ภาษาเยอรมัน/ไวยากรณ์/คำกริยา
คำกริยาในภาษาเยอรมันสามารถผันได้ โดยจะผันตามประธาน นอกจากนี้ยังสามารถบอกกาลว่าปัจจุบันหรืออดีต อยู่ในรูปบอกเล่า คำสั่ง หรือสมมุติ คำกริยาในภาษาเยอรมันส่วนใหญ่ที่พบในพจนานุกรมจะลงท้ายด้วย -en จะเป็นรูปกริยากลาง (หรือ infinitive ในภาษาอังกฤษ) โดยส่วนหน้า -en จะเรียกว่า "ต้นเค้า" (หรือ stem) คำกริยาส่วนที่เหลือมีรูปกริยากลางลงท้ายด้วย -rn และ -ln
คำกริยาที่ผันแบบปกติ
แก้ไขคำกริยาที่มีการผันแบบปกติ (regular verb) ที่มีรูปกริยากลางลงท้ายด้วย -en เราสามารถผันได้โดยการตัดรูปลงท้าย -en ของรูปกริยากลางและเติมรูปผันดังต่อไปนี้
บุรุษ | เอกพจน์ | พหูพจน์ |
---|---|---|
ที่หนึ่ง | -e | -en |
ที่สอง (สนิท) | -st | -t |
ที่สอง (สุภาพ) | -en | |
ที่สาม | -t | -en |
บุรุษ | เพศชาย | เพศหญิง | เพศกลาง | พหูพจน์ |
---|---|---|---|---|
ที่หนึ่ง | Ich komme. "ฉันมา" |
Wir kommen. "พวกเรามา" | ||
ที่สอง (สนิท) | Du kommst. "เธอมา" |
Ihr kommt. "พวกเธอมา" | ||
ที่สอง (สุภาพ) | Sie kommen. "คุณมา; พวกคุณมา" | |||
ที่สาม | Er kommt. "เขามา" |
Sie kommt. "หล่อนมา" |
Es kommt. "มันมา" |
Sie kommen. "พวกเขามา" |
คำกริยาที่รูปกริยากลางลงท้ายด้วย -rn และ -ln เมื่อผันให้ตัด -n ออกและเติมรูปผันตามปกติ แต่จะไม่ใส่ e ยกเว้นบุรุษที่หนึ่งเอกพจน์ (ฉัน) เช่น wandern ("เดินเขา"), lächeln ("ยิ้ม")
บุรุษ | เอกพจน์ | พหูพจน์ |
---|---|---|
ที่หนึ่ง | -e | -n |
ที่สอง (สนิท) | -st | -t |
ที่สอง (สุภาพ) | -n | |
ที่สาม | -t | -n |
บุรุษ | เอกพจน์ | พหูพจน์ |
---|---|---|
ที่หนึ่ง | wandere | wandern |
ที่สอง (สนิท) | wanderst | wandert |
ที่สอง (สุภาพ) | wandern | |
ที่สาม | wandert | wandern |
บุรุษ | เอกพจน์ | พหูพจน์ |
---|---|---|
ที่หนึ่ง | lächele หรือ lächle | lächeln |
ที่สอง (สนิท) | lächelst | lächelt |
ที่สอง (สุภาพ) | lächeln | |
ที่สาม | lächelt | lächeln |
รูปผันพิเศษ
แก้ไขคำกริยาที่ผันแบบปกติบางคำไม่สามารถรักษากฎรูปผันตามตารางด้านบนสุดได้ เนื่องจากจะทำให้ออกเสียงยากหรือออกเสียงไม่ได้ จึงมีกฎเพิ่มเติมดังนี้
- คำกริยาที่มีต้นเค้าลงท้ายด้วย d, t จะมีการเพิ่ม -e ลงในรูปผันบางรูป เช่น arbeiten ("ทำงาน"), antworten ("ตอบ"), reden ("พูดคุย")
บุรุษ | เอกพจน์ | พหูพจน์ |
---|---|---|
ที่หนึ่ง | -e | -en |
ที่สอง (สนิท) | -est | -et |
ที่สอง (สุภาพ) | -en | |
ที่สาม | -et | -en |
บุรุษ | เอกพจน์ | พหูพจน์ |
---|---|---|
ที่หนึ่ง | arbeite | arbeiten |
ที่สอง (สนิท) | arbeitest | arbeitet |
ที่สอง (สุภาพ) | arbeiten | |
ที่สาม | arbeitet | arbeiten |
- คำกริยาที่มีต้นเค้าลงท้ายด้วย s, z, ß จะผัน -t แทน -st เช่น heißen ("ถูกเรียกว่า"), tanzen ("เต้น"), sitzen ("นั่ง")
บุรุษ | เอกพจน์ | พหูพจน์ |
---|---|---|
ที่หนึ่ง | -e | -en |
ที่สอง (สนิท) | -t | -t |
ที่สอง (สุภาพ) | -en | |
ที่สาม | -t | -en |
บุรุษ | เอกพจน์ | พหูพจน์ |
---|---|---|
ที่หนึ่ง | sitze | sitzen |
ที่สอง (สนิท) | sitzt | sitzt |
ที่สอง (สุภาพ) | sitzen | |
ที่สาม | sitzt | sitzen |
คำกริยาที่ผันแบบไม่ปกติ
แก้ไขคำกริยาส่วนหนึ่งในภาษาเยอรมันมีรูปผันที่ไม่เป็นไปตามกฎ ซึ่งผู้เรียนต้องท่องจำรูปผันเฉพาะเหล่านี้
sein
แก้ไขsein คือคำกริยาสำคัญหนึ่งในภาษาเยอรมัน แปลว่า "เป็น, อยู่, คือ" (to be ในภาษาอังกฤษ) และยังใช้เป็นกริยาช่วย
บุรุษ | เอกพจน์ | พหูพจน์ |
---|---|---|
ที่หนึ่ง | bin | sind |
ที่สอง (สนิท) | bist | seid |
ที่สอง (สุภาพ) | sind | |
ที่สาม | ist | sind |
haben
แก้ไขhaben คือคำกริยาสำคัญอีกตัวในภาษาเยอรมัน แปลว่า "มี" (to have ในภาษาอังกฤษ) และยังใช้เป็นกริยาช่วย รูปผันบางส่วนยังคงเป็นไปตามกฎ
บุรุษ | เอกพจน์ | พหูพจน์ |
---|---|---|
ที่หนึ่ง | habe | haben |
ที่สอง (สนิท) | hast | habt |
ที่สอง (สุภาพ) | haben | |
ที่สาม | hat | haben |
คำกริยาอื่น
แก้ไขคำกริยาที่มีรูปผันไม่ปกติส่วนใหญ่จะมีรูปผันเอกพจน์ที่ไม่เป็นไปตามกฎ ส่วนรูปผันพหูพจน์จะยังคงเป็นไปตามกฎ
บุรุษ | เอกพจน์ | พหูพจน์ |
---|---|---|
ที่หนึ่ง | mag | mögen |
ที่สอง (สนิท) | magst | mögt |
ที่สอง (สุภาพ) | mögen | |
ที่สาม | mag | mögen |
บุรุษ | เอกพจน์ | พหูพจน์ |
---|---|---|
ที่หนึ่ง | weiß | wissen |
ที่สอง (สนิท) | weißt | wisst |
ที่สอง (สุภาพ) | wissen | |
ที่สาม | weiß | wissen |
บุรุษ | เอกพจน์ | พหูพจน์ |
---|---|---|
ที่หนึ่ง | tue | tun |
ที่สอง (สนิท) | tust | tut |
ที่สอง (สุภาพ) | tun | |
ที่สาม | tut | tun |
คำกริยาที่ผันแล้วเปลี่ยนสระต้นเค้า
แก้ไขมีคำกริยาจำนวนหนึ่งในภาษาเยอรมันที่เมื่อผันในรูปเอกพจน์บุรุษที่สอง (เธอ) และเอกพจน์บุรุษที่สาม (เขา, หล่อน, มัน) แล้วจะเปลี่ยนสระในรูปต้นเค้า
e → i
แก้ไขบุรุษ | เอกพจน์ | พหูพจน์ |
---|---|---|
ที่หนึ่ง | spreche | sprechen |
ที่สอง (สนิท) | sprichst | sprecht |
ที่สอง (สุภาพ) | sprechen | |
ที่สาม | spricht | sprechen |
บุรุษ | เอกพจน์ | พหูพจน์ |
---|---|---|
ที่หนึ่ง | esse | essen |
ที่สอง (สนิท) | isst | esst |
ที่สอง (สุภาพ) | essen | |
ที่สาม | isst | essen |
คำกริยาสำคัญคำอื่นที่ผันตามกฎนี้เช่น geben (ให้), helfen (ช่วย), lesen (อ่าน), nehmen (เอา), vergessen (ลืม), werden (กลายเป็น) พึงระลึกว่าไม่ใช่คำกริยาที่มีสระ e จะเปลี่ยนเป็น i ทุกตัว คำที่ไม่เปลี่ยนเช่น gehen (ไป)
e → ie
แก้ไขบุรุษ | เอกพจน์ | พหูพจน์ |
---|---|---|
ที่หนึ่ง | sehe | sehen |
ที่สอง (สนิท) | siehst | seht |
ที่สอง (สุภาพ) | sehen | |
ที่สาม | sieht | sehen |
คำกริยาคำอื่นที่ผันตามกฎนี้เช่น empfehlen (แนะนำ)
a → ä และ au → äu
แก้ไขบุรุษ | เอกพจน์ | พหูพจน์ |
---|---|---|
ที่หนึ่ง | schlafe | schlafen |
ที่สอง (สนิท) | schläfst | schlaft |
ที่สอง (สุภาพ) | schlafen | |
ที่สาม | schläft | schlafen |
บุรุษ | เอกพจน์ | พหูพจน์ |
---|---|---|
ที่หนึ่ง | laufe | laufen |
ที่สอง (สนิท) | läufst | lauft |
ที่สอง (สุภาพ) | laufen | |
ที่สาม | läuft | laufen |
คำกริยาสำคัญคำอื่นที่ผันตามกฎนี้เช่น fahren (ขับขี่), tragen (ถือ, ใส่), fallen (ตก, โค่น)