อาหารสี่
เรื่อง อาหาร ๔ (ปัจจัยว่าด้วย อาหาร) | ||||||
ลำดับที่ | คำศัพท์ | อนุทินศัพท์ ความหมาย/หรือนิยามศัพท์ | ||||
---|---|---|---|---|---|---|
๑. | ปาตราสภตฺตํ | แปลว่า อาหารเช้า | ||||
๒. | เอกํ พฺยากรณํ | ความว่า คำนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร ชื่อว่า ไวยากรณ์หนึ่ง. พึงทราบเนื้อความในบททั้งปวงอย่างนี้. | ||||
๓. | สากภกฺโข | ได้แก่ มี ผักสดเป็นอาหาร | ||||
๔. | สามากภกฺโข ,อภิสงฺขจฺจ | ได้แก่ มีเมล็ดข้าวฟ่างเป็นอาหาร ,ได้แก่ ปรุงแต่ง คือรวบรวมทำเป็นอาหาร | ||||
๕. | ........? | โลกหนึ่ง ได้แก่ สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงอยู่ได้ด้วยอาหาร ,สังขารโลก โดยประการทั้งปวง โลกสี่ คืออาหารสี่ | ||||
๖. | ภตฺตสมฺมโท | แปลว่า ความมึนเมาเพราะอาหาร ความอึดอัดเพราะอาหาร | ||||
๗. | - | - |
บรรยายสังเขป คำว่า “อาหาร”
ที่ชื่อว่า “อาหาร” มีมาในอุเทศปัญหาสิบอย่าง(เรื่องที่ต้องพ้น พ้นด้วย ?) ได้ว่าโดยย่อแล้วตามพระสังคีติกาจารย์ท่านว่า. ดูตามตำรากล่าวไว้นั้นหมายถึง สิ่งที่เป็นอยู่และเป็นไปแล้วด้วยอาหาร อาหารที่บรรยายมาจึงไม่ใช่ แต่อาหารคำข้าว ในที่เป็นคำๆ ที่กินอยู่กันนี้อย่างเดียว แต่กล่าวหมายถึงทั้งหมดว่าเมื่อจิตใจไปเกี่ยวข้องพัวพันกะสิ่งใด สิ่งนั้น ถึงอารมณ์นั้น ความรู้สึกนั้นนับว่าเป็นอาหาร และจะเป็นบทสังเขปที่จะหาอ่านได้จากบทสารานุกรมนั้นยังไม่มี เพราะว่าสรุปโดยย่อ ที่เห็นในบทความทางศาสนาของสารานุกรมให้มีนั้น เห็นจะสรุปลงเป็น ธรรมารมณ์ มากกว่าจะรวมเป็นมติเดียวว่าเป็นอาหาร ตามกำหนดมติที่มีมาในอุทเทศแห่งปัญหาสิบอย่าง ซึ่งอาจจะเป็นด้วยตลอดคัมภีร์ฎีกาและอรรถกถาจารย์เอง หรือจะคงเพราะแปรไปให้ไว้ให้กล่าวในอุเทศปัญหา ๑๐ แล้ว ก็จึงไม่กล่าวด้วยตามที่ชี้แจงถึงธรรมารมณ์ ที่กำหนดให้กล่าวไปในเรื่องของณานกีฬา (การเล่นฌาน) ฉะนั้นจึงจะขอกล่าวมาแต่ทางนี้ ในที่ซึ่งหมายถึงหยุดเสพหยุดคิด (ร้าย) นั้นเอง จึงถือว่าเป็นการหยุดอาหารได้บ้าง แล้วเป็นนิโรธดับจิตได้ และตลอดถึงอาหารตามธรรมดาชนิดที่กิน-ดื่มก็ควรสำรวม ระงับหรือจำกัดไว้ด้วย ด้วยใจคนเราที่เป็นปัญหาได้มาแต่ทุกข์โทษโพยภัยนั้น ว่า ให้เกิดเป็นเพราะด้วยนัยแห่งอาหาร (ให้ใจได้เสพ) ทั้งนั้น ดังนี้ เมื่ออ่านเทียบสอบทานดูแล้ว อาจจะยังขัดต่อความเข้าใจอยู่ และใครๆอาจจะว่าผิดนอกตำราไปแล้ว เพราะอธิบายตั้งแต่ถือเป็นอัตโนมติของตน เพราะผัสสาหารเป็นต้นไปจนถึง วิญญาณาหารนั้น ถ้ายึดตามคำศัพท์นั้นแล้วก็จะได้สอบสวนตามสำนวนตำราแห่งพระอภิธรรมเป็นต้นเรื่อยไป จะต้องว่าไม่ใช่! แต่ก็จะพูดให้เหมือนมีตำรากล่าวอยู่หรือ ? จึงให้กล่าว หรือให้เปรียบไม่ได้เลย ฉะนั้นจึงควรคิดสอบถามกันตามแบบของกถาวัตถุตามแต่นิกายนั้นๆ ก่อน หรืออย่างไรที่จะเป็นทางพอแต่เทียบเคียง ไม่ใช่แสดงรวบรวมลงแต่ทางตำราอยู่เสียทั้งหมด หาดู เช่นตัวอย่างเรื่อง การเกิดแห่งอายตนะเป็นต้น แค่นั้นก่อน จึงจะพอคุยให้เข้าใจกันได้ ซึ่งทั้งหมดแล้วหากกล่าวไปตามลำดับปัญหาก็จะไม่พ้นว่าเกิดด้วยความเป็นปัจจัย ว่าด้วยเพราะเป็นอาหาร ที่จะเป็นปฏิสนธิจิตอย่างไรนั้นก็จงได้ดูจากปัญญาถาม-ตอบ ของนิกายปุพพเสลิยะ และ อปรเสลิยะ แต่ที่นี้จะได้ว่าเปรียบตามไปถึง ถึงเหตุที่กินเนื้อบุตรนั้น และชอนไชเสพอยู่ไปทุกสิ่ง กระทั้งดั่งถูกฉุดคร่าอยู่ก็ตาม และกระทั่งดั่งถูกทิ่มแทงอยู่ก็ตาม ไม่เว้น ซึ่งกำหนดอยู่แล้วตามหัวข้อ ว่าด้วยอาหาร (๔) จึงขอตอบสอบเทียบตามนั้นไว้ มิใช่ยกตามสำนวนตามแต่ตำรานั้นๆมาเสียทั้งหมด สรูปข้อนี้ว่าดังนี้.
- อยู่ในทางอดอยาก แห้งแล้ง
- กินอยู่ตลอดเวลา เหมือนหนอน
- เหมือนถูกฉุดไป คร่าไปด้วยกำลัง
- เหมือนดังมีหอกทิ่มแทงแล้ว กลับยิ่งมีทิ่มแทงซ้ำกว่าอีก
ตัวอย่าง ว่ากินเนื้อ และเนื้อมนุษย์นั้น (เพราะไม่มีอะไรจะกิน ?)
คำถาม — เจตนาในอาหาร ทำให้บุตรในทางกันดารต้องตาย!
คำตอบ — กล่าวเนื้อความ อาหารสูตร
ฉะนั้น กวฬิงการาหาร — ถึง ควรเลี่ยงทางกันดาร
ฉะนั้น ผัสสาหาร — พึงถึง เนกขัมมะอันกินอยู่หนเดียว ไม่กินตลอดเวลา
ฉะนั้น มโนสัญเจตนาหาร — กำลังแห่งพระจันทร์ไม่อาจชนะกำลังแห่งพระอาทิตย์
ฉะนั้น วิญญาณาหาร — (เมื่อนั้น) ภิกษุพึงสลัดความเกิด(ความติดใจ) ให้เหมือนกับเม่นมีขน แทง (ทิ้ง, สลัด) ขนหอกซึ่งเป็นเหมือนดั่งอาวุธ ฉะนั้น (หนีไปทิ้งไป เลิกเสพ)
สารูป อาหาร ๔ จึงกล่าวมี ว่าดังนี้
เบียดเบียนกันด้วยความเป็นอาหาร ๑ ภาวะที่ต้องเสพเสมอด้วยอารมณ์ ๑ กำลังฉุดไปคร่าไป กระทำไว้ด้วยแรงผูกๆเข้าไว้ด้วยกับวิบากบ้างกับกรรมบ้าง ไม่อาจเลี่ยง ๑ เหตุตามธรรมชาติ ราชภัย (ภัยในทางสังคม) โทษอันเกิดแก่ตน เกิดขึ้นจากการรับรู้แล้วพาตนให้ไปเกี่ยวข้อง กับทางไปเช่นนั้น ๑ เปรียบเทียบกันกะที่มาใน ปุตตมังสสูตรท่านก็กล่าวอรรถาธิบายมาถึงข้อนี้
อาหารสูตร: หัวข้อเรื่องเดียวกัน ← ปุตตมังสสูตร