กรีฑา/ความรู้เกี่ยวกับกรีฑา

กรีฑา เป็นกีฬาที่เก่าแก่ที่สุดเกิดขึ้นมาพร้อมกับมนุษย์เพราะในสมัยโบราณมนุษย์ยังไม่รู้จักการทำมาหากินที่เป็นหลักแหล่งมักเร่ร่อนไม่มีเครื่องนุ่งห่มและที่อยู่อาศัยจึงต้องต่อสู้กับภัยธรรมชาติเผชิญกับความดุร้ายของสัตว์ป่าใช้ถ้ำเป็นอยู่อาศัย จึงกล่าวได้ว่ามนุษย์เป็นต้นกำเนิดของกรีฑา เพราะการที่มนุษย์ออกไปหาอาหารในการดำรงชีวิต บางครั้งต้องเดิน บางครั้งต้องวิ่งเพื่อความอยู่รอด เช่น อดีตใช้ก้อนหินขว้างปา หรือทุ่มใส่สัตว์ แต่ปัจจุบันกลายมาเป็นขว้างจักร ทุ่มลูกน้ำหนัก เป็นต้น

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกรีฑา ( Athletic )

แก้ไข

ประวัติความเป็นมาของกรีฑา

แก้ไข

ตามประวัติของกรีฑาเป็นที่เชื่อกันว่าชาวกรีกสมัยโบราณเป็นผู้ริเริ่มการแข่งขันกีฬาและกรีฑาเกิดขึ้นเมื่อประมาณ776 ปีก่อนคริสตกาล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมพลเมืองของกรีกให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ พร้อมที่จะรับใช้ประเทศชาติได้อย่างเต็มที่ อีกเหตุผลหนึ่งคือชาวกรีกในสมัยโบราณนับถือเทพเจ้าอยู่หลายองค์ และเชื่อว่ามีเทพเจ้าสถิตอยู่บนเขาโอลิมปัสเทพ เจ้าทั้งหลายเป็นผู้บันดาลความสุขหรือความทุกข์ให้แก่ผู้นับถือคล้ายกับเป็นผู้ชี้ชะตาของ ชาวกรีก ดังนั้นชาวกรีกจึงพยายามที่จะประพฤติตนให้เป็นที่โปรดปราน ทำความเข้าใจและสนิทสนมกับเทพเจ้า เป็นเหตุให้มีพิธีบวงสรวงหรือทำพิธีกรรม ต่าง ๆ เมื่อเสร็จการบวงสรวงตามพิธีทางศาสนาแล้วจะต้องมีการเล่นกีฬาถวาย ณ ลานเชิงเขาโอลิมปัสแค้วนอีลิสเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองพระเกียรติของเทพเจ้า การเล่นกีฬาที่บันทึกเป็นประวัติศาสตร์สืบต่อกันมา คือ การเล่นกีฬา 5 ประเภท ได้แก่ การวิ่งแข่ง การกระโดด มวยปล้ำ พุ่งแหลน และขว้างจักร โดยผู้เล่นแต่ละคนจะต้องเล่นให้ครบทั้ง 5 ประเภท สังเกตได้ว่านอกจากมวยปล้ำแล้วอีก 4 ประเภท เป็นการเล่นกรีฑาทั้งสิ้นการเล่นกีฬาดังกล่าวได้ดำเนินมาเป็นเวลา 1200 ปี จนกระทั่งกรีกเสื่อมอำนาจลงและตกอยู่ภายใต้ อำนาจของชาวโรมัน การกีฬาของกรีกก็เสื่อมลงตามลำดับ ในค.ศ. 393 จักรพรรดิธีโอดซีอุส แห่งโรมันมีคำสั่งให้ยกเลิกการ เล่นกีฬา ทั้ง 5 ประเภท เพราะเห็นว่าการแข่งขันในตอนปลายก่อนที่จะยกเลิกไปนั้น มีจุดมุ่งหมายต่างไปจากเดิม โดยที่ผู้เล่นและผู้ชมหวังสินจ้างรางวัล มีการพนันเพื่อเงินทอง ไม่ใช่เล่นกีฬาเพื่อสุขภาพอย่างที่เคยปฏิบัติกันมา เป็นอันว่าโอลิมปิกสมัยโบราณได้ยุติลงตั้งแต่นั้นมาเป็นระยะเวลานาน15ศตวรรษ เป็นผลให้การเล่นกีฬาต้องหยุดชะงัก ไปด้วย

1.)โอลิมปิกสมัยใหม่ได้เริ่มขึ้นอีกครั้งหลังจากโอลิมปิกสมัยโบราณยุติไป 15 ศตวรรษ ได้มีบุคคลสำคัญเป็นผู้ริเริ่มกีฬาโอลิมปิกให้กลับฟื้นคืน

มาใหม่ท่านผู้นั้นคือ บารอน ปีแอร์เดอ คูแบร์แตง (BaronPierredeCoubertin) ชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ชักชวนบุคคลสำคัญ ของชาติ ต่าง ๆ ให้เข้าร่วมประชุม ตกลง เปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสมัยปัจจุบันขึ้นใหม่ โดยจัดให้มีการแข่งขัน 4 ปี ต่อ 1 ครั้ง ในข้อตกลงให้บรรจุการเล่นกรีฑาเป็นกีฬาหลักของการแข่งขัน เพื่อเป็นเกียรติและเป็นอนุสรณ์ แก่ชนชาติกรีกที่เป็นผู้ริเริ่ม จึงลงมติเห็นชอบโดยพร้อมเพรียงกันให้ประเทศกรีกจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็นประเทศแรก ใน ค.ศ. 1896 (พ.ศ. 2439) ณ กรุงเอเธนส์

2.) กรีฑาในประเทศไทย

การแข่งขันกรีฑาในประเทศไทย กระทรวงธรรมการ(ปัจจุบันคือกระทรวงศึกษาธิการ) ได้จัดให้มีการแข่งขันกรีฑานักเรียน ขึ้นเป็น ครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2440 ณ ท้องสนามหลวง ในพิธีเปิดการแข่งขันครั้งนั้น พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน มาทรงเป็นองค์ประธานเปิดการแข่งขันกรีฑานักเรียนเป็นประจำทุกปี

พ.ศ.2476 รัฐบาลได้จัดตั้งกรมพลศึกษาขึ้น(พ.ศ.2545 มีการปฏิรูปการศึกษากรมพลศึกษายุบไป) โดยมีนโยบายส่งเสริมการกีฬาของชาติให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น

พ.ศ.2494 ได้มีการจัดตั้งสามคมกรีฑาสมัครเล่นแห่งประเทศไทยขึ้น

พ.ศ.2504 ได้จัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยขึ้นมีหน้าที่รับผิดชอบในการส่งเสริมกีฬาประชาชน โดยจัดให้มีการแข่งขันกรีฑา และกีฬาต่างๆเป็นประจำทุกปี ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า “ กีฬาแห่งชาติ ”

พ.ศ.2528 เปลี่ยนชื่อจากองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยเป็น “ การกีฬาแห่งประเทศไทย ”

ประเภทของกรีฑา

แก้ไข

ประเภทลู่

แก้ไข

กรีฑาประเภทลู่เป็นกรีฑาที่ต้องแข่งขันกันบนทางวิ่งตัดสินแพ้ชนะกันด้วยเวลาการแข่งขันที่นิยมกันทั่วไปมี ดังนี้

1.1 ) การวิ่งระยะสั้น หมายถึง การวิ่งในระยะทางไม่เกิน 400 เมตร นับจากจุดเริ่มต้นจนถึงเส้นชัย ซึ่งจะต้องวิ่งในลู่ของตนเองตลอด อาจแบ่งระยะทางวิ่งออกเป็น 60,80,100,200 และ 400 เมตร 1.2) การวิ่งระยะกลาง หมายถึง การวิ่งในระยะทางตั้งแต่ 800 เมตรขึ้นไป แต่ไม่เกิน 1,500 เมตร

1.3) การวิ่งระยะไกล หมายถึง การวิ่งในระยะทางมากกว่า 1,500 เมตรขึ้นไป และการวิ่งมาราธอน(42.195 กิโลเมตร )

1.4) การวิ่งผลัด หมายถึง การแข่งขันที่แบ่งเป็นชุด ๆ แต่ละชุดมีจำนวนผู้แข่งขัน เท่า ๆ กัน มีดังนี้

(1) การวิ่งผลัดระยะทางเท่ากัน หมายถึง ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนในชุด เดียวกันต้องวิ่งในระยะทางเท่ากัน เช่น 5 x 80, 8 x 50, 4 x100,4 x 200, 4 x 400 เมตร เป็นต้น

(2) การวิ่งผลัดต่างระยะ หมายถึง ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนในชุดเดียวกัน วิ่งในระยะทางไม่เท่ากัน เช่น 80 x 120 x 120 x 80 เมตร เป็นต้น

1.5) การวิ่งข้ามรั้ว หมายถึง การวิ่งตามลู่วิ่งข้ามสิ่งกีดขวางความสูงและจำนวนรั้วที่ใช้แข่งขันในแต่ละประเภทแตกต่างกันไป เช่น วิ่งข้ามรั้ว 100 ,110,400 เมตร เป็นต้น

ประเภทลาน

แก้ไข

กรีฑาประเภทลานเป็นกรีฑาที่ต้องแข่งขันกันในสนาม ตัดสินแพ้ชนะกันด้วยระยะทาง อาจเป็นความไกลหรือความสูง แบ่งประเภทการแข่งขัน ดังนี้

2.1) ประเภทที่ตัดสินด้วยความไกล ได้แก่ กระโดดไกล เขย่งก้าวกระโดด ทุ่มลูกน้ำหนัก ขว้างค้อน ขว้างจักร และพุ่งแหลน

2.2) ประเภทที่ตัดสินด้วยความสูง ได้แก่ กระโดดสูง และกระโดดค้ำ

3. ประเภทผสม กรีฑาประเภทผสมเป็นการแข่งขันที่นำกรีฑาประเภทลู่ และลานบางส่วนผสมกัน แบ่งประเภทการแข่งขัน ดังนี้

3.1) บุคคลชาย มีกรีฑาประเภทผสมให้เลือกแข่งขันได้ 2 แบบ ดังนี้

1) ปัญจกรีฑา ประกอบด้วยการแข่งขัน 5 รายการ

ทำการแข่งขันภายในวันเดียว ตามลำดับ คือ กระโดดไกล พุ่งแหลน ,วิ่ง 200 เมตร,ขว้างจักร และวิ่ง 1,500 เมตร

2) ทศกรีฑา ประกอบด้วยการแข่งขัน 10 รายการ ทำการแข่งขัน 2 วัน ติดต่อกันตามลำดับ ดังนี้

วันแรก วิ่ง 100 เมตร กระโดดไกล ทุ่มลูกน้ำหนัก กระโดดสูงและวิ่ง 400 เมตร วันที่สอง วิ่งข้ามรั้ว 110 เมตร ขว้างจักร กระโดดค้ำ พุ่งแหลนและวิ่ง 1,500 เมตร

3.2) บุคคลหญิง มีการแข่งขันเพียงแบบเดียว คือ สัตตกรีฑา ประกอบด้วยการแข่งขัน 7 รายการ ทำการแข่งขัน 2 วันติดต่อกันตามลำดับ ดังนี้

วันแรก วิ่งข้ามรั้ว 100 เมตร, กระโดดสูง,ทุ่มลูกน้ำหนักและวิ่ง 200 เมตร

วันที่สอง กระโดดไกล,พุ่งแหลนและวิ่ง 800 เมตร

ประโยชน์ของกรีฑา

แก้ไข

การเล่นกรีฑาเหมือนกับการเล่นกีฬาชนิดอื่น ๆ ที่ผู้เล่นจะได้รับประโยชน์จากการเล่น ดังนี้

มีอารมณ์ร่าเริง แจ่มใส กล้ามเนื้อสมบูรณ์แข็งแรง รูปร่างได้สัดส่วน มีบุคลิกภาพที่ดี ร่างกายแข็งแรง มีความต้านทานโรคดี เป็นวิธีช่วยลดไขมันในร่างกายได้ดีวิธีหนึ่ง ระบบประสาททำงานดีขึ้น ทำให้นอนหลับสนิท ระบบการหายใจดีขึ้น ทรวงอกมีการขยายตัวมากขึ้น ระบบย่อยอาหาร และระบบการขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น ร่างกายมีความอดทนต่อการทำงาน ทำให้เหนื่อยช้าและหายเหนื่อยเร็วขึ้นเส้นเลือดขยายตัวส่งผลให้การไหลเวียนเลือดดี ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ

มารยาทที่ดีในการเล่นและชมกรีฑา

แก้ไข

กรีฑาเหมือนกับกีฬาชนิดอื่นๆตรงที่ ผู้เล่นต้องมีมารยาทในการเล่น และผู้ชมต้องมีมารยาทในการชม เช่นเดียวกันนอกจากทำให้การแข่งขันดำเนินไปด้วยดีแล้ว ยังเป็นการปลูกฝังคุณธรรม ให้กับผู้เล่น และผู้ชมสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการดำรงชีวิตในสังคมได้เป็นอย่างดี ผู้เล่นและผู้ชมกรีฑาที่ดีจึงควรปฏิบัติตน ดังนี้

1) มารยาทของผู้เล่นที่ดี ควรปฏิบัติดังนี้

แต่งกายด้วยชุดที่เหมาะสมกับการเล่นกรีฑา มีกิริยาวาจาสุภาพเรียบร้อย มีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือเพื่อนร่วมทีมและผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม เคารพเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งของผู้สอน เคารพเชื่อฟังคำตัดสินของกรรมการผู้ตัดสินตลอดเวลา ปฏิบัติตามกฎ กติกาอย่างเคร่งครัด ไม่แสดงกิริยาอาการไม่พอใจ หากเพื่อนร่วมทีมเล่นผิดพลาด เมื่อชนะหรือแพ้ไม่ควรแสดงความดีใจหรือเสียใจจนเกินไป ก่อนและหลังการแข่งขันควรแสดงความเป็นมิตรกับผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามด้วยการทักทายหรือจับมือแสดงความยินดี ไม่ควรยืมอุปกรณ์การเล่นของคนอื่นมาใช้ฝึกซ้อม

2) มารยาทของผู้ชมที่ดี ควรปฏิบัติดังนี้

ไม่กล่าวถ้อยคำหรือแสดงกิริยาเยาะเย้ยถากถางผู้เล่นที่เล่นผิดพลาด แสดงความยินดีกับผู้เล่นที่เล่นดี เช่น การปรบมือ เป็นต้น ไม่กระทำตัวเป็นผู้ตัดสินเสียเอง เช่น ตะโกนแย้งคำตัดสิน เป็นต้น

ไม่เชียร์ในสิ่งที่เป็นการส่อเสียดในทางไม่ดีต่อผู้เล่นฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ไม่กระทำสิ่งใด ๆ ที่ทำให้ผู้ตัดสินหรือเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ปฏิบัติงานไม่สะดวก ไม่กระทำสิ่งใด ๆ อันเป็นการกีดขวางการเล่นของผู้เล่น กระทำตนให้เป็นประโยชน์

สารบัญ

แก้ไข