หมากล้อม/ป้อมโคบายาชิ

การเปิดหมากแบบป้อมโคบายาชิ

ป้อมโคบายาชิ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างหมากดำ 1 3 5 ตามรูป ชื่อของป้อมโคบายาชิ ตั้งตามชื่อของมืออาชีพ โคบายาชิ โคอิจิ ที่เปิดเกมด้วยรูปแบบนี้ เป็นประจำ ในช่วงหนึ่งของการเป็นมืออาชีพของท่าน ป้อมโคบายาชิถูกนำมาเล่นอย่างมากในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา

การเปิดเกมแบบป้อมโคบายาชินี้ มีรูปแบบที่คล้ายคลึงกับป้อมสามดาวจีนเล็กที่หมากดำตั้งค่ายระหว่างหมากขาวที่มุมซ้ายล่าง และ จุด 3-4 ที่มุมขวาล่าง

การที่หมากดำ เปิดหมาก ที่จุด 3-4 ที่มุมขวาล่าง เป็นกลยุทธ์ที่ดำล่อให้ขาวเข้ามา ตีมุมดำที่มุมขวาล่าง (การที่ขาวมาต้องตีมุมดำที่มุมขวาล่าง เป็นธรรมชาติของการเปิดหมาก ที่ต้องไม่ยอมให้ฝ่ายตรงข้ามล้อมมุมง่าย ๆ และขยายออกมาข้างกระดาน หรือได้มีโอกาสกางปีกออกจากมุมทั้งสองข้าง เป็นรูปสามเหลี่ยม ได้โมโยใหญ่ ๆ)ขาวต้องจำใจ มา ตีมุม แถว ๆ จุด a เพราะหากตีมุมใกล้กว่านี้ สักเส้นหนึ่ง จะถูกดำตอบโต้ด้วยมาตรการอันรุนแรง

ตำแหน่งทางด้านล่างยังมีจุดอ่อนที่จุด b ซึ่งขาวสามารถบุกเข้ามาได้ง่าย ๆ ภายหลัง ซึ่งดำอาจเปลี่ยนจากหมากดำ 7 ที่จุดดาวกลางกระดาน มาเล่นที่ c แทนก็ได้ เพื่อป้องกันจุดอ่อนตรงนี้ แต่นั่นก็เป็นการทำโครงสร้างระหว่างหมากดำ 7 กับหมากดำบริเวณมุมหลวมลง ซึางขาวจะมีตัวเลือกในการทำอะไร ในบริเวณนี้ได้มากขึ้น

การที่หมากดำ สามารถเปิดป้อมโคบายาชิได้ เพราะขาว 5 ไม่ตอบรับการตีมุมของหมากดำด้วยการตีกระหนาบ วิธีอื่น ๆ ในการต่อต้านการเปิดป้อมโคบายาชิ คือการตีมุมที่มุมขวาล่างกันท่าไม่ให้ดำตั้งค่าย ดังนั้น ถ้าคุณไม่ชอบการเดินหมากส้กับป้อมโคบายาชิ คุณก็โทษใครไม่ได้หรอกนะ นอกจากโทษตัวเอง

(การป้องกันการเปิดป้อมโคบายาชิ)

การเปิดหมากแบบป้อมโคบายาชิ (การตีกระหนาบ ตัวอย่างเช่น จุด A หรือ B สามารถใช้เพื่อป้องกันการเปิดหมากของป้อมโคบายาชิได้เช่นเดียวกัน)

อ้างอิง แก้ไข

แหล่งข้อมูลอื่น แก้ไข