แม่แบบ:เพิ่มอ้างอิง แม่แบบ:กล่องข้อมูล หนังสือ

File:Royal Monogram of Prajadhipok (use for Siamese military colours).svg
File:Royal Monogram of Prajadhipok (use for Siamese military colours).svg
     บรรณาธิการ โลก DGA พันจ่าโทวิศิษฎ์ ทองโม้ จ.เลย ขอรับ

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นหนังสือสารานุกรมที่พิมพ์ขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2516 จนถึงปัจจุบัน รวม 44 เล่ม เป็นสารานุกรมภาษาไทยจัดทำขึ้นเป็นรูปเล่ม โดยมีเนื้อหาบางส่วนเผยแพร่ในระบบออนไลน์ เป็นสารานุกรมไทยแบบเป็นชุด เน้นความรู้ที่เกิดขึ้นและใช้อยู่ในประเทศไทย จัดทำโดยคนไทย เพื่อให้คนไทยทุกเพศทุกวัยมีโอกาสได้อ่าน แต่ละเล่มรวบรวมเนื้อเรื่องจากหลากหลายสาขาวิชา เนื้อหาของเรื่องต่าง ๆ เรียบเรียงให้เหมาะสมกับ 3 ระดับความรู้ ให้แก่ เด็กรุ่นเล็ก เด็กรุ่นกลาง และเด็กรุ่นใหญ่ รวมทั้งผู้ใหญ่ที่สนใจทั่วไป แต่ละเรื่องเริ่มต้นด้วยเนื้อหาของระดับเด็กรุ่นเล็ก ตามด้วยเนื้อหาของรุ่นกลางและรุ่นใหญ่ตามลำดับ เนื้อหาในแต่ละระดับพิมพ์ด้วยตัวอักษรขนาดต่างกัน[1]

นอกจากนั้น ยังได้มีการจัดพิมพ์ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ฉบับเสริมการเรียนรู้ หรือเรียกกันทั่วไปว่า "ฉบับเล่มเล็ก" ซึ่งได้คัดเลือกเรื่องจากสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มใหญ่ มาเรียบเรียงและจัดทำภาพประกอบใหม่ให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยจัดพิมพ์เป็นหนังสือเล่มเล็กขนาดพ็อกเก็ตบุ๊คเหมาะแก่การพกพาและสะสม เพื่อเผยแพร่และจัดจำหน่ายแก่เยาวชนและผู้ที่สนใจในราคาย่อมเยาโดยเล่มแรกเผยแพร่เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2548 ปัจจุบันจัดพิมพ์ถึงเล่ม 23 แล้ว[2] นอกจากนั้น ยังได้มีการจัดพิมพ์สารานุกรมไทย ฉบับพิเศษ เล่มอื่น ๆ เช่น สารานุกรมไทย ฉบับกาญจนาภิเษก, สารานุกรมไทย ฉบับผู้สูงวัย เป็นต้น

จดทะเบียนเป็นมูลนิธิ

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จดทะเบียนจัดตั้งโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เป็นมูลนิธิ โดยใช้ชื่อว่า "มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร" และต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จดทะเบียนจัดตั้งใช้ชื่อย่อว่า "มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ" และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงดำรงตำแหน่งเป็นองค์ที่ปรึกษา และมูลนิธิฯ ได้รับการจดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2563

เนื้อหา

ฉบับปกติ

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ฉบับปกติจนถึง พ.ศ. 2567 มีทั้งหมดรวม 44 เล่ม ดังต่อไปนี้

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 1
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2516 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ

ดวงอาทิตย์ อุปราคา ท้องฟ้ากลางคืน นก ปลา เครื่องจักรกล พลังงาน การควบคุมและการใช้ประโยชน์ อากาศยาน และดนตรีไทย[3]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 2
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2518 มีทั้งหมด 10 เรื่อง คือ

การจำแนกและจัดลำดับหมวดหมู่ของสัตว์ เวลา บรรยากาศ การตรวจอากาศ อุตสาหกรรม อุปกรณ์ขยายขอบเขตของสัมผัส มหาราชในประวัติศาสตร์ไทย การศึกษา กรุงเทพมหานคร และตราไปรษณียากรไทย[4]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 3
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2520 มีทั้งหมด 10 เรื่อง คือ

ข้าว ข้าวโพด ฝ้าย ยางพารา ทรัพยากรป่าไม้ ผลิตผลป่าไม้ การทำไม้ วัชพืช วัวควาย และช้าง[5]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 4
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2521 มีทั้งหมด 10 เรื่อง คือ

การเรืองแสงของสิ่งมีชีวิต การหายใจ ความสมดุลของของเหลวในร่างกาย ไวรัส ปรากฏการณ์ของอากาศ ภูมิอากาศ รถไฟ การศาสนา การต่างประเทศสมัยรัตนโกสินทร์ และลำดับพระมหากษัตริย์ไทย[6]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 5
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2523 มีทั้งหมด 8 เรื่อง คือ

ผัก ไม้ผล อ้อย มันสำปะหลัง พืชหัว การขยายพันธุ์พืช พันธุ์ไม้ป่า และเป็ดไก่[7]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 6
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2525 มีทั้งหมด 15 เรื่อง คือ

คณิตศาสตร์เบื้องต้น ประวัติและพัฒนาการเกี่ยวกับจำนวน เซต ตรรกวิทยา ฟังก์ชัน สมการและอสมการ จุด เส้น และผิวโค้ง ระยะทาง พื้นที่ ปริมาตร สถิติ ความน่าจะเป็น เมตริก กราฟ และคณิตศาสตร์ ธรรมชาติ และศิลปะ[8]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 7
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2525 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ

กล้วยไม้ ผีเสื้อในประเทศไทย การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม โรคพืช ครั่ง การเลี้ยงปลา การชลประทาน บ้านเรือนของเรา และโทรคมนาคม (ภาคแรก)[9]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 8
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2526 มีทั้งหมด 7 เรื่อง คือ

ประวัติการแพทย์และเภสัชกรรมไทย กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา การกำเนิดของโรค การบริบาลทารกและโรคทางกุมารเวชศาสตร์ ศัลยศาสตร์และวิสัญญีวิทยา เลือดและธนาคารเลือดในประเทศไทย และอุบัติเหตุและการปฐมพยาบาล[10]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 9
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2528 มีทั้งหมด 13 เรื่อง คือ

เรื่องของยา สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา วิธีการทางการแพทย์ในการควบคุมการเจริญพันธุ์ การทำแท้ง การสาธารณสุข โรคมะเร็ง รังสีวิทยา ฟันและเหงือกของเรา เวชศาสตร์ชันสูตร เวชศาสตร์ฟื้นฟู นิติเวชศาสตร์ โภชนาการ และยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท[11]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 10
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2530 มีทั้งหมด 10 เรื่อง คือ

โรคทางอายุรศาสตร์ โรคติดต่อและโรคเขตร้อน โรคภูมิแพ้ โรคผิวหนังที่พบบ่อยในประเทศไทย โรคตา โรคหู คอ จมูก จิตเวชศาสตร์และสุขภาพจิต สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และการปลูกกระดูกข้ามคน[12]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 11
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2531 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ

วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ระบบการสั่งงานของคอมพิวเตอร์ การประยุกต์คอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ สิ่งประดิษฐ์จากพัฒนการด้านคอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม ผลของการใช้คอมพิวเตอร์ และพัฒนาการอักษรไทยในเครื่องคอมพิวเตอร์[13]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 12
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2531 มีทั้งหมด 10 เรื่อง คือ

การแพทย์ การศึกษา การสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาชาวเขาและการเกษตรที่สูง การพัฒนาการเกษตรในชนบท การศึกษาการพัฒนา การสหกรณ์ การพัฒนาแหล่งน้ำ การพัฒนาปัจจัยการผลิต และแผนที่[14]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 13
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2532 มีทั้งหมด 11 เรื่อง คือ

เรือนไทย ชีวิตชนบทไทย หัตกรรมพื้นบ้าน จิตรกรรมไทย นาฏศิลป์ไทย ตุ๊กตาไทย การละเล่นของไทย อาหารไทย การประดิษฐ์ผักและผลไม้ การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม และธนาคาร[15]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 14
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2533 มีทั้งหมด 10 เรื่อง คือ

พระราชวังในกรุงเทพมหานคร พระราชวังในส่วนภูมิภาค ประติมากรรมไทย อาหารสัตว์ พืชอาหารสัตว์ การปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ ข้าวฟ่าง เทคโนโลยีชีวภาพ สารพิษและสิ่งปนเปื้อนอาหาร และสมุนไพร[16]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 15
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2534 มีทั้งหมด 10 เรื่อง คือ

ผึ้ง การเลี้ยงผึ้งโพรงไทย ยาสูบ ไม้สัก ผ้าไทย ชุมชนโบราณในเมืองไทยจากหลักฐานภาพถ่ายทางอากาศ น้ำเสีย ขยะมูลฝอย มลพิษทางอากาศ และปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับสากล[17]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 16
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2535 มีทั้งหมด 10 เรื่อง คือ

การบูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระไตรปิฎกและการชำระพระไตรปิฎก การอนุรักษ์โบราณสถานและโบราณวัตถุ ศิลาจารึกและการอ่านจารึก สังคมและวัฒนธรรมไทย การผลิตหนังสือ การดนตรีสำหรับเยาวชน การช่างและหมู่บ้านช่าง ดาวเทียมเพื่อการเกษตร และการฟื้นฟูสมรรถภาพเยาวชนผู้พิการทางด้านการศึกษา[18]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 17
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2536 มีทั้งหมด 10 เรื่อง คือ

ช้างเผือก ฉันทลักษณ์ไทย ระบบนิเวศและความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับสิ่งมีชีวิต โรคตับอักเสบจากไวรัส ของเสียที่เป็นอันตราย การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ปอแก้วปอกระเจา พืชเส้นใย การปรับปรุงพันธุ์พืช และข้าวสาลี[19]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 18
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2537 มีทั้งหมด 10 เรื่อง คือ

สภาพแวดล้อมกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในประเทศไทย ประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์ การแต่งกายของคนไทย กฎหมายกับสังคมไทย ประวัติการพิมพ์ไทย ภาษาและอักษรไทย ยาฆ่าแมลง ดินและปุ๋ย การเลี้ยงหมู และระบบการค้าผลิตผลการเกษตร[20]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 19
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2537 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ

การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พืชน้ำมัน การถนอมผลิตผลการเกษตร ม้า แมลง เครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ศิลปะการนับเบื้องต้น ภูมิปัญญาชาวบ้าน และสารกึ่งตัวนำ[21]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 20
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2538 มีทั้งหมด 10 เรื่อง คือ

ศาสนาและระบบความเชื่อในประเทศไทย ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับต่างประเทศ จิตรกรรมไทยแบบประเพณี เสียงและมลภาวะทางเสียง เลเซอร์ เซลล์แสงอาทิตย์ อัญมณี เวชศาสตร์การบิน ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือโรคเอดส์ และการปลูกถ่ายอวัยวะ[22]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 21
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2539 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ

กระบวนพยุหยาตรา วีรสตรีไทย ศิลปะการทอผ้าไทย เครื่องถม เครื่องปั้น การตลาดและการส่งออกศิลปหัตถกรรม พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน การอนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ และองค์การสหประชาชาติและองค์การในเครือ[23]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 22
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2540 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ

ภาษาศาสตร์ เครื่องถ้วยไทย เครื่องจักสาน ไม้ดอกหอมของไทย เครื่องทุ่นแรงและเครื่องจักรกลเกษตร อาชีวอนามัย ครอบครัวไทย สัตว์ทะเลหน้าดิน และท่าอากาศยาน[24]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 23
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2541 มีทั้งหมด 10 เรื่อง คือ

ภูมิปัญญาไทย วัฒนธรรมทางละครไทย (ละครรำ) การละเล่นพื้นเมือง ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย ชาติพันธุ์ เฟิร์นไทย ไม้ในวรรณคดีไทย (ตอน 1) การทำงานใต้น้ำ ระบบวิทยุ และการผลิตเบียร์[25]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 24
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2542 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ

วรรณคดีมรดก ไม้ในวรรณคดีไทย (ตอน 2) เมืองหลวงเก่าของไทย การผลิตรถยนต์ การผลิตรถจักรยานยนต์ การผลิตปูนซีเมนต์ ปิโตรเลียมและการผลิต โรคติดเชื้ออุบัติใหม่และโรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ และแผนพัฒนาประเทศ[26]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 25
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2544 มีทั้งหมด 8 เรื่อง คือ

ซอฟต์แวร์พื้นฐานสำหรับสำนักงาน ระบบฐานข้อมูล วิวัฒนาการของไมโครคอมพิวเตอร์ การพัฒนาซอฟต์แวร์ โครงข่ายประสาทเทียม อินเทอร์เน็ต การประยุกต์ใช้ภาษาไทยบนคอมพิวเตอร์ และแนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21[27]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 26
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2545 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ

นิทานพื้นบ้านไทย ห้องสมุดเสียงแห่งแรกของไทย ชุมชน การใช้สื่อประสมส่งเสริมการศึกษา เชื้อเพลิง ยานยนต์ และสิ่งแวดล้อม การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้ ส้ม สัตว์ในระบบนิเวศป่าชายเลน และหอยเป๋าฮื้อ[28]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 27
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2546 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ

ลิเก การบริหารราชการแผ่นดิน การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เทคนิคการผลิตไม้ผลนอกฤดู ไฮโดรพอนิกส์ พิษภัยของแอลกอฮอล์ ผู้สูงอายุ พลังงานนิวเคลียร์ และการปฏิวัติทางพันธุกรรม[29]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 28
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2547 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ

วัดไทย ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ตลาด ทุเรียน เทคโนโลยีชีวภาพทางการเษตร พิษภัยของบุหรี่ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ พลาสติกกับชีวิตในปัจจุบัน และแผ่นดินไหว[30]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 29
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2547 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ

ศิลปาชีพ พระพุทธรูป การผลิตทองรูปพรรณ อุทยานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย สวนพฤกษศาสตร์ เงินตรา ปลาสวยงาม ธาลัสซีเมีย และการดูแลสุขภาพที่บ้าน[31]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 30
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2548 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ

ศิลปะการเห่เรือ หอพระไตรปิฎก ปราสาทขอมในประเทศไทย กฎหมายตราสามดวง ไม้ดอกไม้ประดับ กล้วย ปลากัด คลื่นสึนามิ และวัสดุการแพทย์[32]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 31
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2549 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ

ตู้พระธรรม วัดญวนในประเทศไทย วรรณคดีท้องถิ่น พรรคการเมืองไทย การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซากดึกดำบรรพ์ในประเทศไทย ดาวหาง ระบบสุริยะ และอัลไซเมอร์[33]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 32
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2550 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ

ตาลปัตร พัดยศ และสมณศักดิ์ หุ่นกระบอกไทย หนังสือโบราณของไทย สิทธิมนุษยชน เส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศ ชีวสนเทศศาสตร์ การยศาสตร์ นาโนเทคโนโลยี และโรคออทิซึม[34]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 33
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2551 มีทั้งหมด 8 เรื่อง คือ

สุนทรภู่ เพลงลูกทุ่ง คลอง วิวัฒนาการของมนุษย์ เซลล์เชื้อเพลิง เปลือกโลกและหิน อาหารกับโรคเรื้อรัง และการแพทย์แผนไทย[35]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 34
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2552 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ

เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เพลงพื้นบ้าน ปริศนาคำทายของไทย เครื่องประดับ หอยในทะเลไทย บริการธนาคารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พายุและฝนในประเทศไทย โรคพาร์กินสัน และโรคฉี่หนู[36]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 35
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2553 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ

วัดจีน สงกรานต์ มวยไทย โรคพืชและการจัดการด้วยวิธีชีวภาพ มาตรวิทยา การพยากรณ์อากาศ โรคข้ออักเสบรูมาทอยด์ โรคเบาหวาน และโรคสะเก็ดเงิน[37]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 36
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2554 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ

มัสยิด ละครชาตรี เกวียน ทองคำ แมคาเดเมีย หุ่นยนต์ แอนิเมชัน โรคมาลาเรีย และโรคไต[38]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 37
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2555 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ

พระเจดีย์ หอศิลป์ ศิลปินแห่งชาติ ว่าว หนังสือพิมพ์ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรคเอสแอลอี และโรคไข้หวัดใหญ่[39]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 38
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2556 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ

ลายไทย-ลายกระหนก บายศรี การอุดมศึกษา แก้วมังกร มะพร้าวน้ำหอม การผลิตยารักษาโรค รังสี โรคกระดูกและข้อในเด็ก และโรคพันธุกรรมในเด็ก[40]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 39
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2557 มีทั้งหมด 8 เรื่อง คือ

การศึกษาของสงฆ์ เพลงกล่อมเด็ก เรือไทย ภูมิสถาปัตยกรรม สบู่ดำ การประปา โรคเลือดออกง่ายฮีโมฟิเลีย และศัลยกรรมตกแต่ง[41]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 40
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2558 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ

พิพิธภัณฑสถาน รางวัลซีไรต์ นกเงือกไทย เห็ด การโคลนนิ่งสัตว์ แร่เหล็ก การใช้เลเซอร์ในทางการแพทย์ ไข้ออกผื่น และมะเร็งต่อมลูกหมาก[42]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 41
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2559 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ

ประเพณีลอยกระทง ละครดึกดำบรรพ์ โนรา ภูมิลักษณ์เด่นในประเทศไทย ทะเลไทย ชา วัสดุทางวิศวกรรมกับการกีฬา เทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ และโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด[43]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 42
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2564 มีทั้งหมด 9 เรื่อง คือ

ประเพณีชีวิตของชาวไทยมุสลิม หนังตะลุง หญ้าแฝก แมว มลพิษของดินและการเกษตร แสงซินโคตรอน อาชญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จิตวิทยาพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น และโรคมะเร็งในเด็ก[44]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 43
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2565 มีทั้งหมด 8 เรื่อง คือ

ประเพณีสิบสองเดือน ชาวมอญในประเทศไทย การศึกษาแบบวิถีไทย กัญชงและกัญชา การเพาะเลี้ยงไส้เดือนดิน การบริหารจัดการลุ่มน้ำโดยชุมชน ดาราจักร และโรคหลอดเลือดสมอง[45]

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 44
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2566 มีทั้งหมด 8 เรื่อง คือ

ลิเกป่า (แขกแดง) กลุ่มชาติพันธุ์ม้ง วิทยาศาสตร์การกีฬา โลมาสีชมพู แมลงทับ ทราย คณิตศาสตร์ในธรรมชาติ และโรคมือ เท้า ปาก[46]

ฉบับเสริมการเรียนรู้

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ฉบับเสริมการเรียนรู้จนถึง พ.ศ. 2567 มีทั้งหมดรวม 23 เล่ม ดังต่อไปนี้

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่มที่ 1
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2548 มีทั้งหมด 3 เรื่อง คือ

ไม้ดอกหอมของไทย ไม้ในวรรณคดีไทย และสมุนไพร

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่มที่ 2
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2548 มีทั้งหมด 3 เรื่อง คือ

อาหารไทย โภชนาการ และการปลูกพืชไร้ดิน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่มที่ 3
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2548 มีทั้งหมด 3 เรื่อง คือ

ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย สังคมและวัฒนธรรมไทย และภูมิปัญญาชาวบ้าน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่มที่ 4
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2549 มีทั้งหมด 3 เรื่อง คือ

การช่างและหมู่บ้านช่าง การละเล่นพื้นเมือง และนิทานพื้นบ้าน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่มที่ 5
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2549 มีทั้งหมด 3 เรื่อง คือ

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สัตว์ในระบบนิเวศป่าชายเลน และสวนพฤกษศาสตร์

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่มที่ 6
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2549 มีทั้งหมด 3 เรื่อง คือ

ศิลปาชีพ ตุ๊กตาไทย และหัตถกรรมพื้นบ้าน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่มที่ 7
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2550 มีทั้งหมด 3 เรื่อง คือ

นก ผีเสื้อ และปลาสวยงาม

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่มที่ 8
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2550 มีทั้งหมด 3 เรื่อง คือ

พระพุทธรูป ผ้าไทย และการผลิตทองรูปพรรณ

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่มที่ 9
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2550 มีทั้งหมด 3 เรื่อง คือ

แผ่นดินไหว สึนามิ และบรรยากาศและการตรวจอากาศ

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่มที่ 10
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2551 มีทั้งหมด 3 เรื่อง คือ

กล้วย ทุเรียน และส้ม

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่มที่ 11
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2551 มีทั้งหมด 3 เรื่อง คือ

เครื่องถม เครื่องปั้นดินเผาและเครื่องถ้วย และเครื่องจักสาน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่มที่ 12
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2551 มีทั้งหมด 3 เรื่อง คือ

ช้าง ม้า และวัวควาย

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่มที่ 13
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2552 มีทั้งหมด 3 เรื่อง คือ

บัว เฟิร์น และกล้วยไม้

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่มที่ 14
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2553 มีทั้งหมด 3 เรื่อง คือ

อากาศยาน รถไฟ และรถยนต์

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่มที่ 15
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2553 มีทั้งหมด 3 เรื่อง คือ

ลิเก เพลงลูกทุ่ง และเพลงพื้นบ้าน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่มที่ 16
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2553 มีทั้งหมด 3 เรื่อง คือ

ข้าว ข้าวโพด และมันสำปะหลัง

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่มที่ 17
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2554 มีทั้งหมด 3 เรื่อง คือ

แมลง ผึ้ง และแมลงกินได้

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่มที่ 18
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2555 มีทั้งหมด 3 เรื่อง คือ

หอย ปลาหมึก และกุ้ง

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่มที่ 19
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2556 มีทั้งหมด 3 เรื่อง คือ

วัดไทย วัดญวน และวัดจีน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่มที่ 20
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2557 มีทั้งหมด 3 เรื่อง คือ

เปลือกโลกและหิน ซากดึกดำบรรพ์ และอัญมณี

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่มที่ 21
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2558 มีทั้งหมด 3 เรื่อง คือ

สวนไทย สวนญี่ปุ่น และสวนบาหลี

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่มที่ 22
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2566 มีทั้งหมด 3 เรื่อง คือ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย ตาลปัตร พัดยศ และตู้พระธรรม

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่มที่ 23
พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2567 มีทั้งหมด 3 เรื่อง คือ

พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระพุทธรูปสำคัญในพระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และนวัคคหายุสมธัมม์

ฉบับกาญจนาภิเษก

หนังสือสารานุกรมไทย ฉบับกาญจนาภิเษก เป็นหนังสือสารานุกรม ที่จัดทำขึ้นเนื่องในโอกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก พ.ศ. 2539 โดยมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ พิมพ์และจำหน่ายในปี พ.ศ. 2542 ในราคา 500 บาท มีทั้งหมด 60 เรื่องโดยแบ่งเป็น 9 หมวด คือ

  • หมวดที่ 1 พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจสำคัญ
  • หมวดที่ 2 พระราชวงศ์
  • หมวดที่ 3 องค์กรและส่วนราชการ
  • หมวดที่ 4 มูลนิธิ ทุน รางวัล และโรงเรียน
  • หมวดที่ 5 พระราชสถานะและพระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญ
  • หมวดที่ 6 ราชธรรมและพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับศาสนา
  • หมวดที่ 7 พระราชพิธีในรัชกาลปัจจุบัน
  • หมวดที่ 8 พระบรมราชสัญลักษณ์และเรื่องราวเกี่ยวข้อง
  • หมวดที่ 9 เบ็ดเตล็ด

ฉบับเฉลิมพระเกียรติ

สารานุกรมไทย ฉบับเฉลิมพระเกียรติ เป็นหนังสือสารานุกรม ที่จัดทำขึ้นเนื่องในโอกาสพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พ.ศ. 2549 โดยมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ พิมพ์และจำหน่ายในปี พ.ศ. 2550 ในราคา 500 บาท จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยประมวลพระราชจริยาวัตร พระราชกรณียกิจ และพระปรีชาสามารถในด้านต่างๆ อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและอาณาประชาราษฎร์ ประกอบด้วยเนื้อหารายละเอียดดังนี้

  • 1. ธรรมิกราชา
  • 2. พระปรีชาสามารถด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม
  • 3. เศรษฐกิจพอเพียง
  • 4. กษัตริย์-เกษตร
  • 5. พระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และการสาธารณสุข
  • 6. พระปรีชาสามารถด้านการพัฒนาปัญญา
  • 7. อัครศิลปิน
  • 8. พระราชกรณียกิจด้านการสืบสานวัฒนธรรมและขนบประเพณี
  • 9. สังคมสมานฉันท์

ฉบับเทิดพระเกียรติ

สารานุกรมไทย ฉบับเทิดพระเกียรติ "ธรรมิกราชาธิคุณ" เป็นส่วนหนึ่งของทางมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รำลึกในพระมหากรุณาธิคุณในธรรมิกราชาที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงบำเพ็ญมาตลอดระยะเวลา 70 ปี มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ จึงได้จัดทำหนังสือสารานุกรมไทย ฉบับเทิดพระเกียรติ โดยได้รวบรวมประมวลหลักธรรมซึ่งพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงยึดถือและปฏิบัติอย่างครบถ้วน และในหนังสือสารานุกรมฉบับนี้ยังประกอบด้วยพระราชกรณียกิจด้านการสืบสานวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี และพระราชพิธีในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ร.๙ ที่พระองค์มีพระราชประสงค์ให้ดำรงอยู่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ ตราบนานเท่านาน ภายในเล่มมีเนื้อหาต่อไปนี้

  • ธรรมิกราชา
1. การเข้ารับตำแหน่งประมุขของประเทศ
2. หลักธรรมที่พระราชาหรือพระมหากษัตริย์ทรงพึ่งปฎิบัติ
3. สถาบันพระมหากษัตริย์ในสังคมไทย
4. พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะทรงเป็นธรรมิกราชา
  • พระราชกรณียกิจด้านการสืบสานวัฒนธรรมและขนบประเพณี
1. พระราชกรณียกิจในด้านการศาสนา
- 1.1. ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา
- 1.2. ทรงอุปถัมภ์ศาสนาอิสลาม
- 1.3. ทรงอุปถัมภ์คริสต์ศาสนา
- 1.4. ทรงอุปถัมภ์ศาสนาพราหมณ์
- 1.5. ทรงอุปถัมภ์ศาสนาซิกข์
2. พระราชกรณียกิจในด้านการอนุรักษ์ และสืบสานมรดกทางศิลปวัฒนธรรมไทย
- 2.1. พระราชกรณียกิจในด้านการส่งเสริมสนับสนุนฯ
- 2.2. พระราชกรณียกิจในด้านการส่งเสริมการสืบทอดศิลปกรรมไทย
- 2.3. พระราชกรณียกิจในด้านการส่งเสริมการใช้ภาษาไทย
- 2.4. พระราชกรณียกิจในด้านการสืบทอดขนบประเพณี
  • พระราชพิธีในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

พระราชพิธีประจำ

1. พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลทางพระพุทธศาสนา
- 1.การพระราชกุศลมาฆบูชา 2.การพระราชกุศลวิสาขบูชา 3.การพระราชกุศลทรงผนวชและอุปสมบทนาคหลวง 4.การพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันอาสาฬหบูชาและเทศกาลเข้าพรรษา 5.พระกฐินหลวง
2. พระราชพิธีที่ทรงบำเพ็ญเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ที่มีพระมหากรุณาธิคุณแก่บ้านเมืองในกาลก่อน
- 1.รัฐพิธีพระบรมราชานุสรณ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช 2.วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช 3.วันปิยมหาราช 4.วันสมเด็จพระเจ้าตากสินธนบุรี
3. พระราชพิธีที่ทรงบำเพ็ญเพื่อความไพบูลย์ และความเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมือง
- 1.พระราชพิธีสงกรานต์ 2.พระราชพิธีฉัตรมงคล 3.พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 4.พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
  • พระราชพิธีพิเศษ
1. พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
2. การพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พุทธศักราช 2493
3. พระราชพิธีทรงผนวช พุทธศักราช 2499
4. พระราชพิธีมหามงคลเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 3 รอบพระนักษัตร พุทธศักราช 2506
5. พระราชพิธีรัชดาภิเษก พุทธศักราช 2514
6. พระราชพิธีสถาปนา เฉลิมพระปรมาภิไธยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร พุทธศักราช 2515
7. พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 50 พรรษา พุทธศักราช 2520
8. พระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พุทธศักราช 2525
9. พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ พุทธศักราช 2530
10. พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พุทธศักราช 2531
11. พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช 2539
- หมายเหตุ: พระราชพิธีมหามงคล 4 พระราชพิธี (เพิ่มเติม)
12. พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ พุทธศักราช 2542
13. พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พุทธศักราช 2549
14. พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา พุทธศักราช 2550
15. พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ พุทธศักราช 2554

ฉบับผู้สูงวัย

หนังสือสารานุกรมไทย "ฉบับผู้สูงวัย" เป็นหนังสือสารานุกรมภาษาไทย ภายใต้ของมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ พิมพ์และจำหน่ายในปี พ.ศ. 2560 ในราคา 250 บาท โดยรวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับผู้สูงวัย เริ่มจากวงจรชีวิต ทฤษฎีความชรา ผู้สูงวัยกับสังคมไทย การเสริมสุขภาพ โรคภัยไข้เจ็บ ปัญหาของผู้สูงวัย และเทคโนโลยีรองรับผู้สูงวัย สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงการเข้าสู่สังคมสูงวัยของประเทศไทย ซึ่งกำลังประสบอยู่ในปัจจุบันและอนาคต ประกอบด้วยเนื้อหามีทั้งหมด 7 ตอน ดังต่อไปนี้

  • ตอนที่ 1 ความชราและวงจรชีวิต
  • ตอนที่ 2 การสูงวัยของประชากรในประเทศไทยและผลกระทบ
  • ตอนที่ 3 ผู้สูงวัยและสังคมไทย
  • ตอนที่ 4 การเสริมสร้างสุขภาพเพื่อวัยสูงอายุ
  • ตอนที่ 5 สุขภาพผู้สูงวัยไทยและปัญหาสำคัญ
  • ตอนที่ 6 สภาพแวดล้อมและเทคโนโลยีเพื่อวัยสูงอายุ
  • ตอนที่ 7 การเตรียมความพร้อมสำหรับวัยสูงอายุ

ฉบับสาระรอบรู้สำหรับเด็ก

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ฉบับสาระรอบรู้สำหรับเด็ก ของมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ จัดทำในรูปแบบการ์ตูน พิมพ์ 4 สีตลอดเล่ม เนื้อเรื่องเกี่ยวกับการผจญภัยของเด็กวัยประถมกับผองเพื่อนต่างภพ ที่ได้รับภารกิจในการคลี่คลายปมปริศนาในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยใช้ความรู้จากหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ในเรื่องต่าง ๆ มาใช้ประกอบการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยในเล่มมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

  • แผ่นดินไทยของเรา
    • ชุดที่ 1 เล่มที่ 1: พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2564

อ้างอิง

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". https://web.archive.org/web/20191212161959/http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/other_sub.php?file=encyclopedia%2Fsaranugrom.htm#book44. 
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลฉบับเสริมการเรียนรู้ เมื่อ 2005. สืบค้นเมื่อ 2024-09-07
  3. http://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book1.html
  4. http://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book2.html
  5. http://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book3.html
  6. http://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book4.html
  7. http://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book5.html
  8. http://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book6.html
  9. http://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book7.html
  10. http://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book8.html
  11. http://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book9.html
  12. http://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book10.html
  13. http://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book11.html
  14. http://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book12.html
  15. http://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book13.html
  16. http://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book14.html
  17. http://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book15.html
  18. http://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book16.html
  19. http://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book17.html
  20. http://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book18.html
  21. http://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book19.html
  22. http://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book20.html
  23. http://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book21.html
  24. http://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book22.html
  25. http://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book23.html
  26. http://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book24.html
  27. http://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book25.html
  28. http://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book26.html
  29. http://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book27.html
  30. http://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book28.html
  31. http://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book29.html
  32. http://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book30.html
  33. http://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book31.html
  34. http://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book32.html
  35. http://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book33.html
  36. http://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book34.html
  37. https://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book35.html
  38. https://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book36.html
  39. https://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book37.html
  40. https://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book38.html
  41. https://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book39.html
  42. https://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book40.html
  43. http://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book41.html
  44. https://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book42.html
  45. https://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book43.html
  46. https://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book44.html

แหล่งข้อมูลอื่น

พระราชดิริ สารานุกรมไทยฉบับที่ ๓ ฉบับสุดท้าย พันจ่าโทวิศิษฎ์ ทองโม้ [พันจ่าโทวิศิษฎ์ ทองโม้ 1] [1] [2]

นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล |ข้อกำหนดและนโยบายการให้บริการ

บทความและภาพประกอบที่อยู่ในเว็บไซต์ของมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ นี้ใช้สำหรับเพื่อสนับสนุนการผลิตหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ

เป็นการเผยแพร่วิชาการให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป โดยจะนำไปแจกจ่ายให้โรงเรียนทั่วประเทศ และจำนวนหนึ่งนำออกจำหน่ายเพื่อนำเงินมาสมทบทุนในการจัดพิมพ์ต่อไป

ซึ่งเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต ทั้งนี้มูลนิธิได้รับอนุญาตทั้งบทความและภาพประกอบจากผู้เขียนแล้ว หากมีประเด็นขัดข้องสงสัยในเรื่องลิขสิทธิ์อย่างใด ขอได้โปรดแจ้งให้

มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ทราบเพื่อพิจารณาแก้ไขความขัดข้องสงสัยนั้นต่อไป จะเป็นพระคุณยิ่ง

ลิขสิทธิ์เป็นของมูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ

ห้ามนำข้อความและรูปภาพไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต

โครงการอื่น

  1. สารานุกรมไทย เล่มที่ 43

การจัดทำสารานุกรมในภาษาไทย เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2486[3] โดยราชบัณฑิตยสถาน แต่ก็หยุดชะงักไป จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2497 จอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี (ในตำแหน่งบังคับบัญชาราชบัณฑิตยสถาน) ในขณะนั้น ได้เสนอให้ราชบัณฑิตยสถานวางโครงการจัดทำสารานุกรมไทยขึ้นมาใหม่ แล้วเสนอต่อนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาอนุมัติตั้งคณะบรรณาธิการทำสารานุกรม โดยมี พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) เป็นประธานคนแรก โดยได้จัดทำในชื่อ สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งถือเป็นสารานุกรมเล่มแรกในประเทศไทย โดยจัดทำเดือนละ 2 เล่ม เล่มละ 2 หน้ายก และจัดพิมพ์รวมเล่มเป็นขนาดใหญ่ โดยจัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2498 ซึ่งปัจจุบันจัดพิมพ์ครบทุกตัวอักษรแล้ว โดยใช้เวลาถึง 60 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498-2558 รวม 30 เล่ม

ในปี พ.ศ. 2506 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ซึ่งชื่อเดิมคือ โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) โดยมีจุดประสงค์เพื่อจัดทำสารานุกรมไทยโดยรวบรวมความรู้จากทุกสาขาวิชาแขนงต่างๆ เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ได้มีโอกาสอ่านและศึกษาจากสารานุกรมไทยนี้ด้วยตนเอง โดยได้จัดพิมพ์หนังสือสารานุกรมเล่มแรกเมื่อปี พ.ศ. 2516[4] จนถึงปัจจุบันจัดพิมพ์ไปแล้ว 44 เล่ม นอกจากนี้ยังมีหนังสือ สารานุกรมไทย ฉบับกาญจนาภิเษก, สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ฉบับเสริมการเรียนรู้ เป็นต้น

ตัวอย่างสารานุกรมภาษาไทย

หนังสือ

ออนไลน์

อ้างอิง

  1. สารานุกรมไทยเล่มที่ 33
  2. สารานุกรมไทยเล่มที่ 13
  3. รอง ศยามานนท์ (2526). "วิวัฒนาการของสารานุกรม". ราชบัณฑิตยสถาน ๔ (เมษายน-มิถุนายน 2526): 25-33. 
  4. http://saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=history/his-sara.htm

แม่แบบ:โครงความรู้