รอบรู้เรื่องนกกระจอกเทศ/กายวิภาคศาสตร์ของนกกระจอกเทศ

กายวิภาคศาสตร์ของนกกระจอกเทศ แก้ไข

นกกระจอกเทศมีแผ่นอกที่ใหญ่ ซึ่งปิดบริเวณทรวงอกไว้เพื่อป้องกันหัวใจและตับ มันไม่มีกระดูกทรวงอก ดังนั้นจึงไม่มีตำแหน่ง ให้กล้ามเนื้อที่ใช้สำหรับยึดติด มีหัวใจ ปอด และตับอยู่ในช่องทรวงอก ทางเดินอาหารของนกกระจอกเทศนั้นยาวมาก นกกระจอกเทศโตเต็มที่จะมีทางเดินอาหารที่ยาวประมาณ 26 ฟุต และมี caeca ขนาดใหญ่คู่หนึ่ง มีลำไส้ (colon) ความยาวประมาณ 60 % ของความยาวทั้งหมด

ระบบย่อยอาหาร แก้ไข

นกกระจอกเทศเป็นสัตว์กินพืช (Herbivorous) กระเพาะของนกจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นกระเพาะบด (Gizzard) เหมือนไก่แต่ไม่มีกระเพาะพัก (Crop) และส่วนที่สองเป็นกระเพาะแท้ (Provenpriculus) เหมือนสัตว์เคี้ยวเอื้อง (Ruminant) บางชนิดเช่น โคและกระบือ เป็นต้น นกกระจอกเทศจึงสามารถย่อยอาหารที่มีกากใยได้ดี อาหารของนกกระจอกเทศจึงเป็นพืช ผัก หญ้า และสัตว์ตัวเล็ก เช่น ลูกกบ จิ้งจก หรือแมลงต่างๆ นอกจากนี้ นกกระจอกเทศยังจิกกินก็เห็นเล็กๆ เพื่อช่วยในการบดย่อยอาหารที่บริเวณกระเพาะบดด้วย เนื่องจากลำไส้ของนกกระจอกเทศมีความยาวมาก เวลาใช้ในการย่อยจึงนานถึง 36 ชั่วโมง

ระบบทางเดินหายใจ แก้ไข

ระบบทางเดินหายใจของนกกระจอกเทศก็เช่นเดียวกับนกทั่วไป ซึ่งประกอบไปด้วยปอดและระบบถุงลมที่มีอยู่ในทรวงอก และขยายเข้าไปโพรงกระดูก กระดูกทุกซี่ไม่ได้เป็นโพรงทั้งหมดบางซี่ซึ่งรวมถึงขาท่อนล่างจะมีเปลือกนอกที่หนา นกกระจอกเทศสามารถใช้ระบบถุงลม เพื่อลดความร้อนของร่างกายได้โดยการหอบ อัตราการหายใจปกติของนกอยู่ระหว่าง 7-12 ครั้งต่อวินาที

ระบบสืบพันธ์ุ แก้ไข

อวัยวะสืบพันธุ์ของนกกระจอกเทศเพศผู้ประกอบด้วย 2 อัณฑะ อยู่ในventral cloaca แต่ไม่เหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม นกกระจอกเทศไม่มีท่อปัสสาวะ อวัยวะสืบพันธุ์เพศเมียประกอบด้วยรังไข่ 1 อัน และมีปุ่มคลิตอริส(clitoris) เล็กๆอยู่บน ventral cloaca