แบ่งได้สองรูปแบบหลัก คือ ระบบ Civil Law หรือที่เรียกว่า ระบบประมวลกฎหมาย หรือระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ใช้ในประเทศต่าง ๆ ดังนี้ ได้แก่ ไทย เยอรมัน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เป็นต้น ระบบ Common Law หรือที่เรียกว่า ระบบเองโกลอเมริกัน หรือระบบกฎหมายจารีตประเพณี หรือระบบกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ใช้ใประเทศต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ได้แก่ อังกฤษ อเมริกา แคนาดา นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ มาเลเซีย เป็นต้น

ข้อแตกต่างระหว่างระบบ Civil Law และ ระบบ Common Law

แก้ไข

1. ทัศนคติ ต่อกฎหมายลายลักษณ์อักษร

แก้ไข
  • นักกฎหมาย Civil Law เห็นว่าเป็นระบบเหตุผลที่ถูกต้องและเป็นกฎหมายทั่วไป
  • นักกฎหมาย Common Law เห็นว่าเป็นกฎหมายที่ยกเว้นจากหลักทั่วไป (หลักทั่วไป คือ คำพิพากษาบรรทัดฐาน)

2. ทัศนคติ ต่อคำพิพากษา

แก้ไข
  • ระบบ Civil Law เห็นว่าเป็นเพียงคำอธิบายในการใช้ตัวบทกฎหมายในการปรับใช้แก่คดีไม่ใช่บ่อเกิดแห่งกฎกมาย และไม่ใช้ตัวบทกฎหมาย ดังนั้น คำพิพากษาใหม่อาจจะตัดสินเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาเดิม โดยวา

หลักเกณฑ์หรือให้เหตุผลเสียใหม่ได้

  • ระบบ Common Law เห็นว่าคำพิพากษาของศาลเป็นบ่อเกิดของกฎหมาย ดังนั้นคำพิพากษาต่อ ๆ มาในกรณีอย่างเดียวกันย่อมต้องตัดสินตามแนวคำพิพากษาก่อน ๆ นั้นเสมอ

3. ทัศนคติ ต่อขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี และศีลธรรม

แก้ไข
  • นักกฎหมาย Civil Law เห็นว่ากฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นกฎหมายที่อยู่เคียงคู่กับจารีตประเพณี และถือว่ากฎหมายเป็นสิ่งค้ำจุลศีลธรรมด้วย
  • นักกฎหมาย Common Law มีความโน้มเอียงที่จะเห็นว่าทั้งจารีตประเพณีและศีลธรรมเป็นคนละเรื่องกัน ไม่เกี่ยวกับกฎหมายลายลักษณ์อักษร

4. การใช้การตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษร

แก้ไข
  • ระบบ Civil Law  นักกฎหมายอาจตีความกฎหมายโดยนัยต่าง ๆ ได้ โดยพิจารณาตามเหตุผลในบทกฎหมายนั้น ๆ
  • ระบบ Common Law กฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ถูกตราขึ้นโดยรัฐสภานั้นเป็น "การตีความตามตัวอักษร" ซึ่งเป็นวิธีการตีความในระบบ Common Law โดยเฉพาะ และกฎหมายลายลักษณ์อักษรจะถูกนำมาใช้โดวิธีการเทียบเคียง (Analogy) ไม่ได้

5. วิธีบัญญัติกฎหมายลายลักษณ์อักษร

แก้ไข
  • ระบบ Civil Law โดยหลักนั้นจะบัญญัติกฎหมายที่มีลักษณะเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไป (บททั่วไป) โดยจะใช้เทคนิคในการบัญญัติเพื่อให้ครอบคลุมในกรณีปัญหาและเปิดโอกาสให้ผู้ใช้กฎหมายมีดุลยพินิจในการใช้กฎหมายนั้นให้เหมาะสมกับความเป็นธรรมในแต่ละคดี แต่ในบางบทมาตราหากไม่วางหลักเกณฑ์ทั่วไปได้อย่างสมบูรณ์ ก็จะบััญญติเป็นรายละเอียด
  • ระบบ Common Law วิธีการบัญญัตินั้นต้องเขียนให้แน่นอนชัดเจนและละเอียด ดังนั้น สำหรับผู้ที่คุ้นเคยกับตัวบทในประมวลกฎหมาย เมื่ออ่านกฎหมายลายลักษณ์อักษรของประเทศในระบบ Common Law จึงรู้สึกว่ากฎหมายเขียนละเอียดมากจนเกินความจำเป็น มีลักษณืคล้ายสัญญามากกว่าที่จะเป็นตัวบทกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อผูกมัดให้ผู้ตีความได้ใช้กฎหมายตามที่ฝ่ายนิติบัญญัติต้องการ

ดูเพิ่ม

แก้ไข