ภูมิปัญญาท้องถิ่น/แนวคิด

หน้าที่คุณเห็นนี้บางส่วนมีข้อมูล "อาจไม่เป็นที่ทราบกันดีของคนทั่วไป อาจถูกตั้งข้อสงสัยว่าไม่มีมูลความจริง หรืออาจมีมูลความจริงอยู่บ้างแต่ไม่ความน่าเชื่อถือเพียงพอ"
จึงแนะนำให้มีการอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือได้ เพื่อให้ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
หากมีการอ้างอิงแล้ว สามารถนำป้ายนี้ออกได้ทันที

ความหมาย แก้ไข

ธวัช ปุณโณทก กล่าวว่า ภูมิปัญญา หมายถึง ประสบการณ์ในการประกอบอาชีพในการศึกษาเล่าเรียน

เจตนา นาควัชระ กล่าวว่า ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ประสบการณ์ทางความคิดที่สั่งสมมาตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และสามารถสกัดออกมาจากสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน หรือมรดกทางวัฒนธรรม

บานจิต สายรอคำ และถนัด ใบยา กล่าวว่า ภูมิปัญญา หมายถึง การเรียนรู้ของชุมชนที่ได้รับการเชื่อมโยงจากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง เช่น ภูมิปัญญาการรักษาแม่น้ำ ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย

ลักษณะสำคัญ แก้ไข

ภูมิปัญญาได้รับการยอมรับว่ามีความสำคัญ ได้รับการยกระดับคุณค่าสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ส่วนใหญ่ยังอยู่ในขั้นของการปลูกจิตสำนึก สร้างการตื่นตัวและตระหนักในคุณค่า เมื่อความรู้ความเข้าใจ เรื่องภูมิปัญญาได้ขยายวงกว้างขึ้น การตรวจสอบแสวงหาเนื้อหาสาระของภูมิปัญญาก็ขยายผลมากขึ้น เพื่อประโยชน์ของการศึกษาและการปรับตัวของคนไทยในบริบทใหม่ แทนการสืบสานตามอัธยาศัยที่มีมาในสังคมประเพณี การเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาดังกล่าวนี้เป็นไปอย่างกว้างขวาง ความสนใจเรื่องนี้ขยายผลไปสู่หลายแง่มุมของชีวิตวัฒนธรรมไทย กล่าวอีกนัยหนึ่งการแปลงรูปภูมิปัญญาไทยมาสู่ความเป็นองค์ความรู้ที่ผ่านการเลือกสรร กลั่นกรอง แล้วจัดเป็นระบบเพื่อให้เกิดความสะดวกต่อการเรียนรู้และการปรับตัว และยังเป็นเรื่องที่จะต้องพัฒนาอีกมากมายอย่างต่อเนื่องและจริงจัง

  1. ภูมิปัญญาที่เป็นความรู้ เช่น ความรู้เรื่องผู้หญิง/ผู้ชาย ความรู้เกี่ยวกับครอบครัว
  2. ภูมิปัญญาที่เป็นความเชื่อทางสังคม เช่น ความเชื่อเรื่องนรก-สวรรค์
  3. ภูมิปัญญาที่เป็นการแก้ปัญหา และการป้องกันปัญหา
  4. ภูมิปัญญาทางวัตถุ
  5. ภูมิปัญญาทางพฤติกรรม คือ การกระทำ การปฏิบัติตน หรือพฤติกรรมของบุคคล

องค์ประกอบ แก้ไข

  1. ความคิด ที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด
  2. ความรู้มีการนำใช้ใช้ในลักษณะต่างๆ เช่น องค์ความรู้ ภูมิรู้ที่ปรากฎอยู่ในแนวคิด การสืบค้นกำเนิดแห่งความรู้ และธรรมชาติของความรู้
  3. ความเชื่อ
  4. ค่านิยม หรือ สิ่งที่คนสนใจ ปรารถนาที่อยากจะมี
  5. ความเห็น หรือ ภาวะที่เกิดขึ้นหลังจากบุคคล หรือ ชุมชน โดยพิจารณารอบคอบแล้วจึงลงมติตัดสินใจ
  6. ความสามารถ
  7. ความฉลาดไหวพริบ

อิทธิพลที่ทำให้เกิดภูมิปัญญา แก้ไข

อภิชาต ทองอยู่ ได้กล่าวถึงอิทธิพลที่เป็นแรงผลักดันทำให้เกิดภูมิปัญญาทำให้เกิดภูมิปัญญา 2 ประการ ดังนี้ (1)อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม คนจะผูกชีวิตของตนเองติดกับธรรมชาติอย่างมีเอกภาพแน่นแฟ้น ตั้งแต่การดำรงชีพไปถึงการให้คุณค่ามนุษย์ และการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน (2) อิทธิพลจากศาสนา พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ไปผสมผสานกลมกลืนกับชีวิตของชาวบ้านมาช้านานจนฝั่งอยู่ในภูมปัญญา และความเชื่อทางศาสนา จึงทำให้ชาวบ้านแต่ละชุมชน หรือท้องถิ่นได้สร้างสรรค์ภูมิปัญญาในท้องถิ่นขึ้นมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุขภายในท้องถิ่นของตนเองซึ่งเป็นผลให้ชาวบ้านมีพื้นฐานการเคารพคุณค่าของตนเองกับสิ่งแวดล้อมใกล้เคียงกัน[1]

ความหมายภูมิปัญญาท้องถื่น แก้ไข

ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง องค์ความรู้ ความสามารถ ความเชื่อ และประสบการณ์ ผสมกับความกลมกลืนระหว่างศาสนา ภูมิอากาศ การประอบอาชีพ และการถ่ายทอดหลายชั่วคน ของคนในท้องถิ่นนั้นๆ ประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต

  1. ปัญญา แก้วสีเขียว. ปัจจัยที่มีผลต่อการประกอบอาชีพที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของประชาชนในจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์. (คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 2533) หน้า 15.