อัตตา หรือ อนัตตา
เปรียบเทียบสัททะรูปความหมาย ตามนัยพระอรรถกถาจารย์..
คำศัพท์ | ความหมาย | |
---|---|---|
กำหนด ค้นศัพท์ เรื่อง อัตตา (อัตตา หรืออนัตตา) | ||
อธิฏฺาติ | แปลว่า ตั้งมั่น | |
อตฺตา เม | ความว่า นี้เป็นอัตตา ของเรา | |
อรูปี | ได้แก่ ฌาน คือ ทิฏฐิที่ยึดถือฌานว่าเป็น อัตตา | |
อตฺตสมุฏฺานํ | ได้แก่ เกิดขึ้นในอัตภาพอันได้ชื่อว่า อัตตา เพราะเป็นที่ตั้งอยู่แห่งมานะ การถือตัวว่าเป็นเรา | |
อนุปาทาโน | ได้แก่ ทรงละกามุปาทานเป็นต้น ได้ทั้งหมด | |
เพิ่มคำศัพท์ | เป็นสภาค หรือโดยปริยาย ฯเปฯ |
บรรยายสังเขป คำว่า “อัตตา หรือ อนัตตา”
แก้ไขอัตตา หรือ อนัตตา
คำว่าอัตตา มีมติศัพท์อย่างทั่วไป ว่าคือแดนเกิดแห่งอัสมิมานะ หรือสารูปว่า อันว่าตน อันว่าเป็นตน กล่าวหมายถึงอัตตาทิฏฐิ เป็นเฉพาะว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนคำว่าอนัตตา อธิบาย ว่า อนัตตานั้นให้มีมติโดยทั่วไปว่า คือ ไม่เที่ยง เป็นสิ่งปรุงแต่ง ไม่อาจตั้งอยู่จริงเพราะเป็นทุกข์ ในบทย่อสมุฏฐานท่านกล่าวว่า พระนิพพานและบัญญัติย่อมวินิจฉัยว่า เป็นอนัตตา คนทั้งหลายตามการเป็นมาอาจคุ้นไปในมติที่ผิด ในทางที่ผิด หรือถูกดึงไปในทางให้สะดุ้ง ให้กลัว(กลัวไม่มี) ให้อาจสะดุด(ก็ไม่เป็นไร) มุ่งให้โอ้อวดกัน มุ่งให้คนองให้ต้องถาม-ตอบ ให้ต้องการในอุเทศที่ไม่มีมาในคัมภีร์ตามตรง. เมื่อมีบ้างไม่มีบ้างก็ต้องดึงกลับ ฉุดกลับให้ตรงลงมาเหมือนเดิมก่อน หรือให้หนีคำเดิมที่ยังไม่เข้าใจดีไปก่อน
มติทางศัพท์นั้น ใช้ว่า อตฺตา มาสืบซึ่งอนุสนธิทางบทสุภาษิตสำนวนธรรม เช่นที่กล่าวว่า อัตตา หิ อัตตโน นาโถ ข้อหนึ่ง เรื่อยไป ถึงที่มักจะกล่าวเอาเป็นสรุปปาฐกถากันมาให้จบลงว่า สพฺเพธมฺมา อนตฺตาติ อย่างไรก็อย่างหนึ่งนั้นด้วย หรือที่กล่าวไปตลอดนัยจวบจบจนกระทั้งซ้ำเสียอีกที่หนึ่ง เมื่อจะเทียบไปถึงสูญญตวิหารศัพท์ ก็อาจจะว่า สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย สำนักทั้งหลายแห่งทางการถาม-การตอบเนื้อเรื่องจากต้นเค้าทางคัมภีร์ เขาไว้ไปรวมกันทางประเด็นนี้แล้วๆ เอาไว้ยอมรับ และบ้างก็ว่า จะเอาไว้! ไว้ว่าจะไม่ยอมรับ. เรื่องนี้เป็นเรื่องของศัพท์ คือมติที่ให้ไว้เป็นเรื่องกล่าวคุยกัน ที่สนทนา และในพระอภิธรรมก็มีอยู่ ซึ่งกระทำชี้แจงแจ้งจดไว้คุย และปรากฏให้เป็นนิกายอัตตาต่างๆกันอีกมาก (ถาม-ตอบ สกวาที ปรวาที)
และนิกายที่เรียน นิรตฺตา หรืออนตฺตตา ก็เห็นจะฟุ้งพุ้ยคุยเอากับ อตฺตา กับเขาด้วยเหมือนกัน(คงคิดจะให้ไปถึงถามตอบอย่างอภิธรรมด้วยเหมือนกัน (ซึ่งตอนจบมักกล่าวว่า ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น เป็นต้น.)) เพราะว่ามุ่งทำทีจะเรียนให้ได้มี อนตฺตาหลายๆอย่างหลายๆแบบอนตฺตาด้วย เช่นเดียวกับอัตตามากแบบหลายอย่างๆในพระอภิธรรมคัมภีร์นั้นๆ ที่ซึ่งปรากฏการถามตอบอยู่ในตำราอภิธรรมมีอยู่. ฉะนั้น จึงจะหาสักเรื่องหนึ่งมาแสดงดังต่อไปนี้
สกวาที. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่ หรือ ?
ปรวาที. ถูกแล้ว.
สกวาที. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า หยั่งเห็นบุคคลได้ โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะ น่ะสิ
สกวาที. ท่านหยั่งเห็นบุคคลได้โดยสัจฉิกัตถปรมัตถะหรือ ?
ปรวาที. ถูกแล้ว.
สกวาที. พระผู้มีพระภาคเจ้า มีปกติตรัสคำจริง ตรัส สมกาล ตรัสเรื่องที่เป็นจริง ตรัสถูกต้อง ตรัสไม่ผิด ตรัสไม่คลาดเคลื่อน มิใช่หรือ ?
ปรวาที. ถูกแล้ว.
สกวาที. อ้าง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า อริยสาวกไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลงว่า เมื่อบังเกิด ทุกข์เท่านั้นบังเกิดขึ้น เมื่อดับ ทุกข์เท่านั้นดับไป ในข้อนี้อริยสาวกนั้นหยั่งรู้ได้โดยไม่ต้องอาศัยผู้อื่นทีเดียว เพียงเท่านี้แลกัจจานะ เป็นสัมมาทิฏฐิ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่ หรือ ?
ดังจะยกตัวอย่างต่อไป ว่า การหยั่งรู้ได้เป็นสัมมาทิฏฐิ ตามอ้าง ส.- เพราะฉะนั้นจึงขอให้ดูตามตัวอย่างนั้น จะได้ไม่ต้องมัวหามัวยุ่งกะการแต่งถ้อยคำ ซึ่งแต่งแล้วก็จะต้องเหมือนกับแต่เก่าก่อนที่มีมานั้น ทวนกลับไป-กลับมาอยู่แล้วจะเสียเวลา ฉะนั้นในชั้นพิจารณนี้ก็อย่าเพ่อได้กระทำออกมาใหม่ให้คนหาติเตียนมากนัก ให้ยกของเก่าที่มีกล่าวไว้อยู่แล้ว ว่าเขากล่าวหาลงความมีมาแล้ว หรือว่าคุยกันไว้แล้วว่าอะไรอย่างไร.
นักตำราหรือผู้เก่งทางภาษาดี ต้องไปทำชนวน หรือฉนวน ไปเป็นเกราะกันไว้หรือไปจุดติดเรื่องที่ว่านี้ ว่าคำว่า อนตฺตา นี่หล่ะ! หากไม่คุมพากย์คุมพูดกระทบเทียบไปถึงสำนวนที่ว่ามานั้น ถึงประกอบสำนวนดีแล้ว แต่ก็อาจจะไม่ปริสุทธิได้ เพราะไม่ได้ตรงถึงคุณตามที่กำหนด ที่จะให้คนเข้าใจว่า อะไรหรืออย่างไรไม่มีตัวตน กลับกลายเป็นแต่ว่ายกเลิกที่ทำไปแล้วอยู่ตลอด ทั้งหมด เพราะเข้าใจแต่ว่า เป็นสักแต่ว่า ไม่ได้มีประโยชน์ และไม่ได้มีอะไรทั้งนั้น อัตตาที่รู้ได้ด้วยญาณ และไม่รู้ หรืออนัตตาที่รู้ได้ด้วยญาณ และไม่รู้มีอยู่ ก็แต่จะกล่าวอยู่ จึงควรกล่าวแก่อมตะให้เป็นดีซะก่อน เมื่อดีเช่นนั้นแล้วๆจะกล่าวด้วยอะไรได้บ้าง. โดยศัพท์แล้ว อนัตตา อัตตา หรือ อมตะ อาจให้แก่สาธยายด้วยนามศัพท์ เป็นวิเศษ ว่า “ธาตุอันหยั่งลงด้วยญาณจึงเป็นอันทราบได้” คำว่า ธาตุ!อันหยั่งลงด้วยญาณจึงเป็นอันทราบได้ เป็นที่สุด ฉะนั้นนัยที่กล่าวถึงวิเศษนั้นให้พอรู้เรื่อง. ก็จึงควรได้กล่าวถึงธาตุที่เป็นเอนกอนันต์นั้นๆ ไปก่อน จึงจะได้ถึงปริสุทธิตามที่ได้กล่าวเป็นอนัตตา (เป็นสักแต่ว่า)