ต้อเนื้อ (อังกฤษ: Pterygium) เป็นอาการที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของเยื่อบุตาขาว โดยเกิดจากการโดนลม ฝุ่น หรือแสงแดดบ่อยครั้ง ซึ่งจะมีลักษณะเป็นแผ่นเนื้อสีชมพูอมแดงทรงสามเหลี่ยม โดยส่วนใหญ่เกิดที่หัวตา ก่อนที่จะค่อยๆลามไปยังส่วนกลางของตาดำ เมื่อลุกลามไปถึงรูม่านตาก็จะทำให้การมองเห็นแย่ลง และจะมีอาการมากกว่าต้อลม ซึ่งควรหลีกเลี่ยงการใส่คอนแทคเลนส์[1]

ต้อเนื้อ

ปัจจัยกระตุ้น[1]

แก้ไข
  • แสงแดด
  • อากาศที่แห้ง
  • ฝุ่น และลม

อาการที่เป็น[1]

แก้ไข
  • ตาแดง มีอาการเคืองตา ตาแห้ง ตาอักเสบ
  • มีน้ำตาไหลออกมาก
  • รู้สึกมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ภายในตา
  • กรณีที่ต้อเนื้อลามไปบริเวณกลางตาดำ จะส่งผลให้การมองเห็นแย่ลง

การป้องกัน[1]

แก้ไข
  • หลีกเลี่ยงแสงแดด โดยการสวมแว่นกันแดด และสวมหมวก
  • เลี่ยงการโดนลม ฝุ่น และอากาศแห้ง

การรักษา[1]

แก้ไข
  1. ใช้ยาหยอดตาเมื่อเกิดอาการระคายเคือง
  2. ผ่าตัดโดยการลอกต้อเนื้อ ด้วยการฉีดยาชาและหยอดยาชา
  3. กรณีที่พบจักษุแพทย์ อาจพิจารณาลอกต้อเนื้อ ดังนี้:
    • กรณีที่มีการระคายเคืองมาก มีอาการเรื้อรัง
    • ต้อเนื้อเข้าตามาก ซึ่งส่งผลต่อการมองเห็น
    • เพื่อความสวยงาม

การดูแลหลังผ่าตัด[1]

แก้ไข
  1. หลังจากลอกต้อเนื้อ จะให้ผู้ป่วยปิดตาแน่นและสามารถกลับบ้านได้โดยไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล วันต่อมาพบแพทย์ผู้รักษาเพื่อประเมินแผล โดยอาจมีอาการเจ็บแผลคล้ายเข็มทิ่มตาประมาณ 2 วัน
  2. ใช้ยาหยอดตา และยาป้ายตาตามแพทย์สั่งหลังการลอกต้อเนื้อ 1-2 สัปดาห์
  3. ผู้ป่วยหลังรับการลอกต้อเนื้อสามารถกลับไปทำงานหลังจากลอกไปแล้ว 2-3 วัน
  4. ผู้ป่วยจะยังคงมีอาการเคืองแผลที่ลอกประมาณ 3-7 วัน
  5. ภายหลังจากการลอกต้อเนื้อแล้ว ยังมีโอกาสกลับมาเป็นได้อีก 30-40 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ซึ่งต้อเนื้อที่กลับมามักมีขนาดใหญ่ และลุกลามเร็วกว่า

หมายเหตุ: กรณีที่สงสัยว่าเป็นโรคตา, โรคต้อหรือไม่ ควรพบกับจักษุแพทย์ก่อนที่จะหาซื้อยาหยอดตามาใช้เอง[1]

ดูเพิ่ม

แก้ไข

อ้างอิง

แก้ไข
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์. ‘ต้อลม-ต้อเนื้อ’. เดลินิวส์. ฉบับที่ 22,928. วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555. ISSN 16860004. หน้า 6 (อ้างถึง ข้อมูลจาก ศูนย์โรคตา โรงพยาบาลพญาไท 2)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้ไข