พลงชาติไทย เป็นเพลงสำคัญของแผ่นดิน เพื่อเป็นเพลงชาติของราชอาณาจักรไทย เพลงชาติไทยมีที่มาโดยพฤตินัยเริ่มแรกสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีการใช้เพลงก็อดเซฟเดอะคิง (God Save The King) เพื่อบรรเลงประกอบการฝึกกองแถวทหาร จนพัฒนาเนื้อร้องและเป็นเพลงเกียรติยศของชาติ และในเวลาต่อมาเพลงชาติไทยฉบับปัจจุบันเริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2482 ประกาศใช้ในสมัยของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ในเนื้อหาของตำรานี้พึงกล่าวถึงที่มาของแนวคิดของเพลงชาติไทยจวบจนถึงปัจจุบัน

เพลงชาติไทย  
สรรเสริญพระบารมี
สรรเสริญพระบารมี

เพลงชาติไทย: เพลงบรรเลงก่อนปี พ.ศ. 2475

แก้ไข

จอมราชจงเจริญ

แก้ไข

เมื่อตอนนั้น นิยามของเพลงชาติยังไม่ปรากฏดังในความหมายปัจจุบัน แต่เมื่อเทียบเคียงเพลงชาติที่อยู่ในฐานะเป็นเพลงสำคัญของชาติ ปรากฏเพลงบรรเลงเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ ชื่อว่า "จอมราชจงเจริญ" เพลงจอมราชจงเจริญมีที่มาจากเพลงก็อดเซฟเดอะคิง (God Save The King) ในช่วงปี พ.ศ. 2394 ร้อยเอก อิมเปร์ (Impey) ครูฝึกทหารชาวอังกฤษ เดินทางเข้ามาเพื่อฝึกทหารวังหลวง ต่อมา โทมัส น็อกซ์ (Thomas Knox) นายทหารอังกฤษเดินทางเข้ามา พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าทรงให้ฝึกทหารวังหน้า ทั้งคู่เป็นผู้นำเพลงดังกล่าวซึ่งถือเป็นเพลงถวายพระเกียรติสำหรับสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งอังกฤษมาใช้ในสยาม

ต่อมา พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้ประพันธ์เนื้อร้องขึ้นใหม่เป็นภาษาไทยตามฉันทลักษณ์ของโคลงสี่สุภาพโดยได้ตั้งชื่อเพลงขึ้นใหม่ว่า "จอมราชจงเจริญ" ปรากฏเนื้อเพลงตามความในหนังสือ "ประชุมมโหรี" ในปี พ.ศ. 2461 ความว่า

ประชุมมโหรี มีบทมโหรีเก่าใหม่ แลพระราชนิพนธ์
บทร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี
ความที่ 1
           
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) แต่ง
ความ ศุขสมบัติทั้ง บริวาร
เจริญ พละปฎิภาณ ผ่องแผ้ว
จง ยืนพระชนม์นาน นับรอบ ร้อยแฮ
มี พระเกียรติเลิศแล้ว เล่ห์เพี้ยงเพีญจันทร์

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2414 นับเป็นการเสด็จพระราชดำเนินนับมาสู่การเปลี่ยนแปลง เมื่อเสด็จประพาสที่สิงคโปร์ ซึ่งในขณะนั้นสิงคโปร์เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษและกองทหารดุริยางค์สิงคโปร์ได้บรรเลงเพลงเกียรติยศถวายเป็นเพลงก็อดเซฟเดอะคิง เหตุคราวนี้ พระองค์ตระหนักถึงการสร้างเพลงชาติมีเอกลักษณ์เป็นของชาตินั้นเอง จักกล่าวในบทต่อไป

บุหลันลอยเลื่อน

แก้ไข

คราวเสด็จกลับจากประพาสที่สิงคโปร์ พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เรียกครูดนตรีไทยประกอบด้วยครูมรกฎ พระประดิษฐ์ไพเราะ (ครูมีแขก) และพระเสนาะดุริยางค์ (ขุนเณร) เพื่อปรึกษาหาเพลงทำนองไทยใช้บรรเลงถวายความเคารพและแสดงถึงความเป็นชาติ จึงได้เลือกเพลง "บุหลันลอยเลื่อน" ซึ่งเป็นเพลงในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งใช้บรรเลงเพลงในฐานะเพลงสรรเสริญพระบารมี โดยเรียบเรียงเป็นทำนองสากล และสันนิษฐานใช้บรรเลงช่วงปี พ.ศ. 2414–พ.ศ. 2431 ปรากฏเนื้อเพลง ความว่า

บุหลันลอยเลื่อน
กิดาหยันหมอบกรานอยู่งานพัด พระบรรทมโสมนัสอยู่ในที่
บุหลันเลื่อนลอยฟ้าไม่ราคี รัศมีส่องสว่างดังกลางวัน
พระนิ่งนึกตรึกไตรไปมา ที่จะแต่งคูหาสะตาหมัน
ป่านนี้พระองค์ทรงธรรม์ จะนับวันเคร่าคอยทุกเวลา
ครั้นล่วงเข้ายามดึกสงัด สงบเงียบเสียงสัตว์ทุกภาษา
วังเวงวิเวกวิญญาณ์ พระนิทราหลับไปในราตรีฯ

สรรเสริญพระบารมี

แก้ไข

ในปี พ.ศ. 2416 ได้มีการเปลี่ยนเพลงสรรเสริญพระบารมีฉบับของพระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร) ครูดนตรีคนสำคัญที่ได้ประดิษฐ์ทำนองขึ้น ภายหลังจากพระราชพิธีบรมราชภิเษก ครั้งที่ 2 เพลงสรรเสริญพระบารมี นั้นประพันธ์ทำนองดนตรีตะวันตกโดย ปิออตร์ ชูรอฟสกี (Pyotr Schurovsky) นักประพันธ์เพลงชาวรัสเซีย และทำนองทางไทยโดยพระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร) เป็นเพลงชาติของประเทศไทยฉบับที่ 3 และใช้บรรเลงระหว่างปี พ.ศ. 2431–2475

บทร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีที่ใช้ในปัจจุบัน เป็นบทพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์แก้ไขเมื่อ พ.ศ. 2456 ความว่า

สรรเสริญพระบารมี
ข้าวรพุทธเจ้า เอามโนและศิระกราน
นบพระภูมิบาล บุญดิเรก
เอกบรมจักริน พระสยามินทร์
พระยศยิ่งยง เย็นศิระเพราะพระบริบาล
ผลพระคุณ ธ รักษา ปวงประชาเป็นสุขศานต์
ขอบันดาล ธ ประสงค์ใด
จงสฤษดิ์ดัง หวังวรหฤทัย
ดุจถวายชัย ชโย