พึมพำ พึมพัม
พุดตาน พุดตาล ดอกไม้ชนิดหนึ่ง
พุทธชาด พุทธชาติ ดอกไม้ชนิดหนึ่ง
พู่กัน ภู่กัน
พู่ระหง ภู่ระหง
เพชฌฆาต เพชรฆาต, เพ็ชรฆาต
เพชร เพ็ชร
เพศสัมพันธ์ เพศสัมพันธุ์
เพนียด พเนียด, พะเนียด
เพริศพริ้ง เพริดพริ้ง
เพิ่มพูน เพิ่มพูล
เพียบพร้อม เพรียบพร้อม
แพทยศาสตร์ แพทย์ศาสตร์
โพชฌงค์ โพชงค์, โภ-
โพดำ โพธิ์ดำ
โพแดง โพธิ์แดง
โพทะเล โพธิ์ทะเล
โพนทะนา โพนทนา
โพระดก โพรดก, โภ-
โพสพ โพศพ, โภ-
ไพฑูรย์ ไพทูรย์

แก้ไข

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ
ฟังก์ชัน ฟังก์ชั่น ไม่มีไม้เอก
ฟั่น ฝั้น เช่น ฟั่นเชือก ฟั่นเทียน
ฟันคุด ฟันครุฑ, ฟันครุท คุด หมายถึง งอกงออยู่ภายในไม่โผล่ออกมาตามปรกติ ครุฑเป็นสัตว์ในตำนานอินเดีย
ฟาทอม ฟาธอม, แฟทอม, แฟธอม หน่วยวัดระยะทาง
ฟิล์ม ฟิลม์, ฟลิม, ฟิมล์, ฟิม์ล
ฟิวส์ ฟิว
ฟุตบอล ฟุทบอล
ฟุลสแก๊ป ฟูลสแกป หน้ากระดาษที่มีเส้นบรรทัด
เฟิน เฟิร์น ถ้านำไปเขียนคำทับศัพท์อาจอนุโลมใช้ เฟิร์น ได้
แฟชั่น แฟชัน มีไม้เอก
ไฟแช็ก ไฟแชค, ไฟแช็ค

แก้ไข

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ
ภคินี ภคิณี
ภวังค์ พวังศ์
ภววิสัย ภาววิสัย, ภาวะวิสัย "ภววิสัย" ตรงกับภาษาอังกฤษว่า "objective" บางทีใช้ "ปรนัย" (ปะระไน), "ปรวิสัย" (ปะระวิสัย) หรือ "วัตถุวิสัย" หมายความว่า "ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ โดยไม่เกี่ยวกับความคิดหรือความรู้สึก"
ภัณฑารักษ์ พันธารักษ์
ภาคทัณฑ์ ภาคฑัณฑ์
ภาคภูมิ ภาคภูม
ภาพยนตร์ ภาพยนต์
ภารกิจ ภาระกิจ คำสมาส
ภาวการณ์ ภาวะการณ์, ภาวะการ คำสมาส
ภุชงค์ พุชงค์
ภูตผี ภูติผี ภูต แปลว่า ผี; ภูติ แปลว่า ความรุ่งเรือง
ภูมิใจ ภูมใจ
ภูมิลำเนา ภูมลำเนา อ่านว่า พูม-ลำ-เนา หรือ พู-มิ-ลำ-เนา ก็ได้
เภตรา เพตรา
เภทภัย เพทภัย, เพศภัย

แก้ไข

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ
มกุฎ มกุฏ ใช้ ฎ ชฎา เช่น มกุฎราชกุมาร มกุฎราชกุมารี ยกเว้น มหามกุฏราชวิทยาลัย และ มกุฏกษัตริยาราม ที่ใช้ ฏ ปฏัก
มงกุฎ มงกุฏ ใช้ ฎ ชฎา
มณฑป มนฑป, มณทป อ่านว่า มน-ดบ
มนเทียร มนเฑียร, มณเฑียร
มนุษยสัมพันธ์ มนุษย์สัมพันธ์ คำสมาส
มรณภาพ มรณะภาพ
มฤตยู มฤตญู
มลทิน มนทิน
มลังเมลือง มะลังมะเลือง
มหรรณพ มหรรนพ, มหันนพ
มหรสพ มหรศพ อ่านว่า มะ-หอ-ระ-สบ
มหัศจรรย์ มหรรศจรรย์
มหาหิงคุ์ มหาหิงค์
มเหสักข์ มเหศักดิ์
มเหสี มเหศรี, มเหศี, มเหษี, เมหสี
มไหศวรรย์ มไหสวรรค์
มอเตอร์ไซค์ มอเตอร์ไซด์, -ไซต์, -ไซท์, ไซ ทับศัพท์จาก motorcycle = มอเตอร์ไซเคิล จึงใช้ ค การันต์
ม่อห้อม, ม่อฮ่อม, หม้อห้อม หม้อฮ่อม
มะหะหมัด มหะหมัด, มะหะมัด
มัคคุเทศก์ มัคคุเทศ, มัคคุเทศน์
มัคนายก, มรรคนายก มัคทายก, มรรคทายก (บาลี) มคฺค + นายก (สันสกฤต) มารฺค + นายก หมายถึง ผู้นำทาง ได้แก่ ผู้จัดการทางกุศล หรือผู้ชี้แจงทางบุญทางกุศลและป่าวประกาศให้ประชาชนมาทำบุญทำกุศลในวัด
มัณฑนศิลป์ มันทนศิลป์, มันฑณศิลป์
มัธยัสถ์ มัธยัสต์
มัศยา, มัตสยา มัสยา ปลา
มัสตาร์ด มัสตาด
มัสมั่น มัสหมั่น อ่านว่า มัด-สะ-หมั่น
มาตรการ มาตราการ ระวังการใช้ในบริบท มาตรา-การ
มาตรฐาน มาตราฐาน ระวังการใช้ในบริบท มาตรา-ฐาน
มานุษยวิทยา มนุษยวิทยา มานุษย = ที่เกี่ยวกับมนุษย์
ม่าเหมี่ยว มะเหมี่ยว ด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง, ชมพู่ผลสีแดงเข้ม
มึง เมิง
มืดมน มืดมนต์, มืดมล
มุกตลก มุขตลก ราชบัณฑิตยสถานสะกดว่า มุก ในขณะที่พจนานุกรมฉบับมติชนสะกดว่า มุข
เม.ย. เม.ษ. เมษายน
แมงมุม แมลงมุม
แมลงดา แมงดา เฉพาะแมลง (มี 6 ขา) ส่วนแมงดาจะใช้กับแมงดาทะเล (มี 12 ขา)
แมลงภู่ แมลงพู่, แมงภู่ ทั้งชื่อแมลงและหอย
แมลงวัน แมงวัน
แมลงสาบ แมลงสาป, แมงสาบ, แมงสาป
ไมยราบ ไมยราพ ชื่อพืชชนิดหนึ่ง
ไมยราพณ์, มัยราพณ์ ไมยราพ ตัวละครในรามเกียรติ์
ไมล์ ไมร์, ไมค์ หน่วยวัดระยะทาง

แก้ไข

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ
ยศถาบรรดาศักดิ์ ยศฐาบรรดาศักดิ์
ย่อมเยา ย่อมเยาว์ ราคาย่อมเยา
ยาเกร็ด ยาเกล็ด หมายถึง ตำรา
ยานัตถุ์ ยานัตถ์, ยานัด นัตถุ์ แปลว่า จมูก
ยีราฟ จีราฟ
เยอรมนี, เยอรมัน เยอรมันนี
เยาว์วัย เยาวัย
เยื่อใย เยื่อไย คำซ้อน เยื่อ + ใย
ใยแมงมุม ไยแมงมุม
ไย ใย หมายถึงไฉน, อะไร, ทำไม
ไยดี ใยดี
ไยไพ ใยไพ หมายถึงเยาะเย้ย, พูดให้อาย
โยธวาทิต โยธวาฑิต

แก้ไข

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ
รกชัฏ รกชัฎ ใช้ ฏ ปฏัก
รณรงค์ รนรงค์
รถเมล์ รถเมย์
รถยนต์ รถยนตร์ อาจพบหนังสือเก่าเขียนเป็น รถยนตร์ บ้าง
รมณีย์ รมนีย์, รมณี
รสชาติ รสชาด อาจพบหนังสือเก่าเขียนเป็น รสชาด บ้าง
ร้องไห้ ร้องให้
ระบบนิเวศ ระบบนิเวศน์
ระเบงเซ็งแซ่ ระเบ็งเซ็งแซ่
ระเห็จ รเห็จ, เรห็จ
รักษาการ รักษาการณ์ ปฏิบัติหน้าที่แทน เช่น รักษาการในตำแหน่ง...
รักษาการณ์ รักษาการ เฝ้าดูแลเหตุการณ์ เช่น ยามรักษาการณ์
รังเกียจ รังเกลียด, รังเกียด
รังควาน รังควาญ
รังสี รังษี, รังศี ยกเว้นชื่อเฉพาะ
รัชดาภิเษก รัชฎาภิเษก คำสนธิ รชต (เงิน) + อภิเษก (แต่งตั้ง); รัชฎาภิเษกเป็นรูปคำโบราณ
รัญจวน รัญจวญ, รัญจวณ
รัฐวิสาหกิจ รัฐวิสาหะกิจ
รัศมี รัสมี, รัษมี
รากเหง้า รากเง่า เง่า หมายถึงโง่เง่า
ราชภัฏ ราชภัฎ ใช้ ฏ ปฏัก
ราชัน ราชันย์ "ราชัน" หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน, "ราชันย์" หมายถึง เชื้อสายของพระเจ้าแผ่นดิน
ราชสาส์น ราชสาสน์ ใช้กับพระราชสาส์นที่ออกมาจากสำนักพระราชวังเท่านั้น สาส์นอย่างอื่นให้ใช้ว่า สาสน์ หรือ สาร
ราชวงศ์ ราชวงค์ รวมทั้ง พระราชวงศ์ หม่อมราชวงศ์
ราดหน้า ลาดหน้า
ราพณาสูร ราพนาสูร
ราศี ราศรี รากศัพท์ต่างกัน ราศี มาจาก ราสิ, ศรี มาจาก สิริ
รำคาญ รำคาน, ลำคาณ
ริบบิ้น ริ้บบิ้น ออกเสียง ริบ โดยไม่มีรูปวรรณยุกต์
รื่นรมย์ รื่นรมณ์
เรี่ยไร เรี่ยราย เรี่ยราย = เกลื่อนกลาด
แร็กเกต แร็กเก็ต
โรงธารคำนัล โรงธารกำนัล หมายถึง ท้องพระโรง
โรมันคาทอลิก โรมันคาธอลิค

แก้ไข

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ
ฤกษ์พานาที ฤกษ์ผานาที สองคำที่สับสน คือ "ฤกษ์พานาที" กับ "เลขผานาที"
ฤทธิ์ ฤทธ, ฤทธ์
ฤๅ ฤา ใช้ลากข้างยาว
ฤๅษี, ฤษี ฤาษี ใช้ลากข้างยาว

แก้ไข

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ
ลดาวัลย์ ลัดดาวัลย์, ลดาวัณย์ ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่ง ยกเว้นชื่อเฉพาะ
ลมปราณ ลมปราน
ลมหวน ลมหวล
ล่มหัวจมท้าย ร่วมหัวจมท้าย ดู คำอธิบายของราชบัณฑิตยสถาน
ล็อกเกต ล็อกเก็ต
ลองไน ลองใน ชื่อจักจั่นขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง
ละคร ละคอน "ละคอน" เป็นคำไทยโบราณ ใช้เมื่อต้องการรักษาความดั้งเดิมไว้ เช่น สาขาศิลปะและการละคอน ดูคำอธิบายของราชบัณฑิตยสถานที่ ละครหรือละคอน
ละเมียดละไม ลเมียดลไม
ละโมบ ลโมบ, ละโมภ
ละเอียดลออ ลเอียดลออ, ละเอียดละออ
ลักเพศ ลักเพท, ลักเพส
ลังถึง รังถึง
ลาดตระเวน ลาดตระเวณ มักสับสนกับ "บริเวณ"
ลาดยาง ราดยาง เรียกถนนที่ปูผิวจราจรด้วยยางมะตอยผสมกับหินหรือทรายเป็นต้นว่า "ถนนลาดยาง"
ลายเซ็น ลายเซ็นต์
ลาวัณย์ ลาวัลย์ หมายถึง ความงาม ความน่ารัก
ลำไย ลำใย คำนอกกฎการใช้ไม้ม้วน
ลำไส้ ลำใส้ คำนอกกฎการใช้ไม้ม้วน
ลิงก์ ลิงค์ ลิงก์ = คำภาษาอังกฤษ link; ลิงค์ = เครื่องหมายเพศ, ประเภทคำในไวยากรณ์ที่บอกให้รู้ว่าคำนั้น เป็นเพศอะไร
ลิดรอน ริดรอน
ลิปสติก ลิปสติค
ลิฟต์ ลิปต์, ลิฟ, ลิฟท์ มาจากคำภาษาอังกฤษ lift
ลือชา ฦๅชา ฦ ฦๅ ไม่มีที่ใช้ในปัจจุบัน
ลุกลี้ลุกลน ลุกลี้ลุกรน
ลูกเกด ลูกเกตุ
ลูกนิมิต ลูกนิมิตร
ลูกบาศก์ ลูกบาศ
เล่นพิเรนทร์ เล่นพิเรนท์
เลย เรย
เล่ห์กระเท่ห์ เล่กระเท่
เลือกสรร เลือกสรรค์
เลือดกบปาก เลือดกลบปาก
โล่ โล่ห์ มิได้แผลงมาจาก "โลหะ"
โลกาภิวัตน์ โลกาภิวัฒน์
ไล่เลียง ไล่เรียง, ไร่เรียง, ไร่เลียง ซักไซ้ ไต่ถาม มักใช้ว่า ซักไซ้ไล่เลียง

แก้ไข

ปัจจุบันคำที่ขึ้นต้นด้วย ฦ ฦๅ ไม่นิยมใช้

แก้ไข

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ
วงศ์, วงษ์ วงค์ วงษ์ เป็นการสะกดแบบโบราณ
วงศ์วาน วงษ์วาน เช่น ชื่อถนน งามวงศ์วาน
วัคซีน วักซีน
วัณโรค วันโรค, วรรณโรค
วันทยหัตถ์ วันทยาหัตถ์
วันทยาวุธ วันทยวุธ
วางก้าม วางกล้าม วางโต
วาทกรรม วาทะกรรม สมาสแล้วไม่มีสระอะ
วาทิต วาฑิต วาทิต หมายความว่า ดนตรี หรือผู้บรรเลงดนตรี
วายชนม์ วายชน
วารดิถี วาระดิถี สมาสแล้วไม่มีสระอะ
วาฬ วาล
วิ่งเปี้ยว วิ่งเปรี้ยว
วิ่งผลัด วิ่งผัด
วิจาร, วิจารณ, วิจารณ์ วิจารย์ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานกำหนดไว้ทั้งสามคำ
วิญญาณ วิญญาน
วิดีโอ วีดีโอ, วีดิโอ ทับศัพท์จาก video หรือใช้คำว่า วีดิทัศน์
วิตถาร วิตถาน, วิตถาล
วิตามิน วิตตามิน, วิตะมิน
วินาที วินาฑี
วินาศกรรม วินาศะกรรม
วิพากษ์ วิพากย์ • วิพากษ์ = พิจารณาตัดสิน

• พากย์ = ให้เสียงแทนผู้แสดง, บรรยายถ่ายทอดในการแข่งขันกีฬา

วิพากษ์วิจารณ์ วิพากย์วิจารณ์, วิพากษ์วิจารย์, วิพากย์วิจารย์ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานกำหนดไว้เพียงว่า "วิพากษ์วิจารณ์" หมายถึง วิจารณ์, ติชม
วิศวกร วิศวะกร
วิศวกรรม วิศวะกรรม
วิหารคด วิหารคต
วีดิทัศน์ วีดีทัศน์, วิดีทัศน์ มาจากภาษาสันสกฤต วีติ + ทศฺน
เวท เวทย์ "เวท" เป็นคำนาม แปลว่า ถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์สำหรับเสกเป่า ฯลฯ

"เวทย์" เป็นคำวิเศษณ์ แปลว่า ควรรู้

เวทมนตร์ เวทย์มนตร์, เวทมนต์, เวทย์มนต์
เวนคืน เวรคืน
เวียดนาม เวียตนาม
ไวยากรณ์ ไวยกรณ์

แก้ไข

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ
ศรัทธา, สัทธา ศัทธา นิยมใช้ "ศรัทธา" มากกว่า
ศรีสะเกษ ศีรษะ-, ศรีษะ-, -เกศ เฉพาะชื่อจังหวัด
ศศิธร สสิธร, ศศิทร ศศิธร หมายถึง ดวงจันทร์
ศักย์ ศักดิ์ ศักย์ ที่หมายถึง ศักย์ไฟฟ้า ศักยภาพ ใช้ ย แต่ ศักดิ์ที่กล่าวถึง ศักดินา ใช้ ด
ศัตรู สัตรู, ศตรู
ศัพท์ ศัพย์
ศัสตราวุธ ศาสตราวุธ ศสฺตฺร แปลว่า เครื่องฟันแทง
-ศาสตรดุษฎีบัณฑิต -ศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต ปริญญาเอก เช่น รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต
-ศาสตรบัณฑิต -ศาสตร์บัณฑิต ปริญญาตรี เช่น เศรษฐศาสตรบัณฑิต
-ศาสตรมหาบัณฑิต -ศาสตร์มหาบัณฑิต ปริญญาโท เช่น นิติศาสตรมหาบัณฑิต
ศิลป์, ศิลปะ ศิลป ใช้เป็นศัพท์โดด
ศิลปกรรม ศิลปะกรรม คำสมาส
ศิลปวัฒนธรรม ศิลปะวัฒนธรรม หากต้องการแยกคำควรใช้ "ศิลปะและวัฒนธรรม"
ศิลปวัตถุ ศิลปะวัตถุ คำสมาส
ศีรษะ ศรีษะ
ศึกษานิเทศก์ ศึกษานิเทศ, ศึกษานิเทศน์
เศรษฐินี เศรษฐีนี
เศวต เศวตร "เศวต" แปลว่า สีขาว เช่น เศวตฉัตร, "เศวตร" แปลว่า โรคเรื้อน

แต่โบราณเคยใช้ "เศวตร" ในความหมาย สีขาว

โศกนาฏกรรม โศกะนาฏกรรม, โศกนาฎกรรม ใช้ ฏ ปฏัก
โศกศัลย์ โสกศัลย์, โศกสันต์
โศกเศร้า โสกเศร้า
ไศล ไสล, ศไล หมายถึง เขาหิน

แก้ไข

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ
สกัด สะกัด
สกาว สะกาว
สแกน แสกน
สดับ สะดับ
สถานการณ์ สถานการ, สถาณการณ์
สถิต สถิตย์ ยกเว้น "สถิตยศาสตร์"
สนนราคา สงวนราคา "สนนราคา" หมายถึง ราคา ; "สงวนราคา" หมายถึง รักษาระดับราคาไว้
สบง สะบง
สบาย สะบาย
สบู่ สะบู่
สไบ สะไบ, ไสบ
สเปน เสปน, สเปญ
สภาวการณ์, สภาพการณ์ สภาวะการณ์
สมดุล สมดุลย์
สมเพช สมเพท, สมเพศ, สมเพส
สรรเพชญ สรรเพชร
สรรแสร้ง สรรค์แสร้ง
สรรหา สรรค์หา สรรค์ หมายถึง สร้าง, ทำให้เกิดขึ้น
สรวงสวรรค์ สวงสวรรค์
สร้างสรรค์ สร้างสรร
สวรรคต สวรรณคต, สวรรค์คต
สอบเชาวน์ สอบเชาว์
สะกด สกด
สะกิด สกิด
สะคราญ สคราญ
สะดวก สดวก
สะพรึงกลัว สะพึงกลัว
สะพาน สพาน
สะเหล่อ สะเหร่อ, เสร่อ, เสล่อ
สะอาด สอาด
สักการบูชา สักการะบูชา คำสมาส
สังเกต สังเกตุ
สังเขป สังเขบ
สังคายนา, สังคายนาย สังคยานา, สังคยนา
สังฆทาน สังขทาน, สังคทาน
สังวร สังวรณ์
สังวาล สังวาลย์ ยกเว้นชื่อเฉพาะ "สังวาลย์"
สังสรรค์ สังสรร
สัญชาตญาณ สัญชาติญาณ สัญชาต = ที่เกิดเอง; สัญชาติ = ความเป็นพลเมืองของประเทศ
สัญลักษณ์ สัญลักษ์, สัญญลักษณ์
สัณฐาน สันฐาน, สันฐาณ, สัณฐาณ รูปพรรณสัณฐาน
สันโดษ สัญโดษ
สันนิษฐาน สันนิฐาน, -ฐาณ
สับปลับ สัปลับ
สับปะรด สัปรด, สัปปะรด, สับปะรส มิได้แผลงมาจาก สรรพรส
สัปเหร่อ สัพเหร่อ, สัปปะเหร่อ
สัพยอก สรรพยอก
สัมภาษณ์ สัมภาษ, สัมภาสน์
สัมมนา สัมนา, สำมะนา
สาทร สาธร ชื่อถนนสายหนึ่ง และเขตการปกครองในกรุงเทพมหานคร
สาธารณชน สาธารณะชน คำสมาส ระวังการใช้ในบริบท สาธารณะ-ชน
สาธารณประโยชน์ สาธารณะประโยชน์ คำสมาส
สาธารณสถาน สาธารณะสถาน คำสมาส
สาธารณสมบัติ สาธารณะสมบัติ คำสมาส
สาธารณสุข สาธารณะสุข คำสมาส
สาบสูญ สาปสูญ
สาบาน สาบาญ
สาปแช่ง สาบแช่ง
สาปสรร สาบสรร
สามเส้า สามเศร้า เส้า หมายถึง ไม้หลักหรือวัตถุที่ตั้งหรือปักเป็นสามมุมสำหรับรองรับ
สายสิญจน์ สายสิญจ์
สารประโยชน์ สาระประโยชน์ คำสมาส
สารภี สาระพี, สารพี ชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่ง ดอกสีขาวกลิ่นหอม, มิได้หมายถึง เครื่องครัว
สาระสำคัญ สารสำคัญ มิใช่คำสมาส
สารัตถประโยชน์ สารัตถะประโยชน์ คำสมาส
สารัตถะสำคัญ สารัตถสำคัญ มิใช่คำสมาส
สำอาง สำอางค์ เครื่องสำอาง
สิงโต สิงห์โต หรือใช้เพียงคำว่า สิงห์
สิทธิ, สิทธิ์ สิทธ, สิทธ์
สีสวาด สีสวาท, สีสวาส แมวสีสวาด
สีสัน สีสรร, สีสรรค์
สุกียากี้ สุกี้ยากี้ สามารถเรียกสั้น ๆ ว่า สุกี้
สุข ศุข ศุข พบบ้างในหนังสือเก่า
สุคติ สุขติ, สุขคติ
สุญญากาศ สูญญากาศ ใช้สระ "อุ"
สูจิบัตร สูติบัตร ใบแจ้งกำหนดการ
สูติบัตร สูจิบัตร เอกสารหลักฐานการเกิด
เสกสรร เสกสรรค์
เสบียง สะเบียง, สเบียง
เสพ เสพย์ ปัจจุบันพจนานุกรมให้สะกดแบบเดียวเท่านั้น เช่น เสพสุรา เสพยา เสพเมถุน เสพสม เสพติด (สารเสพติด สิ่งเสพติด ยาเสพติด)
เสิร์ฟ เสริฟ, เสริฟ์ มาจาก serve ไม่ใช่อักษรควบกล้ำ
เสลด สเลด อ่านว่า "สะ-เหฺลด" มาจากสันสกฤษ "เศฺลษฺม" ตรงกับบาลีว่า "เสมห" แปลว่า phlegm
เสื้อกาวน์ เสื้อกาว, เสื้อกาวด์ มาจาก gown
เสื้อเชิ้ต เสื้อเชิ๊ต
แสตมป์ สแตมป์ คำที่ปรากฏในพจนานุกรมไทย
โสฬส โสรส อ่านว่า "โส-ลด"
ไส้ ใส้

แก้ไข

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ
หกคะเมน หกคเมน, หกคะเมร
หงส์ หงษ์
หน็อยแน่ หนอยแน่
หนาแน่น แน่นหนา - "หนาแน่น" ว่า คับคั่ง, แออัด, เช่น กรุงเทพฯ มีประชากรหนาแน่นมาก.

- "แน่นหนา" ว่า มั่นคง เช่น ใส่กุญแจแน่นหนา มีหลักฐานมัดตัวแน่นหนา, แข็งแรง เช่น ประตูหน้าต่างแน่นหนา, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับ ปึกแผ่น เป็น เป็นปึกแผ่นแน่นหนา.

หน้าปัดนาฬิกา หน้าปัทม์นาฬิกา
หม้อห้อม, ม่อห้อม, ม่อฮ่อม หม้อฮ่อม
หมาใน หมาไน
หมามุ่ย, หมามุ้ย หมาหมุ้ย
หมูหย็อง หมูหยอง ของกินทำด้วยหมูเนื้อแดงปรุงรส ต้มเคี่ยวให้เปื่อยจนงวด นำไปผัดจนแห้ง ขยี้ให้เป็นฝอย, รวมถึงที่ทำจากวัตถุดิบอื่นด้วย เช่น ไก่หย็อง ฯลฯ (ใส่ไม้ไต่คู้เพราะออกเสียงสั้น)
หยากไย่, หยักไย่ หยากใย่, หยักใย่
หย่าร้าง อย่าร้าง
หยิบหย่ง หยิบย่ง, หยิบโย่ง
ห่วงใย ห่วงไย คำที่ใช้ไม้ม้วน
หัวมังกุท้ายมังกร หัวมงกุฎท้ายมังกร (สำนวน) ไม่เข้ากัน ไม่กลมกลืนกัน (มังกุคือเรือที่มีกระดูกงูใหญ่)
หัวหน่าว หัวเหน่า
เหม็นสาบ เหม็นสาป
เหล็กใน เหล็กไน ให้จำว่า เหล็กอยู่ข้างใน
เหลือบ่ากว่าแรง เหนือบ่ากว่าแรง (สำนวน) เกินความสามารถ
เหิน เหิร
แหลกลาญ แหลกราญ, แหลกราน
โหยหวน โหยหวล
โหระพา โหรพา, โหระภา
ใหลตาย ไหลตาย ใหล หมายถึงหลับใหล (ดู ราชบัณฑิตยสถาน)
ไหม มั๊ย, ไม๊ อักษรต่ำเติมไม้ตรีไม่ได้ อาจอนุโลมใช้ มั้ย ตามเสียงพูด แผลงมาจาก "หรือไม่"
ไหหลำ ใหหลำ ทับศัพท์จากภาษาจีน

แก้ไข

ปัจจุบันไม่มีคำที่ขึ้นต้นด้วย "ฬ" คำโบราณที่ขึ้นต้นด้วย "ฬ" หันไปใช้ "ล" แทน เช่น "ฬา" ก็ใช้เป็น "ลา", "ฬ่อ" ก็ใช้เป็น "ล่อ" เป็นต้น

แก้ไข

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ
(พระ)องค์ (พระ)องศ์
องคชาต องคชาติ
องคุลิมาล องคุลีมาล, องคุลีมาร, องคุลิมาร องคุลี (นิ้วมือ) + มาล (สร้อยคอ, สาย หรือ แถว) = องคุลิมาล (สร้อยคอที่ทำจากนิ้วมือ) โดยที่ ลี ใน องคุลี ลดเป็น ลิ เสียงสั้นตามหลักการสมาส
อธิษฐาน, อธิฏฐาน อธิฐาน, -ฐาณ
อนาถ อนาจ
อนาทร อนาธร
อนุกาชาด อนุกาชาติ
อนุญาต อนุญาติ ญาติ เขียนมีสระ อิ
อนุมัติ อนุมัต
อนุรักษนิยม อนุรักษ์นิยม คำสมาส
อนุสาวรีย์ อนุเสาวรีย์, อณุสาวรีย์
อเนก เอนก มาจาก อน+เอก ตัวอย่างเช่น อเนกประสงค์ อเนกประการ อเนกอนันต์ เว้นแต่วิสามานยนามเช่น เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เอนก นาวิกมูล
อเนจอนาถ อเนถอนาถ
อภิรมย์ อภิรมณ์
อภิเษก อภิเสก
อมต, อมตะ อัมตะ, อำมตะ
อมรินทร์ อัมรินทร์ ยกเว้นชื่อเฉพาะ "อัมรินทร์"
อมฤต, อำมฤต อัมฤต
อริยเมตไตรย อริยเมตตรัย, อริยเมตไตร
อริยสัจ อริยสัจจ์
อลักเอลื่อ อะหลักอะเหลื่อ
อลังการ อลังการ์ อ่านว่า อะ-ลัง-กาน
อวสาน อวสาณ, อวสานต์
อสงไขย อสงขัย
อหังการ์ อหังการ อ่านว่า อะ-หัง-กา
อหิวาตกโรค อะหิวาตกโรค
ออกหาก ออกห่าง
ออฟฟิศ อ็อฟ-, -ฟิซ, -ฟิส, -ฟิต คำที่ปรากฏในพจนานุกรมไทย หรือใช้คำว่า สำนักงาน, ที่ทำการ
อะลุ่มอล่วย, อะลุ้มอล่วย อะลุ่มอะล่วย, อลุ่มอล่วย
อะฟลาทอกซิน อัลฟาทอกซิน ทับศัพท์จาก aflatoxin
อะไหล่ อะหลั่ย, อา-
อักขรวิธี อักขระวิธี สมาสแล้วตัดสระอะ
อักษร อักศร, อักสร
อัญชัน อัญชัญ
อัญมณี อัญมนี, อัญญมณี
อัฒจันทร์ อัธจันทร์
อัตคัด อัตคัต
อัตนัย อัตตะนัย "อัตนัย" ตรงกับภาษาอังกฤษว่า "subjective" บางทีใช้ "อัตวิสัย" หรือ "จิตวิสัย" หมายความว่า "ที่มีอยู่ในจิต, ที่เกี่ยวกับจิต; ที่จิตคิดขึ้นเองโดยไม่อาศัยวัตถุภายนอก"
อัธยาศัย อัทยาศัย, อัธยาษัย
อัมพาต อัมพาส
อัลบั้ม อัลบัม
อากาศ อากาส
อาฆาตมาดร้าย อาฆาตมาตร้าย
อาเจียน อาเจียร
อานิสงส์ อานิสงฆ์
อาเพศ อาเพส, อาเภส
อายัด อายัติ, อายัต
อารมณ์ อารมย์
อาวรณ์ อาวร
อาสน์สงฆ์ อาสสงฆ์
อำนาจบาตรใหญ่ อำนาจบาทใหญ่
อำมหิต อัมหิต
อินทรธนู อินธนู, อินทร์ธนู
อินทรี (นกอินทรี, ปลาอินทรี) อินทรีย์ (นกอินทรีย์, ปลาอินทรีย์)
อินทรียวัตถุ อินทรีวัตถุ, อินทรีย์วัตถุ
อินฟราเรด อินฟาเรด, อินฟาร์เรด ทับศัพท์จาก infrared
อิริยาบถ อิริยาบท
อิสรภาพ อิสระภาพ คำสมาส
อิสรเสรี อิสระเสรี คำสมาส
อีเมล อีเมล์ ทับศัพท์จาก e-mail
อีสาน อิสาน, -สาณ
อุกกาบาต อุกาบาต
อุกฤษฏ์ อุกฤติ
อุดมการณ์ อุดมการ
อุทธรณ์ อุธรณ์
อุทาหรณ์ อุธาหรณ์, อุทาหร
อุบาทว์ อุบาท
อุปการคุณ อุปการะคุณ คำสมาส
อุปถัมภ์ อุปถัมธ์, อุปถัมน์
อุปโลกน์ อุปโลก
อุปัชฌาย์ อุปัชฌา, อุปัชชา
อุปาทาน อุปทาน - อุปาทาน = การยึดมั่นถือมั่น, การนึกเอาเอง เช่น อุปาทานหมู่

- อุปทาน (เศรษฐศาสตร์) = สินค้าหรือบริการที่พร้อมจะขายในตลาดเพื่อตอบสนองความต้องการซื้อ

อุโมงค์ อุโมง
อุสุภราช อุศุภราช แปลว่า พญาวัว (อุสุภ แปลว่า วัว) เป็นชื่อโคทรงของพระอิศวร ในสมัยที่ยังไม่มีพจนานุกรมของราชการเขียนคละกันไปทั้ง "อุสุภราช" และ "อุศุภราช" (เช่น "อุศุภราชเป็นโคนา ท่านใช้")
เอกเขนก เอกขเนก
เอกฉันท์ เอกฉัน, เอกะฉันท์
เอ็นดอร์ฟิน เอ็นโดรฟิน ทับศัพท์จาก endorphine
เอาใจออกหาก เอาใจออกห่าง
โอกาส โอกาศ
ไอศกรีม ไอศครีม, ไอติม

แก้ไข

คำที่เขียนถูก มักเขียนผิดเป็น หมายเหตุ
ฮ่อยจ๊อ หอยจ๊อ, ห้อยจ๊อ, -จ้อ
เฮโลสาระพา, เฮละโลสาระพา เฮโลโหระพา, เฮละโลโหระพา

ข้อผิดพลาด:ไม่พบหน้ารอง "/สารบัญ" หรือ "/Index" กรุณาอ่านที่เอกสารการใช้งานแม่แบบ


ดูเพิ่ม


อ้างอิง แก้ไข

  1. ราชบัณฑิตยสถาน (02-11-2553). "คอลัมน์: มุมภาษา: การเขียนคำความหมายของคำ". มติชน. http://www.ryt9.com/s/bmnd/1018115. Retrieved 02-12-2555.