เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น/ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์

  สวัสดิการทางเศรษฐกิจ (economic welfare) หมายถึง ความสุขกาย สบายใจ หรือความอยู่ดีมีสุขของมนุษย์ อาจเทียบเคียงได้กับคำว่า  อรรถประโยชน์ (utility) หรือความพอใจที่ได้รับจากการบริโภคสินค้าและบริการ  สินค้าและบริการ (goods and services) หมายถึง สิ่งใดๆ ก็ตามที่อยู่ภายนอกตัวมนุษย์ และสิ่งนั้นสามารถสร้างความสุข ความพอใจ หรืออรรถประโยชน์ให้แก่มนุษย์ได้ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะมีตัวตนสามารถจับต้องได้ หรือไม่มีตัวตนและจับต้องไม่ได้ก็ตาม  สิ่งที่มีตัวตนจับต้องได้เรียกว่า “สินค้า” ถ้าไม่มีตัวจนหรือจับต้องไม่ได้ก็เรียกว่า “บริการ” สองอย่างนี้อาจเรียกรวมกันว่า “ทรัพย์”

ทรัพย์ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ

แก้ไข

1) เศรษฐทรัพย์ (economic goods) หรือ สินค้าเศรษฐกิจ

2) ทรัพย์เสรี (free goods) หรือ สินค้าไร้ราคา

  มนุษย์มีความต้องการต่อเศรษฐทรัพย์ อย่างมากมายและไม่สิ้นสุด ยิ่งต้องการเศรษฐทรัพย์ มากขึ้นเท่าใดก็ยิ่งต้องใช้ทรัพยากรมาผลิตมากขึ้นเท่านั้น และในที่สุดก็ต้องเผชิญกับ ความมีอยู่อย่างจำกัดหรือความหามาได้ยาก (scarcity) ของทรัพยากรอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง

  กฎการหามาได้ยากของทรัพยากร (Law of Scarcity) กล่าวว่า ทรัพยากรมีจำกัด (Scarce Resource) เมื่อเทียบกับความต้องการที่มีไม่จำกัด (Unlimited Wants)จึงจำเป็นจะต้องมีการเลือกใช้ (Choice) ให้คุ้มค่า เมื่อมีการเลือกใช้ก็จะเกิดค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) เสมอ

กิจกรรมทางเศรษฐกิจ (Economic Activity)

แก้ไข

1.การผลิต (Production)

2.การแลกเปลี่ยน (Exchange)

3.การบริโภค (Consumption)

4.การกระจายผลผลิต (Product Distribution)

5.การกระจายรายได้ (income Distribution)

ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (Basic Economic Problems)

แก้ไข

1.ผลิตอะไร (What to Produce)

2.ผลิตอย่างไร (How to Produce)

3.ผลิตเพื่อใคร (Produce for whom)

“What How For Whom”

หน่วยเศรษฐกิจ (Economic Unit)

แก้ไข

1.หน่วยครัวเรือน (Households)

Maximum Satisfaction

2.หน่วยธุรกิจหรือหน่วยผลิต

(Business or Firms)

Maximum Profit

3.หน่วยรัฐบาล (Government)

Maximum Services

ระบบเศรษฐกิจ (Economic System)

แก้ไข
  • คนตัวเล็กๆ (ตัวเรา) และครอบครัว หรือ เอกชน
  • คนตัวใหญ่ๆ (รัฐ)
  • วิธีพิจารณาระบบเศรษฐกิจ ให้ดูว่า ในระบบเศรษฐกิจใครใหญ่กว่ากัน ถ้าคนตัวเล็ก ใหญ่กว่า เรียกว่า ทุนนิยม (Capitalism) ถ้าคนตัวใหญ่ ใหญ่กว่า เรียกว่า คอมมิวนิส (Communism) ถ้าคนตัวเล็ก กับคนตัวใหญ่ เท่ากันๆกัน เรียกว่า สังคมนิยม (Socialism) ถ้าคนตัวเล็ก กับคนตัวใหญ่ มีบทบาทพร้อมๆกัน โดยที่คนตัวใหญ่อุ้มชูคนตัวเล็ก เรียกว่า แบบผสม (Mixed Economy)  เมื่อไหร่ก็ตามที่เอกชนเข้ามา ก็จะมีเงาตามมาด้วย เรียกว่า “กลไกราคา”แต่ถ้ารัฐเข้ามายุ่ง รัฐก็จะมาฆ่ากลไกราคา (แทรกแทงกลไกราคา) กลไกราคาก็จะจบลงชั่วเวลาหนึ่ง เช่น การกำหนดราคาค่าจ้างขั้นต่ำ กลไกค่าจ้างในตลาดแรงงานก็จะชะงักลง
  • ระบบเศรษฐกิจ (Economic System) 1.Capitalism/Free-market economy 2.Communism 3.Socialism/Command economy 4.Mixed Economy
  • 4.1) เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Micro Economics)  เป็นการศึกษาพฤติกรรมและการตัดสินใจของบุคคล ครัวเรือน และบริษัท ในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยเฉพาะในตลาดซึ่งมีการซื้อขายสินค้าและบริการ
  • 4.2 เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macro Economics)  เป็นการศึกษาถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนรวม เช่น ผลผลิตรวมของประเทศ การจ้างงาน การเงินและการธนาคาร การพัฒนาประเทศ การค้าระหว่างประเทศ อัตราดอกเบี้ย ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นปัญหาที่กว้างขวางกว่าเศรษฐศาสตร์จุลภาค เพราะว่าไม่ได้กระทบเพียงหน่วยธุรกิจเท่านั้น แต่จะกระทบถึงบุคคล หน่วยการผลิต อุตสาหกรรมทั้งหมด และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

สารบัญ

แก้ไข