อัครสาวก
บรรยายสังเขป คำว่า “อัครสาวก”
อัครสาวก นับเนื่องเป็นคำตั้งบทนำที่มีไว้แก่ลูกคำ ในบทที่มีความต่างกันเมื่อสนธิแล้ว ได้จากคำว่า อัคร- นั้น ซึ่งหมายถึง ที่เป็นเลิศหรือเป็นยอด จึงเรียกว่า อัคระ แต่ที่มีชื่อมากและกล่าวขนานนามในอรรถะบรรยาย เกี่ยวกับตำนานสาวกและสาวิกาในศาสนามาเป็นอาทิ ตรงสำคัญที่ถูกต้องที่สุดคือ หมายถึง อัครสาวกเบื้องซ้าย เบื้องขวา ในที่ ภิกษุ และภิกษุณี รวมเป็น ๔ รูป แต่ทั้งหมดทั้งนั้นโดยปริยายหมายถึง พระมหาสาวกสาวิกาในพระนราสภพุทธเจ้าอันเป็นเอตทัคคะ และพระสาวกในที่เป็นพระอสีติก็ปรากฏว่าควรเรียก ด้วยนาม อัคร- คือตลอดพระสาวกผู้ที่เนื่องด้วยพระพุทธเจ้าในเหตุการณ์สำคัญต่างๆในสมะยพุทธกาลทั้งหมด ก็ถูกรวมเรียกในที่ๆเป็นอัครธรรม ถูกรวมเรียกโดยนัยบรรยายเป็นปริยายเดียว ว่า คือเป็นอัคระ คืออัครสาวก ดังที่ปรากฏมาในพระไตรปิฎก แต่ที่เรียกในทางศาสนาพุทธนั้น ส่วนใหญ่ในหลักสำคัญแล้วหมายถึง พระโมคคัลลา และพระสารีบุตร พระอัครมหาสาวก ว่าเป็นพระอัครสาวก
ส่วนคำว่า อัครสาวก ในที่อื่นๆอีก โดยมากแล้ว หมายถึง พระอัครทูต ๑๒ พระองค์ ซึ่งเป็นนักบุญผู้ประทานกิจการแห่งคริสตจักรในนามขององค์ศาสดาเยซู ในศาสนาคริสต์ แต่ทั้งหมดทั้งสิ้นแล้ว คำวิเศษนามว่า อัคร- นั้นใช้แก่ทุกเรื่องราว เช่นในที่เสนาบดีสำคัญที่เก่ง มีสามารถ ก็เรียกว่า อัครเสนาบดี หรือมีความเป็นใหญ่ เป็นที่สุดในที่พระชายา ก็ใช้คำว่า อัคร- เรียกว่า อัครชายาเป็นต้น ความดีเลิศในคุณลักษณะที่ดีเรียกว่า อัครฐาน
ฉะนั้นเหตุการณ์ เรื่องราว ตลอดบุคคลที่ตามประกอบอยู่นั้น หากกล่าวมีศักดิ์ศรี มีเกียรติยศเป็นพิเศษแล้ว ก็อาจถูกเรียกว่าเป็นองค์เอก เป็นอัครบุคคลด้วยนามนั้นๆได้ทั้งหมด
แก้ความกำกวมนั้นกำหนด ชื่อบทความ การสรา้งบทความให้ได้ชื่อตรงกับบทความจริงๆ ก็จึงต้องยากและกำกวมไปด้วย ซึ่งต้องฝ่าฟันมากเพื่อลดข้อขัดข้องในความไม่ประจวบเหมาะนี้ จึงจะได้บทความที่มีตัวบทพอดีตรงกับชื่อ
คำว่า อัคร,อัคร- พอที่จะเก็บคำ ในที่แผนกพจนานุกรม ก็ย่อมได้ไม่มีปัญหา ประกอบลูกคำอื่นๆต่อ ย่อมบันทึกและประกอบด้วยได้อีกมาก แต่! แต่หากกำหนดคำว่า อัครสาวก ให้เป็นชื่อบทความต้องมาสร้างแล้ว ก็เหมือนดูจะทำไม่ได้ เพราะแต่ละศาสนาใช้คำว่า อัครสาวก นี้ ถึงเรื่องศาสนาของตนแต่อย่างเดียว แต่โดยมาก ชื่อบทความด้วยชื่อนี้ จึงเป็นบทความที่สร้างได้ยาก และยังคงเป็นบทความที่ขาดหาย ถึงแม้ถ้าหากใช้หน้าเปลี่ยนทางต่างๆมากแล้ว แต่ก็จะต้องตั้งบทแก้ความกำกวมไว้ด้วย
พระนาม พระอัครสาวก พระสัมมาสัมพุทธเจ้า [1] | ||||||
ลำดับ | พระนามพระสัมมาสัมพุทธเจ้านับแต่อดีต | พระนาม พระอัครสาวก (คู่ ซ้าย-ขวา) | ||||
---|---|---|---|---|---|---|
๑. | พระพุทธเจ้าวิปัสสี | พระติสสะ และพระขัณฑะ | ||||
๒. | พระพุทธเจ้าสิขี | พระสัมภวะ และพระอภิภู | ||||
๓. | พระพุทธเจ้าเวสสภู | พระอุตตระ และพระโสณะ | ||||
๔. | พระพุทธเจ้ากกุสันธะ | พระสัญชีวะ และพระวิธูระ | ||||
๕. | พระพุทธเจ้าโกนาคมนะ | พระอุตตระ และภิยโยสะ | ||||
๖. | พระพุทธเจ้ากัสสปะ | พระภารทวาชะ และพระติสสะ | ||||
๗. | พระพุทธเจ้าโคตมะ | พระโมคคัลลานะ และพระสารีบุตร |
หมายเหตุ
แก้ไข- ↑ พระพุทธเจ้ามีมากนับจำนวนไม่ถ้วน ในที่นี้ยกมาเป็นเพียงตัวอย่างใน ๗ พระองค์จวบถึงพุทธกาลพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน