โครงสร้างทางสังคมและลักษณะของสังคมไทย/การจัดระเบียบทางสังคม

สังคมเป็นที่รวมของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เมื่อมีการรวมกลุ่มของกลุ่มบุคคลเพิ่มมากขึ้นสังคมก็ยิ่งมีความแตกต่างในหลายๆ ด้านเกิดขึ้นความแตกต่างดังกล่าว หากมีการควบคุมและจัดระเบียบของกลุ่มและในสังคมที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมแล้ว สังคมก็อาจสับสนวุ่นวายขึ้นได้


ความหมายของการจัดระเบียบสังคม

แก้ไข

การจัดระเบียบสังคม เป็นกระบวนการที่สมาชิกได้พัฒนาการกระทำระหว่างกันทางสังคมอย่างมีระเบียบ โดยมีสมาชิกส่วนรวมของสังคมไทยยอมรับเป็นแนวความประพฤติร่วมกันและสืบทอดจนเป็นบรรทัดฐานในการดำรงชีวิตร่วมกันของสมาชิกในสังคม

สาเหตุที่ต้องมีการจัดระเบียบสังคม

1. สมาชิกในสังคมมีความแตกต่างกัน

2. แต่ละคนมุ่งแต่ผลประโยชน์ของตน จนเกิดความขัดแย้งได้

ความจำเป็นที่ต้องมีการจัดระเบียบสังคม

1. เนื่องจากสมาชิกในสังคมมีความแตกต่าง ทั้งในทางกายภาพและในทางสังคม

2. เนื่องจากสมาชิกในสังคมมีวัตถุประสงค์และมีความต้องการร่วมกันในสังคมมนุษย์ทุกๆ สังคมสมาชิกแต่ละคนย่อมมีความต้องการพื้นฐานร่วมกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกำหนดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกเพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์และความต้องการนั้น

3. เพื่อป้องการขัดแย้งระหว่างสมาชิกในสังคม ธรรมชาติของมนุษย์ คือ การต่อสู้ การใช้อำนาจ ดังนั้นจึงต้องมีกฎเกณฑ์เพื่อให้ความสัมพันธ์ของสมาชิกในสังคมราบรื่น


วิธีการจัดระเบียบทางสังคม

แก้ไข


1. บรรทัดฐาน

2. สถานภาพ – บทบาท และการจัดชั้นยศ

3. ค่านิยม

4. การขัดเกลาทางสังคม

5. การควบคุมทางสังคม


องค์ประกอบของการจัดระเบียบ

แก้ไข

บรรทัดฐาน

บรรทัดฐานทางสังคม หมายถึง ระเบียบ กฎเกณฑ์ หรือแบบแผนของพฤติกรรมที่สังคมยอมรับเป็นแนวทางให้สมาชิกประพฤติปฏิบัติในแต่ละสถานการณ์ สรุปได้ว่า...

1. บรรทัดฐานทางสังคม เป็นระเบียบ กฎเกณฑ์ หรือแบบแผนของพฤติกรรมที่สมาชิกในสังคมยอมรับร่วมกัน และได้ประพฤติสืบต่อกันม

2. บรรทัดฐานทางสังคมเป็นระเบียบ กล่าวคือ แบบแผนความประพฤติที่เห็นว่าถูกต้องในสถานการณ์หนึ่งอาจนำไปใช้ในอีกสถานการณ์หนึ่งไม่ได้

ประเภทของบรรทัดฐานทางสังคม

แก้ไข

1. วิถีประชา/วิถีชาวบ้าน (Folkways) หมายถึง แบบแผนความประพฤติที่สมาชิกปฏิบัติด้วยความเคยชิน เนื่องจากได้รับการปลูกฝังถ่ายทอดมาตั้งแต่วัยเด็กจนเติบใหญ่ แม้ว่าจะไม่มีการกำหนดโทษผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืนอย่างเข้มงวด แต่อาจถูกคนอื่นเยาะเย้ย ถากถาง หรือได้รับการนินทา ทำให้สมาชิกต้องปฏิบัติตามวิถีชาวบ้าน จนเกิดความเป็นระเบียบทางสังคมในที่สุด

2. จารีต (Mores) หมายถึง แบบแผนความประพฤติที่สมาชิกปฏิบัติในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืนจะได้รับการต่อต้านจากสมาชิกในสังคมอย่างจริงจัง เนื่องจากมีผลกระทบต่อระบบสัมพันธ์ของสมาชิกเป็นส่วนรวม

3. กฎหมาย (Laws) หมายถึง กฎเกณฑ์ของความประพฤติซึ่งสร้างขึ้นโดยองค์การทางการเมืองการปกครอง และโดยได้รับการรับรองจากองค์กรของรัฐ กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ความประพฤติที่มีลักษณะสำคัญ ดังนี้

1) เป็นกฎเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติของสมาชิกในสังคมที่บัญญัติเป็นทางการโดยองค์การของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการบัญญัติกฎหมาย

2) มีการประกาศรายละเอียดของกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร  3) มีองค์การที่หน้าที่ควบคุมให้สมาชิกปฏิบัติตามกฎหมาย  4) มีบทลงโทษผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืนกฎหมาย

ข้อสังเกตเกี่ยวกับบรรทัดฐาน

1. บรรทัดฐานแต่ละท้องถิ่นสอดคล้องหรือแตกต่างก็ได

2. บรรทัดฐานแต่ละท้องถิ่นสามารถเปลี่ยนแปลงได

3. สังคมชนบทมักใช้จารีตมากกว่า ส่วนสังคมเมืองมักใช้กฎหมายเป็นบรรทัดฐาน


ความสัมพันธ์ของคนในสังคม

แก้ไข

สถานภาพ (Status) : ตำแหน่งที่ได้รับจากการเป็นสมาชิกของสังคมหรือฐานะทางสังคม (Social Position) ของคนในสังคมที่ถูกกำหนดไว้และดำรงอยู่ 

สถานภาพทางสังคม หมายถึง ตำแหน่งของบุคคลซึ่งได้มาจากการเป็นสมาชิกของกลุ่มและของสังคม ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการจัดระเบียบสังคม เนื่องจากการกระทำระหว่างสมาชิกในสังคมย่อมเป็นไปตามสถานภาพที่ตนดำรงอยู่

ประเภทของสถานภาพทางสังคม

1) สถานภาพทางสังคมโดยกำเนิด (Ascribed Status) เป็นสถานภาพทางสังคมที่สมาชิกได้รับโดยกำเนิด ที่สำคัญได้แก่ เชื้อชาติ สัญชาติ เพศ (ชายหรือหญิง) อายุและสถานภาพอันเกิดจากการเป็นสมาชิกในครอบครัว เหล่านี้นับเป็นสถานภาพโดยกำเนิดทั้งสิ้น

2) สถานภาพทางสังคมโดยความสามารถของบุคคล (Achieved Status) เป็นสถานภาพทางสังคมที่เกิดจากการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับสถานภาพโดยถือความสามารถตามเกณฑ์ที่สังคมกำหนด 

3) ผลอันเกิดจากสถานภาพทางสังคม มีดังนี้

(1) ทำให้เกิดสิทธิและหน้าที่

(2) ทำให้เกิดเกียรติยศจากสถานภาพทางสังคมที่สมาชิกดำรงอยู่

(3) ทำให้เกิดการจัดช่วงชั้นทางสังคม

ที่มาของสถานภาพ

1. สถานภาพที่ติดตัวมา เช่น อายุ, เพศ, ชาติกำเนิด, เชื้อชาติ 

2. สถานภาพที่ได้มาภายหลัง เช่น สถานภาพระบบเครือญาติ, สถานภาพทางการศึกษา, อาชีพ

หน้าที่ของสถานภาพ

1 . กำหนดบทบาท

2 . ใช้ในการติดต่อร่วมกันใน สังคมขนาดใหญ่ ๆ

3 . ใช้เปรียบเทียบฐานะสูง – ต่ำทางสังคม

บทบาท

บทบาท (Role) : หน้าที่/พฤติกรรมที่ปฏิบัติตามสถานภาพที่ได้รับ การปฏิบัติบทบาทตามสถานภาพที่เหมาะสมและถูกต้องทำให้ความสัมพันธ์ทางสังคมดำเนินไปได้ด้วยดี

บทบาททางสังคม 1. บทบาททางสังคมเป็นการกระทำตามสิทธิและหน้าที่ตามที่กำหนดในสถานภาพทางสังคม บทบาทและสถานภาพทางสังคมจะทำให้การกระทำระหว่างกันทางสังคมของสมาชิกดำเนินไปอย่างสอดคล้องกลมกลืน และช่วยให้การดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมมีความราบรื่น 2. ความสำคัญของบทบาททางสังคม บทบาททางสังคมก่อให้เกิดการกระทำตามสิทธิและหน้าที่ของสมาชิกในสังคมตามสถานภาพที่ตนดำรงอยู่ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนการรับและการให้ประโยชน์ระหว่างกัน

หากปราศจากการกำหนดบทบาททางสังคม รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคมคงจะขาดระเบียบแลปราศจากทิศทางแน่นอน

บทบาทขัดกัน

สมาชิกในสังคมแต่ละคนมีบทบาทหลายอย่างในเวลาเดียวกัน และการในกระทำอีกบทบาทหนึ่งอาจจะขัดกับอีกบทบาทหนึ่งก็ได้ การขัดกันในบทบาทย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ สมาชิกในสังคมต้องตัดสินใจ ตามวาระและโอกาสที่เกิดขึ้น

ข้อสังเกต

1. สถานภาพ – บทบาทเป็นเรื่องความสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับสังคม

2. ทุกคนย่อมมีสถานภาพของตนเองและมีหลายสถานภาพ

3. สถานภาพบางอย่างเป็นสถานภาพที่ต่อเนื่อง

4. ยิ่งสังคมซับซ้อนเพียงใด บทบาทยิ่งแตกต่างไปมากขึ้นเท่านั้น

5. โดยปกติสถานภาพจะบ่งถึงบทบาทเสมอ แต่ในบางสถานการณ์มีสถานภาพอาจไม่มีบทบาทก็ได้

6. การมีหลายสถานภาพก่อให้เกิดหลายบทบาท บางครั้งก็อาจทำให้เกิดบทบาทที่ขัดแย้ง

ค่านิยม

ค่านิยม (Social Value) : สิ่งที่สังคมส่วนใหญ่ยอมรับและเห็นว่ามีคุณค่า เพราะว่าเป็นความสัมพันธ์ที่สังคมยอมรับ หรือเราอาจจะเรียกว่า “กระแสทางสังคม” ก็ได้ 

ค่านิยมมีทั้งของบุคคล และ ค่านิยมของสังคม

ค่านิยมของสังคม

ค่านิยมของสังคม บางทีเรียกว่า (ระบบคุณค่าของสังคม) หรือ (สัญญาประชาคม)

ค่านิยมของสังคม เป็นหัวใจหรือเป้าหมายที่สังคมปรารถนาที่จะให้เกิดขึ้น เช่น เสรีภาพ ความรักชาติ ความดี ความยุติธรรม

การขัดเกลาทางสังคม

การขัดเกลาทางสังคม (Socialization) หมายถึง การถ่ายทอดวัฒนธรรมแก่สมาชิกวิธีการขัดเกลาทางสังคม การขัดเกลาทางสังคม คือ การปลูกฝังระเบียบวินัย ความมุ่งหวังให้รู้จักบทบาทและทัศนคติ ความชำนาญหรือทักษะ ทั้งนี้ เพื่อให้สมาชิกอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ด้วยดี การขัดเกลาทางสังคมช่วยให้สมาชิกได้เรียนรู้ และปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม การอบรมสั่งสอนของพ่อแม่ ครูอาจารย์ เพื่อนฝูง เพื่อนร่วมอาชีพหรือสื่อมวลชนต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้การกระทำต่อผู้อื่นเป็นไปอย่างเหมาะสมรู้จักปฏิบัติตนในฐานะสมาชิกที่ดีของสังคม ซึ่งจะช่วยให้สังคมมีระเบียบเพิ่มขึ้น

1. การขัดเกลาโดยตรง : โดยการบอกว่าสิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ

2. การขัดเกลาโดยอ้อม : ไม่ได้บอกโดยตรง แต่เราเรียนรู้จากการ กระทำของคนอื่น หรือ ซึมซับจากสื่อ เช่น หนังสือพิมพ์, นิตยสาร, วิทยุ ฯลฯ

การควบคมทางสังคม

การควบคุมทางสังคม (Social Control)

เป็นกระบวนการทางสังคมในการจัดระเบียบพฤติกรรมมนุษย์/สมาชิกในสังคมให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ รวมทั้งการไร้ระเบียบทางสังคม (SocialDisorganization) นอกจากนี้ยังต้องรู้อีกหลายๆ เรื่อง เช่น ปรากฏการณ์ทางสังคม (Social Phenomena) ว่ามีความเป็นมาอย่างไร หรือการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Change) ว่าจะมีแนวโน้มเป็นไปในทางใดและอะไรเป็นปัจจัยผลักดันเป็นต้น และที่สำคัญที่สุดของสังคมได้แก่ วัฒนธรรม=ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในสังคม อันเป็นแบบแผนของพฤติกรรมที่สังคมยอมรับและสืบทอดกันต่อๆ มา

1. การควบคุมทางสังคม หมายถึง กระบวนการต่าง ๆ ทางสังคมที่มุ่งหมายให้สมาชิกของสังคมยอมรับและปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม

2. ลักษณะของการควบคุมทางสังคม

1) การควบคุมทางสังคมโดยการจูงใจให้สมาชิกปฏิบัติตามบรรทัดฐานทางสังคม ได้แก่ การ ยกย่อง ชมเชย ให้รางวัลแก่ผู้ที่ปฏิบัติตามบรรทัดฐานทางสังคม ตามสถานภาพและบทบาททางสังคมที่ตนดำรงอยู่ 

2) การควบคุมทางสังคมโดยการลงโทษสมาชิกละเมิดฝ่าฝืนบรรทัดฐานทางสังคม ได้แก่

(1) ผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืนวิถีชาวบ้าน จะได้รับปฏิกิริยาต่าง ๆ จากสมาชิกผู้อื่น ได้แก่ การถูกติเตียน นินทา

(2) ผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืนจารีต จะได้รับการต่อต้านสมาชิกผู้อื่นรุนแรงกว่าผู้ที่ละเมิดวิถีชาวบ้าน เช่น การถูกประชาทัณฑ์ หรือขับไล่ออกไปจากท้องถิ่น

(3) ผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย จะได้รับการลงโทษตามกฎหมายกำหนด โดยหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่เป็นผู้ควบคุมบทลงโทษอย่างชัดเจน

สารบัญ

แก้ไข

1.โครงสร้างทางสังคม 

2. การจัดระเบียบทางสังคม