เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Lnwpomzaa007 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
แทนที่เนื้อหาด้วย "{{Template:Welcome|realName=|name=Lnwpomzaa007}} -- New user message (คุยกับผู้..."
ป้ายระบุ: ถูกแทน
 
บรรทัดที่ 3:
-- [[ผู้ใช้:New user message|New user message]] ([[คุยกับผู้ใช้:New user message|คุย]]) 16:51, 24 ธันวาคม 2563 (+07)
 
== ตำรา ==
== กองพันทหารม้าที่ 14 กรมทหารม้าที่ 7 ==
 
โครงการนี้มีไว้สร้างหนังสือตำราครับ ไม่ได้มีไว้สำหรับลงเนื้อหาที่ลงไม่ได้ในวิกิพีเดีย โปรดดูรายละเอียดที่ [[วิกิตำรา:วิกิตำราคืออะไร]] ขอบคุณครับ --[[ผู้ใช้:Geonuch|Geonuch]] ([[คุยกับผู้ใช้:Geonuch|คุย]]) 18:55, 24 ธันวาคม 2563 (+07)
== ''''''กองพันทหารม้าที่ 14 กรมทหารม้าที่ 7'''''' ==
 
''...ประวัติความเป็นมา...''
 
กองพันทหารม้าที่ ๑๔ จัดตั้งขึ้นตามแผนพัฒนากองทัพบก ปี ๒๕๒๑ เป็นกองพันทหารม้าเบา กองพันแรกของเหล่าทหารม้า มีที่ตั้งชั่วคราวที่ ศูนย์การทหารม้า จังหวัดสระบุรี เป็นหน่วยในอัตราของ กองพลทหารม้าที่ ๑
ปี ๒๕๒๕ ย้ายเข้าที่ตั้งถาวร ณ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
ปี ๒๕๓๗ ย้ายเข้าที่ตั้งถาวรในปัจจุบัน ณ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
ปี ๒๕๓๘ ปรับโครงสร้างการจัดหน่วย เป็นกองพันทหารม้าบรรทุกยานเกราะ ใช้อัตราการจัดยุทโธปกรณ์ ๑๗-๒๕ พ. ลง ๑๐ มิถุนายน ๒๕๒๘ และปรับโอนการบังคับบัญชาจาก กองพลทหารม้าที่ ๑ มาขึ้นการบังคับบัญชากับ กรมทหารม้าที่ ๖
วันที่ ๑๕ ก.ค. ๓๙ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานนามค่ายชื่อว่า “ ค่ายเปรมติณสูลานนท์ ”
วันที่ ๑ มิ.ย. ๕๖ ปรับโอนการบังคับบัญชา จากกรมทหารม้าที่ ๖ มาเป็นหน่วยขึ้นตรงของกรมทหารม้าที่ ๗
 
''....เกียรติประวัติ....''
 
วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๒๔ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ “เหรียญรัตนาภรณ์ชั้นที่๑” จากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และได้รับพระราชทาน “ธงชัยเฉลิมพล” ในวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๒๖
จากนั้นได้รับพระราชทาน พระบรมราชานุญาต สถาปนาให้เป็นหน่วย “ในพระองค์สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ” ในวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๔๓
 
<big>วันสถาปนาหน่วย : ม.พัน.๑๔ ได้ยึดถือเอาวันที่ ๒๗ เม.ย. ของทุกปี เป็น วันคล้ายวันสถาปนาหน่วย</big>
 
''.....การจัด.....''
 
ม.พัน.๑๔ ใช้ อจย. หมายเลข ๑๗-๒๕ พ. มีหน่วยขึ้นตรง ประกอบด้วย
- กองบังคับการกองพันและกองร้อยสนับสนุนการรบ อจย.๑๗-๒๖ พ.
- กองร้อยสนับสนุนการช่วยรบ อจย.๑๗ – ๒๘ พ.
- กองร้อยทหารม้า ๓ กองร้อย อจย. ๑๗ – ๒๗ พ.
 
''.....ภารกิจ.....''
 
เข้าประชิดข้าศึกด้วยการยิงและการดำเนินกลยุทธ เพื่อทำลายหรือจับเป็นเชลย
ทำลายการเข้าตีด้วยการยิง การรบประชิด และการตีโต้ตอบ
''
....การปฎิบัติภารกิจสำคัญ....''
 
 
* ยุทธการน่านร่มเย็น
ยุทธการน่านร่มเย็นถือเป็นยุทธการที่ใหญ่ที่สุดของกองพลทหารม้าที่ ๑ ส่วนหน้า โดยเมื่อ ๓๐ ส.ค. ๒๕๒๓ ได้มีการจัดกำลังจากกองพันทหารม้าที่ ๑๐ กองพันทหารม้าที่ ๑๒ กองพันทหารม้าที่ ๑๓ กองพันทหารม้าที่ ๑๔ และ กองพันทหารม้าที่ ๑๕ ร่วมปฏิบัติการ
โดยแบ่งออกเป็น ๓ กองรบเคลื่ยนย้ายกำลังทางอากาศเข้ากวาดล้าง ผกค. บริเวณเขต ๑ ดอยผาแดงบนเทือกเขาภูแว้ง เขตอำเภอทุ่งช้างโดยการรุกเข้าหาที่หมายเป็นสี่ทางจนสามารถยึดที่หมายไว้ได้เป็นผลสำเร็จและตั้งฐานปฏิบัติเตรียมการขยายผล
โดยกองพันทหารม้าที่ ๑๔ ได้มีส่วนในการปฎิบัติภารกิจในครั้งนี้โดยได้จัดกำลัง ๒ ร้อย.ม. เข้าปรามปราม ผกค. โดยมี ร.อ.บรรพต งามกัณหา และ ร.อ.ศุภชัย ประสานวรรณ เป็น ผบ.ร้อย.ม.ที่ ๓๐๔ และ ๓๐๕ ณ ขณะนั้น ต่อมาได้จัดกำลังเป็น บก.ร้อย และ ร้อย.ม.ปราบปราม ผกค. โดยมี พ.ท.เสงี่ยม สวางควัฒน์ เป็น ผบ.ฉก.ม.๓ และ ร.ท.เชาวฤทธิ์ เป็น ผบ.ร้อย.ม.ที่ ๓๐๔ จนสามารถสร้างชื่อเสียงและเกียรติประวัติให้แก่หน่วยจนถึงปัจจุบัน
*
* ยุทธการผาเมืองเกรียงไกร
ยุทธการผาเมืองเกรียงไกรถือเป็นยุทธการท้ายสุด ที่ดำเนินในพื้นที่รอยต่อ ๓ จังหวัด (พิษณุโลก- เพชรบูรณ์-เลย ) เพื่อกวาดล้างกำลังของ พคท. โดยเปิดยุทธการเมื่อ ๙ พ.ค. ๒๕๒๕ เป็นยุทธการต่อเนื่อง จากยุทธการหักไพรี มีภารกิจปราบปราม ผกค. กวาดล้างเป้าหมายใน บริเวณภูหินร่องกล้า ภูขัด และ ภูเมี่ยง
โดยฝ่ายเราสามารถเข้ายึดพื้นที่ได้ทั้งหมด ส่งผลให้มวลชนเข้ามอบตัวเพื่อร่วมพัฒนาชาติไทย เป็นจำนวนมาก และในการนี้กองพันทหารม้าที่ ๑๔ ได้มีบทบาทโดยได้จัดกำลัง ๒ ร้อย ม. และส่วน บก.พัน เข้าปราบปราม ผกค. โดยมี พ.ท.สมบูรณ์เกียรติ สิทธิเดชะ เป็น ผบ.พัน.ม.๓๑๔ ร.ท.ชัยนิตย์ ศรีสถิตธรรม และ ร.ท.เชาวฤทธิ์ ศิริกิจ เป็น ผบ.ร้อย.ม.ที่ ๓๑๔๑ และ ๓๑๔๒ และในปี ๒๕๒๕ – ๒๕๒๗ ได้จัดกำลัง ๑ ร้อย.ม. ปราบปราม ผกค. บริเวณ ภูขัด, ภูสอยดาว โดยมี ร.ท.จรัญ สารสิทธิ์ เป็น ผบ.ร้อย.ม.ที่ ๓๐๖๔ และร้อย.ม.ที่ ๓๑๔ จนสามารถสร้างชื่อเสียงและเกียรติประวัติให้กับหน่วยจนถึงปัจจุบันนี้
*
* กรณีพิพาทพรมแดนไทย – สปป.ลาว
สมรภูมิบ้านร่มเกล้าเกิดจากกรณีพิพาทด้านพรมแดนระหว่างไทยกับลาว เนื่องจากยึดถือพรมแดนจากแผนที่คนละฉบับในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ทางการลาวได้อ้างสิทธิเหนือดินแดนบริเวณบ้านร่มเกล้า และยกกำลังเข้ามายึดพื้นที่บ้านร่มเกล้า ในเขตอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลกและยึดเนิน ๑๔๒๘ เป็นที่มั่น ฝ่ายไทยจึงได้ใช้ทหารม้าและทหารพรานรุกคืบหน้าเข้าสู่บริเวณเนิน ๑๔๒๘ เพื่อทำการพลักดันกำลังฝ่ายตรงข้าม สาเหตุสำคัญที่เราไม่สามารถเผด็จศึกได้อย่างที่คาดหมาย เนื่องจากฝ่ายตรงข้ามมีชัยภูมิที่ได้เปรียบ ที่มั่นบนเนิน ๑๔๒๘ มีความแข็งแรงสามารถส่งกำลังบำรุงสนับสนุน อย่างต่อเนื่องและรวดเร็วการยิงอาวุธหนักของฝ่ายตรงข้ามมีความแม่นยำและได้ผลมาก ฝ่ายไทยจึงได้ปรับยุทธการรบใหม่ โดยใช้กำลังปืนใหญ่ระยะยิงไกล ระดมยิงเข้าไปในดินแดนฝ่ายตรงข้ามที่หมายคือการยิงฐานปืนใหญ่และที่ตั้งกำลังทหาร พร้อมทั้งส่งหน่วยรบพิเศษเข้าไป ตัดการ ส่งกำลังสนับสนุนของฝ่ายตรงข้าม รวมถึงการปฎิบัติการทางอากาศในพื้นที่ส่วนลึก แต่แล้ววันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ ก็ได้มีการเจรจายุติศึกแยกกำลังของทั้ง ๒ ฝ่าย ออกจากกันฝ่ายละ ๓ กม. อันเป็นที่สิ้นสุดการบ โดยกองพันทหารม้าที่ ๑๔ ได้มีส่วนร่วมในการปฎิบัติการโดย เมื่อ ๑๑ ธ.ค. ๓๐ ได้จัดกำลัง ๒ ร้อย.ม. ป้องกันประเทศชายแดนไทย – สปป.ลาว บริเวณบ้านร่มเกล้า โดยมี ร.อ.ธนิต บุตรจินดา และ ร.อ.สมหมาย ลพล้ำเลิศ เข้าร่วมในยุทธการครั้งนั้น จนสามารถสร้างชื่อเสียงแลเกียรติประวัติให้กับหน่วยจนถึงปัจจุบัน
*
* กรณีพิพาทพรมแดนไทย – กัมพูชา
ความขัดแย้งไทย–กัมพูชา เป็นเหตุการณ์ที่เริ่มต้นภายหลังจากกัมพูชานำปราสาทพระวิหารไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๑ เหนือกรณีพิพาทพรมแดนพื้นที่พระวิหาร ได้เกิดความตึงเครียดบริเวณชายแดนไทย – กัมพูชา บริเวณปราสาทพระวิหารมาเป็นลำดับ จนในที่สุดได้เกิดการปะทะกันระหว่างทหารไทยและกัมพูชาโดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อวันที่ ๔ ก.พ. ๕๔ ที่บริเวณภูมะเขือ ด้านทิศตะวันตกของเขาพระวิหารโดยได้มีการระดมยิงทั้งปืนใหญ่และอาวุธนานาชนิดเข้าใส่กันอย่างต่อเนื่อง จนเกิดการปะทะ ตลอดแนวชายแดนบริเวณปราสาทเขาพระวิหารทั้งสองฝ่ายได้เพิ่มเติมกำลังบริเวณแนวชายแดนและเกิดการปะทะกันระหว่างทหารไทยกับทหารกัมพูชาอยู่หลายครั้ง
กองพันทหารม้าที่ ๑๔ ได้รับคำสั่งในการเข้าปฎิบัติการในครั้งนี้และจัดกำลัง ๑ ร้อย.ม.(ก) พร้อมยุทโธปกรณ์และยานพาหนะ โดยมี ร.อ.วชิร มีไชยธร เป็น ผบ.ร้อย.ม.(ก) ขึ้นสมทบกับ ฉก. ๑ ปฏิบัติภารกิจในการ รักษาอธิปไตยของชาติ โดยในห้วง ๖ –๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ได้ใช้กำลังดังกล่าว เข้าผลักดันกองกำลังฝ่ายตรงข้ามที่พยายามรุกล้ำอธิปไตย บริเวณเขาสัตตะโสม อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และหน่วยสามารถผลักดันกองกำลังฝ่ายตรงข้าม ได้สำเร็จ และได้รับหนังสือชมเชยจากกองกำลังสุรนารี และ พัน.ร.๑๒ (ร.๒๓ พัน.๑) ซึ่งเป็นหน่วยรับผิดชอบพื้นที่หลักและเป็นเกียรติประวัติแก่หน่วยจนถึงปัจจุบัน
*
* หน่วยเฉพาะกิจปัตตานี ๒๑
สถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ของประเทยไทย มีมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ แต่ความไม่สงบดังกล่าวเริ่มบานปลายขึ้นหลัง พ.ศ. ๒๕๔๗ ในสามจังหวัดภาคใต้ ได้แก่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสี่อำเภอของ จังหวัดสงขลาได้แก่ อ.จะนะ อ.นาทวี อ.เทพา และ อ.สะบ้าย้อย โดยมีเหตุการณ์ลอบทำร้าย วางเพลิง วางระเบิด และจราจลเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง กองพันทหารม้าที่ ๑๔ ได้มีส่วนร่วมในการรักษาความสงบในพื้นที่จังหวัดปัตตานี เมื่อ ๑ เม.ย ๕๔ ได้จัดกำลังในส่วน บก.ฉก.ป.น.๒๑ และจัด ๑ ร้อย.ม. ปฎิบัติภารกิจ ณ อ.ยะรัง จว.ป.น. โดยมี พ.ต.วชิร มีไชยธร เป็น รอง ผบ.ฉก.ป.น.๒๑ และ ร.อ.พิเชษฐ ดาศรี เป็น ผบ.ร้อย.ม. ต่อมาเมื่อ ๑ ต.ค. ๕๔ ได้จัดกำลังในส่วน บก.ฉก.ป.น.๒๑ (พัน.ม.๖๑๔), ๑ ร้อย.สน และ ๒ ร้อย.ม. เข้าปฎิบัติภารกิจ โดยมี พ.ท.นิสิต สมานมิตร เป็น ผบ.ฉก.ป.น.๒๑ ร.อ.วรวิทย์ สาครวงษ์ เป็น ผบ.ร้อย.สน. ร.อ.พิเชษฐ ดาศรี และ ร.อ.จักรภพ คำศรี เป็น ผบ.ร้อย.ม. เข้าปฎิบัติภารกิจ ณ อ.ยะรัง และ อ.แม่ลาน จว.ป.น.
ภารกิจ เหนือสิ่งอื่นใด
 
<big>...." พลีชีวิต เพื่อชาติจนวางวาย แม้ตัวตาย ไทยอยู่คู่ปฐพี "....</big>
 
 
๑. ส.อ.สนั่น กุละจันทร์เพ็ง ๒๐ ก.ย. ๒๓ จว.น่าน
ยุทธการน่านร่มเย็น
 
๒. ส.อ.พงษ์สันต์ ยิ้มประเสริฐ ๓๐ ก.ค. ๒๔ จว.น่าน
ลว.รอบฐานปฏิบัติการ
 
๓. พลฯ ตฤน แสงศรี ๑๒ พ.ค. ๒๕ จว.พิษณุโลก
ยุทธการผาเมืองเกรียงไกร
 
๔. พลฯ บุญไทย พิมพ์การ ๑๔ พ.ค. ๒๕ จว.พิษณุโลก
ยุทธการผาเมืองเกรียงไกร
 
๕. จ.ส.อ.ส่วง ดีล้น ๒๖ ธ.ค. ๓๐ จว.พิษณุโลก
บ.ร่มเกล้า พิพาท ไทย – สปป.ลาว
 
๖. ส.อ.ประจักษ์ หลักศิลา ๒๖ ธ.ค. ๓๐ จว.พิษณุโลก
บ.ร่มเกล้า พิพาท ไทย – สปป.ลาว
 
๗. พลฯ เทียนชัย มีทรัพย์ ๒๖ ธ.ค. ๓๐ จว.พิษณุโลก
บ.ร่มเกล้า พิพาท ไทย – สปป.ลาว
 
๘. พลฯ ฉลวย คำฝอย ๒๖ ธ.ค. ๓๐ จว.พิษณุโลก บ.ร่มเกล้า พิพาท ไทย – สปป.ลาว
 
๙. พลฯ วีระศักดิ์ แทนจำปา ๒๖ ธ.ค. ๓๐ จว.พิษณุโลก
บ.ร่มเกล้า พิพาท ไทย – สปป.ลาว
 
๑๐.ส.ท.สมบัติ ไสยสุข ๒๗ ธ.ค. ๓๐ จว.พิษณุโลก
บ.ร่มเกล้า พิพาท ไทย – สปป.ลาว
 
๑๑.พลฯ สมศักดิ์ เทพไกล ๒๗ ธ.ค. ๓๐ จว.พิษณุโลก
บ.ร่มเกล้า พิพาท ไทย – สปป.ลาว
 
๑๒.พลฯ กนกพร มุลิกา ๒๗ ธ.ค. ๓๐ จว.พิษณุโลก
บ.ร่มเกล้า พิพาท ไทย – สปป.ลาว
 
๑๓.จ.ส.อ.สุนทร อินทรสุข ๓๑ ธ.ค. ๓๐ จว.พิษณุโลก
บ.ร่มเกล้า พิพาท ไทย – สปป.ลาว
 
๑๔.ส.อ.สมศักดิ์ แก่นโธสง ๑๙ ม.ค. ๓๑ จว.พิษณุโลก
บ.ร่มเกล้า พิพาท ไทย – สปป.ลาว
 
๑๕.พลฯ นรินทร์ รอบเมือง ๑๙ ม.ค. ๓๑ จว.พิษณุโลก
บ.ร่มเกล้า พิพาท ไทย – สปป.ลาว
 
๑๖.ส.ท.นิคม สุขนิล ๒๙ ม.ค. ๓๑ จว.พิษณุโลก
บ.ร่มเกล้า พิพาท ไทย – สปป.ลาว
 
๑๗.ส.ต.ประจวบ พวงงาม ๒๙ ม.ค. ๓๑ จว.พิษณุโลก
บ.ร่มเกล้า พิพาท ไทย – สปป.ลาว
 
๑๘.ส.ต.ปัทมนนท์ มะลิซ้อน ๒๙ ม.ค. ๓๑ จว.พิษณุโลก
บ.ร่มเกล้า พิพาท ไทย – สปป.ลาว
 
๑๙.ส.อ.บรรจง ศรีจันทร์กาศ ๑ ก.พ. ๓๑ จว.พิษณุโลก
บ.ร่มเกล้า พิพาท ไทย – สปป.ลาว
 
๒๐.พลฯอนุรัตน์ ยืนยง ๑ ก.พ. ๓๑ จว.พิษณุโลก
บ.ร่มเกล้า พิพาท ไทย – สปป.ลาว
 
๒๑.ส.อ.พิชญพงศ์ ชนะพาห์ ๒๗ ม.ค. ๕๐ จว.หนองคาย
บ.ห้วยช้างเผือก ชุด ชพส.
 
๒๒.จ.ส.ท.ทินกร ดวงอุปมา ๑๐ ส.ค. ๕๔ จว.ปัตตานี
บ.ทำเนียม รส. ๓ จชต.
 
๒๓.จ.ส.อ.เชิดศักดิ์ ทำมาใหม่ ๑๕ ก.ย. ๕๔ จว.ปัตตานี
บ.เจาะกะพ้อใน รส. ๓ จชต.
 
<big>"ขอเชิดชูวีรบุรุษทุกท่าน ที่เสียสละชีวิตเพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติไทย"</big> [[ผู้ใช้:Lnwpomzaa007|Lnwpomzaa007]] ([[คุยกับผู้ใช้:Lnwpomzaa007|คุย]]) 16:54, 24 ธันวาคม 2563 (+07)