เลขนัยสำคัญ (significant figure) คือ จำนวนหลักของตัวเลขที่แสดงความเที่ยงตรงของปริมาณที่วัดหรือคำนวณได้ ดังนั้นตัวเลขนัยสำคัญจึงประกอบด้วยตัวเลขทุกตัวที่แสดงความแน่นอน (certainty) รวมกับตัวเลขอีกตัวหนึ่งที่แสดงความไม่แน่นอน (uncertainty) ซึ่งขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่เราเลือกใช้ด้วย

แนวปฏิบัติในการใช้เลขนัยสำคัญ แก้ไข

  1. ตัวเลขที่ไม่ใช่ 0 (ศูนย์) เป็นเลขนัยสำคัญ เช่น
    • 845 มีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว
    • 2.754 มีเลขนัยสำคัญ 4 ตัว
  2. เลข 0 (ศูนย์) ที่อยู่ระหว่างตัวเลขถือเป็นเลขนัยสำคัญ เช่น
    • 409 มีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว
    • 50,802 มีเลขนัยสำคัญ 5 ตัว
  3. เลข 0 (ศูนย์) ที่อยู่ทางซ้ายของตัวเลขที่ไม่ใช่ศูนย์ ไม่ถือเป็นเลขนัยสำคัญ จุดมุ่งหมายก็เพื่อแสดงตำแหน่งของจุดทศนิยม เช่น
    • 0.03 มีเลขนัยสำคัญ 1 ตัว
    • 0.00006972 มีเลขนัยสำคัญ 4 ตัว
  4. เมื่อตัวเลขมีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 1 เลข 0 (ศูนย์) ที่เขียนทางขวามือถือเป็นเลขนัยสำคัญ เช่น
    • 1.0 มีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว
    • 57.074 มีเลขนัยสำคัญ 5 ตัว
    • 6.080 มีเลขนัยสำคัญ 4 ตัว
  5. แต่ถ้าตัวเลขมีค่าน้อยกว่า 1 เลข 0 (ศูนย์) ที่อยู่ท้ายตัวเลขและอยู่ระหว่างตัวเลขถือเป็นเลขนัยสำคัญ เช่น
    • 0.040 มีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว
    • 0.2005 มีเลขนัยสำคัญ 4 ตัว
    • 0.000136 มีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว

ตัวเลขนัยสำคัญกับการคำนวณ แก้ไข

การบวกและการลบ แก้ไข

ในการบวกและลบ จะคงเหลือจำนวนเลขทศนิยมไว้ให้เท่ากับจำนวนเลข ที่อยู่หลังจุดทศนิยมที่มีจำนวนน้อยที่สุด เช่น

  • 20.2 + 3.0 + 0.3 = 23.5 (ทศนิยมน้อยที่สุดคือ 1 ตำแหน่ง)
  • 2.12 + 3.895 + 5.4236 = 11.4386 ในที่นี่ตัวเลขที่มีตำแหน่งทศนิยมน้อยที่สุดคือ 2 ตำแหน่ง ดังนั้นคำตอบคือ 11.44 (การปัดเศษถ้ามีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 5 ให้ปัดขึ้น)

การคูณและการหาร แก้ไข

ในการคูณและการหาร ผลลัพธ์ที่ได้จะมีจำนวนตัวเลขนัยสำคัญที่น้อยที่สุด ของตัวเลขที่นำมาคูณหรือหาร เช่น

  • 21.1 x 0.029 x 83.2 = 50.91008 (0.029 มีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว) ดังนั้นคำตอบคือ 51

อ้างอิง แก้ไข

ดูเพิ่ม แก้ไข