ยุคสมัยของศิลปะ

ศิลปะยุคกลาง (ค.ศ. 375 – 500) แก้ไข

เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 375 – 500  อาณาจักรโรมันอ่อนแอ  ยุโรปตกอยู่ในภาวะวุ่นวายจนได้ชื่อว่า “ยุคมืด” (Dark Ages)[1]

สถาปัตยกรรม แก้ไข

สถาปัตยกรรมรับอิทธิพลมาจากศิลปะโรมัน  มีอาคารเป็นแบบบาซิลิกา คือ มีกำแพงหนาทึบรูปทรงคล้ายป้อมปราการ

จิตรกรรม แก้ไข

ในสมัยนี้มีการเก็บสะสมตำาราต่างๆรวมทั้งเขียนภาพปกคัมภีร์ การเขียนภาพมีลักษณะแบบเดียวกับสมัยโรมัน คือ เขียนแบบเร็วๆ ทิ้งรอยพู่กันแบบภาพเขียนโรมัน  นิยมเขียนภาพเซนท์แมธิว  เซนท์มาร์ค  เซนท์ลุค และเซนท์จอห์น ซึ่งต่างก็เป็นผู้เขียนประวัติ 4 เล่มของพระเยซู

ประติมากรรม  แก้ไข

งานประติมากรรม นิยมงานหล่อด้วยสำริด รูปแกะสลักไม้พระเยซูตรึงกางเขน และประติมากรรมชิ้นเล็ก ๆ เช่น  เข็มกลัด หูกระเป๋า มงกุฎของกษัตริย์และนักบวช

ศิลปะคริสเตียนยุคแรก (พ.ศ.640 - 1040) แก้ไข

สถาปัตยกรรม  แก้ไข

ศิลปะคริสเตียนยุคแรกรับอิทธิพลมาจากศิลปะโรมัน   อาคารในสมัยแรก จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับผู้ถูกฆ่าเรื่องศาสนา วิหาร พิธีเจิมน้ำมนต์ ผนังภายนอกอาคารจะถูกปล่อยไว้เรียบ ๆ ทื่อ ๆ ผนังภายในอาคารจะประดับด้วยเศษหินสีแวววาว ส่วนต่าง ๆ ของอาคาร เช่น เสารายแบบโรมัน เสาก่ออิฐ หลังคาทรงโค้ง แผนผังอาคารมี 2 แบบ คือ แบบชนิดตามยาว และแบบชนิดศูนย์กลาง ซึ่งมีรากฐานมาจากสถาปัตยกรรมโรมัน  อาคารที่มีแนวยาวเหมาะสำหรับขบวนพิธีการที่สง่างาม  อาคารชนิดมีศูนย์กลาง สำหรับเป็นสถูปสถานของนักบุญคนสำคัญ

แต่ต่อมานิยมสร้างโบสถ์แบบมีศูนย์กลางกันมาก อาคารแบบมีศูนย์กลางอาจมี หลายรูปทรง เช่น  ทำเป็นรูปทรงไม้กางเขนแบบกรีกอยู่ภายในรูปจัตุรัส  ทำเป็นรูปทรงไม้กางเขนแบบโรมันหรือไม่ก็รูปวงกลม โบสถ์ที่มีผังชนิดมีศูนย์กลางมักทำหลังคาทรงโค้ง หรือทรงกลมด้วย อิฐหรือหิน อาคารทรงเรือนโถงขนาดใหญ่มักทำเครื่องบนหลังคาด้วยไม้ท่อน

จิตรกรรม แก้ไข

ทำบนฝาผนังและแผงไม้ ตลอดจนทำเป็นภาพประกอบเรื่องในหนังสือเขียนด้วยสีฝุ่น สีขี้ผึ้งร้อน และสีปูนเปียกอย่างแห้ง แสดงรูปคนกำลังสวดมนต์ และภาพปาฏิหารย์ตอนสำคัญของพระผู้เป็นเจ้าที่นำมาจากพระคัมภีร์เก่าและใหม่ หนังสือในสมัยแรกๆ ทำมาจากหนังสัตว์และเป็นหนังสือม้วน ภาพประกอบเรื่องในหนังสือมีลักษณะของภาพเป็นรูปแบน

ประติมากรรม แก้ไข

ในยุคคริสเตียนถูกลดความสำคัญ อันเนื่องมากจากบทบัญญัติในพระคัมภีร์ เกี่ยวกับรูปเคารพบูชาประติมากรรมมักจำกัดอยู่กับงานขนาดเล็กๆ ได้แก่งานแกะสลักรูปคนบนโลงศพ  ถ้วยและจานโลหะ  งาแกะ สลักงาช้าง โกศบรรจุธาตุศักดิ์สิทธิ์   ตู้เก็บพระคัมภีร์

ศิลปะไบเซนไทน์ (พ.ศ.1040 - 1996) แก้ไข

ศิลปะไบเซนไทน์ (Byzantine Art) เป็นศิลปะที่เชื่อมโยงความคิดและลักษณะศิลปะตะวันออกและตะวันตกเข้าด้วยกัน มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล  ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นอิสตันบูล  โดยทั่วไปลักษณะศิลปะไบเซนไทน์จะมีลักษณะใหญ่โตเข้มแข็ง และมีการตกแต่งประดับประดาด้วยการใช้พื้นผิวของวัสดุหลาย ๆ อย่าง

คำว่า “ไบเซนไทน์” เรียกตามชื่อ จักรวรรดิไบเซนไทน์ ที่มีกรุงคอนสแตนติโนเปิล เป็นเมืองหลวง (ปัจจุบันคือ กรุงอิสตันบูล เมืองหลวงของประเทศตุรกี)  ลักษณะศิลปะไบเซนไทน์ มีลักษณะคาบเกี่ยวกับศิลปะคริสเตียนอยู่มาก และยังมีสืบเนื่องกันต่อมาเป็นเวลาอีกยาวนาน

สถาปัตยกรรม แก้ไข

สถาปัตยกรรมของไบเซนไทน์  มีลักษณะพิเศษ คือ การสร้างโดม (DOME) ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่มากจึงต้องมีกำแพงหนา และใหญ่พอที่จะรับน้ำหนักได้ การสร้างโบสถ์ไบเซนไทน์ อาจจะมีโดมหลายโดม หรือ โดมอันเดียวแต่ ภายในตรงกลางจะต้องมีโดมที่เป็นประธานขนาดใหญ่

จิตรกรรม แก้ไข

ส่วนใหญ่เป็นจิตรกรรมเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนาและประวัติพระเยซูคริสต์  นอกจากนี้มีการประดับภาพด้วยกระเบื้องเคลือบสีต่าง ๆ เป็นชิ้นเล็ก ๆ เรียกว่า “โมเสอิค (MOSAIC)”  ซึ่งมีความงดงามและคงทนมาก

ประติมากรรม แก้ไข

ประติมากรรมไบเซนไทน์จะแสดงเรื่องราวเกี่ยวทางศาสนา ความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้า ส่วนมากนิยมแกะเป็นรูปนักบุญทางศาสนาประดับหัวเสา  ประดับอาคารทั้งภายในและภายนอก วัสดุที่ใช้ที่มีผิวหลายๆ อย่างมาประกอบ เช่น งาช้าง  ไม้  หิน โลหะ พลอย 

ศิลปะโรมาเนสก์ (พ.ศ.1540 - 1740) แก้ไข

แหล่งกำเนิดสำคัญของศิลปะโรมาเนสก์  คือ  ศิลปะโรมัน  ศิลปะเซลโต-เยอรมนิก  ศิลปะคริสเตียนยุคแรก และศิลปะไบซันไทน์ในสมัยคาโรลิงเจียน

ศิลปะโรมาเนสก์นิยมประติมากรรมขนาดเล็กเช่นเดียวกับสมัยไบซันไทน์  การฟื้นฟูประติมากรรมขนาดใหญ่เริ่มมีขึ้นในสมัยโรมาเนสก์  แต่การจัดองค์ประกอบประติมากรรมขนาดใหญ่  โดยมากยังมีมูลฐานมาจากงานแกะสลักงาช้างหรือแม้แต่จากภาพเขียนสีในหน้าหนังสือฉบับเขียนด้วย

ประติมากรรม แก้ไข

ประติมากรรมสมัยโรมาเนสก์  มักพบเห็นได้ในบริเวณที่ต่อไปนี้

1.  บริเวณประตูทางเข้าโบสถ์ คือ อยู่บริเวณที่เสากรอบประตูเรียงชิดเหลื่อมกันผายออกไป หรือที่เรียกว่า“แจมป์”   นอกจากนี้ ยังมีอยู่ที่หน้าจั่วซุ้มประตู ที่เรียกว่า “ไทพานุม”  และที่อยู่กลางประตูเสาของประตูฝาแฝด ที่เรียกว่า “ตรูมียู” 

2.  บริเวณตามเสาอาคาร  เสาประดับอาคาร  เสานูนบนผนังอาคาร และที่บัวหัวเสา 
3.  บริเวณตามแท่นบูชาและอ่างน้ำมนต์ในพิธีรดน้ำมนต์ 

4.  บริเวณสุสานที่ฝังศพ

เรื่องราวประติมากรรมสมัยโรมาเนสก์  เอามาจากพระคัมภีร์เก่และพระคัมภีร์ใหม่  เป็นเรื่องราวของศาสดาพยากรณ์  ชีวประวัตินักบุญ  การทำงานตามฤดูกาล  รูปเปรียบเทียบเรื่องความดีกับความชั่ว หรือเรื่องศิลปะวิทยาการต่างๆ รวมทั้งรูสัญลักษณ์จักราศี  นอกจากนี้ ยังมีรูปสัตว์ลักษณะฝันเฟื่อง  ซึ่งอาจเป็นรูปแทนความชั่วร้าย และยังมีลวดลายรูปเลขาคณิต หรือรูปดอกไม้รวมอยู่ด้วย หรือไม่ก็ทำเป็นรูปนูนต่าง

สถาปัตยกรรม 

สถาปัตยกรรมสมัยโรมาเนสก์เป็น “แบบลอมบาร์ด” ได้รับอิทธิพบมาจากโรมัน คือ การใช้ประตูและหลังคาโค้ง  ก่อสร้างด้วยวิธีก่ออิฐก่อหิน และเพดานทรงโค้งกากบาทของสมัยโรมาเนสก์  มีโครงเพดานให้เห็น

การสร้างเพดานทรงโค้งแบบกากบาท ที่แสดงโครงเพดานคลุมเหนือห้องโถงช่วงกลางอาคารที่นับว่าเป็นผลงานชั้นนำปรากฏในตอนกลางสมัยพุทธศตวรรษที่ 17  ที่โบสถ์ดูร์ฮัมคาเทรัล (ประเทศอังกฤษ)  โบสถ์แซงต์เอเตียน (ประเทศฝรั่งเศส)  และโบสถ์ซานโตอัมโบรโจ (ประเทศอิตาลี)

สถาปัตยกรรมสมัยโรมาเนสก์  มีอยู่หลากหลายลักษณะแต่ส่วนมากมีลักษณะดังนี้

1.  มีความหนาเทอะทะ คล้ายป้อมปราการเมือง

 2.  ใช้โครงสร้างวงโค้งแบบโรมัน
 3.  มีหอสูง  2  หอ หรือมากกว่านี้
 4.  มีช่องประตูและหน้าต่างผายออก คือ ทำช่องประตูหรือหน้าต่างเป็นโครงสร้างวงโค้งซ้อนเหลื่อมกันจากขนาดเล็กไปหาใหญ่

 5.  มีระเบียงทางเดินประชิดผนัง คือ เป็นระเบียงทางเดินที่ติดฝาผนัง  ใช้เพื่อการตกแต่งหรือค้ำยัน

6.  มีลวดลายบัง หรือลายแนวราบที่เรียกว่า “สตริงคอร์ส”  นูนยื่นจากผนัง
7.  มีหน้าต่างรูปวงล้อ คือ หน้าต่างรูปวงกลมที่ถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ด้วยเส้นรัศมีหินที่ศูนย์กลางจากวงกลม

จิตรกรรม แก้ไข

ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17  จิตรกรรมโรมาเนสก์มีรูปร่างลักษณะแบน และแสดงเส้นเป็นระเบียบมั่นคงที่มีพลังจากการบิดเอี้ยว และวนเป็นวง

ผลงานจิตรกรรมภายหลังพุทธศตวรรษที่ 17  เริ่มมีมิติทางรูปทรงอย่างงานประติมากรรมมากขึ้น  แต่ไม่ค่อยมีชีวิตชีวาเท่าไรนัก  อิทธิพลของศิลปะไบเซนไทน์ มักมีปรากฏอย่างชัดเจนในส่วนของเสื้อผ้าที่เป็นรอยยับจีบคล้ายรูปเลขาคณิต  การจัดวางท่าทางรูปคนให้ดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น

ศิลปะโกธิค (พ.ศ. 1690 - 1940) แก้ไข

ศิลปะโกธิคเริ่มต้นจากฝรั่งเศส ปลายพุทธศตวรรษที่ 17 และแพร่หลายไปยังประเทศอื่นๆ และมักลักษณะตามภูมิภาคนั้น ๆ

สถาปัตยกรรม แก้ไข

ลักษณะสำคัญของสถาปัตยกรรมแบบโกธิค คือ มีผนังเปิดกว้าง มีส่วนสูงเด่นเป็นพิเศษและมีแบบที่ออกมา เป็นลายเส้นอันซับซ้อนทุกส่วนล้วนประกอบเข้าด้วยกันเป็นสัญลักษณ์นิยมทางศาสนา  โครงสร้างหลังคาเป็นโค้งแหลม ลักษณะต่างๆ เหล่านี้ จะหาดูได้จากมหาวิหารในฝรั่งเศส เช่น คือ มหาวิหารนอเตรอดาม เดอ ปารีส   มหาวิหารซานตีเอโก เด กอมโปสเตลา   มหาวิหารเซนต์เดอนิส   มหาวิหารโนยง   มหาวิหารลาออง   มหาวิหารอาเมียง  โบสถ์ ซากราดา ฟามิเลีย   พระราชวังแกรนด์เพลส (Grand Place) เป็นต้น

ประติมากรรม แก้ไข

ประติมากรรมสมัยโกธิค  คล้ายของจริงเป็นภาพพระเยซู  นักบุญ  แม่พระที่ซ้อนความเศร้าศรัทธาภายใต้เสื้อคลุมที่หนา

จิตรกรรม แก้ไข

จิตรกรรมสมัยโกธิค มีพื้นที่เขียนภาพบนฝาผนังน้อยลง เพราะสถาปัตยกรรม มีช่องเปิดมากดังนั้นจึงมักเน้นไปที่การออกแบบกระจกสีบานหน้าต่าง สำหรับการเขียนภาพในหนังสือเขียน  มักจะแสดงรูปคนที่สะโอดสะองในชุดเสื้อผ้าอาภรณ์ที่พลิ้ว และโค้งไหวอย่างอ่อนช้อย

การประดับกระจกสี (STAIN GLASS)   แก้ไข

ศิลปะที่เด่นแทนรูปเขียน ของศิลปะโกธิค คือ การประดับกระจกสีตามช่องประตู และหน้าต่างทำเป็นลวดลายต่างๆ รวมกันอยู่ภายในกรอบ เมื่อดูภาพจากช่องที่มีแสงสว่างผ่าน ก็จะคล้ายกับรูปภาพนั้นเขียนด้วยแก้วสีทั้งหมด

ศิลปะเรอเนซองส์ (พ.ศ.1940 - 2140) แก้ไข

              คำว่า “เรอเนซองส์”  หมายถึง การเกิดใหม่ หรือ “ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ”  เป็นการระลึกถึงศิลปะกรีกและโรมันในอดีตซึ่งเคยรุ่งเรืองให้กลับมาอีก  ศิลปะเรอนเนซองส์ไม่ใช่การลอกเลียนแบบจากอดีต แต่เป็นการเน้นความสำคัญของลักษณะเฉพาะบุคคล  มีความสนใจลักษณะภายนอกของมนุษย์และธรรมชาติ  ก่อให้เกิดความกระตือรือร้นในการค้นหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และวิทยาการแขนงต่างๆ 

สถาปัตยกรรม แก้ไข

ศิลปินได้นำเอาแบบอย่างศิลปะชั้นสูงในสมัยกรีกและโรมัน มาสร้างสรรค์ได้อย่างอิสระเต็มที่ งานสถาปัตยกรรมมีการก่อสร้างแบบกรีกและโรมันเป็นจำนวนมาก  ลักษณะอาคารมีประตูหน้าต่างเพิ่มมากขึ้น ประดับตกแต่งภายในด้วยภาพจิตรกรรมและประติมากรรมอย่างหรูหรา สง่างาม

งานสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่ในสมัยเรอเนซองส์ ได้แก่ มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ (St. Peter) ในกรุงโรม เป็นศูนย์กลางของคริสต์ศาสนาโรมันคาทอลิก วิหารนี้มีศิลปินผู้ออกแบบควบคุมงานก่อสร้างและลงมือตกแต่งด้วยตนเอง ต่อเนื่องกันหลายคน เช่น โดนาโต บรามันโต (Donato Bramante ค.ศ. 1440 – 1514) ราฟาเอล (Raphel ค.ศ. 1483 – 1520) ไมเคิล แองเจลโล (Michel Angelo ค.ศ. 1475 – 1564) และ โจวันนิ เบอร์นินี (Giovanni Bernini ค.ศ. 1598 – 1680)

จิตรกรรมและประติมากรรม แก้ไข

งานจิตรกรรมและประติมากรรมในสมัยเรอเนซองส์    ศิลปินสร้างสรรค์ในรูปความงามตามธรรมชาติ และความงามที่เป็นศิลปะแบบคลาสสิกที่เจริญสูงสุด  ซึ่งพัฒนาแบบใหม่จากศิลปะกรีกและโรมัน ความสำคัญของศิลปะสมัยเรอเนซองส์   มีความสำคัญต่อการสร้างสรรค์ศิลปะเกือบทุกสาขา  โดยเฉพาะเทคนิคการเขียนภาพ การใช้องค์ประกอบทางศิลปะ (Composition) หลักกายวิภาค (Anatomy) การเขียนภาพทัศนียวิทยา (Perspective Drawing)  การแสดงออกทางศิลปะมีความสำคัญในการพัฒนาชีวิต  สังคม  ศาสนาและวัฒนธรรม  จัดองค์ประกอบภาพให้มีความงาม  มีความเป็นมิติ   มีความสัมพันธ์กับการมองเห็น ใช้เทคนิคการเน้นแสงเงาให้เกิดดุลยภาพ มีระยะตื้นลึก ตัดกันและความกลมกลืน เน้นรายละเอียดได้อย่างสวยงาม               

ศิลปินที่สำคัญในสมัยเรอเนซองส์ ที่สร้างสรรค์งานจิตรกรรมและประติมากรรมไว้เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก  ได้แก่               

เลโอนาร์โด ดาวินชี (Leonardo da Vinci) ผู้เป็นอัจริยะทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ แพทย์ กวี ดนตรี จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ผลงานที่มีชื่อเสียงของดาวินชี  ได้แก่ ภาพอาหารมื้อสุดท้ายของพระเยซู (The last Supper) ภาพพระแม่บนก้อนหิน (The Virgin on the Rock) ภาพพระแม่กับเซนต์แอน (The Virgin and St. Anne) และภาพหญิงสาวผู้มีรอยยิ้มอันลึกลับ (mystic smile) ที่โด่งดังไปทั่วโลก คือ ภาพโมนาลิซา (Mona Lisa)

Leonardo da Vinci. The Last Supper. c.1495-98. Tempera wall mural, Sta. Maria delle Grazie, Milan

Leonardo da Vinci. Mona Lisa. c.1503-5. Oil on Panel. Louvre Museum, Paris              

ไมเคิล แองเจลโล (Michel Angelo) เป็นศิลปินผู้มีความสามารถ และรอบรู้ในวิทยาการแทบทุกแขนง โดยเฉพาะรอบรู้ในด้านจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม เป็นสถาปนิกผู้ร่วมออกแบบและควบคุมการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ งานประติมากรรมสลักหินอ่อนที่มีชื่อเสียงและเป็นผลงานชิ้นเอก ได้แก่ รูปโมเสส (Moses) ผู้รับบัญญัติสิบประการจากพระเจ้า รูปเดวิด (David) หนุ่มผู้มีเรือนร่างที่งดงาม รูปพิเอตตา (Pietta) แม่พระอุ้มศพพระเยซูอยู่บนตัก  ภาพเขียนของไมเคิล แองเจลโล ชิ้นสำคัญที่สุด เป็นภาพบนเพดานและฝาผนังของโบสถ์ซิสติน (Sistine) ในพระราชวังวาติกัน ประเทศอิตาลีในปัจจุบัน

ราฟาเอล (Raphael)  เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมออกแบบ  ควบคุมการก่อสร้าง และตกแต่งมหาวิหารเซนต์ ปีเตอร์   มีผลงานจิตรกรรมที่สำคัญเป็นจำนวนมากที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป ได้แก่ ภาพแม่พระอุ้มพระเยซู (Sistine Madonna) ภาพงานรื่นเริงของทวยเทพ (The Triumph of Galatea)                 

ซานโดร  บอตติเซลลี (Sandro Botticelli)  ผลงานภาพ “กำเนิดวีนัส”  แสดงท่าทางคล้ายรูปวีนัสสลักหินอ่อน              

ศิลปะสมัยเรอเนซองส์  แพร่หลายออกไปจากประเทศอิตาลีสู่ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปตะวันตกอย่างรวดเร็ว และมีอิทธิพลต่อศิลปะในประเทศนั้น ๆ อย่างมากมาย   ทำให้เกิดสกุลศิลปะและศิลปินที่สำคัญในท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นจำนวนมาก   ผลงานอันยิ่งใหญ่เหล่านี้ เรากล่าวได้ว่ามนุษยชาติเป็นหนี้บุญคุณบรรพชนแห่งสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอยู่จนปัจจุบันนี้

ศิลปะแมนเนอร์ริสม์ (พ.ศ.2063-2143) แก้ไข

            คำว่าแมนเนอริสม์ (Mannerism) มาจากคำว่า มานิเอรา ในภาษาอิตาลี (Maniara) โรแมงโรลังค์ (Romain Rolland) ใช้เรียกความเคลื่อนไหวของศิลปกรรมในช่วงที่การเสียชีวิตของราฟาเอล (ค.ศ. 1520 - ค.ศ. 1600) ซึ่งเป็นช่วงว่างก่อนจะเริ่มบาโรค

ลักษณะของงานจิตรกรรม ดังนี้ แก้ไข

1.  งานศิลปะมีจินตนาการอย่างอิสระ รูปคนจะบิดผันเกินธรรมชาติ 

2.  น้ำหนักของภาพที่เกิดจากแสงและเงาจะตัดกันรุนแรง
3.  ใช้น้ำหนักเข้มเพื่อเน้นให้เกิดความลึก
4.  ใช้สีสดใส รุนแรง โดยการแตะแต้มให้เสื้อผ้าดูมันละเลื่อม
5.  สร้างบรรยากาศให้ดูสดใส ไม่ใช่ภาพในฝันซึ่งมีระเบียบแบบแผนแบบเรอเนสซองส์

6.  สร้างงานให้เหมือนตกอยู่ในฝันร้าย โดยแสดงออกอย่างกล้าแข็ง รุนแรง เร้าอารมณ์ และระบายสี ให้ใสคล้ายแก้วเจียรนัย

ศิลปินที่สำคัญ ได้แก่  ปอนเตอร์โม (Jacopo Carucci Pontormo, 1494 –1557), เอล เกรคโก (El Greco, 1541–1614)

ลักษณะของงานประติมากรรม ดังนี้

1.  เกิดความนิยมเทคนิคการหล่อแทนการแกะสลัก ทำให้การสร้างงานอิสระมากขึ้น

2.  ประติมากรสามารถสร้างงานตามที่ต้องการให้เคลื่อนไหวได้ดีกว่าการแกะสลัก 
3.  มีการบิดและเคลื่อนไหวลำตัวไปเกือบตรงกันข้ามกับทิศทางของสะโพก

4.  ยึดหลักทฤษฎีการมองที่เรียกว่าไลนีอา เซอร์เพนตินา( Linea Serpentina )หมายถึง การมองดูประติมากรรมได้รอบ

ศิลปินที่สำคัญ ได้แก่  เชลลินี (Benvenuto Cellini,1529 – 1571), โบโลญา (Giovanni da Bologna,1529 -1608)

ศิลปะบาโรก (Baroque พ.ศ.2143-2293) แก้ไข

ศิลปะแบบบาโรคจะเน้นหนักไปทางธรรมชาติ แสดงความอ่อนไหว มีลวดลายประดิษฐ์มาก ซับซ้อน  จัดได้ว่าเป็นยุคที่มีการสร้างสรรค์งานศิลปะเพื่อการแสดงออกที่เรียกร้องความสนใจมากเกินไป  มุ่งหวังความสะดุดตาราวกับจะกวักมือเรียกผู้คนให้มาสนใจศาสนา  การประดับตกแต่งมีลักษณะฟุ้งเฟ้อเกินความพอดี คำว่าบาโรกมาจากภาษาโปรตุเกสที่แปลว่า รูปร่างของไข่มุกที่มีสัณฐานเบี้ยว เป็นคำที่ใช้เรียกลักษณะงานสถาปัตยกรรม และจิตรกรรมที่มีการตกแต่งประดับประดา และให้ความรู้สึกอ่อนไหว

ศิลปินที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ได้แก่ รูเบนส์ (Peter Paul Rubens,1577–1640)  เรมบรานด์ท (Rembrandt Van Rijn 1606 – 1669)  โจวันนิ เบอร์นินี (Gianlorenzo Bernini , 1598 – 1680) เป็นต้น

ศิลปะโรโคโค (Rococo 1700-1790A.D.) แก้ไข

เป็นผลงานศิลปะที่สะท้อนความโอ่อ่า  หรูหรา  ประดับประดาตกแต่งที่วิจิตร  ละเอียดลออ เรื่องราวเกี่ยวกับเทพนิยายโบราณ  ความรื่นเริงยินดี  ความรัก  กามารมณ์

ศิลปินที่สำคัญ ได้แก่  อังตวน วัตโต (Antoine Watteau, 1684 – 1721) , บูเชร์ (Francoise Boucher, 1703 – 1770) , ฟราโกนาร์ด (Jean Honore Fragonard , 1732 – 1806) , ชาร์แดง (Jean Babtiste Simeon Chardin, 1699 – 1799) , โคลดีอง (Cloude Michel Clodion, 1738 – 1814) , เรย์ โนลด์ (Sir Joshua Reynolds, 1723 – 1792) , วิลเลียม โฮการ์ธ (William Hogarth 1697 – 1764)

อ้างอิง แก้ไข

ดูเพิ่ม แก้ไข