หมากรุกสากล เป็นเกมกระดานที่มีผู้เล่น 2 คน มีฝ่ายขาวและฝ่ายดำโดยทั้ง 2 ฝ่ายจะมีหมากฝ่ายละ 16 ตัว โดยฝ่ายขาวจะต้องเริ่มเดินก่อนทุกครั้ง และจะต้องผลัดกันเดินจนทราบผลการเล่น

อุปกรณ์การเล่น แก้ไข

 
De ludo scachorum, 1493

1.กระดาน

เป็นวัสดุรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 8x8 ตาหรือช่อง 64 ตาแบ่งเป็นตาสีขาว 32 ตาและตาสีดำ 32 ตาโดยตาสีดำจะอยู่ที่มุมซ้ายมือสุดของผู้เล่น

2.ตัวหมาก

มีหมากอยู่ทั้งหมด 32 ตัวแบ่งเป็นฝ่ายละ 16 ตัวแต่ละฝ่ายจะมีหมากดังนี้

  • King(คิง) 1 ตัว
  • Queen(ควีน) 1 ตัว
  • Rook(เรือ) 2 ตัว
  • Bishop(บิชอพ) 2 ตัว
  • Knight(ม้า) 2 ตัว
  • Pawn(เบี้ย) 8 ตัว

ทั้ง 2 ฝ่ายจะมีเบี้ยทั้ง 8 ตัวปิดด้านหน้า 1 แถว ฝ่ายขาวจะตั้งหมากดังนี้(ซ้ายไปขวา)เรือ-ม้า-บิชอพ-ควีน-คิง-บิชอพ-ม้า-เรือ ฝ่ายดำจะตั้งหมากดังนี้(ซ้ายไปขวา)เรือ-ม้า-บิชอพ-คิง-ควีน-บิชอพ-ม้า-เรือ ข้อสังเกตคือคิงและควีนทั้ง 2 ฝ่ายจะตั้งตรงกัน(ไม่เหมือนหมากรุกไทย)ให้สังเกตว่า ควีนดำอยู่ตาดำ ควีนขาวอยู่ตาขาว

การเดินและการกิน แก้ไข

  • คิง

เดินได้ 8 ทิศรอบตัวทีละ 1 ช่องยกเว้นตากินของคู่ต่อสู้(ยกเว้นการเข้าป้อม)การกินเหมือนกับการเดิน

  • ควีน

เดินได้ 8 ทิศรอบตัว กี่ช่องก็ได้ การกินเหมือนกับการเดิน

  • เรือ

เดินได้ 4 ทิศรอบตัวในแนวตั้งและแนวนอน กี่ช่องก็ได้ การกินเหมือนกับการเดิน

  • บิชอพ

เดินได้ 4 ทิศรอบตัวในแนวทแยงมุม กี่ช่องก็ได้ การกินเหมือนกับการเดิน

  • ม้า

เดินได้ 8 ทิศรอบตัว แต่เป็นการเดิน 2 จังหวะคือ เดินคล้ายเรือไป 2 ช่องและหักมุมอีก 1 ช่องเป็นรุปตัว L การกินเหมือนกับการเดิน แต่ไม่สามารถเดินได้ถ้ามีเบี้ยขวางอยู่2ด้าน

  • เบี้ย

เดินได้ 1 ทิศคือไปข้างหน้าทีละ 1 ช่อง(ยกเว้นตาแรกของเบี้ยจะเลือกเดิน 1 หรือ 2 ช่องได้)การกินกินในแนวทแยงด้านหน้า 1 ช่อง

การเข้าป้อม แก้ไข

เป็นการเดินหมาก 2 ตัว (คิงและเรือ) แต่นับเป็นการเดิน 1 ครั้ง เพื่อความปลอดภัยของคิง และการนำเรือออกมาโจมตีได้ง่ายขึ้น ทั้ง 2 ฝ่ายมีสิทธ์ที่จะเข้าป้อม 1 ครั้ง (ไม่เข้าเลยก็ได้) สามารถกระทำได้ดังนี้

การเข้าป้อมด้านคิง แก้ไข

เดินคิงไปทางขวา 2 ช่อง (ให้ติดเรือ) และนำเรือข้ามคิงมาติดทางซ้าย

การเข้าป้อมด้านควีน แก้ไข

เดินคิงไปทางซ้าย 2 ช่อง (ให้เว้นจากเรือ 1 ช่อง)และเดินเรือมาติดทางขวาของคิง

เงื่อนไขการเข้าป้อม แก้ไข
  • จะต้องไม่มีหมากคั่นกลางคิงและเรือด้านที่จะเข้าป้อม
  • คิงและเรือด้านที่จะเข้าป้อมต้องไม่เคยเคลื่อนย้าย
  • คิงจะต้องไม่อยู่ระหว่างถูกรุก
  • ระหว่างคิงและเรือจะต้องไม่มีตากินของคู่ต่อสู้

การตัดสินเกม แก้ไข

การตัดสินเกมหรือจบเกมจะเป็นได้หลายแบบ จะมีผู้แพ้-ชนะหรือเสมอกัน

  • การรุกคิงฝ่ายตรงข้ามจน (เช็คเมท)
  • การที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขอยอมแพ้
  • การอับ
  • การตกลงเสมอกัน

การบันทึกด้วยสัญลักษณ์ แก้ไข

เพื่อจะได้มีหลักฐานในการเล่นของทั้ง 2 ฝ่ายไม่ว่าจะรายการใหญ่หรือเล็ก ก็ควรมีไว้

สัญลักษณ์แทนตัวหมาก แก้ไข

  • K หมายถึง คิง
  • Q ,, ควีน
  • R ,, เรือ
  • B ,, บิชอพ
  • N ,, ม้า
  • P ,, พอร์น

สัญลักษณ์ตาบนกระดาน แก้ไข

ใช้ชื่อเรียกทั้ง 64 ตาตามหมากนาย (R N B Q K)แต่เนื่องจาก R N B มี 2 ตัวจึงแบ่งกระดานดังนี้ซีกซ้ายนับจากควีน (QR QN QB Q) และซีกขวานับจากคิง (K KB KN KR) และตามด้วยแถว (แถวแรกเริ่มจากแถวใกล้สุด ไปจนถึงฝั่งของคู่ต่อสู้ 1-8)

สัญลักษณ์การกระทำของหมาก แก้ไข

  • - หมายถึงการเดิน ตัวอักษรข้างหน้าคือตัวที่เดิน ตัวอักษรและเลขข้างหลังคือตาที่เดินไป
  • x หมายถึงการกิน ตัวอักษรข้างหน้าคือตัวที่กิน ตัวอักษรข้างหลังคือตัวที่ถูกกิน
  • 0-0 หมายถึงการเข้าป้อมด้านคิง
  • 0-0-0 หมายถึงการเข้าป้อมด้านควีน
  • ! หมายถึงตาเดินที่ดี
  • !! หมายถึงตาเดินที่ดีมาก
  • ? หมายถึงตาเดินที่ไม่ดี
  • ?? หมายถึงตาเดินที่แย่มาก
  • () หมายถึงหมากที่เบี้ยเลือกเป็นเมื่อเดินถึงแถวสุดท้าย ในวงเล็บจะเป็น Q R B หรือ N
  • Ch หมายถึงรุก
  • Mate หมายถึงคิงจน (รุกจน)
  • Stale หมายถึงคิงอับ (ไม่ได้ถูกรุกแต่เดินไม่ได้หรือไม่มีหมากอื่นเหลือ)
  • Draw หมายถึงตกลงเสมอกัน
  • Resigns หมายถึงยอมแพ้

หลักการเล่นหมากรุกสากล แก้ไข

การเล่นหมากรุกสากลต้องใช้หลักทั้ง 3 ดังนี้

กำลังพล แก้ไข

แน่นอนว่าต้องใช้กำลังพลมากถึงจะชนะได้ การดูความได้เปรียบอาจดูจากการนับหมาก แต่หมากแต่ละตัวเดิน-กินไม่เมือนกัน จึงมีการกำหนดค่าหมากไว้ดังนี้

  • ควีน 9 แต้ม
  • เรือ 5 แต้ม
  • บิชอพ 3 แต้ม
  • ม้า 3 แต้ม
  • เบี้ย 1 แต้ม

ซึ่งค่าของหมากช่วยให้เราตัดสินใจได้ว่าควรจะกินแลกหรือไม่ เช่นการเสียเรือแลกกับบิชอพ ได้มา 13 เสียไป 14 ขาดทุน 1 เป็นต้น

การกินฟรี แก้ไข

เป็นการทำให้หมากของคู่ต่อสู้ลดลงโดยที่เราไม่เสียหมากตัวใด ซึ่งมีสาเหตุมาจาก

ความเผลอเรอ แก้ไข

เนื่องจากดูตากินของคู่ต่อสู้ไม่ดีว่ามีตากินครอบคลุมฝ่ายเรา จึงเสียหมากบางตัวแต่กลับไม่ได้คืน

การรุกฆาต หรือ Check Mate แก้ไข

คือการรุกคิงแล้วไม่มีตาให้คิงเดิน

การรุก หรือ Check แก้ไข

คือการรุกคิงแล้วฝั่งที่โดนรุกต้องย้ายคิง กินหมากที่มารุก หรือปิดตารุกเอาไว้

การจับกิน แก้ไข

เป็นการไล่ตามหมากของคู่ต่อสู้เพียง 1 ตัวไปเรื่อยๆเพื่อจะกิน เมื่อจนมุม

การบีบบังคับ แก้ไข

เป็นการบังคับให้เดินมาถูกกิน เพื่อความปลอดภัยของคิงหรือการเปิดทางเพื่องัดเอาอำนาจของหมากออกมาใช้

การกินแลก แก้ไข

เพื่อที่จะตัดกำลังของคู่ต่อสู้และสกัดกั้นการโดนบุก เราอาจจะต้องแลกหมากของเรากับคู่ต่อสู้ ทำให้คู่ต่อสู้อ่อนกำลังลง

การกินรุก แก้ไข

คือ การที่เรากินหมากของคู่ต่อสู้แล้วรุก

การผูกหมาก แก้ไข

คือการที่เรานำตัวหมากมาผูกกับหมากอีกตัวหนึ่ง เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามกินหมากของเราไม่ได้

จังหวะ แก้ไข

เนื่องจากการเดินแต่เริ่มส่งผลถึงท้ายกระดาน เราต้องใช้จังหวะที่ดีในการโจมตีจุดโหว่ของคู่ต่อสู้ โดยอาจสร้างจังหวะการเดินโดยการเดินหมากไปมา เพื่อรอให้คู่ต่อสู้เปิดช่องหรือการเดินถ่วง

การขึ้นหมาก แก้ไข

คือการเดินหมากพร้อมทั้งรุก-รับ จะต้องไม่เดินให้เสียต่าเปล่า และต้องงัดเอาค่าของหมากมาใช้ให้มากและเร็วที่สุด

การบุก แก้ไข

คือการนำกำลังไปรุกรานกองทัพฝ่ายตรงข้าม ให้มีภาระป้องกันคิง

โจมตีคิง แก้ไข

เป็นการหวังผลอย่างรวดเร็ว เพื่อที่จะรุกจน อาจจะยอมเสียกำลังบ้าง

ชิงความได้เปรียบ แก้ไข

การบีบเพื่อกดดัน จนคุมเกมและเอาชนะด้วยหลัก 3 หลักนี้ (กำลังพล จังหวะ ตำแหน่ง)

หลักสำคัญของการบุก แก้ไข

เป็นหลักการที่ควรจะทำหรือไม่ทำอะไรระหว่างบุก

โจมตีจุดอ่อน แก้ไข

เมื่อเห็นจุดอ่อนของคู่ต่อสู้แล้ว ควรระดมพลไปถาโถมใส่จุดอ่อนนั้นๆ

เลี่ยงการกินแลกหมาก แก้ไข

ในการบุกย่อมต้องใช้กำลังมากกว่า ควรเลี่ยงการแลก เพราะกำลังจะอ่อนลง

รีบเอาชนะ แก้ไข

ถ้ามีจังหวะให้รีบเอาชนะ อย่าเยิ่นเย้อเพราะนอกจากจะเปิดโอกาสแล้ว ยังเป็นการเสียมารยาท ที่ดูหมิ่นฝีมือคู่ต่อสู้ด้วย

การตั้งรับ แก้ไข

เป็นการต้านกำลังของคู่ต่อสู้ไม่ให้เข้ามาถึงคิงได้

ปิดจุดอ่อน แก้ไข

นอกจากจะหาจุดอ่อนของคู่ต่อสู้แล้วต้องหาของฝ่ายตนให้พบด้วย เพื่อจะเตรียมการตั้งรับไว้ทัน

ปะทะด้วยกำลัง แก้ไข

ในหลักยุทธศาสตร์แล้วการใช้กำลังเท่ากัน ก็สามารถหยุดยั้งการบุกของคู่ต่อสู้ได้

การกินแลก แก้ไข

เป็นการตัดกำลังของฝ่ายคู่ต่อสู้ที่จะมาบุกให้อ่อนลง โดยเสียหมากฝ่ายเราด้วย

บุกสกัด แก้ไข

เมื่อมีจังหวะสวนกลับ ให้รีบทำเพื่อยางรอยรั่วในแผงรับ นับเป็นการรับที่ดีที่สุด เพราะคู่ต่อสู้มีภาระที่ต้องป้องกันตัวเอง หรืออย่างน้อยก็ทำให้คู่ต่อสู้ต้องพะวงหลัง

หาเสมอ แก้ไข

เมื่อคู่ต่อสู้ได้เปรียบหรือมีฝีมือเหนือกว่ามาก การหาเสมอจึงเป็นการป้องกันที่ดี

หาเสมอเมื่อเท่ากัน แก้ไข

เมื่อทุกอย่างเท่ากัน อาจจะตกลงเสมอกันได้

ปิดทางเดิน แก้ไข

เพื่อไม่ให้โดนโหมบุกหนัก อาจต้องใช้เบี้ยเพื่อกันกำลังของฝ่ายคู่ต่อสุ้ หรืออาจใช้หมากนาย (ที่ไม่ใช่คิง) ร่วมด้วย

ลดกำลัง แก้ไข

เป็นการกินเพื่อไม่ให้โดนบุกมากนัก อาจเสียหรือไม่เสียหมากก็ได้

หาเสมอเมื่อเป็นรอง แก้ไข

เมื่อเป็นรองก็ควรทำให้เสียเปรียบน้อยที่สุด โดยการกดดันหรือทำลายจังหวะ

การกินแลก แก้ไข

เป็นการตัดกำลังทั้ง 2 ฝ่ายเพื่อฝ่ายรับได้สกัดกั้น

รุกล้อ แก้ไข

เป็นการเดินซ้ำเดิม 3 ครั้ง ไม่ว่าหมากจะเป็นรองเท่าใด ถ้าโดนจับรุกล้อ ถือว่าเสมอ

การอับ แก้ไข

เมื่อไม่ได้ถูกรุกคิง แต่คิงเดินไม่ได้ เมื่อไม่มีหมากเหลืออยู่

ตำแหน่ง แก้ไข

ตำแหน่งกลางกระดานเป็นสิ่งสำคัญ เพราะยิ่งอยู่กลางหมากยิ่งทรงอานุภาพมากขึ้น

การเปิดหมาก แก้ไข

เป็นการเดินเมื่อเริ่มเล่น เพื่อตั้งลักษณะการบุก และยังสามารถแปรรูปได้มากมาย

หลักการเปิดหมาก แก้ไข

เมื่อเปิดหมากแล้วต้องให้ฝ่ายเราได้เปรียบ หรืออย่างน้อยต้องไม่ให้คู่ต่อสู้ได้เปรียบ ดังนี้

  • ควบคุมศูนย์กลาง
  • เอาอำนาจหมากออกมาใช้ให้มาก
  • เพื่อทำลายเกมบุกรุกรับของคู่ต่อสู้ตั้งแต่ต้น
  • เพื่อให้ง่ายขึ้นต่อการบุกรุกถึงคิง

อ้างอิง แก้ไข

แหล่งข้อมูลอื่น แก้ไข