ภาษาไทย/ไวยากรณ์/ประโยค/ประโยค

ประโยค คือ การเดินทางให้ความรู้แก่เราทางอ้อม

ส่วนประกอบของประโยค แก้ไข

ประโยคประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ ภาคประธานและภาคแสดง

ภาคประธาน ประกอบด้วย ประธานและคำขยายประธาน
ภาคแสดง ประกอบด้วย กริยาและคำขยายกริยา

นอกจากนี้ อาจมีกรรมและคำขยายกรรมด้วย การสร้างประโยคอาจให้ภาคประธานหรือภาคแสดงขึ้นต้นประโยคก็ได้

  • ถ้าให้ภาคประธานขึ้นต้นประโยค เช่น
สมชายชอบหลับในเวลาเรียน
สุนัขของสมปองไล่กัดแมวอย่างดุร้าย
  • ถ้าให้ภาคแสดงขึ้นต้นประโยค เช่น
วิ่งเสร็จแล้ว อย่าเพิ่งรีบดื่มน้ำ
เดินจนเมื่อยขา เธอก็ยังไม่บ่น

ชนิดของประโยค แก้ไข

ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนารมณ์ของผู้สื่อสาร แก้ไข

ประโยคคำถามและประโยคคำตอบ แก้ไข

  • ประโยคคำถาม คือ ข้อความที่ใช้ถามผู้อื่นเมื่อต้องการรู้เรื่องราวอย่างใดอย่างหนึ่ง มักจะมีคำว่า ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ทำไม หรือไม่ ฯลฯ อยู่ในข้อความนั้น ๆ ด้วย และจะมีเครื่องหมายปรัศนี (?) ท้ายข้อความหรือไม่มีก็ได้
  • ประโยคคำตอบ คือ ข้อความที่ใช้ตอบคำถามเพื่อให้ผู้ถามรู้เรื่องราวนั้น ๆ บางครั้งอาจจะมีคำตอบรับหรือปฏิเสธเพียงคำสั้น ๆ เช่น ครับ ค่ะ จ้ะ ไม่ใช่ หรือมีคำว่า เพราะว่า เมื่อถูกถามว่า ทำไม เป็นต้น

ชนิดของประโยคแบ่งตามลักษณะโครงสร้างของประโยค แก้ไข

ประโยคความเดียว แก้ไข

ประโยคความเดียว หรือ เอกรรถประโยค คือประโยคที่มีใจความสำคัญอยู่เพียงอย่างเดียว นั่นคือประกอบด้วยภาคแสดงหนึ่งส่วนและภาคกริยาหนึ่งส่วน ตัวอย่างของประโยคความเดียวเช่น... สุนัขกัดไก่ เขาเล่นฟุตบอล

__สรุป:ประโยคความเดียว ประธานเดียว กริยาเดียวจ้า...__

ประโยคความรวม แก้ไข

ประโยคความรวม หรือ อเนกรรถประโยค คือประโยคที่มีใจความสำคัญอยู่ตั้งแต่สองใจความขึ้นไป นั่นคือประกอบด้วยภาคแสดงหรือภาคกริยาที่มีมากกว่าหนึ่งส่วน โดยทุกประโยคย่อยมีน้ำหนักใจความสำคัญที่เท่าเทียมกัน ประโยคความรวมยังอาจแบ่งย่อยได้ตามลักษณะเนื้อความได้เป็น 4 ประเภทคือ

  1. ประโยคความรวมที่มีเนื้อความคล้อยตามกัน หรือ อันวยาเนกรรถประโยค ลักษณะสำคัญคือมีการเชื่อมประโยคความเดียวหลายประโยคเข้าด้วยกันด้วยคำสันธาน และ และอื่นๆ ในลักษณะเดียวกับคำว่าและ ประโยคความรวมที่มีเนื้อความคล้อยตามกันส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่ประโยคความเดียวย่อยเหล่านี้มีการใช้ภาคประธาน หรือภาคกริยาร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น
    • พ่อและแม่ไปตลาดโดยรถยนต์: เป็นการรวมกันระหว่างประโยคความเดียวสองประโยค คือ พ่อไปตลาดโดยรถยนต์ และ แม่ไปตลาดโดยรถยนต์
    • เธอทำการบ้านและฟังเพลงไปพร้อมๆ กัน: เป็นการรวมกันระหว่างประโยคความเดียวสองประโยค คือ เธอทำการบ้าน และ เธอฟังเพลง
  2. ประโยคความรวมที่มีใจความขัดแย้ง หรือ พยติเรกาเนกรรถประโยค เป็นประโยคความรวมที่ประโยคความเดียวที่เป็นส่วนประกอบมีเนื้อความไปในทางตรงกันข้าม ได้แก่ประโยคความรวมที่ใช้สันธาน "แต่" และอื่นๆ ในลักษณะเดียวกับคำว่าแต่ ตัวอย่างเช่น
    • แม่เป็นคนจุกจิกจู้จี้แต่พ่อก็อยู่กับแม่ได้: แม่เป็นคนจุกจิกจู้จี้ + พ่ออยู่กับแม่ได้
    • ฉันสั่งข้าวผัดแต่เธอกลับสั่งก๋วยเตี๋ยวราดหน้า: ฉันสั่งข้าวผัด + เธอสั่งก๋วยเตี๋ยวราดหน้า
    • คุณลอออรซื้อคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ล่ำสุดถึงแม้จะใช้ไม่เป็น: คุณลอออรซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ล่าสุด + คุณลอออรใช้(คอมพิวเตอร์)ไม่เป็น
  3. ประโยคความรวมให้เลือก หรือ วิกัลปาเนกรรถประโยค คือ ประโยคความรวมที่ประกอบด้วยประโยคความเดียวสองประโยคซึ่งเชื่อมกันด้วย "หรือ" หรืออื่นๆ ในลักษณะเดียวกับคำว่าหรือ อาจเป็นประโยคบอกเล่า หรือประโยคคำถาม ยกตัวอย่างเช่น
    • เสด็จให้มาเรียนถามเสด็จว่าเสด็จจะเสด็จหรือไม่เสด็จ
    • พระยาอธิการบดีเสนอให้คุณหญิงกีรติไปเที่ยวมิตาเกะหรือไม่ก็ภูเขาไฟฟูจิ
  4. ประโยคความรวมที่เป็นเหตุผล หรือ เหตวาเนกรรถประโยค คือประโยคความรวมที่มีเนื้อความเป็นเหตุเป็นผล ส่วนใหญ่มักเชื่อมด้วยคำว่า "จึง" หรือ "เพราะฉะนั้น" ยกตัวอย่างเช่น
    • ฉันทำการบ้านเสร็จแล้วจึงล้มตัวลงนอน
    • เพราะก้องเกียรติเป็นคนมีฐานะ เรยาจึงต้องการสานสัมพันธ์

ประโยคความซ้อน แก้ไข

ประโยคความซ้อน หรือ สังกรประโยค คือ ประโยคที่มีใจความสำคัญอยู่ที่ประโยคหลักส่วนหนึ่ง แต่ก็มีใจความย่อยมาเสริมด้วย ประโยคความซ้อนมีลักษณะคล้ายกับประโยคความรวมคือประกอบด้วยประโยคความเดียวตั้งแต่สองประโยคขึ้นไป แต่ใจความสำคัญของประโยคย่อยในประโยคความซ้อนไม่เท่ากัน ประโยคที่มีใจความสำคัญหลักเรียกว่าประโยคหลัก หรือ มุขยประโยค และเรียกประโยคที่เสริมใจความประโยคหลักว่าประโยคย่อย หรือ อนุประโยค อนุประโยคในประโยคความซ้อนสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทตามหน้าที่ของอนุประโยคนั้นๆ ในรูปประโยค

  1. นามานุประโยค คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่เสมือนคำนามในประโยคความซ้อน
  2. วิเศษณานุประโยค คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่เสมือนคำกริยาวิเศษณ์ในประโยคความซ้อน
  3. คุณานุประโยค คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่เสมือนคำนามวิเศษณ์ (หรือคุณศัพท์) ในประโยคความซ้อน

สารบัญ แก้ไข