สารละลาย/ความหมายและองค์ประกอบของสารละลาย

สารละลาย(soluton) คือสารเนื้อเดียวที่มีตัวประกอบ2อย่างคือตัวทำละลาย(solvent)เเละตัวละลาย(solule)

(homogeneous) องค์ประกอบที่มีปริมาณมากที่สุด เรียกว่าตัวทำละลาย (solvent) ส่วนองค์ประกอบอื่น ๆ ที่มีปริมาณน้อยกว่า เรียกว่า ตัวถูกละลาย (solute) ถ้ากล่าวถึงตัวทำละลายแล้ว ตัวทำละลายที่เรารู้จักกันดี ก็คือ น้ำ สารละลายที่มีน้ำเป็นตัวทำละลาย เรียกว่า สารละลายในน้ำ (aqueous solution) ถึงแม้ว่าในสารละลายหนึ่งๆ จะมีองค์ประกอบอยู่หลายๆ อย่างในสารละลาย ทั้งตัวทำละลาย และตัวถูกละลาย ซึ่งอาจจะมีมากกว่า 1 ชนิดขึ้นไป แต่สมบัติทางเคมี และสมบัติทางกายภาพ ขององค์ประกอบแต่ละชนิด ก็ยังคงเหมือนเดิม เช่น 

สารละลายของ CuSO4 ซึ่งประกอบด้วย CuSO4 ที่ละลายในน้ำ สารละลายที่ได้ยังคงมีสีฟ้าของ CuSO4 และยังคงนำไฟฟ้าได้เหมือน CuSO4 ที่หลอมเหลว ส่วนความดันไอ และความตึงผิวก็ไม่แตกต่างไปจากน้ำบริสุทธิ์ นอกจากนั้นยังคงสามารถทำปฏิกิริยาเคมีได้เช่นเดียวกับน้ำบริสุทธิ์ หรือ CuSO4 เช่นเดิม

ชนิดของสารละลาย (type of solutions)

ในขั้นตอนการจำแนกชนิดของสารละลาย โดยทั่วไปจะจำแนกสารละลายตามสถานะ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ สารละลายของแข็ง สารละลายของเหลว และสารละลายแก๊ส ซึ่งตัวทำละลายจะต้องมีสถานะเช่นเดียวกับสถานะของสารละลาย กล่าวคือ สารละลายของแข็ง ตัวทำละลายจะต้องเป็นของแข็ง สารละลายของเหลว ตัวทำละลายจะต้องเป็นของเหลว และสารละลายแก๊ส ตัวทำละลายจะต้องเป็นแก๊ส ส่วนตัวถูกละลายในสารละลายทั้ง 3 ชนิด เป็นได้ทั้งของแข็ง ของเหลว และแก๊ส

เมื่อพิจารณาสถานะของตัวทำถูกละลาย ซึ่งมีอยู่ 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ดังนั้น เราสามารถยกตัวอย่างสารละลายที่สามารถพบเห็นในชีวิตประจำวันได้