ภาษาละติน/เทคนิคการจำ 1

วิธีการใช้เทคนิค

แก้ไข

เทคนิคที่จะกล่าวถึงดังต่อไปนี้เป็นวิธีการจดจำตารางการผันคำนามแบบที่ 1 และแบบที่ 2 ทั้งนี้ หากนักเรียนเลือกใช้เทคนิคของตัวเองแทนเทคนิคที่กล่าวถึงนี้ ขอให้นักเรียนอ่านข้ามบทนี้ไปได้เลย

ลำดับของการใช้เทคนิคจะแบ่งออกเป็นสามขั้นตอน ได้แก่

  1. การจำตารางการผันคำนาม: นักเรียนควรจดจำตารางการผันคำนามทั้งแบบที่ 1 และแบบที่ 2 ให้ขึ้นใจเสียก่อน
  2. การหาโครงสร้างประโยค: เมื่อจดจำตารางการผันได้แล้ว นักเรียนสามารถใช้เทคนิคนี้หาโครงสร้างประโยคได้อย่างรวดเร็ว
  3. การสร้างประโยคด้วยแม่แบบ: เมื่อนักเรียนสามารถหาโครงสร้างประโยคได้แล้ว นักเรียนสามารถใช้เทคนิคนี้สร้างประโยคโดยอาศัยแม่แบบในความทรงจำได้อย่างรวดเร็ว

เทคนิคการจำตารางการผันคำนาม

แก้ไข

คำถามที่ถูกถามบ่อยที่สุดในหมู่นักเรียนภาษาละติน ก็คือ มีวิธีจดจำตารางการผันคำนามเหล่านี้ได้อย่างรวดเร็วบ้างหรือเปล่า เทคนิคสำคัญของการจดจำตารางผันคำนามอยู่ที่ลำดับของการจดจำการผันของแต่ละการก

  1. การสังเกตเพศของคำนาม ถ้าสังเกตจากการกประธาน
    • เพศหญิง ลงท้ายด้วย -a ผันแบบที่ 1
    • เพศชาย ลงท้ายด้วย -us ผันแบบที่ 2
    • เพศกลาง ลงท้ายด้วย -um ผันแบบที่ 2
  2. เริ่มจดจำจากการผันของการกประธานก่อน ผันจากเอกพจน์ไปเป็นพหูพจน์ทำอย่างไร (เหตุผล: เพื่อให้นำประธานไปผูกกับกริยาให้เป็นประโยคได้)
    • เพศหญิง: จาก -a ไปเป็น -ae
    • เพศชาย: จาก -us ไปเป็น
    • เพศกลาง: จาก -um ไปเป็น -a
  3. ต่อด้วยการผันของการกกรรมตรง (เหตุผล: เพื่อให้สามารถนำประธานกับกรรมมาผูกประโยคได้ จะได้จำได้ง่ายขึ้น)
    • เพศหญิง: เดิม -a เปลี่ยนเป็นกรรมตรง ลงเสียง m -am ไปเป็น -ās
    • เพศชาย: เดิม -us เปลี่ยนเป็นกรรมตรง ลงเสียง m -um ไปเป็น -ōs
    • เพศกลาง: เดิม -um เปลี่ยนเป็นกรรมตรง ลงเสียง m อยู่แล้ว -um ไปเป็น -a
  4. ต่อด้วยการผันของการกเจ้าของ (เหตุผล: เริ่มนำส่วนขยายของคำนามมาใช้)
    • เพศหญิง: เดิม -a เปลี่ยนเป็นเจ้าของ ผันแบบที่ 1 -ae ไปเป็น -ārum
    • เพศชาย: เดิม -us เปลี่ยนเป็นเจ้าของ ผันแบบที่ 2 ไปเป็น -ōrum
    • เพศกลาง: เดิม -um เปลี่ยนเป็นเจ้าของ ผันแบบที่ 2 ไปเป็น -ōrum
  5. ต่อด้วยการผันของการกกรรมรอง (เหตุผล: เริ่มนำกรรมรองมาใช้กับกริยาทวิกรรม)
    • เพศหญิง: เดิม -a เปลี่ยนเป็นกรรมรอง -ae ไปเป็น -īs
    • เพศชาย: เดิม -us เปลี่ยนเป็นกรรมรอง ไปเป็น -īs
    • เพศกลาง: เดิม -um เปลี่ยนเป็นกรรมรอง ไปเป็น -īs
  6. สุดท้าย การผันของการกที่มา (เหตุผล: เริ่มนำที่มามาใช้กับบุพบท)
    • เพศหญิง: เดิม -a เปลี่ยนเป็นที่มา ไปเป็น -īs
    • เพศชาย: เดิม -us เปลี่ยนเป็นที่มา ไปเป็น -īs
    • เพศกลาง: เดิม -um เปลี่ยนเป็นที่มา -e ไปเป็น -īs
  7. ส่วนการกอุทาน จะเหมือนกับการกประธาน ยกเว้นรูปเอกพจน์ของเพศชาย จะลงท้ายด้วย -e แทน

เทคนิคการหาโครงสร้างประโยค

แก้ไข

คำถามต่อมาที่นักเรียนภาษาละตินมักจะถามกัน ก็คือ ถ้ามีประโยคภาษาละตินยาวๆ มา จะหาโครงสร้างของมันอย่างไร เทคนิคอยู่ที่การมองหาวิภัตติของคำนามในตำแหน่งที่ถูกต้อง

  1. หากริยาให้เจอก่อน เอากริยาเป็นแกนกลางของประโยค
  2. เอาอุทานออกไปก่อน อุทานมักจะมีจุลภาคคร่อมไว้ แต่ถ้าหากไม่มีจุลภาคคร่อม ให้ทำขั้นตอนต่อไปก่อน แล้วค่อยกลับมาหาอุทานทีหลัง
  3. มองหาประธาน ประธานจะอยู่ในรูปการกประธาน ลงท้ายด้วยวิภัตติ -a, -ae ของเพศหญิง; -us, -ī ของเพศชาย; -um, -a ของเพศกลาง
  4. ถ้าหากเจอประธานสองตัว ให้สันนิษฐานว่า ประธานตัวที่สองที่อยู่ด้านขวาของประธานตัวที่หนึ่งมักจะเป็นอุทาน
  5. มองหากรรมตรง กรรมตรงจะอยู่ในรูปการกกรรมตรง ซึ่งมักอยู่ติดกับกริยา ลงท้ายด้วยวิภัตติ -am, -ās ของเพศหญิง; -um, -ōs ของเพศชาย; -um, -a ของเพศกลาง
  6. มองหากรรมรอง กรรมรองจะอยู่ในรูปการกกรรมรอง ซึ่งมักอยู่ทางซ้ายมือของกรรมตรง ลงท้ายด้วยวิภัตติ -ae, -īs ของเพศหญิง; -ō, -īs ของเพศชายและเพศกลาง
  7. มองหาบุพบทวลีขยายกริยา ซึ่งมักอยู่ระหว่างกรรมตรงกับกริยา หาบุพบทและส่วนเติมเต็มของบุพบทให้เจอ ส่วนเติมเต็มของบุพบทจะอยู่ในรูปการกที่มา ลงท้ายด้วยวิภัตติ -ā, -īs ของเพศหญิง; -ō, -īs ของเพศชายและเพศกลาง
  8. ภายในนามวลีที่แบ่งเป็นก้อนไว้แล้ว มองหาเจ้าของของคำนาม ซึ่งมักอยู่ทางขวามือของคำนาม และอยู่ในรูปการกเจ้าของ ลงท้ายด้วยวิภัตติ -ae, -ārum ของเพศหญิง; -ī, -ōrum ของเพศชายและเพศกลาง

เทคนิคการสร้างประโยคด้วยแม่แบบ

แก้ไข

สูตรการสร้างประโยคด้วยแม่แบบจะมีดังนี้

  1. เริ่มจากใส่ประธานก่อน หญิง -a, -ae; ชาย -us, -ī; กลาง -um, -ī
  2. ถ้าในระหว่างที่เติมนามวลีลงในส่วนต่างๆ ต้องการระบุเจ้าของ ให้เติมเจ้าของต่อท้ายคำนาม ผันด้วย หญิง -ae, -ārum; ชาย -ī, -ōrum; กลาง -ī, -ōrum
  3. ถ้ามีอุทานก็ใส่อุทาน ผันเหมือนประธาน แต่เพศชาย เอกพจน์ ให้ผันด้วย -e แทน
  4. ใส่กรรมรอง หญิง -ae, -īs; ชาย -ō, -īs; กลาง -ō, -īs
  5. ใส่กรรมตรง หญิง -am, -ās; ชาย -um, -ōs; กลาง -um, -a
  6. ถ้ามีบุพบทวลีก็ใส่บุพบทวลี ผันส่วนเติมเต็มด้วย หญิง -ā, -īs; ชาย -ō, -īs; กลาง -ō, -īs
  7. เติมกริยาที่ท้ายสุด

โดยสรุปแล้ว รูปแบบประโยคพื้นฐานจะเป็นดังนี้ ขอให้นักเรียนจำสูตรนี้ไปใช้ได้เลย

ประธาน ญ. -a, -ae + อุทาน เหมือนประธาน
ยกเว้น
ช. เอกพจน์ -e
+ กรรมรอง ญ. -ae, -īs + กรรมตรง ญ. -am, -ās + บุพบท ที่มา ญ. -ā, -īs + กริยา
ช. -us, -ī ช. -ō, -īs ช. -um, -ōs ช. -ō, -īs
ก. -um, -ī ก. -ō, -īs ก. -um, -a ก. -ō, -īs

ถ้ามีการระบุเจ้าของภายในนามวลี ให้ใช้รูปแบบนี้

คำนามหลัก + เจ้าของ ญ. -ae, -ārum
ช. -ī, -ōrum
ก. -ī, -ōrum

หลังจากได้เติมส่วนต่างๆ ลงในช่องแล้ว นักเรียนสามารถเลือกเน้นส่วนสำคัญของประโยคได้ โดยการสลับตำแหน่งตามความสำคัญได้

สารบัญ

แก้ไข