ธงประดับเทศกาลต้อนรับ วันออกพรรษา
ธง | การประดับธง | รูปธง |
---|---|---|
ธง ธรรมจักร | ธงธรรมจักร เป็นธงสัญลักษณ์ที่เกี่ยวที่ข้องสำคัญในทางพระพุทธศาสนา เป็นกงสัญลักษณ์ที่มีประวัติขุดได้จากแหล่งโบราณคดีอาณาจักรทวาราวดี จังหวัดนครปฐม ซึ่งจัดแสดงไว้โดยกรมศิลปากร และตั้งแสดงให้ประชาชนได้ทราบในฐานที่เป็นวัตถุทางโบราณคดี ต่อมาสัญลักษณ์กงล้อได้ใช้แทนเป็นรูปธรรมจักรในผืนธงพื้นสีผ้าย้อมฝาดแบบจีวร เรียกว่า ธงตราธรรมจักร เมื่อคราวจัดงานขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) ซึ่งรับรองร่วมกันโดยองค์กรทางศาสนาในระดับนานาชาติ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๑ ประเทศไทยจึงประกาศใช้ธงนี้อย่างเป็นทางการ เกี่ยวกับงานศาสนพิธี และว่าด้วยการประดับธงในศาสนพิธี ว่าเป็นธงพระพุทธศาสนา เดิมเป็นรูปกงล้อธรรมจักร ๘ ซี่ ต่อมาเปลี่ยนเป็นธรรมจักรแบบ มี ๑๒ ซี่กง ในรูปวงกลมล้อตามแบบที่ใช้อยู่เดิม | |
ธง ฉัพพรรณรังสี | ๏ ธงพุทธบูชา ธงประดับเทศกาลต้อนรับ วันออกพรรษา ธงฉัพรรณรังสี คือ ธงแถบพระฉัพพรรณรังสี หมายถึง ธงศาสนา ใช้เป็นสื่อแทนกิจกรรม และเทศกาลทางพระพุทธศาสนาทั่วโลก เมื่อแขวน หรือปลดลง ประกอบด้วยพระคาถาด้วยจึงได้เครื่องระลึกทางใจ ที่ว่าในใจนั้น. ว่า ฉพฺพณฺณรํสี ธชาหฏ สาธุํ พุทฺธปูชายิทํ ผลํ (อนึ่ง ผ้าพระฉัพรรณรังสีที่เขาจัดให้เป็นธง สำเร็จผลแก่การบูชาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า) | |
ธง เต่า | ๑. ธงประดับเทศกาลต้อนรับ วันออกพรรษา ธงเต่า หมายถึง การให้หาเครื่องระลึกไปถึงการประดับ ว่าได้ประดับแจ้งเหตุแก่การทอดกฐิน ก็เมื่อสิ้นสุดจบลงบริบูรณ์แล้ว จะได้ปลดธงลงไว้มอบแก่สถานที่บูชา ในเมื่อวันเพ็ญเดือน ๑๒ มาถึงนี้. แล้วว่า กจฺฉป ธชาหฏ สาธุํ ปูชายิทํ ผลํ (ผ้ารูปเต่าที่เขาจัดให้เป็นธง สำเร็จผลแก่การบูชาแล้ว) | |
ธง เงือก | ๒. ธงประดับเทศกาลต้อนรับ วันออกพรรษา ธงเงือก หมายถึง เสน่ห์พิธีถวายผ้ากฐิน เป็นตัวแทนเครื่องประดับหญิงสาว และความงาม ให้กำหนดระลึกตามผลาธิกุศลตาม ว่าเมื่อถวายผ้ากฐินแล้วปรารถนาสิ่งงามตา งามใจแล้วย่อมเป็นผล. เมื่อเก็บธง หรือแขวนธงนั้น ให้ว่าดังนี้. มตฺสฺย? ธชาหฏ สาธุํ ปูชายิทํ ผลํ (ผ้ารูปปลาที่เขาจัดให้เป็นธง สำเร็จผลแก่การบูชาแล้ว) | |
ธง จระเข้ | ๓. ธงประดับเทศกาลต้อนรับ วันออกพรรษา ธงจระเข้ หมายถึง กามคุณของคหบดีทั้งหลาย อันไม่มีที่สุดแก่โลกียวิสัย ดำริติดตามทำบุญนั้น ถึงจนสิ้นขาดใจแต่ก็ยังโลภ ดั่งคำนิทานจระเข้อยากได้บุญจนถึงขาดใจตายนั้น. ว่า ไม่อิ่มพอในโลก (โลภ) แต่พอถึงการณ์แก่พระศาสนาได้มาถึงที่กำหนดเรียบร้อยแล้ว ก็อยากเฝ้าติดตามและประดับรับใช้จนถึงตัวตาย เมื่อญาติธรรม จะได้แขวนหรือปลดธงจระเข้ ควรได้ตามระลึกมรณานุสสติด้วย ดังนี้. ว่า กุมฺภีโล ธชาหฏ สาธุํ ปูชายิทํ ผลํ (ผ้ารูปจระที่เขาจัดให้เป็นธง สำเร็จผลแก่การบูชาแล้ว) | |
ธง ตะขาบ | ๔. ธงประดับเทศกาลต้อนรับ วันออกพรรษา ธงตะขาบ หมายถึง อย่าคาดโทษโกรธเรื่อง ตำหนิในธรรม เมื่อใช้ประดับตามความหมายธงนั้นว่า เป็นที่สาธุการรับตอบธรรม ในคหบดีที่หนึ่งนั้นๆ เขาได้จองไว้แล้ว แสดงแขวนด้วยธงรูปตะขาบนี้ ว่าให้รู้ว่า มีเกณฑ์กองจองกฐินไว้เป็นที่เรียบร้อยแน่นอนแล้ว มิพึงชักช้า มิพึงถาม เกณฑ์ผ่านเวลานาน ให้เลยผ่านไปจองกฐินวัดอื่นๆ ได้เลย และต่อเมื่อแขวนหรือปลดธงนั้น. ว่า พหุปฺปทา ธชาหฏ สาธุํ ปูชายิทํ ผลํ (ผ้ารูปตะขาบที่เขาจัดให้เป็นธง สำเร็จผลแก่การบูชาแล้ว) |
การตั้งสักการะ ถวายบูชาพระธาตุ, พระพุทธรูป
แก้ไข- ตัวอย่าง การตั้งสักการะถวายบูชา แบบ ๗ แท่น
การจัดแท่นหมู่บูชาถวายสักการะ นั้น เมื่อตั้งโต๊ะทั้ง ๗ โต๊ะบนพื้นแท่นหลัก หรือบนผืนพรมแล้ว จากนั้น ให้อาราธนาประดิษฐานซึ่ง พระธาตุ หรือพุทธนิมิตประการอื่น ๆ แบบต่าง ๆ ตามแต่ที่ตน และคณะของตนจะศรัทธา มาที่ซึ่งการประดิษฐาน ณ ตำแหน่งโต๊ะกลางสูงทางด้านหลังในสุด ลำดับที่ ๑ พร้อมด้วยเครื่องประดับแจกันหรือพานพุ่มดอกไม้ และในลำดับต่างๆ นั้น เป็นดังต่อไปนี้
- โต๊ะตัวลำดับที่ ๒ ตัวสูงกลาง ด้านหน้า ตั้งประดับแจกันดอกไม้ หรือพานพุ่มดอกไม้
- โต๊ะลำดับตัวที่ ๓ ที่ ๔ ด้านข้างตั้งประดับแจกันดอกไม้ หรือพานพุ่มดอกไม้
- โต๊ะลำดับที่ ๕ ตัวพื้นฐานด้านล่างตำแหน่งหน้าสุด ให้ตั้งประดับสักการะด้วย ธูป ๓ เทียน ๒ รวมเป็น ๕ ประการแล้ว อาจวางบูชาด้วยพวงมาลัย หรือดอกไม้ด้วยก็ได้ (ความหมาย ธูป นั้น แทนพระสังฆรัตนะ ที่ถึงแก่พระพุทธคุณทั้ง ๓ ประการ และเทียนเป็นเครื่องระลึกแทนพระธรรม และพระวินัย)
- โต๊ะตัวสูงกลางด้านข้าง ตัวที่ ๖ ที่ ๗ ให้ตั้งประดับด้วยพานพุ่มดอกไม้ สำคัญที่ว่า ตำแหน่งที่ ๓ และที่ ๔ นั้น จะตั้งประดับเป็นพานพุ่มอย่างลำดับที่ ๖ ที่ ๗ ก็ได้
การประดับหรือการประดับแก่อนุสวรีย์ทางศาสนาหรือพระบรมธาตุ และพระพุทธรูปแบบประดิษฐานถาวร นั้น ให้เป็นไปตามประกาศที่เป็นปัจจุบันของทางราชการเป็นผู้กำหนด หรือสอบถามด้วยกับหน่วยงานของราชการในท้องที่ หรือท้องถิ่นนั้นๆ ถึงการจัดตั้งโต๊ะสักการะเพื่อถวายบูชา ถึงวิธีประดับธงและการตั้งแสดงสถานที่บูชาแบบถูกต้อง
ตำรานี้คือฉบับร่างหรือโครงร่างที่ยังไม่ได้รับการพัฒนา คุณสามารถช่วยเหลือในการพัฒนางานเขียนหรือสอบถามเพื่อขอความช่วยเหลือในสภากาแฟได้ |